PRODUCER Q&A

อยากแต่งเพลงให้ศิลปินร้อง ต้องทำยังไง?

มีคนเคยถามกับทางเราว่า “อยากจ้างทำเพลง และเอาไปให้ศิลปินคนนี้ร้องได้ไหม” ซึ่งสามารถทำได้ แต่ถ้าเป็นการส่งเพลงของเราเองที่ทำทุกอย่างให้ครบหมดแล้ว ไปให้กับทางค่าย มีชื่อของศิลปินขึ้นมา มีชื่อของเราเป็นคนแต่ง เราไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น เพราะทางค่ายมีกระบวนการหลายอย่างที่ต้อใช้ในการตัดสินใจ ก่อนจะให้ศิลปินในสังกัดของตัวเองมาเป็นคนร้องให้ โดยส่วนใหญ่ทางค่ายจะมีทีมงามเป็นของตัวเอง มีโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง ทีมงามโปรดักชั่นอื่นๆสังกัดอยู่ในค่าย หรือมีคนที่ไว้วางใจให้เข้ามาช่วยเหลืองานในค่ายเพลงได้ ซึ่งการที่เราจะเอาเพลงไปให้ศิลปินคนนั้นๆร้อง มันจำเป็นที่จะต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง โดยเฉพาะศิลปินที่มีชื่อเสียง เพราะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของเพลง การตลาด และเตรียมแผนในการทำสิ่งต่างๆ ถ้าคุณทำเพลงตัวเต็มส่งไปให้กับทางค่ายแล้วเขาชอบ ก็ไม่ได้การันตีว่าเขาจะเอาส่วนประกอบต่างๆที่คุณทำมาไปใช้ทั้งหมด หากค่ายที่เราส่งเพลงไปให้เขาชอบ แล้วซื้อลิขสิทธ์กับเราไป เขาสามารถที่จะให้ทีมงานของเขาไปทำใหม่ก็ได้ กลายเป็นว่าการที่คุณจ้างคนมาทำเพลงให้ แล้วส่งไปให้ค่ายเพลง เขาก็จะมานั้นรื้อใหม่ หรือเอาส่วนต่างๆมาสานต่อกันเองอีกที กลายเป็นคุณจะเสียงเงินไปฟรีๆ ทีนี้เราไม่จำเป็นต้องทำเบ็ดเสร็จทุกอย่าง เราสามารถส่งเดโมเพื่อให้ทางค่ายพิจารณาได้ว่าเขาชอบหรือไม่ แล้วต้องต่อรองกันว่าจะตกลงกันยังไง The Real ProducerREAL / DEEP...

เรียนคณะดนตรีอีกดีมั้ย? ถ้าเลยวัยมหาลัยแล้ว

เคสที่แล้วเราเคยพูดถึงน้องๆวัยเข้ามหาวิทยาลัย ที่อยากจะเข้าไปเรียนคณะดนตรี ซึ่งเราก็ให้คำตอบไว้พิจารณาแล้ว ว่าควรหรือไม่ควร ใครที่ยังเป็นวัยเข้ามหาวิทยาลัย อายุไม่เยอะ แนะนำให้เข้าไปอ่าน “เรียนคณะดนตรีอีกดีมั้ย? ถ้าเลยวัยมหาลัยแล้ว” https://verycatsound.com/blog-go-to-college แต่ใครที่เป็นวัยเลยการสอบเข้ามหาวิทลัยไปแล้ว แต่ใจอยากจะเข้าไปเรียนอยู่ คำตอบก็จะให้คล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างกันนิดหน่อย 1. ทุนทรัพย์ เช่นเคย การจะเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อเรียนคณะดนตรี ใช้เงินทุนสูงมาก และนอกจากนั้นไม่พอ เรายังต้องเสียค่าอุปกรณ์ในการทำเพลงอีก ไม่ว่าจะเครื่องดนตรี อุปกรณ์เสริม เครื่อง Mix ปลั๊กอิน หรือโปรแกรม แม้ว่าเราจะจบจากมหาวิทยาลัยไปแล้วก็ตาม ทีนี้ถ้าพูดถึงค่าเรียน ปกติจะตกอยู่ที่ชั่วโมงละ 500 – 1000 บาท หรือระดับลึกกว่านั้นก็ 1000 – 2000 บาท ถ้าเรียนไม่กี่ชั่วโมงราคาอาจจะอยู่ในระดับที่พอรับได้...

