NEWBIE GUIDE

เรียนทำเพลง เนื้อร้อง ทำนอง ดนตรี สามสิ่งที่คุณอาจสับสน

เนื้อร้อง-ทำนอง-ดนตรี สามสิ่งที่คุณอาจสับสน

ใน VERY CAT SOUND เราได้รับ inbox คนที่ติดต่อเข้ามามากมาย ทั้งจ้างทำเพลง และอยากเรียนทำเพลง ซึ่งบทสนทนาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆเป็นดังนี้“อยากทำเพลงค่ะ มีเนื้อแล้ว พี่ทำทำนองให้หน่อย ขอราคาหน่อยค่ะ”“ตอนนี้มีทำนองแล้วครับ แต่ขาดเนื้อ คิดเท่าไรครับ”“ทำบีทให้หน่อยครับ คิดยังไง”“อยากเรียนทำเมโลดี้เพลงค่ะ” จากบทสนทนาพวกนี้ ที่จริงแล้วก็ปกติใช่ไหมล่ะครับ แต่รู้ไหมว่า ที่จริงแล้วเราไม่สามารถตีราคาได้เลย เพราะเราไม่รู้ได้เลยว่า ลูกค้ามีอะไรมาแล้วบ้าง แล้วเราต้องทำอะไรบ้าง สโคปการทำงานอยู่ตรงไหน เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะคนเราใช้คำศัพท์พวกนี้ไม่เหมือนกันครับ จากตัวอย่าง 1“อยากทำเพลงค่ะ มีเนื้อแล้ว พี่ทำทำนองให้หน่อย ขอราคาหน่อยค่ะ” อยากทำเพลงค่ะ — > แปลว่าอะไรเอ่ย? ให้ทำอะไรบ้าง?มีเนื้อแล้ว –> อันนี้พอเข้าใจครับ แต่ไม่แน่ใจว่า melody...

สอนทำเพลง ก่อนตัดสินใจ

อยากเรียนทำเพลง ควรรู้จัก 3 ขั้นตอนนี้ก่อนตัดสินใจ

ปัจจุบันนี้มีคอร์สทำเพลงมากมายเปิดให้เรียนในหลายรูปแบบ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อผู้สนใจทั่วไป ให้สามารถหาความรู้ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาที่ผมยังเห็นมีมาอย่างยาวนานในวงการการเรียนการสอนดนตรีนอกระบบในประเทศเรา หนึ่งในนั้นเรื่องที่ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆเลย ที่ยังไม่ถูกแก้ไข คือ มีคนจำนวนมากที่เสียเวลาไปกับการ “เรียนผิด” ถ้าถามว่าเรียนผิดยังไง ก็อยากทำเพลงก็ต้องเรียนทำเพลง ก็ถูกแล้วไม่ใช่เหรอ ผมอธิบายอย่างนี้แล้วกันครับ คือในการทำเพลงเนี่ย มันมีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมายว่าทำ”อะไร” ในเพลง การใช้คำว่าทำเพลงเฉยๆ มันกว้างเกินไป ตัวอย่างปัญหาที่มักพบบ่อยในการเลือกเรียนทำเพลงผิด – ผู้เรียนอยากเรียนการทำดนตรี ออกแบบดนตรี แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร เลยไปเรียนคอร์สที่ใช้คำว่าทำเพลง แต่สุดท้ายเนื้อหาที่อยู่ในคอร์ส 80% กลับเป็นเรื่อง Sound Engineer สอน Mix Master – ผู้เรียนคนเดิม ยังหาสิ่งที่ตัวเองอยากได้จริงๆไม่เจอ เลยเปลี่ยนคอร์สเรียนไปคอร์สอื่น ราคาพอๆกัน แต่พอไปเรียนก็พบว่าสอนเรื่องเดิมๆ ส่วนเรื่อง Arranging...

