PRODUCER Q&A

Checklist 3 ข้อ ถ้าอยากแน่ใจว่าควรเข้าคณะดนตรีหรือไม่

ใครที่กำลังเข้าสู่มหาวิทยาลัย แต่ยังไม่ชัวร์ว่าควรจะเข้าคณะดนตรีหรือไม่เพราะเราทราบกันดีว่าคณะดนตรี เป็นอีกคณะที่ยาก และต้องใช้เวลาทุ่มเทกับมันเยอะ ดังนั้นมาเช็คให้แน่ใจว่าเราจะเข้าไปเรียนดีรึเปล่า 1. เอาชัดๆ คุณอยากทำอาชีพอะไรกันแน่? ต้องบอกก่อนว่า อาชีพทางดนตรีมีหลายรูปแบบ แต่การเป็น “ศิลปิน” เป็นเพียงแค่สถานะอย่างนึง ไม่ใช่อาชีพ เพราะว่าการเป็นศิลปิน คือการที่คุณได้สร้างผลงานเอาไว้ และคุณโด่งดังจากผลงานอันนั้น นั้นแหละถึงจะเป็นศิลปิน ซึ่งการเป็นศิลปินไม่จำเป็นต้องเรียนจบคณะดนตรี หรือเก่งด้านดนตรี เพียงแค่คุณสามารถทำผลงานที่ฟลุดจนดังได้ ก็สามารถเป็นศิลปินได้แล้ว อาชีพที่คุณจะได้เป็นหลังจากจบมหาลัย จะเป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการผลิตเพลงทำเพลงให้คนอื่น หรือการเป็นอาจารย์สอนดนตรี หรือการไปเล่นดนตรีตามงานต่างๆ ส่วนใหญ่จเป็นงานที่เราต้องทำให้คนอื่น แต่ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ถ้าคุณพอใจกับอาชีพเหล่านี้ ถึงติ๊กถูกว่าคุณควรเข้ามหาลัย 2. ที่บ้านคุณ สนับสนุนไหวไหม? การเรียนดนตรีมันแพงทุกอย่าง ทั้งค่าเข้าเรียน, ค่าอุปกรณ์, พอได้มาทำงานเกี่ยวกับเพลง คุณก็ต้องเสียเงินให้กับของเหล่าอีก ซึ่งก็ใช้เงินจำนวนมาก คุณต้องลองถามกับทางที่บ้านดูว่าสามารถสนับสนุนเราไหวไหม?...

อาชีพ Producer ทำเพลง รายได้เป็นยังไง?

หลายคนอาจสงสัยว่าอาชีพ Producer ทำเพลง รายได้เป็นยังไงกันแน่ มันโอเคหรือไม่โอเคยังไงซึ่งอาชีพคนทำงานมีหลายรูปแบบแยกย่อยไปอีก เช่น นักแต่งเพลง (Songwriting), นักทำดนตรี (Music Arranger), และ Sound Engineer แต่บางคนก็สามารถทุกกระบวนการ 3 อย่างนี้ได้ในคนเดียวก็มีเหมือนกัน ความหมายของ Producer คือ ผู้ควบคุมการผลิต ซึ่ง Producer แต่ละคนก็จะมีรูปแบบในการทำงานไม่เหมือนกัน บางคนสามารถทำเองได้ทั้งหมด, บางคนเลือกเฉพาะส่วนที่ตัวเองถนัด, หรือบางคนมีทีมงานเป็นของตัวเอง และคอยคุมงานอย่างเดียวก็ได้ แต่ Producer ที่มีทีมเป็นของตัวเอง อันนี้ต้องผ่านงานมาหลายรูปแบบแล้ว ถึงจะมีทีมเป็นของตัวเองได้ Producer มือใหม่ ถ้าหากคุณเป็นมือใหม่ ฝีมือโอเค สามารถทำเพลงได้เกือบทุกแนวและผ่านมาตราฐานถ้าเริ่มงานมาใหม่ๆ อาจจะได้รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ราวๆ 15,000...

