Author: Montgomerry

เรียนทำเพลง ฝึกขั้นคู่ 12 เพลง

ฝึกจำขั้นคู่ Interval ด้วยเพลง 12 เพลง

ขั้นคู่ หรือ interval หน่วยย่อยที่สุดในการสร้างเสียงประสานของดนตรี ซึ่งถ้าใครที่สามารถแยกแยะเสียงขั้นคู่ออก จะมีความคล่องแคล่วในการนำไปใช้สร้างดนตรีที่มีความซับซ้อนและไพเราะได้มากกว่า การจำเสียงขั้นคู่หรือในดนตรีเป็นการฝึก ear training อย่างหนึ่ง ที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น ถ้ารู้วิธีฝึก วันนี้เรามีเทคนิคนึงมานำเสนอ คือการ ฝึกจำขั้นคู่ต่างๆด้วยเพลง โดยจะคัดเพลงที่ค่อนข้างคุ้นหู หรือเคยได้ยินกันมา ค่อนข้างเป็นสากล เรียกได้ว่าฟังแค่ สองสามโน้ตแรก ก็ร้องอ๋อเลย ว่านี่มันคู่อะไร (และถ้าใครยังไม่รู้ว่า ขั้นคู่ Interval คืออะไร สามารถกดเข้าไปดูได้เลยที่ ตรงนี้) ปล. คู่ 1 ไม่ต้องมีเนอะ เพราะมันตัวเดียวกัน 1.คู่ 2 minor Pink Panther Theme...

เรียนทำเพลง 9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะ

9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน

ครั้งก่อน เราเคยพูดถึงเรื่องลำดับการเรียนรู้การทำดนตรีจากวงเล็ก ไปวงใหญ่กันไปแล้ว ใครที่ยังไม่ได้อ่านสามารถตามเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลยครับhttps://verycatsound.com/blog-band/ วันนี้เราจะมาเจาะกันว่าพอเราจะทำเครื่องดนตรี 8 ชิ้นขึ้นไปมันต้องเพิ่มไลน์ดนตรียังไงให้ออกมาดูดี ไม่ตีกัน 9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน 1. ไลน์ที่เพิ่มเข้ามา อาจไปทำ Dublin เพื่อเพิ่มสีสัน ถ้าใครที่รู้สึกว่าไลน์ดนตรีเดิมของเรามันฟังดูแล้วไม่ลื่นหู หรือมันรู้สึกยังขาดมิติ เป็นเพราะเครื่องดนตรีเริ่มเยอะขึ้น เลยทำให้เมโลดี้บางตัวที่เราเล่นมันไม่เด่นถ้ามีปัญหานี้แนะนำให้ลองทำ Dublin ดูครับDublin หรือเรียกอีกอย่างว่า Double คือการเล่นไลน์ดนตรีซ้ำกับเครื่องดนตรีตัวอื่นที่ทำเอาไว้แล้ว เป็นการย้ำเพื่อเพิ่มสีสันหรือสร้างความน่าสนใจให้กับไลน์ดนตรีของเรา เช่น สมมุติว่าผมใช้เปียโนเล่นเมโลดี้เข้าไป แล้วรู้สึกว่ามันยังจืด ก็ลองหยิบ synth มาเล่นเมโลดี้ตัวเดียวกันเข้าไปเพิ่มเพื่อให้มันดึงความน่าสนใจมากขึ้น 2. ไลน์ที่เพิ่มเข้ามา อาจไปทำหน้าที่ Chorus ให้กับเครื่องดนตรีตัวอื่น คล้ายๆกับข้อแรก แต่ไลน์ดนตรีที่เราเล่นอาจไม่ได้เล่นซ้ำเป๊ะๆ เพราะเราจะใช้ขั้นคู่...

