PRODUCER Q&A

GMM SAUCE

GRAMMY เปิดตัวค่าย “GMM SAUCE” ค่ายเพลงสั้น 55 วินาทีเจาะกลุ่มโลกโซเชียลยุคนี้

GMM Music ได้เปิดค่อยเพลงน้องใหม่ที่ชื่อ “GMM SAUCE” (จีเอ็มเอ็ม ซอส) โดยเป็นค่ายเพลงภายใต้คอนเซ็ปต์ “Creative & Innovative Music” ทันทุกกระแสโซเชียล ที่จะตอบโจทย์ผู้คนในยุคนี้ที่ต้องการเสพเนื้อหาที่มีความสั้น กระชับโดนใจเน้นๆ ตรงโจทย์ไลฟสไตล์แบบ “Short Content” ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยๆใน Tiktok, Facebook, Instagram, และ YouTube ที่มีการสร้างวิดีโอสั้นๆ ไม่ถึง 1 นาทีจนทำให้เกิดไวรัลในหลายๆคลิป โดย GMM SAUCE จะทำเพลงที่มีเวลาเพียงแค่ “55 วินาที” ให้ผู้คนได้ฟังกัน โดยตั้งเป้าไว้ว่า ภายใน 1 ปี จะมีทั้งหมด...

สอนแต่งเพลง ทำดนตรีจาก AI ติดลิขสิทธิ์ หรือไม่

ทำดนตรีจาก AI ติดลิขสิทธิ์ หรือไม่

แน่นอนว่า ยุคนี้แล้ว หลายๆคนคงเคยได้ยินหรือเคยใช้ AI กันมาบ้าง มันช่วยอำนวยความสะดวกให้เราในการทำงานหลายๆเรื่อง และในเรื่องของดนตรีก็เช่นกัน AI ทำเพลง ทำบีท ทำดนตรีก็มีอยู่หลายเจ้ามากมายไปหมด มีนักเรียนที่ได้เรียนคลาส VCA008 AI beat Making with BandLab ไป แล้วมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ AI มาทำดนตรี ว่าจะผิดลิขสิทธิ์ไหม ผมเลยรวบรวมข้อมูลแล้วมาตอบให้ โดยคิดว่านำมาทำเป็นโพสต์ให้อ่านกันไปเลยจะได้ประโยชน์ทั่วกัน ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ กับการใช้ AI ไม่ใช่เฉพาะการทำดนตรี แต่ในหลายๆวงการ ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ว่า มันผิดลิขสิทธิ์หรือไม่อย่างไร เพราะมันยังเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ และกฏหมายลิขสิทธิ์ยังไม่ได้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญญัติมัน ในระหว่างที่เรายังอยู่ในช่วงระหว่างรอยต่อการของการเปลี่ยนผ่านนี้ระหว่างยุคนี้อยู่ สิ่งที่ผมทำได้คือการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ว่ามีรูปแบบใดบ้าง แต่ในบางกรณีจะไม่สามารถฟันธงให้ได้ว่า มันจะกลายเป็นแบบไหนแบบชัดเจน 100% นะครับ...

เรียนทำเพลง Treatment คืออะไร สำคัญยังไงกับการแต่งเพลง

Treatment คืออะไร สำคัญยังไงกับการแต่งเพลง

ในการแต่งเพลง หรือ Song Writing บางทีแล้วมันไม่ได้มีสูตรตายตัว คนบางคนอาจใช้คนละวิธีในการแต่ง บางคนทำเนื้อก่อน บางคนทำทำนองก่อน บางคนทำดนตรีก่อน ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกครับ ขอเพียงใครถนัดแบบไหน และแบบไหนมันนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีได้ก็พอ ถ้านั่นเป็นการแต่งเพลงตัวเอง ที่คุณมีเพียงโจทย์เป็นตัวคุณเป็นที่ตั้ง แต่ ในการทำงานระดับมืออาชีพ บางทีแล้วการต้องสื่อสารกับคนอื่นที่ทำงานด้วยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อมันเป็นการทำงานที่มีโจทย์เป็นตัวตั้ง และต้องการผลลัพธ์ที่มาตอบโจทย์นั้นให้ได้ นักแต่งเพลงอาจต้องมีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้งานออกมามีดี และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ทีนี้มันเลยจำเป็นต้องเรียนรู้ขั้นตอนหนึ่งที่เรียกว่า “Treatment” Treatment คืออะไร? ทรีทเม้นท์ คือภาพร่างของเนื้อเพลง ซึ่งยังไม่ใช่เนื้อเพลงจริง มันเป็นขั้นตอนหนึ่งที่เราเริ่มทำก่อนจะเขียนเนื้อเพลง และหลังจากคิดเรื่อง หรือ Concept ของเพลงออกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น นักแต่งเพลงอาจจะไปรับงานเขียนเพลงโฆษณาจากลูกค้าเจ้าหนึ่ง ซึ่งไม่มีความรู้ทางดนตรี และได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้วว่า จะทำเป็นเพลง...