3 เหตุผลที่ AI ไม่มีวันทำเพลงแทนมนุษย์ได้โดยสมบูรณ์

ยุคนี้ AI Generator กำลังมาแรง และมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเรื่องการสร้างภาพประกอบ, การเขียนบทความ, ไปจนถึงการทำเพลงจากประสบการณ์ที่ลองใช้ AI ทำเพลงมาหลายตัว พบว่ามี 3 สิ่งที่ AI ไม่สามารถทำเพลงแทนมนุษย์ได้โดยสมบูรณ์ ทำไมถึงบอกแบบนั้น? ก่อนหน้าที่ผมได้ทดลองใช้งาน AI Generate ตัวเพลงออกมา จากเว็บ Suno AI, AIVA, Mubert, และอีกสารพัด บางตัวก็ใช้งานได้ดี สามารถเป็นไอเดียไปใช้ทำเพลงของเราได้ แต่ก็จะมีจุดติอยู่ 3 ข้อที่ทำให้ AI เหล่านี้ไม่สามารถทำเพลงแทนมนุษย์จริงๆได้ 1. AI ไม่เข้าใจ “ความงาม” ความงามของดนตรี ตอบยากว่าจะทำยังไงให้ดนตรีมันงดงาม ต่อให้จะหยิบยกทฤษฏดนตรีหลายๆอันมาใช้...

โปรดิวเซอร์ทำเพลง มีหน้าที่อะไรกันแน่

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าคำนิยามหรือความหมายของโปรดิวเซอร์แปลว่าอะไร “โปรดิวเซอร์” จริงๆแล้วแปลว่า ผู้ควบคุมการผลิต ซึ่งนั่นหมายถึงทุกๆขั้นตอนของการผลิต โปรดิวเซอร์ มีหน้าที่ควบคุมทั้งหมดทุกขั้นตอน แล้วการผลิตมีกี่ขั้นตอน? เราจะมาสรุปสั้นๆกัน หลักๆแล้วโปรดิวเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โปรดิวเซอร์ที่ทำเองทุกขั้นตอนหรือก็คือ โปรดิวเซอร์ที่ทำทุกกระบวนการ แต่ก็จะมีโปรดิวเซอร์อีกแบบอย่าง โปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิต ซึ่งหมายถึงเราที่เป็นโปรดิวเซอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องทำทุกหน้าที่ในทุกขั้นตอนหรืออาจจะไม่ได้ทำเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์และการแจกจ่ายงานว่าใครจะทำส่วนไหน ส่วนกระบวนการผลิตเพลงจะมีขั้นตอนดังนี้ 1.ขั้นตอนการบรีฟงาน สมมุติเราได้รับโปรเจคมาสัก1งาน สิ่งแรกที่เราต้องทำแน่นอนคือเราต้องคุยรายละเอียดต่างๆของโปรเจคกับคนที่มาจ้างงาน ลูกค้าต้องการอะไร อยากได้แบบไหน ถ้าลูกค้าไม่มีเรฟเฟอเรนซ์ เราเองก็อาจต้องหาเรฟเฟอเรนซ์ต่างๆมาให้ลูกค้าเลือกดู 2.เรียบเรียงดนตรี ต่อมาเราก็นำข้อมูลทั้งหมดหลังจากการบรีฟพูดคุยอะไรเสร็จมาทำเพลงซึ่งรายละเอียดในงานก็อาจจะมีการ ขึ้นโครง ใส่เลโลดี้ มีทำนอง เป็นเดโม่คร่าวๆ3-4ตัว 3.เสนองานให้ลูกค้า หลังจากทำเดโม่เสร็จ เราก็เอางานเหล่านั้นไปเสนองานลูกค้าว่าลูกค้าชอบไหม ชอบตัวไหน อยากแก้อะไรไหม ซึ่งหลังจากเราได้ข้อมูลมาแล้ว เราก็นำมาปรับแก้กับงานของเรา 4.ทำตัวงานจริง...