เรียนทำเพลง Daws ไหนดีสุด

ใช้ DAWs ไหนดี? ทำเพลงในโปรแกรมไหนดีที่สุด

“ไม่มี DAWs ไหนดีสุด” อันนี้ผมบอกแบบง่ายๆเลย ทำไมน่ะเหรอครับ เพราะที่จริงแล้ว โปรแกรมทำดนตรีหรือ DAWs (Digital Audio Workstations) นั้นคือเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำเพลงให้เรา ถ้าจะให้ผมเปรียบง่ายๆ มันก็เหมือนกับ “กระดาษและบรรทัดห้าเส้น” ที่คนยุคก่อนใช้ในการเขียนโน้ตเพลงน่ะแหละครับ คือมันเป็นแค่ “เครื่องมือ (Tools)” หรืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง ทีนี้เจ้าเครื่องมือที่ว่า มันก็มีหลายเจ้าหลายแบรนด์​ เหมือนเราจะซื้อกระดาษสมุดบรรทัดห้าเส้นยี่ห้อไหนก็ได้ ตามแต่เราเห็นว่าเราถนัด หรือถูกจริตกับยี่ห้อนั้นๆ เพราะโดยเนื้อแท้ของมันแล้ว หน้าที่ของ DAWs มันคือการ ช่วยให้เรานำโน้ตหรือเสียงเครื่องดนตรีต่างๆมาจัดวางรวมกันให้เกิดเพลง โดยสามารถดูเข้าใจง่าย และมีการปรับแต่งที่จำเป็นต่อการสร้างเพลง โดยมักมีหน้าที่หลักๆที่ทำได้เหมือนๆกัน ต่างกันเพียง interface หน้าตากับ function ยิบๆย่อยๆบางอย่างเท่านั้นเอง แม้บางยี่ห้ออาจจะมีฟังชั้นที่ตัวอื่นไม่มีก็ตาม แต่มันก็มักจะมีจุดเด่นของมันบางอย่างมาทดแทน...

เรียนทฤษฎีดนตรี จำเป็นกับการทำเพลง

ทฤษฎีดนตรี จำเป็นกับการทำเพลงมั้ย

“ไม่จำเป็นครับ แต่ควรเรียนถ้าอยากเก่ง” หลายคนที่เริ่มต้นมาทำเพลงโดยมีเป้าหมายแตกต่างกันไป ถ้าเป้าหมายของคุณคืองานอดิเรก คุณแค่มีความสุขที่ได้ทำ คุณชอบที่จะคลำผิดๆถูกๆเอง และเมื่อผลงานออกมา คุณพอใจกับผลงานชิ้นนั้นอยู่แล้ว นั่นเท่ากับว่า มันไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยครับ คุณกำลังสร้างงานศิลปะแบบนึง ซึ่งมันตอบสนองตัวคุณเองได้แล้ว กรณีนี้คือตอบได้ว่าไม่จำเป็นครับ หรือถ้าคุณมีพรสวรรค์ หยิบจับอะไรก็มีเซ้นส์ดี ทำอะไรก็ออกมาดี มีคนชอบงานคุณเต็มไปหมด งานคุณขายได้ มีทั้งรายได้และชื่อเสียง แล้วคุณก็พอใจกับจุดนั้นแล้ว ผมก็ขอตอบว่าไม่จำเป็นครับ แต่ถ้าใครที่กำลังติดปัญหาอะไรบางอย่าง อาทิเช่น – มีเสียงในหัวแบบนึง แต่ไม่รู้ว่ามันเรียกว่ามันคืออะไร เรียกว่าอะไร แล้วมันทำยังไง– คุณฟังคอร์ดหรือเมโลดี้บางอย่าง แล้วคุณไม่สามารถแกะหรือวิเคราะห์ได้ว่ามันคือคอร์ดอะไร โน้ตอะไร– มีเพลงบางแบบที่คุณอยากทำได้มากๆ แต่คุณไม่สามารถหาวิธีทำมันได้ซักที แล้วคุณก็ไม่รู้ว่าทำไม ก็ยังคลำมันต่อไป– คุณอยากทำอะไรบางอย่างกับเพลง แต่คุณสื่อสารให้คนอื่นที่ทำงานด้วยกันหรือเพื่อนร่วมวงฟังไม่ได้ว่ามันคืออะไร– คุณทำเพลงมาถึงจุดนึงแล้วรู้สึกว่า มันตันอยู่คอร์ดเดิมๆ เมโลดี้เดิมๆ...

เรียนทำเพลง เล่นดนตรีไม่เป็น

เล่นดนตรีไม่เป็นก็ทำเพลงได้ จริงหรือ?