เรียนทำเพลง ทำไม อ.ที่ปรึกษา จึงสำคัญกับการเรียนทำเพลง

ทำไม อ.ที่ปรึกษา จึงสำคัญกับการเรียนทำเพลง?

การเรียนทำเพลงในปัจจุบัน มีหลายคนที่เรียนด้วยตัวเอง แล้วไปถึงจุดนึงพบทางตัน ที่จริงแล้วแม้แต่คนที่เสียตังค์เรียนคอร์สก็ตาม ถ้าขาดสิ่งนี้ไปอาจทำให้ผลลัพธ์นั้นแตกต่างกันอย่างมาก นั่นคือ Advisor หรือ อ.ที่ปรึกษา ครับ ตั้งแต่ผมสอนมา แล้วผมเป็น อ.ที่ปรึกษาเองด้วย ผมเจอหลายๆคนที่เข้ามาเรียน มาส่งการบ้าน แล้วจองคลาสเรียน private กับผม พบว่ามีไม่น้อยที่แม้จะเรียนในคลาสเดียวกับเพื่อนๆ ทั้งคอร์สสดและไม่สดก็ตาม จะมีคนที่ไม่เข้าใจบทเรียน หรือเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อนเสมอ แต่บางทีเค้าก็ปล่อยไปก่อน ไม่ได้ถามในคลาสเดี๋ยวนั้น จนมาปรึกษาในคลาสแล้วเห็นการบ้านเนี่ยแหละ ถึงรู้ว่าเค้าเข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิด ก็ต้องสอนเอาจนเข้าใจให้ได้ เป็นจรรยาบรรณและความรับผิดชอบของผู้สอน แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้ผมได้ตระหนักว่า การมี อ.ที่ปรึกษา นั้นสำคัญกับการเรียนดนตรีมากแค่ไหน เพราะที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่เข้าใจยากอยู่พอสมควร ผู้เรียนอาจต้องได้รับการอธิบายหลายครั้ง และต้องคลุกคลีกับมันเป็น ชม. บิน ที่ค่อนข้างมาก...

สอนทำเพลง อยากทำเพลงส่งค่าย ควรเรียนอะไร

อยากทำเพลงส่งค่าย ควรเรียนอะไร?

เมื่อไม่นานมานี้มีน้องบางคนมาปรึกษาผม ถามข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนทำเพลง เพื่อจะไปส่ง demo ให้ค่าย (น้องมีความใฝ่ฝันอยากเป็นศิลปิน)แต่สิ่งที่เค้าถามทำให้ผมประหลาดใจ เพราะเค้าสนใจเรื่องการเรียน Mix , Master ผมถามว่า ถ้าจะทำเพลงส่งค่าย ทำไมถึงจะเรียน Mix Master ล่ะ?น้องเค้าบอกว่า อยากทำเพลงออกมาให้คุณภาพดีที่สุด… อืม… มันทำให้ผมเพิ่งรู้ว่ามีคนอีกมากมายที่เข้าใจเรื่องของการกระบวนการทำเพลงผิดจุดหมดเลย อย่างที่ผมได้เคยพูดไปหลายครั้งในเรื่องของกระบวนการทำเพลง 3 ขั้นตอน คือ แต่งเพลง-ทำดนตรี-ทำซาวด์ ที่ที่จริงแล้วไม่ต้องเป็นคนๆเดียวกันทำก็ได้ และถ้าผมเป็นเจ้าของค่ายเพลง สิ่งที่ผมอยากได้ยินจาก demo คือความเป็นตัวตนของศิลปิน อยากเห็นเนื้อร้อง ทำนอง หรืออาจรวมไปถึงดนตรี ว่าเป็นคนยังไง มีคาแรกเตอร์แบบไหน น่าสนใจยังไงมากกว่า แล้วขึ้นชื่อว่า demo ก็คือ demo ไม่มีใครคาดหวังว่าจะได้ยินความเนี้ยบของซาวด์อยู่แล้ว...

