4 อย่างที่เรียนแล้วไม่ได้นำไปสู่การเป็น Music Producer

ตลอดระยะเวลาที่ผมอยู่ในงารสอนดนตรีมานี้ มีหลายคนที่เข้ามาปรึกษาผมเกี่ยวกับการเรียนเพื่อประกอบอาชีพทางดนตรี ซึ่งบางคนก็เลือกเรียนถูก แต่ยังมีอีกไม่น้อยเลยที่เลือกเรียนผิดสาย ซึ่งจะทำให้จบมาทำงานไม่ตรงตามต้องการ วันนี้เราจะมาดู 4 อย่าง หรือ 4 วิชาที่เรียนแล้วไม่ได้นำไปสู่การเป็น Music Producer กันครับ 1. เรียน DJ DJ หรือ Disc Jockey เป็นสายงานทางดนตรีที่ทำหน้าที่เล่นเพลงให้คนตามสถานบันเทิงต่างๆ มีลักษณะเด่นคือมีการสควอช (Squat) แผ่น ซึ่งชัดเจนว่าคือการเปิดเพลงไม่ใช่การสร้างเพลงขึ้นมาตามหน้าที่ของ Producer ดังนั้นถ้าใครเลือกเรียน DJ เพื่อหวังจะสร้างเพลงขึ้นมาล่ะก็เรียกได้ว่าเรียนผิดทางอย่างมาก แต่ด้วยที่ว่ามี Producer หลายๆคนที่แทนตัวเองว่า DJ และเพลงสมัยใหม่มีแนวดนตรี House, Disco อยู่ด้วยจึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าการเรียน DJ นั้นสามารถต่อยอดไปเป็นProducer ในแนวดนตรีนั้นๆได้ แต่จริงๆแล้วต่อให้มี Producer สาย DJ จริง แต่เขาเหล่านั้นผ่านการเรียนดนตรีมาทั้งนั้นกว่าจะผันตัวเองไปเป็น Producer ได้ ดังนั้นสู้มาเรียนดนตรีโดยตรงแต่แรกเลยดีกว่าครับ 2. เรียนเป็น Remixer สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว การเป็น Remixer นั้นหลายๆคนอาจนึกถึง DJ ด้วย เพราะด้วยความเคยชินจากเพลง Remix หลายๆเพลงที่แทนตัวคนทำ Remix ว่า DJ แต่จริงๆแล้วงานคนละส่วนแตกต่างกันสิ้นเชิงDJ นั้นคือคนเปิดเพลง ส่วน Remixer คือคนที่นำเพลงที่มีอยู่แล้วมาใส่เครื่องดนตรี เช่น ลูปกลอง หรือ Synth ใหม่ๆ เพื่อให้ได้แนวและอารมณ์เพลงใหม่ อย่างเพลงแดนซ์มันส์ๆที่เราคุ้นเคยกัน ถึงแม้จะมีส่วนคล้ายการทำเพลงแต่เป็นเพียงการนำเพลงที่ทำขึ้นมาอยู่แล้วมาดัดแปลงอีกที ถือว่าไม่ได้คิดเองตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเรียกว่าคือการ Produce เพลงได้ ดังนั้นการเรียนเป็น Remixer จึงยังห่างจากการเป็น Producer ไม่น้อยเลย 3. เรียนเป็น Live sound engineer เป็นที่เข้าใจผิดกันอย่างมาก กับคนหมู่มากว่าการเรียน Mixing คือการเรียนทำเพลง แต่จริงๆแล้วมันมีความคลุมเครืออยู่ (จริงๆอาจชัดเจนอยู่แล้ว...