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เล่นดนตรีไม่เป็นเลย หรือเล่นเป็นบ้างนิดหน่อย แต่มีความฝันอยากทำเพลง เป็นนักแต่งเพลง เป็น Composer , Arranger , Producer แล้วมีคำถามว่า ตัวเองจะเป็นได้หรือไม่ การไม่เก่งดนตรีหรือเล่นดนตรีไม่เป็นจะทำเพลงได้ จริงหรือ? ผมตอบให้ง่ายๆเลยครับว่า จริง แต่ถ้าถามว่า การเล่นดนตรีเป็นมันเอื้อประโยชน์ในการทำเพลงหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ใช่ และถึงแม้จะเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ถ้าคุณอยากทำเพลงได้ดี คุณก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจดนตรี เข้าใจตัวโน้ตและระบบต่างๆของมันอยู่ดี อันนี้ผมเห็นกับตาตัวเองมาแล้ว มีนักเรียนคนหนึ่งในคลาส The Real Producer ของทาง VERY CAT ACADEMY ที่ไม่เคยทำเพลงมาก่อนเลย เล่นดนตรีก็ไม่เป็นสักชิ้น ที่พอจะเป็นดนตรีอยู่บ้างก็คือเป็นดีเจมาก่อน แต่ความเข้าใจในเรื่องดนตรีแต่เดิมนั้นคือ 0 ผมค่อนข้างตกใจกับพัฒนาการในระยะเวลาเพียงสั้นๆ เพียงไม่ถึงเดือน...

เมื่อไหร่ที่คุณควรเรียน Mix , Master

การ Mix , Master เป็นขั้นตอน Post Production ของการทำดนตรี โดยบุคลากรที่ชื่อว่า Sound Engineer หรือวิศวกรเสียง จะทำการรับเพลงที่แต่งและเรียบเรียงดนตรี ใส่เครื่องดนตรีมาแล้วครบทุกชิ้น จาก Song Writer (นักแต่งเพลง) , Music Composer (นักประพันธ์) หรือ Music Arranger (นักเรียบเรียงเสียงประสาน) นำมา Edit ปรับแต่งเสียงให้สมบูรณ์ มีความเต็มอิ่ม สมจริง ไพเราะ และผสมเสียงให้มีความกลมกล่อมลงตัว มีมิติน่าฟังมากขึ้น ย้ำกันอีกทีว่า กระบวนการที่กล่าวมา เรียกว่า Music Mixing (หรือบางทีก็จะเรียกว่า...

3 ขั้นตอนในการทำเพลง ที่ควรรู้และแยกให้ออก

ในการทำเพลงหรือที่เรียกว่า Music Production นั้น ที่จริงแล้วมีขั้นตอนยิบย่อยอยู่หลายขั้นตอน แต่ในภาพรวมที่สุดเราสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ได้ 3 ขั้นตอน ที่เราควรแยกแยะมันออกมาให้ได้ในฐานะโปรดิวเซอร์หรือผู้ที่สนใจการทำเพลงทำดนตรี เพราะปัญหาที่เจอบ่อยคือเวลาสื่อสารกันแล้วไม่เข้าใจว่างานส่วนไหนอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้การทำงานนั้นสับสนและเข้าใจได้ไม่ตรงกัน จนเกิดเป็นปัญหาได้ผลงานออกมาได้ไม่ดีอย่างที่มันควรจะเป็น ไม่ว่าการทำงานกับลูกค้า กับศิลปิน นักร้อง นักดนตรี กับคนดนตรีด้วยกันหรือกับบุคคลทั่วไปก็ตาม ขั้นตอนที่ 1 Song Writing หรือเรียกง่ายๆ ว่า การแต่งเพลง นั่นเอง บุคลากรทางดนตรีที่ทำหน้าที่ในขั้นตอนแรก เรียกว่า นักแต่งเพลง (Song Writer) หน้าที่ของนักแต่งเพลง คือการประพันธ์ (Compose) หรือการแต่ง ทั้งเนื้อร้อง (Lyric) และเมโลดี้ทำนองหลักของเพลงขึ้นมา เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเพลงสำหรับนำไปเรียบเรียงเครื่องดนตรีต่อ ซึ่งสไตล์ของการทำงานของนักแต่งเพลงแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน...

เรียนทำเพลง อยากเป็น Producer ฝึกดนตรีอะไร

อยากเป็น Producer ควรฝึกเครื่องดนตรีอะไร?