ลิขสิทธิ์เพลงเป็นของใครบ้าง เมื่อทำเพลงมา 1 เพลง

หลายคนที่กำลังเริ่มเส้นทางสายดนตรีอาจจะยังไม่จำเป็นต้องตระหนักถึงเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆเกี่ยวกับงานเพลงมากนัก อาจจะมองไปในเรื่องความสนุกของการทำเพลง แต่ความเป็นจริงแล้วลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมันอาจจะทำให้คุณเสียสิทธิประโยชน์ที่เป็นของคุณบางอย่างไป ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณต้องเสียดายไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์เพลงกันสักเล็กน้อยครับ 1. ลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม ลิขสิทธิ์ดนตรีมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ซึ่งลิขสิทธิ์เรื่องแรกคือ ลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม ที่จะเกี่ยวกับเนื้อร้องและทำนอง แบ่งแยกกันเป็น 2 ส่วนชัดเจนคือส่วนของเนื้อร้อง และส่วนของทำนองซึ่งลิขสิทธิ์ทำนองนั้นรวมกับดนตรีไปด้วย ตามปกติแล้วเวลาเราทำเพลงขึ้นมา 1 เพลง องค์ประกอบหลักๆของเพลง 1 เพลงจะมี เนื้อร้อง ทำนอง และดนตรี รวมกันจนได้มาเป็นเพลง 1 เพลง แต่ในทางกฎหมายนั้นดนตรีกลับไม่มีลิขสิทธิ์ แต่จะไปรวมกับทำนองเมโลดี้หลัก กลายเป็นลิขสิทธิ์ทำนองอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เพราะฉะนั้นหากเรานำทำนองของเพลงเก่าสักเพลงมาทำดนตรีขึ้นมาใหม่ ในทางกฎหมายจะยังคงมองว่าเป็นการเอาทำนองเดิมมาดัดแปลงใหม่ แต่ยังต้องขออนุญาติจากศิลปินเจ้าของผลงานก่อนด้วยนั่นเอง 2. ลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง ก็ตามชื่อของมันว่าเป็นลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการบันทึกเสียง ยกตัวอย่างเช่น เรานำเพลงคลาสสิคที่หมดการคุ้มมครองลิขสิทธิ์ไปแล้วนำมาอัดเล่นใหม่ของเราเอง ลิขสิทธิ์ของการบันทึกเสียงก็จะเกิดขึ้นทันที...

คำสาปดนตรี

คำสาป 5 ข้อ ที่คนคลั่งดนตรี หนีไม่พ้น

พูดถึงดนตรีนั้นสำหรับคนธรรมดาที่เล่นดนตรีเป็นการผ่อนคลาย สนุกสนานทั่วไปคงจะไม่มีอะไรพิเศษ แต่หากใครคนหนึ่งเริ่มเข้ามาสู่วงการดนตรีที่จริงจังมากขึ้น เข้มข้นมากขึ้น จนเรียกว่าคนคลั่งดนตรีในที่สุด คนเหล่านี้มักต้องพบกับคำสาป 5 อย่างที่เหมือนๆกัน และเรียกได้ว่าคำสาปนั้นหมายความว่ามันจะติดตัวไปตลอดชีวิตไม่มีวิธีหนีจากมัน ทำได้เพียงเผชิญหน้ากับมันซึ่งๆหน้าเท่านั้นจึงจะหลุดพ้นจากความทรมานที่รู้สึก วันนี้ผมได้รวบรวม 5 คำสาปที่คนคลั่งดนตรีหนีไม่พ้นมาเล่าสู่กันฟัง ลองมาฟังดูว่าคุณมีข้อไหน อยู่ในขั้นไหน แล้วจะทำอย่างไรกับมันดี 1. ขึ้นชื่อว่าดนตรี ยากเสมอ ทำไมถึงยากเสมอ? ถ้าคุณไม่ได้เป็นคนฝึกดนตรีมาก่อนอาจยังไม่รู้ แต่ถ้าใครเคยหัดเล่นเครื่องดนตรี หรือเรียนทฤษฏีดนตรีมาก่อนจะรู้ว่าดนตรีมันยาก เพราะมันต้องฝึกฝนและใช้เวลานานจนกว่าจะเล่นได้คล่อง แถมเครื่องดนตรีแต่ละชนิดก็มีวิธีฝึกที่แตกต่างกันไปอีก ยังไม่พอถ้าคุณยิ่งฝึก คุณจะเรียนรู้ว่่ามันมีท่าแปลกๆ พลุดขึ้นมาให้เราเจอตลอด มันคือการปีนภูเขาไปเรื่อยๆ ไปเจอสิ่งที่ยากขึ้น และคุณต้องก้าวข้ามมันให้ได้ ไม่มีวันจบสิ้น แต่ถ้าคุณคิดว่าแค่ฝึกเล่นคอร์ดธรรมดาๆ พอเล่นเพลงที่ชอบได้ก็พอแล้ว อันนี้ก็ยินดีด้วยที่คุณหาความพอใจของตัวเองเจอ แต่สำหรับใครที่ต้องการจะเก่ง เล่นได้ทุกเพลง อยากโชว์ลีลาเด็ดๆ ก็ต้องหนีไม่พ้นที่จะฝึกฝน และต้องใช้เวลากับมันไปตลอดชีวิต...

