July 28, 2024

เทคนิค Earworm ทำเพลงติดหู สะกดใจคนฟัง

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจสั้นๆกับสภาวะที่เราเรียกกันติดปากง่ายๆว่า Earworm หรืออีกชื่อที่เป็นทางการขึ้นมาหน่อยอย่าง Stuck Song Syndrome (SSS) ซึ่งมันเป็นภาวะทางสมองอย่างหนึ่งเกิดจากการที่เราฟังเพลงที่มีเนื้อร้อง และทำนองท่อนใดท่อนหนึ่ง หรือทั้งเพลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับมีความรู้สึกว่าเพลงนั้นยังคงเล่นวนซ้ำอยู่อย่างนั้นแม้ไม่ได้ยินเพลงนั้นแล้ว ทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้เผลอร้องหรือฮัมเพลงนั้นออกมานักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะเกี่ยวกับสมองส่วนการได้ยิน (Auditory Cortex) ไปกระตุ้นหน่วยความจำระยะสั้นที่เกี่ยวกับเสียง และการได้ยินแบบต่อเนื่องอย่างเป็นวัฏจักร (Phonological Loop) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความจำพร้อมใช้งาน (Working Memory) ทำให้เกิดความทรงจำพร้อมใช้แบบเสียงที่วนซ้ำๆในลักษณะดังกล่าวนั้นไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญเพียงเท่านั้น ข้อสังเกตุของเพลงที่ทำให้เราติดหูมากๆเกือบแทบจะทุกเพลงที่มักทำให้เกิดภาวะ Earworm หรือเพลงที่มักจะทำให้เราหลอนหูมีตั้งแต่เพลงสั้นๆไปจนถึงเพลงที่มีความยาวมากๆ โดยมีเนื้อร้อง หรือทำนองแบบหนึ่งซ้ำๆ ซ่อนอยู่ในเพลง เช่น เพลงสำหรับเด็ก เพลงป๊อบ เพลงประกอบโฆษณาสินค้าและบริการซึ่งใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด หรือให้ข้อมูลบางอย่างกับผู้ฟัง รวมถึงแนวเพลงที่มีจังหวะเร็ว ทำนองจำง่าย เนื้อเพลงจะใช้คำง่ายๆ และร้องซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ ซึ่งมีส่วนทำให้สมองจัดการข้อมูลเพื่อจดจำได้ง่ายขึ้นเพลงที่มักจะติดหูผู้คนได้ไวมักจะมีโครงสร้างคล้ายๆกันก็คือการออกแบบเมโลดี้ช่วงแรกๆให้เป็นโน้ตที่ค่อนข้างสูง ช่วงถัดมาจะเป็นโน้ตต่ำลง...

วิเคราะห์เพลง Ditto ของ NewJeans

มีหลายคนรีเควสเข้ามากันเยอะ ว่าอยากให้วิเคราะห์เพลง Ditto ของ NewJeans ทาง Verycatsound ก็จัดให้ตามคำขอ เพลงนี้จะมีอะไรซ่อนอยู่ เชิญเข้าไปรับชมได้เลย The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ หลักสูตร The Real Producerเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากลสนใจหลักสูตร...

รวม 3 แนวเพลงและดนตรีสำหรับเปิดในคาเฟ่ ให้น่านั่ง

การที่ร้านกาแฟหรือคาเฟ่สักที่จะมีความโดดเด่นจากร้านอื่นๆได้นั้นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ร้านกาแฟไม่ใช่แค่ที่สำหรับซื้อกาแฟ แต่ยังเป็นสถานที่ที่สามารถมานั่งพักเงียบๆ ทำงาน หรือผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า และเป็นเหมือนกับที่สถานที่ดีๆไว้นัดพบปะกับกลุ่มเพื่อน บรรยากาศภายในร้านกาแฟจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรใส่ใจ และในการที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจนั่งต่อเพื่อสั่งเครื่องดื่มอีกสักแก้วและดื่มด่ำกับบรรยากาศต่อ ต้องยอมรับเลยว่าบรรยากาศในร้านคาเฟ่นั้น มีความพิเศษมากกว่าสถานที่ต่างๆ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ใน ปัจจุบัน มีคนมากมายชี่นชอบที่จะไปคาเฟ่ และมีร้านคาเฟ่มากมายเกิดขึ้นหลายแห่ง แล้วหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้บรรยากาศของร้านคาเฟ่ทั้งหลายดูพิเศษขึ้นนั้นมาจากอะไร? ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการตกแต่งของร้านทั้งภายในภายนอก แต่สิ่งที่มีความสำคัญอีกอย่างที่บางคน อาจจะมองข้ามนั้นก็คือเพลง เพลงนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้กับสถานที่นั้นๆ ขึ้นอยู่กับแนวเพลงที่ร้านเลือกจะเปิด การเลือกเพลงสำหรับร้านกาแฟเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะเพลงสามมารถบ่งบอกถึงความพิเศษและตัวตนของร้านกาแฟ การเลือกเพลงที่ตรงคอนเซ็ปต์ของร้านและตรงกับกลุ่มเป้าหมายเป็นการเพิ่มสเน่ห์ให้กับร้านคาเฟ่เหล่านั้นได้อย่างดี มาเริ่มต้นที่การสร้างบรรยากาศของร้านด้วย Acoustic เพลงที่คุณเลือกเปิดจะเป็นตัวกำหนดความรู้สึกของลูกค้าตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาภายในร้าน หากเราเปิดเพลง Acoustic จังหวะสบายๆชิวๆ ลูกค้าที่เข้ามาก็จะรู้สึกผ่อนคลาย หรือถ้าเป็นเพลง Acoustic อีกจังหวะที่มีความมสนุกสนานลูกค้าก็จะรู้สึกสดชื่นร่าเริงมากขึ้น เราอาจจะต้องคำนึงถึงลูกค้ามากขึ้นมากเขาเข้ามาทำอะไรในร้านนอกเหนือจากการมาซื้อกาแฟ เช่น ถ้าเราอยากให้ลูกค้าได้นั่งพัก นั่งเอ็นจอยกับสิ่งรอบตัว เพลงที่เลือกเปิดก็ควรเป็นเพลงที่สามารถช่วยให้ลุกค้ารู้สึกผ่อนคลาย อาจจะเป็นเพลงบรรเลงฟังสบายๆ หรือถ้าอยากให้ลูกค้าเข้ามานั่งทำงานในร้าน...

การตลาดผ่านเสียงดนตรีที่ชวนจดจำ

เมื่อเราลองนึกย้อนไปในสมัยเด็กช่วงที่เรานั่งดูการ์ตูนทางทีวีผ่านช่องต่างๆ สิ่งที่ขัดใจมากที่สุดเวลานั่งดูคือช่วงที่การ์ตูนเหล่านั้นตัดเข้าโฆษณา แต่ไม่รู้ทำไมพอย้อนกลับมาตอนนี้กลับคิดถึงเพลงโฆษณาเหล่านั้นเหลือเกินไม่ว่าจะ ปูไทย, เซี่ยงไฮ้, ขนมตราไก่ย่าง หรือแลคตาซอย เรียกได้ว่าแค่เห็นชื่อเหล่าขนมเหล่านี้ ก็ได้ยินเพลงออกมาเป็นทำนองจนร้องออกมาได้โดยที่แทบไม่ต้องนึก แม้โฆษณาเหล่านั้นจะผ่านเวลามานานแล้วก็ตาม ซึ่งสิ่งข้างต้นที่ว่ามามันก็คือการใช้ Music Marketing นั่นเองเพียงแต่ในยุคนั้นคำคำนี้อาจจะไม่ได้เรียกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันการทำ Music Marketing ก็ยังคงมีออกมาเรื่อยๆและหลายๆครั้งก็สร้างความน่าจดจำได้ไม่น้อยตัวอย่างเช่น Shopee ที่นำทำนองเพลงฮิตติดหูอย่าง Baby Shark มาใช้ แล้วแต่งเนื้อใส่ไปในเพลงเพื่อนำเสนอจุดขายของแบรนด์เข้าไปเพิ่มอย่าง “ในช้อปปี้ ๆๆๆๆ เสื้อผ้าดี ๆๆๆๆ ทุกอย่างมี ๆๆๆๆ ที่ช้อปปี้” เพียงแค่ได้ยินเสียงดนตรี ก็ทำให้ทุกคนนึกถึงแบรนด์ Shopee ทันที ยังไม่นับที่เอาซุปเปอร์สตาร์ลูกหนังชาวโปรตุเกส อย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มาเต้นอีกนะ...