จริงอยู่ว่าถึงแม้เล่นดนตรีไม่เป็นเลย แต่ก็สามารถทำเพลงได้ แต่ในปลายทางของการทำเพลงที่ได้ประสิทธิภาพและเป็นโปรดิวเซอร์ฝีมือดีนั้น ยังไงก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Skill การเล่นเครื่องดนตรีมีผลโดยตรงต่อฝีมือในการทำเพลงทำดนตรี โดยผู้ที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ดีกว่า มักจะทำเพลงได้เก่งกว่าผู้ที่มีข้อจำกัดในการเล่นเครื่องดนตรี ไม่ว่าจะในความแตกฉานของการเลือกใช้โน้ตและคอร์ด ความคล่องแคล่ว หรือความละเมียดละไมในการประดิษฐ์ตัวโน้ต หรือเมโลดี้ ซึ่งมีมากกว่า แล้วควรต้องเล่นเครื่องดนตรีอะไรเป็นบ้าง? ตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับ ยิ่งเล่นได้เยอะเท่าไรยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้น แต่แน่นอนว่าการฝึกเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็ล้วนกินเวลาทั้งนั้น ผมเลยขอแนะนำ 3 เครื่องดนตรีที่ Producer ควรฝึกฝน เพราะจะได้ประโยชน์สูงสุดในการทำเพลงทำดนตรีกับโปรแกรม ดังนี้ครับ 1. Keyboard หรือ Piano เป็นเครื่องที่สำคัญที่สุดของ Producer ควรหัดเล่นให้ได้บ้าง หรือให้เก่งเลยยิ่งดี ประโยชน์ของมันมีมากมายมหาศาลครับ หลักๆเลยนอกจากจะเพิ่มความคล่องนิ้วทำให้สามารถคีย์ตัวโน้ตได้อย่างคล่องแคล่วขึ้นแล้ว การฝึกเปียโนจะทำให้ผู้ฝึกมีความเข้าใจเรื่องโครงสร้างเพลงและตัวโน้ตได้แบบแตกฉาน สามารถเห็นภาพรวมได้ง่ายกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นมากๆ ในที่นี้เครื่องดนตรีประเภท Keyboard หมายถึงทุกเครื่องที่มีลิ่มขาว-ดำ ซึ่งเปียโนเป็นหนึ่งในเครื่องคีย์บอร์ดที่สมควรฝึกมากที่สุด...

เรียนทำเพลง Engineer x Arranger

Sound engineer ≠ Music Arranger จริงๆแล้ว ทั้ง 2 อาชีพ ทำหน้าที่อะไร แตกต่างกันยังไง

หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำเรียกบุคลากรในการทำงานดนตรีอยู่อย่างมาก เอาเท่าที่ผมเจอมาตลอดทั้งชีวิตการทำงาน เช่นว่า คนส่วนนึงมักเรียกรวมๆคนทำเสียงว่า คนทำซาวด์ หรือ Sound Engineer แล้วก็หาคนทำตำแหน่งนี้ แต่พอต้องไปทำเนื้องานจริงๆปรากฏว่าเป็นเป็นการทำเพลง การแต่งเพลง หรือประพันธ์ (Compose) หรือเรียบเรียงดนตรี (Arrange) ซึ่งไม่ใช่หน้าที่จริงๆของ Sound Engineer แต่อย่างใด Sound Engineer ทำหน้าที่อะไร? ที่จริงแล้ววิศวกรเสียง ทำหน้าที่ในกระบวนการ Post ของ Music Production คือ รับเพลงมาจากนักแต่งเพลง นักทำดนตรี ที่ทำได้แต่งเพลง ประพันธ์เพลง หรือเรียบเรียงดนตรี ออกแบบดนตรีเสร็จมาเรียบร้อยแล้วครบทุกโน้ต ทุกไลน์ ไม่ว่าจะเป็น melody , chord ,...

เรียนทำเพลง จัดเซต PHASE 2

จัดเซต แนะนำอุปกรณ์ทำเพลง PHASE 2 มือใหม่หัด Mix Master

ครั้งที่แล้ว เราได้แนะนำ จัดเซต แนะนำอุปกรณ์ทำเพลง PHASE 1 มือใหม่เริ่มต้นเรียนทำเพลง กันไปแล้ว ( อันได้แก่ 1. Computer 2. DAWs 3. MIDI Keyboard ) ทีนี้พอเรียนหรือเริ่มทำเพลงไปได้สักระยะ อาจจะเป็นเวลา สัก 1-6 เดือน เมื่อเราทำการแต่งเพลง และเรียบเรียงดนตรี เสร็จแล้วในเฟสแรก เราจะเริ่มเข้าสู่ เฟสสอง ซึ่งจะต้องทำในขั้นตอนต่อไปที่ปกติบุคลากรที่เรียกว่า Sound Engineer เค้าทำกัน นั่นคือ การอัดเสียง Recording , Editing , Mixing และ Mastering ...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.