ทำไมต้องเรียนวิชา Basic Rhythm เข้าใจจังหวะจบใน 2 ชั่วโมง

จังหวะคือสิ่งที่สำคัญมากในดนตรี ไม่แพ้ตัวโน้ต pitch ,ระดับเสียง คอร์ด หรือเสียงประสานจังหวะคือสิ่งที่มีอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน และเป็นองค์ประกอบดนตรีที่อยู่กับมนุษย์มาก่อนจะระดับเสียงซะอีกดนตรียุคปัจจุบันทั้งโลกนี้ ใช้จังหวะ 4/4 เป็นหลัก ซะ 70% ส่วนที่เหลือเป็น 3/4 , 6/8 , swing บ้าง อีก 29% และจังหวะที่ใช้น้อยจริงๆคือพวก complex time ประหลาดๆทั้งหลายแหล่ อีก 1% คนที่มีเซ้นส์อยู่แล้วในเรื่องของจังหวะก็สบายๆแต่ก็มีหลายคนที่ไม่มีก็อาจจะงง ยังไม่เข้าใจคำว่าจังหวะแจ่มแจ้ง แล้วยังมีความเข้าใจผิดๆอยู่ บางทีทำเพลงของตัวเองออกมา ก็ไม่รู้ตัวว่าเพลงที่ตัวเองทำอยู่จริงๆแล้วไม่ใช่จังหวะ 4/4 แต่เป็นจังหวะอื่น เช่น 3/4 บ้าง, shuffle บ้าง โดยที่ไม่รู้ตัว...

ฝึก Ear Training Move-Do ฟรีๆ 1 ชั่วโมงเต็ม!

มีหลายคนถามเข้ามากับทางเราว่า “ฝึก Ear Training ยังไงดี?” หรือบางทีติดต่อเข้ามาสอบถามว่า “มีให้เรียนฝึก Ear Training ไหมครับ”ซึ่งคอร์สของเราจะไม่มีสอน Ear Training โดยตรง มีบ้างที่ให้ฝึกในบางวิชาแต่คอร์ส The Real Producer ของเราจะเน้นฝึกในเรื่องของการประพันธ์, การเรียบเรียงดนตรี เน้นฝึกให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฏีดนตรีต่างๆเพื่อเป็น Producer มืออาชีพมากกว่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่า Ear Training ไม่สำคัญ ถ้าใครที่มีพื้นฐานในการฝึก Ear Training มาดีจะรู้ว่ามันช่วยในเรื่องการเรียนทำดนตรีได้สัมฤทธิ์ผลมากขึ้นแต่ก็มีบางคนที่หูอาจจะไม่ได้ดี ไม่ได้มีการฝึกฝนเรื่องการฟัง หรือ Ear Training มาก่อนไม่สามารถร้องเพลงตามโน้ตได้ ก็จะมีปัญหานิดนึง ไม่ได้แปลว่าจะทำเพลงไม่ได้ แค่ว่าจะเหนื่อยกว่าคนอื่นเวลาที่คุณฝึกทำเพลง หรือฝึกเล่นดนตรีดังนั้นการฝึก Ear...

อยากทำเพลง Pop ทำไมต้องเรียนคอร์ด Jazz?

หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไมต้องเรียน Jazz ด้วย?เพราะ Jazz เป็นแค่แนวเพลงอันนึงเท่านั้น ที่ถ้าไม่ได้สนใจก็ไม่เห็นจะต้องเรียนมันเลย แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าข้อดีที่ได้เรียน Jazz นั้นมีมากมายมหาศาล และยุคสมัยนี้เป็นยุคที่เพลง Pop นั้นมีความซับซ้อนและทำยากมากขึ้นกว่าเดิม เพราะศิลปิน นักแต่งเพลง หรือโปรดิวเซอร์หลายๆคนพยายามจะหยิบทฤษฏีดนตรีขั้นสูงต่างๆ โดยเฉพาะทฤษฏีดนตรี Jazz เอามาใส่ในเพลงของตัวเองกัน ทำให้ยุคนี้ถือเป็นยุคที่มีเพลงหลากหลายแนว หลากหลายอารมย์ให้เราฟังเยอะมาก ดังนั้นการเรียนคอร์ด Jazz จะเรียกว่าเป็น เรื่องที่ควรรู้เลยก็ว่าได้ถ้าคุณอยากจะเก่งขึ้น และอยากตามยุคสมัยทัน ผมจะยกตัวอย่างข้อดี 3 ข้อนี้ที่คุณจะรับหลังจากที่ได้เรียนคอร์ด Jazz ไปนะครับ 1. ทำให้เกิดสำเนียงใหม่ๆ ถ้าหากคุณเจอทางตันเวลาทำเพลง ใช้แต่คอร์ดเดิมๆวกวนไปมาไม่รู้ว่าจะสร้างสำเนียงในเพลงของเรายังไงให้มีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใครแต่แค่เรารู้คอร์ดแจ๊สพื้นฐานแค่นี้ก็จะช่วยให้เพลงของคุณจะดูมีสีสันขึ้น มีรสชาติใหม่ๆ มีสเกลที่พลิกแพลงเยอะขึ้น และลูกเล่นใหม่ๆให้เราใช้งานเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดจากคอร์ดเดิมๆ ให้เรามีไอเดียในการแต่งเพลงมากขึ้นมหาศาล ไม่มีทางตันอีกต่อไป 2....

สอนแต่งเพลง 4 ลำดับการเรียนรู้ แนวคิดการทำดนตรีให้วงเล็กไปจนถึงใหญ่.jpg

4 ลำดับการเรียนรู้ แนวคิดการทำดนตรีให้วงเล็ก-ใหญ่

ผมเห็นปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่เรียนการทำเพลง ทำดนตรี จากการบ้านที่นักเรียนในคลาส The Real Producer ส่งมา คือเวลาทำดนตรีแล้ว ใส่เครื่องดนตรี “เยอะ” เกินไป แล้วเกิดอาการ “ตีกัน” ที่จริงแล้วการใส่เครื่องดนตรีเยอะชิ้นสามารถทำได้ครับ เพียงแต่ว่ามันจะยากกว่าการทำเครื่องดนตรีน้อยชิ้น ตรงที่ต้องคอยระวังควบคุมดีๆไม่ให้มันเกิดอาการตีกัน เพราะยิ่งเครื่องเยอะก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะมี element หรือองค์ประกอบที่ต้องคอยควบคุมใส่ใจมากขึ้นตาม ทำยังไงไม่ให้รก ไม่ให้ตีกัน ไม่ให้แย่งหน้าที่กัน ฯลฯ ก่อนอื่นเลย การที่จะทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะชิ้นได้นั้น ผมขอให้เริ่มจากการทำจากเครื่องน้อยๆให้ได้ก่อน พอทำแบบเครื่องน้อยได้จนลงตัวทั้งเพลงแล้ว เพลงต่อๆไปค่อยๆเพิ่มขนาดของวงดนตรีให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆทีละนิด ฉะนั้นวันนี้จึงมาแนะนำลำดับการเรียนรู้การทำดนตรีจากวงเล็กไปจนถึงใหญ่กันนะครับ ต่อไปนี้จะเป็น Step ของการเรียนรู้ ว่าควรเริ่มจากวงแบบไหนบ้างนะครับ Step 12 Lines : Chord –...