ทำไม? การทำเพลงจึงไม่ต้องเชื่อทุกคอมเม้นท์

ในการสร้างผลงานเพลงนั้นมีสิ่งที่สำคัญและเป็นเหมือนดาบสองคมคือ “คอมเม้นท์” ซึ่งแน่นอนว่าคอมเม้นท์เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้พัฒนาฝีมือได้ถูกทิศทาง ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ไขว้เขวได้รวมถึงทำให้หมดไฟกันเลยทีเดียว วันนี้ผมมีแง่เรื่องคอมเม้นท์มาฝากทุกคนกัน เนื่องจากรุ่นน้องที่สนิทและมีความสามารถในการเขียนเพลงระดับที่ค่ายใหญ่ๆซื้อผลงาน และผลงานมียอดผู้ฟังหลายล้านวิว ได้มีการตัดพ้อให้ผมฟังว่ามีคอมเม้นท์ในเชิงบั่นทอนกำลังใจมากเหลือเกิน ทั้ง “เพลงดูธรรมดาเกินไป” “เพลงฟังยากเกินไป” “เพลงฟังง่ายเกินๆป” ฯลฯ ซึ่งผมเองก็แปลกใจว่าขนาดฝีมือระดับนี้ก็ยังหนีไม่พ้นการถูกคอมเม้นท์ในเชิงที่ไม่ค่อยดี แต่จริงๆแล้วก็สามารถเข้าใจได้ครับ ว่าทุกอย่างที่กระทำออกไปไม่ว่าจะเป็น ผลงานเพลง หนัง รวมถึงทุกๆเรื่องก็มักจะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบเป็นะธรรมดาครับ สิ่งสำคัญที่ควรโฟกัสคือคอมเม้นท์เหล่านั้นจะช่วยเราให้โตขึ้นหรือฉุดเรากันแน่ และส่วนใหญ่คอมเม้นท์ที่ฉุดเราก็จะมาจากกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบผลงานประเภทที่เราทำอยู่แล้ว ดังนั้นก็แค่ไม่ต้องไปใส่ใจกับคอมเม้นท์เหล่านนั้นแล้วมาสนใจคอมเม้นท์จากกลุ่มคนที่เสพผลงานประเภทที่เราทำดีกว่า เพราะจริงๆแล้วคอมเม้นท์ก็เป็นเพียงมุมมองของคนๆหนึ่งเท่านั้น อีกอย่างที่สำคัญโดยเฉพาะกับมือใหม่ที่อาจยังแยกแยะไม่ออกว่าคอมเม้นท์แบบไหนที่ควรใส่ใจแบบไหนไม่ควร ตรงนี้ก็ต้องอาศัยผู้รู้ในด้านนั้นๆคอยแนะนำว่าควรใส่ใจอย่างไรดี เพราะหากใส่ใจผิดจะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนามากๆ อาจทำให้ไขว้เขว หรือในบางกรณีอาจเสียสุขภาพจิตและหมดไฟไปได้เลยทีเดียว สุดท้ายนี้ก็อยากฝากว่าจริงๆแล้วเรื่องคอมเม้นท์นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าเก่งขนาดไหนก็เจอ มีทั้งแย่และดีปะปนกัน เราเองก็อย่าไปใส่ใจกับคอมเม้นท์ที่ไม่เข้าใจในผลงานของเราอย่างถ่องแท้และคอมเม้นท์ลบๆให้เรา จงเลือกฟังจากผู้รู้และผู้ที่สนใจงานของเราจริงๆพอ จะช่วยให้เราพัฒนางานดนตรีที่มีคุณภาพได้ครับ The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE...

12 เทคนิคทำเพลงประกอบภาพยนตร์อย่างมืออาชีพ

ไม่ว่าหนังสักเรื่องหนึ่งจะมาจากคนทำหนังมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ไม่ว่ามันจะเป็นหนังสั้น 12 นาทีหรือยาวสองชั่วโมง องค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือดนตรีประกอบ ซึ่งเทคนิคการทำเพลงดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นการ ครูพัก ลักจำ ส่งต่อกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่นเสียมากกว่า ซึ่งในวันนี้เราก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน สิ่งแรกก่อนที่เราจะเริ่มสร้างงานของเราได้นั้นก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้กำกับหรือผู้นำไอเดียเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในภาพรวมของงานที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น และวางแผนนำไอเดียมากมายในหัวนำมาควบแน่นกลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเทคนิคแรกที่เราจะพูดถึงเลยนั่นก็คือ 1.หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค เวลาบรีฟงาน หน้าที่ของเราคือตามการนำของผู้กำกับและสร้างดนตรีออกมาด้วยกัน ถ้าเราไปนั่งคุยศัพท์เทคนิคเยอะแยะหรือเอาแต่พูดถึงเรื่องดนตรี เราอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญและความตั้งใจของผู้กำกับในการทำหนังเรื่องนั้นๆ ได้ ตั้งแต่ได้รับงานลองเข้าไปคุยกับผู้กำกับก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ แบบพูดคุยเล่น ไม่ต้องมีเรื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวก็ได้ แล้วอาศัยบทสนทนาจากการพูดคุยนั้น มาช่วยกำหนดทิศทางว่าดนตรีของหนังเรื่องนั้นจะออกมาในรูปแบบไหนและความตั้งใจของผู้กำกับจริงๆแล้วคืออะไร พยายามหลีกเลี่ยง “reality conversation” เพราะมันจะมาทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเราหมด ปล่อยหน้าที่นั้นให้เป็นของโปรดิวเซอร์แทน 2.เล่าเรื่อง ในหน้าที่ของคนทำเพลงภาพยนตร์หัวใจหลักคือการเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นให้ยึดมั่นกับเรื่องเล่านั้นๆ ห้ามปล่อยมันเด็ดขาด ให้เขียนเพลง และ พัฒนา (Develop) สกอร์ไปพร้อมๆกับภาพ...