เรียนคณะดนตรีดีมั้ย? วัยเข้ามหาลัย

ใครที่ยังสงสัยว่าเรียนคณะดนตรีในมหาลัยดีไหม ถ้าใจเรารักในการทำดนตรีจริงๆ ซึ่งก็ต้องถามกับตัวเองก่อนว่าเราอยากเรียนไปถึงระดับไหน มือสมัครเล่นพอทำเพลงได้ หรือระดับมืออาชีพทำเพลงระดับซับซ้อนได้ ถ้าคำตอบคืออย่างที่สอง ก็แนะนำว่าให้เข้าไปเรียนในคณะดนตรีเลย เพราะในนั้นจะมีทุกองค์ความรู้ที่เราต้องการทั้งหมด และได้รับการฝึกฝนจนทักษะเราเพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก่อนจะเข้าก็มีอีกหลายๆปัจจัยที่ต้องคำนึกถึงก่อนว่าเราสามารถเข้าได้ไหม สำหรับน้องๆคนไหนที่ยังอยู่ในวัยเข้ามหาวิทยาลัย มาดูกันว่าเราต้องคำนึกถึงอะไรบ้าง 1. เงิน / ทุนทรัพย์ การจะเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อเรียนคณะดนตรี ใช้เงินทุนสูงมาก และนอกจากนั้นไม่พอ เรายังต้องเสียค่าอุปกรณ์ในการทำเพลงอีก ไม่ว่าจะเครื่องดนตรี อุปกรณ์เสริม เครื่อง Mix ปลั๊กอิน หรือโปรแกรม แม้ว่าเราจะจบจากมหาวิทยาลัยไปแล้วก็ตาม ทีนี้ถ้าพูดถึงค่าเรียน ปกติจะตกอยู่ที่ชั่วโมงละ 500 – 1000 บาท หรือระดับลึกกว่านั้นก็ 1000 – 2000 บาท ถ้าเรียนไม่กี่ชั่วโมงราคาอาจจะอยู่ในระดับที่พอรับได้ แต่การเข้าไปเรียนมหาลัยต้องใช้เวลาเรียนมากถึง...

6 เหตุผลที่ ทำไมเพลงถึงไม่ดัง

เพลงที่ดีกับเพลงที่ดังในบางทีมันก็เป็นเพลงเดียวกัน แต่ในบางครั้งมันก็เป็นคนละอันกัน เพลงที่ดีเราจะไม่ขอตัดสินว่าอะไรคือดีเพราะดีแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ส่วนในเรื่องของการที่จะทำเพลงให้ดังมันก็เป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าต้องทำยังไงให้เพลงดังเพราะต่อให้ไปถามนักแต่งเพลงเก่งๆหรือคนเก่าแก่ในวงการบางทีก็อาจจะให้คำตอบไม่ได้ว่าต้องทำยังไงเพลงถึงจะดัง แต่เหตุผลที่ทำไมเพลงถึงไม่ดังมันดันมีเหตุผลอยู่ 1. แนวดนตรี ไม่ POP ทุกๆคนคงได้ยินคำว่า แนวดนตรี POP มาอยู่บ้างผ่านๆหู แต่ถามว่าเข้าใจจริงๆมั้ยว่าไอดนตรี POP ที่ว่ามันคืออะไร จริงๆแล้ว POP มันย่อมากจาก Poppular ที่แปลว่า เป็นที่นิยม ซึ่งความจริงมันไม่ใช่แนวดนตรี เพราะตัวมันเองจะเป็นเพลงแนวไหนก็ได้ “ขอแค่ให้เพลงนั้นเป็นที่นิยม” และคนก็จะทำตามๆกันจนกว่าคนจะเบื่อแล้วก็ตกยุคไปหรือที่เรียกง่ายๆว่าเชย สรุปง่ายๆก็คือ ดนตรีแนว POP ในแต่ละยุคสมัยก็คือแนวเพลงที่ได้รับความนิยมอยู่ในช่วงเวลานั้นๆจากคนหมู่มาก อย่างปัจจุบันอาจจะเป็นแนว Hip-Hop RAP City-POP SynthPOP อะไรก็ว่าไป การที่คุณจะทำเพลงแนวอื่นนอกเหนือจากแนวที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน บางทีก็อาจจะต้องเผื่อใจหน่อยเพราะถ้าจะหวังให้มันดังเป็นพลุแตกก็อาจจะยากเกินไป 2. เนื้อหา...