วิธีหาลายมือที่เป็นเอกลักษณ์ในการทำเพลง

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายๆคนที่อยากเป็นคนทำเพลง นักแต่งเพลง หรือศิลปิน อยากรู้ และถามกันเข้ามาอยู่บ่อยๆ จากการที่ผมได้สอนมากว่าหนึ่งร้อยคนในคลาส The Real Producer ผมอยากบอกว่า ที่จริงแล้ว “ไม่มีใครไม่มีเอกลักษณ์” ครับ ทุกคนที่ผมเห็นงานมาโดยตลอด ล้วนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง จนผมเริ่มแน่ใจได้ว่า ถ้าจะมีใครที่ไม่มีเอกลักษณ์จริงๆนั้นน่าจะเป็นส่วนน้อยมากๆ หรือบางทีก็อาจจะมีแหละ เพียงแต่ยังหามันไม่เจอเฉยๆ แท้จริงแล้ว เอกลักษณ์หรือลายมือในการทำเพลงที่ว่านี้คืออะไร? ต้องกล่าวก่อนว่า สิ่งใหม่ๆในโลกนี้ แทบจะไม่มีอีกแล้ว แนวดนตรีแทบทุกแนวถูกคิดค้นมาหมดแล้ว เราอยู่ในยุคที่หลัง Post Post Modern มาซะอีก ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งเดิมที่หมุนเวียนกันมานำเสนอใหม่ ด้วยส่วนผสมหรือบริบทแบบใหม่เท่านั้นเอง ฉะนั้น ไม่ว่าคุณคิดว่าจะทำอะไรที่ใหม่สักแค่ไหน มันจะต้องมีส่วนที่เหมือนหรือคล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอยู่แล้วทั้งสิ้น ไม่มีอะไรใหม่ถอดด้าม 100% ที่แท้จริง ฉะนั้นสิ่งที่ใหม่ในตอนนี้มันคือ สิ่งที่สังเคราะห์มาจากของเก่า...

เรียนทำเพลง Plug-in ท่วมหัว กลัวเพลงไม่รอด ทำยังไงดี

Plug-in ท่วมหัว กลัวเพลงไม่รอด ทำยังไงดี?

ปัจจุบัน Plug-in ในการทำเพลงนั้นมีมากมายมหาศาลเป็นร้อยเป็นพัน ทั้งชนิดทั้งยี่ห้อ จนทำให้หลายคนสับสน และรู้สึกว่า เรียนรู้หมดไม่ไหว รู้สึก Overwhelm มีข้อมูลมากมายจนเลือกไม่ได้ว่าจะใช้ Plug-in ตัวไหนยังไงดี บางคนอาจมี Plug-in มากมายที่โหลดไว้ตามโอกาสต่างๆหรือซื้อมา ตาม review หรือคำแนะนำต่างๆ จนหมดพื้นที่ในคอมที่ใช้ทำเพลงไปหลาย TB แต่บางทีเวลาใช้จริงนิดเดียว หรือแทบไม่ได้ใช้งานเลย เรียกได้ว่าอยู่วงการสะสม Plug-in อาจจะเหมาะกว่า วงการทำเพลง ซะอีก หรือบางคนเวลาใช้ก็อาจจะใส่ plug-in มากเกินความจำเป็นจนเกินสิ่งที่เรียกว่า “Over-produce” หรือบางทีก็ฟังไม่ออกหรอก ขอได้ใส่ไว้ก่อน เป็นความเชื่อว่า ใส่แล้วจะเสียงดีขึ้น เรียกได้ว่า กลัวเพลงไม่รอด เลยขอมี Plug-in เยอะไว้ก่อน...