วิเคราะห์เพลง Polyrhythm – Perfume

สิ้นสุดการรอคอยของแฟนๆวง Perfume กับคอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง 13 ก.ค. 67 นี้ ผมเองก็ตื่นเต้นมากๆกับคอนเสิร์ตครั้งนี้ และเพื่อเป็นการรื้อฟื้น Mood ของเพลงที่ทุกคนคุ้นเคย วันนี้ผมได้ทำการวิเคราะห์เพลงฮิตอย่างเพลง Polyrhythm ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องการเรียบเรียงจังหวะที่แปลกหู แต่ก็เพราะจนติดหูเป็นเพลง POP ที่ดังเป็นที่รู้จักอีกเพลงหนึ่ง เรามาดูกันว่าเบื้องหลังความเก๋ของเพลงนั้นซ่อนเทคนิคเด็ดๆอะไรไว้ สามารถรับชมคลิปพร้อมๆกันได้เลยครับ The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก...

ทำไมยุคนี้ เพลงตลาดเราถึงไม่เหมือนกัน

เป็นที่เข้าใจกันดีว่ารสนิยมทางด้านดนตรีคือสิ่งที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลหรือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นตรงกัน บางคนชอบฟังเพลงแนวนี้ บางคนำไม่ชอบ บางคนไม่ได้ฟังเพลงแนวนี้เป็นปกติแต่ชอบบางเพลงที่ทำออกมาเป็นแนวนี้ มีความคิดที่แตกต่างและหลากหลายกันไป และไม่ใช่เรื่องที่มีคนผิดคนถูก เป็นความชอบส่วนบุคล แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีคนที่ไม่สามารถแยกแยะความชอบส่วนตัวออกจากความชอบส่วนรวมได้นั้น เช่น เราคิดยังไงคนอื่นก็ต้องคิดอย่างนั้น เราชอบเพลงนี้แปลว่าทุกคนต้องชอบ เพลงนี้เราไม่ชอบใครชอบเพลงนี้เท่ากับว่าเขารสนิยมห่วย อะไรแบบนี้บางทีถ้ามันอยู่ในขอบเขตบางทีเราก็อาจจะพอมองข้ามมันไป แต่ถ้ามีคนที่มีความคิดเหล่านี้อยู่ในที่ทำงานของเรา และเราเกิดขัดแย้งทางความคิดกัน มันอาจจะส่งผลกระทบถึงงานที่เรากำลังทำอยู่ก็เป็นได้ อย่างในกรณีตัวอย่างที่ มีนักดนตรีไปเล่นแทนคนอื่นที่ร้าน พอถามขอลิสต์เพลงว่าเล่นประมาณไหน แล้วคนในวงบอกว่า “เพลงตลาดธรรมดาทั่วไป” ซึ่งนิยามของคำว่า เพลงตลาด มันกว้างมากเกินไป มันอาจจะทำให้การสื่อสารเกิดความผิดพลาดและงานที่ออกมมามันก็จะเพี้ยนตามกันไปหมด ถ้าเกิดคำว่า “เพลงตลาด” ของเขากับของเราบางทีมันไม่เหมือนกัน เพลงตลาด กับยุคสมัยปัจจุบัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในยุคนี้คำว่า “เพลงตลาด” บางทีมันอาจจะไม่สามารถจำกัดความอะไรได้เลย เพราะในยุคสมัยนี้ที่ใครๆก็สามารถทำเพลงเองได้ที่บ้าน ไม่ได้มีกระบวนการสร้างที่ลำบากยากเย็นเหมือนสมัยหลายปีก่อน นั่นทำให้ในทุกๆวันนี้มีเพลงใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลารวมกันเป็นจำนวนมหาศาล รวมถึงด้านของคนฟังก็มีกลุ่มคนฟังที่มีรสนิยมจำแนกแตกต่างกันมีหลากหลายกลุ่มย่อย เรียกได้ว่ามีรองรับสำหรับทุกแนวเพลงแค่ขึ้นอยู่ว่าจะมากจะน้อย และกลุ่มคนฟังเหล่านั้นเองก็แตกออกไปเป็นกลุ่มใหญ่...