3 เทคนิคสำคัญ ทำเพลงประกอบเกมส์

การแต่งเพลงประกอบเกมส์ แน่นอนว่าพูดถึงเรื่องการแต่งเพลงสิ่งแรกที่คุณต้องทำเป็นคือการแต่งเพลง คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเล่นเกมเก่งคุณก็อาจจะสามารถแต่งเพลงประกอบเกมส์ที่ดีก็ได้ ส่วนถ้าคุณยังคิดไม่ออกว่าควรจะแต่งเพลงประกอบเกมหนึ่งเกมส์นั้นควรจะมีทิศทางอย่างไร เราจะมาแบ่งปันเทคนิคกัน วันนี้ผมขอแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักๆสำคัญในการทำเพลงประกอบเกมส์ อย่างแรกคือ ความเข้าใจ ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่าเกมที่คุณจะแต่งเพลงประกอบให้เป็นเกมส์แนวไหนเกี่ยวกับอะไร หรือทำให้ใครเล่น สิ่งที่สำคัญคือ ความรู้ความเข้าใจในตัวเกมที่เราต้องแต่งเพลงประกอบ ลองดูไปที่ตัวเกมส์ว่ามันมีองค์ประกอบอะไรให้เรานำมาเล่นเป็นกิมมิคในงานเพลงได้บ้าง อย่างsettingของเกมมันอยู่ในช่วงยุคเวลาไหนหรือตั้งอยู่ที่ประเทศอะไร อย่างตะวันออกกลางยุคสมัยโบราณ บางทีคุณอาจจะลองใช้เรื่องmode เข้ามาสร้างสีสันและเพิ่มบรรยากาศให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น ต่อมาพูดถึงไอเดียหรือ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสารรค์ไม่ใช่การสร้างเมโลดี้หรือทางคอร์ดเจ๋งๆอย่างเดียว บางทีมันก็อาจจะเกี่ยวกับการตีความ อย่างการเลือกใช้แนวดนตรีในการทำเพลงประกอบ มันไม่จำเป็นว่าเกมสักแนวหนึ่งต้องคู่กับเพลงแนวหนึ่งเสมอไป ถ้ามันเป็นเกมแนวแอคชั่นมันก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องใช้ดนตรีแนวร็อคหรือEDM อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับไอเดียและการตีโจทย์ว่าเกมในขณะนั้นต้องการกระตุ้นอารมณ์ของผู้เล่นไปในทิศทางไหน และก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถนำพาผู้เล่นไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน อย่างสุดท้ายคือ ความน่าจดจำ บอกได้เลยว่าถ้าเราไปศึกษาส่วนประกอบเกมที่ประสบความสำเร็จแทบทุกเกมนั้นมีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมันมีสิ่งที่น่าจดจำ เราอาจจะกำลังพูดถึง งานออกแบบภาพ กราฟฟิค เกมเพลย์ เนื้อเรื้องที่ทำให้ผู้เล่นอิน หรือซีนต่างๆที่ผู้เล่นสามารถจำมันได้ แต่ถ้าเราพูดถึงงานดนตรี...