เรียนแต่งเพลง ที่ไหนดี

5 ปัจจัยในการเลือก เรียนแต่งเพลง ที่ไหนดี

สำหรับใครที่ยังไม่รู้เลยว่า ถ้าสนใจ จะ เรียนแต่งเพลงที่ไหนดี หรือยังไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในระดับไหน ต้องเรียนอะไรบ้าง และต้องใช้เงินเท่าไหร่ เราก็มีเกณฑ์ในการตัดสินใจ ช่วยให้คุณรู้ว่าตัวคุณนั้นต้องการจะเป็นศิลปิน, โปรดิวเซอร์, หรืออยากเรียนรู้ อยากเรียนแต่งเพลงเป็นแค่งานอดิเรก และตัวคุณนั้นอยู่ในระดับไหน ต้องเรียนรู้อะไรต่อ ถ้าใครที่ยังไม่รู้ตัวว่าเรานั้นต้องการอะไรกันแน่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ เรียนแต่งเพลง เป็นนักทำดนตรี...

เรียนทำเพลง 4 แนวทางปรับตัวในยุค AI สำหรับคนทำเพลง

4 แนวทางปรับตัวในยุค AI สำหรับคนทำเพลง

หลายๆคลิปที่ผ่านมาเราเคยพูดถึงกันไปแล้วกับข้อดีข้อเสียของ AI ทำเพลง เพราะถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การทำเพลงนั้นสะดวกสบายมากขึ้นแต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการปรับตัว และเอาตัวรอดว่าต้องทำยังไงโดยเราจะแบ่งเป็น 4 แนวทางในการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับยุค AI 1.แตกต่างให้เจ๋ง ข้อสังเกตเวลาเราลองให้AIเจนเพลงออกมา เราจะรับรู้ได้ว่าเพลงที่AIทำมันดี แต่ไม่ได้ดีมาก เป็นเพลงที่ไม่มีความโดดเด่น เรียกได้ว่าเป็นเพลงที่โหลไม่ว้าว เพราะมันเกิดจากการที่AIนำเพลงจากฐานข้อมูลมารวมกันเยอะๆแล้วมาทำเป็นค่าเฉลี่ย ซึ่งในค่าเฉลี่ยมันก็จะมีแต่เพลงกลางๆทั่วไปไม่ได้ว้าว แต่เพลงที่ว้าวหรือเพลงที่ดีมันก็จะเป็นเพลงที่อยู่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยเหล่านั้นและนั่นคือความแตกต่าง AIมันไม่มีสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ แต่มนุษย์ทุกคนมีและดันมีแตกต่างกันด้วย สิ่งนั้นเรียกว่า “รสนิยม” การที่เราทำเพลงไปถึงจุดๆหนึ่งแล้วรู้สึกไม่ชอบสิ่งนี้ ชอบที่จะใช้ท่าแบบนี้บ่อยๆ จนมันกลายเป็นลายเซ็นต์ สิ่งเหล่านี้คือความมีเอกลักษณ์ การเป็นตัวของตัวเอง ไม่ซ้ำใคร มันจะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างรู้สึกดูมีสเน่ห์ ดูโดดเด่นขึ้นมา 2.เก่งกว่าให้ได้ ถ้าถามว่าAIเก่งมั้ย? ก็ต้องยอมรับว่ามันเก่ง แต่สิ่งหนึ่งที่มันแพ้มนุษย์คืองานสร้างสรรค์ นวัตกรรมต่างๆสิ่งที่มนุษย์คิดค้น AIคิดเองไม่ได้แต่มนุษย์สามารถทำได้ เพียงแต่สิ่งที่AIดีกว่าคือความเร็ว เพราะฉะนั้นถ้าเราแข่งความเร็วไม่ได้ เราก็แข่งที่คุณภาพ รายละเอียดของงานดีกว่า...