Logic pro 11

มีอะไรใหม่ใน Logic Pro 11 สวรรค์สำหรับนักแต่งเพลง!

เมื่อวันที่ 13 พ.ค 2024 Apple ได้ประกาศว่าจะมีการอัพเดทครั้งยิ่งใหญ่หลังรอมานานกว่า 10 ปี กับตัว Logic Pro 11 ซึ่งการอัพเดทครั้งนี้ถือว่าเป็นการอัพเดทที่สะเทืยนทั้งวงการทำเพลง เราเลยจะมาดูพร้อมกันไปเลยว่ามันมีอะไรเจ๋งๆที่มาใหม่บ้าง 1. Session Players ในที่สุด Logic Pro 11 ก็ได้เพิ่มเครื่องดนตรีเข้ามาใหม่ใน Session Players นั้นก็คือ Bass และ Keyboard ทำให้สามารถคิดไลน์ Bass และ Keyboard ได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรมชาติ แถมยังสามารถปรับสไตล์การเล่นได้ด้วย ตั้งแต่สไตล์ Motown ไปจนถึง Indie discoรวมถึงมีการปรับหน้า...

รีวิวการเรียนทำเพลงในคณะดนตรี ระดับมหาลัย

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเรียนดนตรีทั้งข้างนอก กับหาความรู้ด้วยตัวเอง แต่ยังไม่สามารถได้ความรู้ในสิ่งที่ต้องการเลย จนตัดสินใจเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย คณะดนตรี พอได้เรียนแล้วก็เหมือนปลดล็อกอะไรหลายๆอย่าง ซึ่งเดี๋ยวเราจะมารีวิวให้ฟังกันว่าการได้เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยมันมีอะไรบ้าง The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ หลักสูตร The Real Producerเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากลสนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่...

เป้าหมายทางดนตรีของคุณคืออะไร?

ก่อนที่ผมเป็น producer ผมชอบดนตรีของประเทศญี่ปุ่นมากๆ ผมไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น ไปดูดนตรี ผมสนุกมาก ผมชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย ศิลปะ และความสวยงาม และมีดนตรีที่เหนือชั้นมาก  แต่พอกลับมา กลับรู้สึกว่า ทำไมประเทศเราไม่เป็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า เราไปอยู่ที่ญี่ปุ่นไม่ได้ แม้จะชอบวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นที่ญี่ปุ่นเสมอไป เราก็สามารถสร้างทุกอย่างที่เราชอบ ขึ้นมาเองบนสถานที่ที่เราอยู่ได้ และความสุขกับมันได้ นี่คือสิ่งที่ผมสามารถทำได้ คือพัฒนาประเทศด้วยความรู้ทางดนตรีที่ผมมี เผยแพร่ความรู้ไปสู่คนหมู่มากให้มากที่สุด เพราะก่อนที่จะไปเรียนในมหาวิทยาลัย ผมก็เคยขวนขวายด้วยตัวเองมาก่อน แต่ไม่พบทางที่ทำให้เราไปถึงฝันได้ จนสุดท้ายต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัยอยู่ดี ให้รู้ลึก รู้จริง เป้าหมายของ VERYCATSOUND ผมรู้สึกว่านี่คือ Mission ของตัวเองในชีวิตนี้ ว่าอยากสร้าง composer/producer รุ่นใหม่ที่ทัดเทียมกับต่างประเทศและสร้างงานที่ไม่แพ้ชาติอื่น อาทิเช่น ญี่ปุ่น หรือเกาหลี ...