3 เทคนิคการทำเพลง เพื่อเพิ่มยอดขาย

เมื่อเราลองนึกถึงการที่จะทำโฆษณาสักตัวหนึ่งให้ออกมาดีมันต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง? มันก็อาจจะต้องดีตั้งแต่แรกเริ่มเลยจากคอนเซ็ปต์เนื้อหา การถ่ายทำ โทนสีของภาพ ลำดับการตัดต่อและอื่นๆอีกมากมาย แต่ทุกคนก็อาจจะลืมไปว่าเสียงเพลงประกอบก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้โฆษณานั้นดูน่าสนใจมากขึ้น แต่เพลงประกอบบนโลกใบนี้มีอยู่อีกไม่รู้กี่แบบ กี่ประเภท ควรจะเลือกใช้ยังไงให้เหมาะกับงานแต่ละชิ้น มาดูกันว่าเราจะลองแยกประเภทยังไงได้บ้าง ……….อย่างแรกคือ การเข้าใจคอนเซ็ปต์ที่ต้องการสื่อ ไม่ว่าเราจะทำอะไรสักอย่างก็ตาม เราควรจะต้องมีการวางแผนที่แน่นอนว่าเพลงประกอบไปใส่ในวิดีโอนั้นเป็นประเภทไหน อาจจะเป็นวิดีโอการให้ความรู้และตอบคำถาม, โปรโมทผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย หรืออาจจะเป็นวิดีโอเพื่อสร้างความสนุกอย่างคลิปท่องเที่ยว คลิปรีวิวอาหาร ต่อมาคือ การกำหนด Mood&Tone ให้ชัดเจน เมื่อเราเข้าใจคอนเซ็ปต์แล้วต้องหาแนวทางในการนำเสนอ เพราะแต่ละเพลงสามารถกำหนดอารมณ์ของผู้ฟังได้แต่เริ่มเลยทีเดียว เช่นการทำโฆษณาท่องเที่ยวก็อาจใช้เพลงที่ให้ความสนุกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเพลงหนักๆ สำหรับการท่องเที่ยวสายลุย, เพลงสบายๆ สำหรับอยู่ริมทะเล หรือจะเป็นเพลงเหงาๆ สำหรับช่วงการเดินทาง ลองศึกษาจากภาพยนตร์หรืองานโฆษณาตัวอื่นๆดูบ้าง การที่มีคลังเพลงอยู่ในหัวมากๆถือเป็นเรื่องที่ดี มันสามารถทำให้เราสามารถสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ และเห็นภาพของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น แต่ต้องไม่ใช่การลอกผลงานของเขามาทั้งหมด เพลงที่ดังอาจจะไม่ดีเท่าเพลงที่ไม่ซ้ำใคร หลายๆคนอาจจะมีเพลงที่ชื่นชอบมากๆ และรู้สึกว่าเพลงที่เราจะนำไปใส่ในงานต้องใช้เพลงนี้เท่านั้นสำหรับโฆษณาตัวนี้ แต่ต้องอย่าลืมสังเกตุตลาดด้วยว่าเพลงนี้ถูกใช้ไปแล้วหรือยังหรือมีแบรนด์ไหนใช้เพลงเหล่านั้นไปแล้วบ้าง...