เรียนดนตรี 3 องค์ประกอบเสียง

รู้จักกับ 3 องค์ประกอบ Sound ในภาพยนต์

ในโลกภาพยนต์ จะมี 3 เสียงหลักๆ ที่เป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ แต่ละองค์ประกอบจะมีหน้าที่ในแบบของมัน และมี 4 กระบวนการในการทำ กว่าจะมาเป็นหนังให้เราได้ดูกัน แต่หลายๆคนอาจยังไม่รู้ว่าแต่ละองค์ประกอบมันมีอะไรบ้าง และต้องมีทักษะด้านไหนถึงจะทำได้ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เดี๋ยวเรามาดูกันครับ 1. Dialogue เสียงพากย์ ช่วงที่กำลังถ่ายทำกันอยู่ จะมีคนๆนึงถือไมค์ Boom หรือก็คือไม้ยาวๆที่อยู่เหนือหัวนักแสดง เพื่อที่จะจับเสียงพูด บางครั้งถ้าหากไม่เจอปัญหา เช่น เสียงแทรก, เสียง Noise, หรือเสียงอื่นที่รบกวนการถ่ายทำ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขอะไรเยอะ และสามารถใช้เสียงนักแสดงเอาเข้าในหนังได้เลย แต่ถ้าหากมีเสียงรบกวนที่ว่ามา จนกลบเสียงนักแสดง ก็จะมีการอัดเสียงพากย์แก้เข้าไป ซึ่งก็จะใช้นักแสดงคนเดียวมาเข้าห้องอัด และพูดตามปากที่ได้แสดงเอาไว้ 2. ดนตรีประกอบ เสียงดนตรีๆประกอบหนัง หรือก็คือ Film...

ทำไมยุคนี้ เพลงตลาดเราถึงไม่เหมือนกัน

เป็นที่เข้าใจกันดีว่ารสนิยมทางด้านดนตรีคือสิ่งที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลหรือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นตรงกัน บางคนชอบฟังเพลงแนวนี้ บางคนำไม่ชอบ บางคนไม่ได้ฟังเพลงแนวนี้เป็นปกติแต่ชอบบางเพลงที่ทำออกมาเป็นแนวนี้ มีความคิดที่แตกต่างและหลากหลายกันไป และไม่ใช่เรื่องที่มีคนผิดคนถูก เป็นความชอบส่วนบุคล แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีคนที่ไม่สามารถแยกแยะความชอบส่วนตัวออกจากความชอบส่วนรวมได้นั้น เช่น เราคิดยังไงคนอื่นก็ต้องคิดอย่างนั้น เราชอบเพลงนี้แปลว่าทุกคนต้องชอบ เพลงนี้เราไม่ชอบใครชอบเพลงนี้เท่ากับว่าเขารสนิยมห่วย อะไรแบบนี้บางทีถ้ามันอยู่ในขอบเขตบางทีเราก็อาจจะพอมองข้ามมันไป แต่ถ้ามีคนที่มีความคิดเหล่านี้อยู่ในที่ทำงานของเรา และเราเกิดขัดแย้งทางความคิดกัน มันอาจจะส่งผลกระทบถึงงานที่เรากำลังทำอยู่ก็เป็นได้ อย่างในกรณีตัวอย่างที่ มีนักดนตรีไปเล่นแทนคนอื่นที่ร้าน พอถามขอลิสต์เพลงว่าเล่นประมาณไหน แล้วคนในวงบอกว่า “เพลงตลาดธรรมดาทั่วไป” ซึ่งนิยามของคำว่า เพลงตลาด มันกว้างมากเกินไป มันอาจจะทำให้การสื่อสารเกิดความผิดพลาดและงานที่ออกมมามันก็จะเพี้ยนตามกันไปหมด ถ้าเกิดคำว่า “เพลงตลาด” ของเขากับของเราบางทีมันไม่เหมือนกัน เพลงตลาด กับยุคสมัยปัจจุบัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในยุคนี้คำว่า “เพลงตลาด” บางทีมันอาจจะไม่สามารถจำกัดความอะไรได้เลย เพราะในยุคสมัยนี้ที่ใครๆก็สามารถทำเพลงเองได้ที่บ้าน ไม่ได้มีกระบวนการสร้างที่ลำบากยากเย็นเหมือนสมัยหลายปีก่อน นั่นทำให้ในทุกๆวันนี้มีเพลงใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลารวมกันเป็นจำนวนมหาศาล รวมถึงด้านของคนฟังก็มีกลุ่มคนฟังที่มีรสนิยมจำแนกแตกต่างกันมีหลากหลายกลุ่มย่อย เรียกได้ว่ามีรองรับสำหรับทุกแนวเพลงแค่ขึ้นอยู่ว่าจะมากจะน้อย และกลุ่มคนฟังเหล่านั้นเองก็แตกออกไปเป็นกลุ่มใหญ่...