วิธีแต่งเพลงด้วยการด้นเนื้อเพลงพร้อมทำนอง ยังไงให้เวิร์ค

ครั้งก่อนผมเคยพูดถึงการด้นเนื้อเพลงพร้อมทำนองไปว่า ไม่ควรทำ ถ้าใครจำได้นะครับ แต่หลายคนอาจจะงงว่า แล้วทำไมวันนี้มาพูดตรงกันข้าม ถ้าใครได้ฟังเนื้อหาจนจบจะรู้ว่า ที่จริงมันไม่ใช่ใช้ไม่ได้ เพียงแต่ว่าถ้าใช้แบบนั้นหมดทั้งเพลง เป็นสิ่งที่ไม่ควร แต่ใช้วิธีนั้นยังไงให้เวิร์คล่ะ วันนี้จะมาไขวิธีกันนะครับ การด้นเนื้อพร้อมทำนอง เป็นสิ่งที่เวิร์คในเชิงของ “การหาหัวเชื้อ” เพราะสิ่งที่เราใช้ feeling ด้นออกมา บางทีมันออกมาจากความรู้สึกแบบ pure จากใจเลยจริงๆ เลยมีความรู้สึกถึงอารมณ์ได้มากกว่าการแยกส่วนมาใส่เนื้อร้องยัดลงไปให้พอดีกับเมโลดี้ในภายหลัง ฉะนั้นมันอาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ “คาดไม่ถึง” หรือ “ได้อารมณ์” มากกว่าการคิดด้วยวิธีวิเคราะห์สังเคราะห์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสากลที่ยอมรับกันทั่ว แม้แต่โปรดิวเซอร์เกาหลี K-pop ระดับโลก ที่ผมเคยไปสัมนาก็เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ แต่ข้อเสียก็คือว่า มันจัดเนื้อร้องให้ลงตัวทั้งเพลงยากจริงๆ เพราะข้อจำกัดอะไรหลายๆอย่างทางด้านความลงตัวของการเล่าเรื่อง ของคำ และภาษา นั่นกล่าวได้ว่า ถ้ามันเป็นเพียงคำ วลี หรือประโยคสั้นๆ...

ทำไมจึงไม่ควรแต่งทำนองกับคำร้องไปพร้อมกันทั้งเพลง

ตลอดระยะเวลาที่ผมทำงานกว่าสิบปี และมีมือใหม่ส่งเพลงมาให้ฟังอยู่เรื่อยๆ ผมพบจุดเริ่มของเพลงเหล่านั้น ที่มาจากคนที่เริ่มแต่งเพลงใหม่ๆ จะมีปัญหาที่เป็นเหมือนๆกันอาทิเช่น เล่าเรื่องไม่สัมฤทธิ์ผล คำวกๆวนๆ เนื้อเรื่องวนอยู่ในอ่าง และคำมักไม่น่าสนใจ จนเพลงมันดู “จม” คือไม่มีจุดโดดเด่น ฟังจบแล้วจำอะไรไม่ได้เลย เรียกได้ว่า ถ้าเอาไปเปิดอยู่ใน youtubeมันคงจะจมหายไปเลย เพราะไม่มีจุดโดดเด่นเพียงพอที่จะจับความสนใจคนฟังได้ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันทาง Content ที่เชี่ยวกราก ที่พร้อมใจกันทำตัวโดดเด่นเพื่อมาแย่งความสนใจจากคนดูคนฟังอย่างหนาแน่นเต็ม social media ปัจจุบันนี้มันมีเพลงมากมายเกินไปจนเพลงที่คำเรียบๆ ซ้ำๆ ไม่โดดเด่น จะยากมากที่จะเป็นที่สนใจจนมีคนกดฟัง ทำไมเพลงถึงไม่โดดเด่น หลักๆ แล้วปัญหาที่ทำให้เพลงมันไม่โดดเด่น ไม่สะดุดตาสะดุดหู หลักๆเป็นเพราะมันไม่ได้ถูกคิดเนื้อร้องมาอย่างดี และปัญหาที่กล่าวไปมักมาจากสาเหตุที่ว่า มือใหม่ที่แต่งเพลงส่วนมากแล้วมักจะ “แต่งทำนองกับคำร้องไปพร้อมกัน” ทั้งเพลง ปัญหาของการแต่งทำนองและคำร้องไปพร้อมกัน สมองคนเรานั้นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลจำกัด การที่เราใช้สมองคิดทำนองเพลง ก็เหมือนกับเราเปิดโปรแกรมคิดคำนวนทำนองเพลงโปรแกรมหนึ่ง...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.