วงดนตรีเปิด DATA ไม่ได้แปลว่าอ่อนเสมอไป

มีดราม่าที่หลายๆคนในวงการดนตรีแชร์กันเข้ามาตลอด วงที่เปิด DATA คือเล่นสดไม่ได้ หรือ อ่อน ซึ่งเหตุผลที่ต้องเปิด DATA ก็มีอยู่ ไม่ใช่เพราะว่าวงดนตรีไม่เก่ง เดี๋ยวเราจะมาคุยกันว่า วงที่เปิด DATA นั้นอ่อนจริงหรือไม่? ทำไมถึงต้องใช้ DATA สาเหตุหลักๆคือบางท่อน หรือบางไลน์ในเพลงนั้นไม่สามารถที่จะเล่นสดได้จริงๆเพราะบางเครื่องดนตรีในเพลงเป็นเสียงสังเคราะห์, เสียงที่เกิดจากการทำ Sound Design ไม่ได้เกิดจากเสียงเครื่องดนตรีจริงๆ, หรือมีเหตุผลที่จำเป็นจริงๆที่จะต้องเปิด DATA เพื่อทดแทนส่วนที่หายไป เพื่อให้บรรยากาศตรงกับความต้องการของคนเล่น เช่น เพลงแนว EDM แน่นอนว่าถ้าใช้เครื่องดนตรีเล่นสดๆ ก็ไม่สามารถจะเล่นได้ทุกไลน์ ทำให้มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ DATA แต่คนที่เล่นเพลงแนวนี้ จะเพื่อลูกเล่นต่างๆเข้าไป เช่นการใส่ Effect ให้เสียงฟังดูมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร หรือมีการเอนเตอร์เทนกับคนฟังตลอดเวลา หรือกรณีอีกอย่าง...

ประวัติ Lisa Ono ราชินี Bossanova

Lisa Ono (ลิซ่า โอโนะ) เกิดวันที่ 29 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1962 ในเมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมื่อเธออายุได้ 10 ขวบเธอก็ได้ย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชีวิตของเธอก็จะแวะเวียนกลับไปกลับมา ระหว่างประเทศบราซิล และ ญี่ปุ่น เมื่อเธอโตขึ้น เธอก็ได้เริ่มทำงานเป็นนักร้องที่คลับของพ่อในบราซิล ซึ่งเธอก็ได้คลุกคลีกับเพลงแนวบราซิลเลี่ยน และบอสซาโนวาเป็นเวลานานจนในปีค.ศ. 1989 เมื่อเธออายุครบ 27 ปี เธอก็ได้ออกอัลบั้มเป็นของตัวเองครั้งแรก ที่ชิ่อว่า “Catupiry” ด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ท่วงทำนองในการเล่นกีต้าห์ที่มีเอกลักษณ์ และรอยยิ้มที่มีเสน่ห์ ทำให้เธอเริ่มเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น แม้ว่านี้จะเป็นอัลบั้มตัวแรกของเธอก็ตาม หลังจากอัมบั้มตัวแรกได้ปล่อยออกไป เธอก็เริ่มมีงานไหลเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับนักร้องชื่อดังในบราซิล,...

วิเคราะห์เพลง Rockstar – LISA

วิเคราะห์เพลง Rockstar – LISA มาแล้วครับกับการวิเคราะห์เพลงที่หลายๆคนรอคอย วันนี้มาในเพลงที่เรียกว่ากำลังมาแรงที่สุดในตอนนี้เลยทีเดียวอย่างเพลง Rockstar ของ LISA ในตัวเพลงนั้นมีรายละเอียดที่ดูเรียบง่าย แต่วิธีการคิดนั้นค่อนข้างซับซ้อนและลึกพอสมควร วันนี้ผมได้วิเคราะห์เพลงนี้ไว้ค่อนข้างละเอียด หวังว่าจะเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยให้ทุกคนได้ รวมถึงหากไม่เข้าใจก็สามารถรับชมเพลินๆไปก็ได้ครับ The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ หลักสูตร...

วิเคราะห์เพลง Supernatural – NewJeans

หลังจากที่ปล่อยคลิป Reaction เมื่อไม่นานมานี้ ก็ถึงตาของตัววิเคราะห์กันบ้างว่าทำไมมันถึงเจ๋ง มีหลายๆท่อนที่ใช้คอร์ดไม่เหมือนกัน แต่ทำออกมาได้สวยงาม และลงตัว เดี๋ยวเรามาวิเคราะห์กันว่ามันมีอะไรบ้างที่ทำให้เพลงนี้มันถึงออกมาดี The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ หลักสูตร The Real Producerเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากลสนใจหลักสูตร ติดต่อ admin...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.