4 อย่างที่เรียนแล้วไม่ได้นำไปสู่การเป็น Music Producer

ตลอดระยะเวลาที่ผมอยู่ในงารสอนดนตรีมานี้ มีหลายคนที่เข้ามาปรึกษาผมเกี่ยวกับการเรียนเพื่อประกอบอาชีพทางดนตรี ซึ่งบางคนก็เลือกเรียนถูก แต่ยังมีอีกไม่น้อยเลยที่เลือกเรียนผิดสาย ซึ่งจะทำให้จบมาทำงานไม่ตรงตามต้องการ วันนี้เราจะมาดู 4 อย่าง หรือ 4 วิชาที่เรียนแล้วไม่ได้นำไปสู่การเป็น Music Producer กันครับ 1. เรียน DJ DJ หรือ Disc Jockey เป็นสายงานทางดนตรีที่ทำหน้าที่เล่นเพลงให้คนตามสถานบันเทิงต่างๆ มีลักษณะเด่นคือมีการสควอช (Squat) แผ่น ซึ่งชัดเจนว่าคือการเปิดเพลงไม่ใช่การสร้างเพลงขึ้นมาตามหน้าที่ของ Producer ดังนั้นถ้าใครเลือกเรียน DJ เพื่อหวังจะสร้างเพลงขึ้นมาล่ะก็เรียกได้ว่าเรียนผิดทางอย่างมาก แต่ด้วยที่ว่ามี Producer หลายๆคนที่แทนตัวเองว่า DJ และเพลงสมัยใหม่มีแนวดนตรี House, Disco อยู่ด้วยจึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าการเรียน DJ นั้นสามารถต่อยอดไปเป็นProducer ในแนวดนตรีนั้นๆได้ แต่จริงๆแล้วต่อให้มี Producer สาย DJ จริง แต่เขาเหล่านั้นผ่านการเรียนดนตรีมาทั้งนั้นกว่าจะผันตัวเองไปเป็น Producer ได้ ดังนั้นสู้มาเรียนดนตรีโดยตรงแต่แรกเลยดีกว่าครับ 2. เรียนเป็น Remixer สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว การเป็น Remixer นั้นหลายๆคนอาจนึกถึง DJ ด้วย เพราะด้วยความเคยชินจากเพลง Remix หลายๆเพลงที่แทนตัวคนทำ Remix ว่า DJ แต่จริงๆแล้วงานคนละส่วนแตกต่างกันสิ้นเชิงDJ นั้นคือคนเปิดเพลง ส่วน Remixer คือคนที่นำเพลงที่มีอยู่แล้วมาใส่เครื่องดนตรี เช่น ลูปกลอง หรือ Synth ใหม่ๆ เพื่อให้ได้แนวและอารมณ์เพลงใหม่ อย่างเพลงแดนซ์มันส์ๆที่เราคุ้นเคยกัน ถึงแม้จะมีส่วนคล้ายการทำเพลงแต่เป็นเพียงการนำเพลงที่ทำขึ้นมาอยู่แล้วมาดัดแปลงอีกที ถือว่าไม่ได้คิดเองตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเรียกว่าคือการ Produce เพลงได้ ดังนั้นการเรียนเป็น Remixer จึงยังห่างจากการเป็น Producer ไม่น้อยเลย 3. เรียนเป็น Live sound engineer เป็นที่เข้าใจผิดกันอย่างมาก กับคนหมู่มากว่าการเรียน Mixing คือการเรียนทำเพลง แต่จริงๆแล้วมันมีความคลุมเครืออยู่ (จริงๆอาจชัดเจนอยู่แล้ว...