สอนแต่งเพลง ทำไมเรียบเรียงดนตรีต้องดี ก่อนจะมา mix ,master

ทำไมเรียบเรียงดนตรีต้องดี ก่อนจะมา mix ,master

ถ้าคุณเคยไปเรียน Mix ,Master คุณอาจจะเจอประโยคนึงที่อาจารย์หลายท่านพูดเหมือนกันหมดคือ ก่อนที่คุณจะนำ Project เพลง มาเข้ากระบวนการ Mix , Master เนี่ย เพลงคุณควรจะเรียบเรียงดนตรีมาดีแล้วก่อน แล้วอะไรๆมันจะง่ายเลยครับ ซึ่งเพราะว่าที่จริงแล้ว กระบวนการ Mix, Master เนี่ย มันเป็นการจัดการกับคุณภาพเสียงเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่เกี่ยวกับ Design ของตัวโน้ตดนตรี มันไม่ควรจะต้องมานั่งเปลี่ยนหรือแก้ปัญหาอะไรมากมาย ถ้าเพลงที่คุณทำผ่านการเรียบเรียงมาอย่างดี ไลน์ดนตรีทุกอย่างถูกคิดมาแล้ว ชัวร์หมดแล้ว และเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นถูกตัดสินใจเรื่องระดับเสียงหรือ octave ไว้อย่างดี ไม่มีไลน์ไหนทับกัน ตีกัน หรือในโน้ตดนตรีไม่มีตัวไหนที่ทำปฏิกิริยาเป็นคู่ 2 minor (หรือที่เค้าเรียกว่า เสียงกัด หรือ dissonance) รวมถึงมีการใส่โน้ตต่างๆที่มีความสมจริง...

สอนแต่งเพลง มาหลุดพ้นการทำเพลงระดับเบสิค ด้วยวิชา Harmony

มาหลุดพ้นการทำเพลงระดับเบสิค ด้วยวิชา Harmony

ถ้าคุณอยากเป็นคนทำเพลงที่เก่ง อยากหลุดพ้นจากระดับ Basic แล้วคุณเคยพยายามหาที่เรียนมาหลายที่แล้ว แต่คุณก็ยังไม่หลุดพ้นจากระดับ Basic ซักที มันเป็นเพราะอะไรกัน? คุณอาจรู้เรื่องของการใช้คอร์ด 7 คอร์ดในสเกลต่างๆแล้ว แล้วนำคอร์ดมาเรียงกันที่เรียกว่า Chord Progression ร้อยเรียงคู่ไปกับเมโลดี้หรือทำนองหลัก ซึ่งเล่นโน้ตที่อยู่บนสเกลนั้นๆ ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานที่จำเป็น ถ้าคุณเข้าใจหมดแล้วก็ถือว่ายินดีด้วยคุณมาถูกทางแล้ว แต่ step ต่อจากนั้นคืออะไรล่ะ? Step ต่อจากสเกลกับคอร์ดพื้นฐาน คุณคงเคยได้ยินเพลงที่แปลกออกไปจากพื้นฐานที่คุณทำได้ อาทิว่า ทำไมมีคอร์ดแปลกๆอยู่ในเพลง ทำไมถึงเล่น Major ในคอร์ดที่ควรจะเป็น Minor ทำไมมี tension ที่ไม่เคยเห็น เช่น 7 , 9 , 11, 13...

เรียนทำเพลง ปริญญาดนตรีจำเป็นกับอาชีพดนตรีหรือไม่

ปริญญาดนตรีจำเป็นกับอาชีพดนตรีหรือไม่?