ทำอย่างไรเมื่อที่บ้านไม่อยากให้เรียนดนตรี

ทำอย่างไรเมื่อที่บ้านไม่อยากให้เรียนดนตรี

ไม่นานมานี้มีหลายคนมาปรึกษาผมว่าที่บ้านไม่อยากให้เรียนดนตรีซึ่งมันเป็นปัญหา classic ที่ผมคิดว่า 80% ของคนอยากเรียนดนตรีเนี่ยต้องเจอโดยทั่วไปถ้าใครที่เข้ามาอ่านแล้วเคยเจอปัญหาที่คล้ายๆกัน ผมขอแบ่ง 3 สถานการณ์แล้วพร้อมทางออกของเรื่องนี้ 1. ที่บ้านไม่อยากให้เรียนดนตรีแต่ถ้าจะเรียนก็จะสนับสนุน ผมเจอคนมาปรึกษาว่าอยากเรียนดนตรีพอบอกที่บ้านเขาก็มักจะบอกให้เราไปเรียนอย่างอื่นดีกว่าบางทีก็อาจจะบอกตรงๆไม่ก็บอกอ้อมๆ แต่สิ่งที่เราต้องทำคือมุ่งมั่น,ตั้งใจและแสดงให้เขาเห็นหลายอย่าง เช่น เราไปซ้อมดนตรี ไปแข่งงานประกวดดนตรีจนได้รางวัลให้เค้าดู หรือว่าซ้อมจนสอบติดมหาลัยแล้วให้เขาเห็นว่าเรามุ่งมั่นกับเส้นทางนี้นะ หรือหาคอร์สเรียนดนตรีที่มันจริงจังทำให้ผู้ใหญ่เห็นความตั้งใจของเรา เชื่อว่าผู้ใหญ่หลายคนเค้าก็ต้องยอมรับได้ถ้าเรามามุ่งมั่น และจริงจังให้เขาเห็นทำให้เค้ายอมรับได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเรายังเรียนมัธยมอยู่ก็ต้องมีความรับผิดชอบเรื่องการเรียนของเราด้วย ทำให้ผู้ใหญ่เห็นว่าเราจะซ้อมดนตรีหรือจริงจังกับดนตรีแค่ไหนก็ไม่มีผลกระทบกับการเรียนของน้อง 2. ปัญหาที่บ้านไม่อยากให้เรียนแต่ถ้าเรียนจะไม่สนับสนุน คุณเรียนอย่างอื่นได้แต่ถ้าเรียนดนตรีไปหาตังค์จ่ายเอาเอง แต่ไม่ได้ห้ามเรียนแค่ไม่ได้สนับสนุนเราจะแก้ไงดี อย่างแรกเรื่องเงินเนี่ยปัญหาใหญ่ เพราะอย่างที่ว่าค่าเรียนดนตรีค่อนข้างแพงมันเป็นไปได้ยากที่เด็กอย่างเราจะหาเงินมาเรียน แต่ว่าถ้าเราโตแล้วทำงานมีเงินเก็บก็สามารถตามเรียนเองได้ แต่ใครที่ยังเด็กอยู่อยากเรียนจริงๆแล้วผู้ใหญ่ไม่สนับสนุนหรือไม่ให้เงินเราก็ต้องหาเงินเรียนเองให้ได้เราก็อาจจะเริ่มจากศึกษาเองก่อนพยายามเก็บตังค์มาเรียนคอร์สเล็กๆเอาเองไปเรื่อยๆจนเราเรียนจบแบบที่ผู้ใหญ่เค้าอยากให้เรียน เช่น เรียนหมอ, เรียนวิศวะ ให้เขาสบายใจ แต่เราอาจจะตั้งเงื่อนไขถ้าเราเรียนตามที่เขาบอกก็ช่วยส่งเราเรียนดนตรีเสริมด้วยได้ไหม หรือเราจะเลือกเรียนดนตรีในมหาลัยที่ค่าเรียนมันถูกหน่อยก็ได้แต่อย่างว่าแหละทุกอย่างเป็นไปตามราคาเราอาจจะต้องขยันกว่าคนอื่นหน่อยในการหาความรู้ สุดท้ายก็แล้วแต่ชีวิตเราว่าอยากเลือกแบบไหน 3. ที่บ้านไฟแดงไม่ให้เรียน ไม่ให้เรียนถ้าเรียนไม่ต้องมาคุยกัน เรื่องนี้ถ้าคุยให้เข้าใจคงเป็นเรื่องยากก็อาจจะต้องเก็บความฝันตัวเองไว้ก่อน...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.