ทำไม? การทำเพลงจึงไม่ต้องเชื่อทุกคอมเม้นท์

ในการสร้างผลงานเพลงนั้นมีสิ่งที่สำคัญและเป็นเหมือนดาบสองคมคือ “คอมเม้นท์” ซึ่งแน่นอนว่าคอมเม้นท์เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้พัฒนาฝีมือได้ถูกทิศทาง ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ไขว้เขวได้รวมถึงทำให้หมดไฟกันเลยทีเดียว วันนี้ผมมีแง่เรื่องคอมเม้นท์มาฝากทุกคนกัน เนื่องจากรุ่นน้องที่สนิทและมีความสามารถในการเขียนเพลงระดับที่ค่ายใหญ่ๆซื้อผลงาน และผลงานมียอดผู้ฟังหลายล้านวิว ได้มีการตัดพ้อให้ผมฟังว่ามีคอมเม้นท์ในเชิงบั่นทอนกำลังใจมากเหลือเกิน ทั้ง “เพลงดูธรรมดาเกินไป” “เพลงฟังยากเกินไป” “เพลงฟังง่ายเกินๆป” ฯลฯ ซึ่งผมเองก็แปลกใจว่าขนาดฝีมือระดับนี้ก็ยังหนีไม่พ้นการถูกคอมเม้นท์ในเชิงที่ไม่ค่อยดี แต่จริงๆแล้วก็สามารถเข้าใจได้ครับ ว่าทุกอย่างที่กระทำออกไปไม่ว่าจะเป็น ผลงานเพลง หนัง รวมถึงทุกๆเรื่องก็มักจะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบเป็นะธรรมดาครับ สิ่งสำคัญที่ควรโฟกัสคือคอมเม้นท์เหล่านั้นจะช่วยเราให้โตขึ้นหรือฉุดเรากันแน่ และส่วนใหญ่คอมเม้นท์ที่ฉุดเราก็จะมาจากกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบผลงานประเภทที่เราทำอยู่แล้ว ดังนั้นก็แค่ไม่ต้องไปใส่ใจกับคอมเม้นท์เหล่านนั้นแล้วมาสนใจคอมเม้นท์จากกลุ่มคนที่เสพผลงานประเภทที่เราทำดีกว่า เพราะจริงๆแล้วคอมเม้นท์ก็เป็นเพียงมุมมองของคนๆหนึ่งเท่านั้น อีกอย่างที่สำคัญโดยเฉพาะกับมือใหม่ที่อาจยังแยกแยะไม่ออกว่าคอมเม้นท์แบบไหนที่ควรใส่ใจแบบไหนไม่ควร ตรงนี้ก็ต้องอาศัยผู้รู้ในด้านนั้นๆคอยแนะนำว่าควรใส่ใจอย่างไรดี เพราะหากใส่ใจผิดจะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนามากๆ อาจทำให้ไขว้เขว หรือในบางกรณีอาจเสียสุขภาพจิตและหมดไฟไปได้เลยทีเดียว สุดท้ายนี้ก็อยากฝากว่าจริงๆแล้วเรื่องคอมเม้นท์นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าเก่งขนาดไหนก็เจอ มีทั้งแย่และดีปะปนกัน เราเองก็อย่าไปใส่ใจกับคอมเม้นท์ที่ไม่เข้าใจในผลงานของเราอย่างถ่องแท้และคอมเม้นท์ลบๆให้เรา จงเลือกฟังจากผู้รู้และผู้ที่สนใจงานของเราจริงๆพอ จะช่วยให้เราพัฒนางานดนตรีที่มีคุณภาพได้ครับ The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE...

12 เทคนิคทำเพลงประกอบภาพยนตร์อย่างมืออาชีพ

ไม่ว่าหนังสักเรื่องหนึ่งจะมาจากคนทำหนังมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ไม่ว่ามันจะเป็นหนังสั้น 12 นาทีหรือยาวสองชั่วโมง องค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือดนตรีประกอบ ซึ่งเทคนิคการทำเพลงดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นการ ครูพัก ลักจำ ส่งต่อกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่นเสียมากกว่า ซึ่งในวันนี้เราก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน สิ่งแรกก่อนที่เราจะเริ่มสร้างงานของเราได้นั้นก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้กำกับหรือผู้นำไอเดียเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในภาพรวมของงานที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น และวางแผนนำไอเดียมากมายในหัวนำมาควบแน่นกลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเทคนิคแรกที่เราจะพูดถึงเลยนั่นก็คือ 1.หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค เวลาบรีฟงาน หน้าที่ของเราคือตามการนำของผู้กำกับและสร้างดนตรีออกมาด้วยกัน ถ้าเราไปนั่งคุยศัพท์เทคนิคเยอะแยะหรือเอาแต่พูดถึงเรื่องดนตรี เราอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญและความตั้งใจของผู้กำกับในการทำหนังเรื่องนั้นๆ ได้ ตั้งแต่ได้รับงานลองเข้าไปคุยกับผู้กำกับก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ แบบพูดคุยเล่น ไม่ต้องมีเรื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวก็ได้ แล้วอาศัยบทสนทนาจากการพูดคุยนั้น มาช่วยกำหนดทิศทางว่าดนตรีของหนังเรื่องนั้นจะออกมาในรูปแบบไหนและความตั้งใจของผู้กำกับจริงๆแล้วคืออะไร พยายามหลีกเลี่ยง “reality conversation” เพราะมันจะมาทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเราหมด ปล่อยหน้าที่นั้นให้เป็นของโปรดิวเซอร์แทน 2.เล่าเรื่อง ในหน้าที่ของคนทำเพลงภาพยนตร์หัวใจหลักคือการเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นให้ยึดมั่นกับเรื่องเล่านั้นๆ ห้ามปล่อยมันเด็ดขาด ให้เขียนเพลง และ พัฒนา (Develop) สกอร์ไปพร้อมๆกับภาพ...