วงดนตรีเปิด DATA ไม่ได้แปลว่าอ่อนเสมอไป

มีดราม่าที่หลายๆคนในวงการดนตรีแชร์กันเข้ามาตลอด วงที่เปิด DATA คือเล่นสดไม่ได้ หรือ อ่อน ซึ่งเหตุผลที่ต้องเปิด DATA ก็มีอยู่ ไม่ใช่เพราะว่าวงดนตรีไม่เก่ง เดี๋ยวเราจะมาคุยกันว่า วงที่เปิด DATA นั้นอ่อนจริงหรือไม่? ทำไมถึงต้องใช้ DATA สาเหตุหลักๆคือบางท่อน หรือบางไลน์ในเพลงนั้นไม่สามารถที่จะเล่นสดได้จริงๆเพราะบางเครื่องดนตรีในเพลงเป็นเสียงสังเคราะห์, เสียงที่เกิดจากการทำ Sound Design ไม่ได้เกิดจากเสียงเครื่องดนตรีจริงๆ, หรือมีเหตุผลที่จำเป็นจริงๆที่จะต้องเปิด DATA เพื่อทดแทนส่วนที่หายไป เพื่อให้บรรยากาศตรงกับความต้องการของคนเล่น เช่น เพลงแนว EDM แน่นอนว่าถ้าใช้เครื่องดนตรีเล่นสดๆ ก็ไม่สามารถจะเล่นได้ทุกไลน์ ทำให้มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ DATA แต่คนที่เล่นเพลงแนวนี้ จะเพื่อลูกเล่นต่างๆเข้าไป เช่นการใส่ Effect ให้เสียงฟังดูมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร หรือมีการเอนเตอร์เทนกับคนฟังตลอดเวลา หรือกรณีอีกอย่าง...

3 สิ่งที่จำเป็นจริงๆ กับการเป็นศิลปิน

มีหลายๆคนที่อยากจะเป็นศิลปิน อยากจะทำเพลงเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าคุณสมบัติจริงๆของการเป็นศิลปิน ต้องมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่าสิ่งที่จำเป็นจริงๆกับการเป็นศิลปินต้องมีอะไรบ้าง 1. Skill Skill หรือ ทักษะที่จำเป็นสำหรับศิลปิน แน่นอนว่าต้องเป็นเกี่ยวกับวิชาดนตรี ซึ่งถ้าคุณไม่มีทักษะเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอดในสายนี้ 2. เงิน คุณมีทักษะแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องมีคือ เงิน เพื่อใช้ในการซื้ออุปกรณ์และโปรโมทตัวคุณเองเช่นการทำ MV เพลงของตัวเอง, ทำรูปโปรโมท, จ้างนักดนตรีคนอื่นมาเล่นเครื่องดนตรีให้ ทุกอย่างใช้เงินเป็นการขับเคลื่อนหมด การที่คุณจะสร้างผลงานศิลปะอะไรขึ้นมา คุณต้องใช้เงินเพื่อทำผลงาน และใช้เงินเพื่อให้คนอื่นๆเห็นผลงานเราอีก จึงไม่แปลกที่ศิลปินหลายๆคน หลังจากเริ่มมีชื่อเสียงแล้วก็มีธุรกิจสำรองไว้ เพื่อใช้ในการหาเงินมาจ่ายสิ่งต่างๆ หรือจ่ายค่าทำเพลงของเรานั่นเอง 3. เวลา นอกจาก 2 สิ่งที่ผมกล่าวไปแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องมีอีกนั่นคือ “เวลา” การที่คุณไม่มีเวลามาสร้างผลงาน หรือทุ่มเทให้กับการฝึกฝน...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.