ผมมักเจอคำถามนี้อยู่บ่อยๆกับคนที่มาปรึกษา โดยเฉพาะผู้ปกครองของน้องๆที่จะมาสมัครเรียน ผมตอบให้แบบกระชับเลยนะครับ ในที่นี้ถ้าพูดถึง “ใบ” ปริญญา นะครับ ถ้าคิดจะเป็นอาจารย์ในมหาลัย หรือในโรงเรียน = จำเป็นถ้าคิดจะประกอบอาชีพดนตรีอย่างอื่น = ไม่จำเป็นแต่ถ้าคุณอยากเป็นคนเก่งในอาชีพดนตรี แล้วคุณ support ได้ = เรียนเถอะ ปัจจุบันการทำอาชีพดนตรี 100% ในไทย ไม่มีใครดูใบปริญญากันหรอกครับ หลักๆดูกันที่ ฝีมือ และ portfolio ว่าเคยทำอะไรมาบ้าง ผลงานเป็นยังไง เข้าตามั้ย แบบนี้มากกว่าจะยกเว้นเพียงแค่ ถ้าอยากจะทำอาชีพครูดนตรีหรืออาจารย์ ทีนี้จะเป็นเรื่องระบบทางการที่เค้าต้องการใบรับรองละ ฉะนั้นแล้วการเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยจะมีไปทำไมล่ะ ถ้าใบปริญญามันแทบไม่มีความหมายอะไร? เรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยไปทำไม คนเราเรียนก็เพื่อต้องการเก่งในเรื่องนั้นใช่ไหมล่ะครับ มันคือจุดประสงค์หลักของการเรียน ไม่ใช่ใบปริญญา จะอาชีพไหนๆก็เหมือนกันแหละครับ ทุกๆที่ต้องการคนเก่งเข้ามาทำหน้าที่ต่างๆเพื่อสังคม...

5 เหตุผล ที่ยังใช้ Hardware ในการทำเพลง

อย่างที่รู้กันว่า กระบวนการทำเพลง หรือ Music Production ในปัจจุบันนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามา มีการใช้ Software เข้ามาทดแทน Hardware จนทำให้เกิดความสะดวกสบายและประหยัดงบประมาณลงไปได้กว่าสิบเท่าจากเมื่อก่อน แต่หลายคนอาจเคยไปห้องสตูดิโอระดับมืออาชีพ หรือห้องอัด ห้องบันทึกเสียงหลายที่ และพบเห็นอุปกรณ์ hardware มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Effect ต่างๆ EQ , Compress , Pre-Mic , Synthesizer , Sound Module , Sampler , Drum Machine ฯลฯ ที่เห็นแล้วเกิดความสงสัยว่า ในเมื่อปัจจุบันใช้...

เรียนทำเพลง Mixer ยังจำเป็น

Mixer จำเป็นกับการทำเพลงไหม

หลังจากที่เราเคยแนะนำอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆในการทำเพลงไปจนเกือบจะครบแล้ว จะมีอุปกรณ์อยู่อีกชิ้นที่ยังไม่ได้พูดถึง และเชื่อว่าหลายๆคนอาจจะได้ใช้ หรือไม่ได้ใช้มัน เพราะถ้าถามว่ามันจำเป็นไหม ก็ต้องตอบว่าไม่ แต่มันช่วยเพิ่มความสะดวกในการเชื่อมโยงหลายๆอุปกรณ์เข้าด้วยกันได้อย่างดี ในกรณีที่เราเริ่มมีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เยอะขึ้น อาทิ audio interface , ลำโพง , mic , เครื่องดนตรีต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเจ้าสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงในวันนี้ก็คือ Mixer นี่แหละครับ Mixer เนี่ย ในช่วงเริ่มต้นของการฝึกทำเพลง เราอาจจะยังไม่ต้องการมันหรอกครับ ทุกอย่างแค่เสียบผ่าน audio interface ก็อาจจะเพียงพอแล้ว แต่อย่างที่บอกไป คือเมื่อเรามีอุปกรณ์มากขึ้น บางทีแล้วมันจะมีการจัดการ in , out ของหลายสิ่งหลายอย่าง ที่อาจจะต้องถอดๆใส่ๆมันบ่อยๆ หรือมี channel ไม่พอ...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.