วิเคราะห์เพลง Polyrhythm – Perfume

สิ้นสุดการรอคอยของแฟนๆวง Perfume กับคอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง 13 ก.ค. 67 นี้ ผมเองก็ตื่นเต้นมากๆกับคอนเสิร์ตครั้งนี้ และเพื่อเป็นการรื้อฟื้น Mood ของเพลงที่ทุกคนคุ้นเคย วันนี้ผมได้ทำการวิเคราะห์เพลงฮิตอย่างเพลง Polyrhythm ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องการเรียบเรียงจังหวะที่แปลกหู แต่ก็เพราะจนติดหูเป็นเพลง POP ที่ดังเป็นที่รู้จักอีกเพลงหนึ่ง เรามาดูกันว่าเบื้องหลังความเก๋ของเพลงนั้นซ่อนเทคนิคเด็ดๆอะไรไว้ สามารถรับชมคลิปพร้อมๆกันได้เลยครับ The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก...

ทำไมยุคนี้ เพลงตลาดเราถึงไม่เหมือนกัน

เป็นที่เข้าใจกันดีว่ารสนิยมทางด้านดนตรีคือสิ่งที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลหรือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นตรงกัน บางคนชอบฟังเพลงแนวนี้ บางคนำไม่ชอบ บางคนไม่ได้ฟังเพลงแนวนี้เป็นปกติแต่ชอบบางเพลงที่ทำออกมาเป็นแนวนี้ มีความคิดที่แตกต่างและหลากหลายกันไป และไม่ใช่เรื่องที่มีคนผิดคนถูก เป็นความชอบส่วนบุคล แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีคนที่ไม่สามารถแยกแยะความชอบส่วนตัวออกจากความชอบส่วนรวมได้นั้น เช่น เราคิดยังไงคนอื่นก็ต้องคิดอย่างนั้น เราชอบเพลงนี้แปลว่าทุกคนต้องชอบ เพลงนี้เราไม่ชอบใครชอบเพลงนี้เท่ากับว่าเขารสนิยมห่วย อะไรแบบนี้บางทีถ้ามันอยู่ในขอบเขตบางทีเราก็อาจจะพอมองข้ามมันไป แต่ถ้ามีคนที่มีความคิดเหล่านี้อยู่ในที่ทำงานของเรา และเราเกิดขัดแย้งทางความคิดกัน มันอาจจะส่งผลกระทบถึงงานที่เรากำลังทำอยู่ก็เป็นได้ อย่างในกรณีตัวอย่างที่ มีนักดนตรีไปเล่นแทนคนอื่นที่ร้าน พอถามขอลิสต์เพลงว่าเล่นประมาณไหน แล้วคนในวงบอกว่า “เพลงตลาดธรรมดาทั่วไป” ซึ่งนิยามของคำว่า เพลงตลาด มันกว้างมากเกินไป มันอาจจะทำให้การสื่อสารเกิดความผิดพลาดและงานที่ออกมมามันก็จะเพี้ยนตามกันไปหมด ถ้าเกิดคำว่า “เพลงตลาด” ของเขากับของเราบางทีมันไม่เหมือนกัน เพลงตลาด กับยุคสมัยปัจจุบัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในยุคนี้คำว่า “เพลงตลาด” บางทีมันอาจจะไม่สามารถจำกัดความอะไรได้เลย เพราะในยุคสมัยนี้ที่ใครๆก็สามารถทำเพลงเองได้ที่บ้าน ไม่ได้มีกระบวนการสร้างที่ลำบากยากเย็นเหมือนสมัยหลายปีก่อน นั่นทำให้ในทุกๆวันนี้มีเพลงใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลารวมกันเป็นจำนวนมหาศาล รวมถึงด้านของคนฟังก็มีกลุ่มคนฟังที่มีรสนิยมจำแนกแตกต่างกันมีหลากหลายกลุ่มย่อย เรียกได้ว่ามีรองรับสำหรับทุกแนวเพลงแค่ขึ้นอยู่ว่าจะมากจะน้อย และกลุ่มคนฟังเหล่านั้นเองก็แตกออกไปเป็นกลุ่มใหญ่...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.