October 31, 2022

เรียนทำเพลง Passion

ทฤษฎีดนตรี ทำให้หมด Passion จริงหรือไม่?

ผมเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ เป็นมุมมองจากคนที่ไม่ได้เรียนดนตรี ว่าไม่อยากเรียนรู้ทฤษฎีอะไรเยอะ เพราะกลัวจะติดกรอบ กลัวจะสูญเสีย Passion ไป สมัยก่อนตอนที่ผมยังไม่ได้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องเป็นราว ผมก็ฟังหูไว้หู ไม่รู้จริงรึเปล่า ผมในช่วงวัยรุ่นมีอารมณ์พุ่งพล่านและมีอารมณ์ศิลปินสูง แต่งเพลงที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ไว้มากมาย แต่ปัญหาคือ ผมไม่สามารถทำดนตรีในแบบที่ผมชอบได้ เพลงทั้งหมดที่แต่งออกมายังไม่สมบูรณ์และยังไม่ใช่ผลงานที่ตัวผมเองพอใจ วันนึงเมื่อถึงทางตัน และผมพบว่าการศึกษาดนตรีทั้งด้วยตัวเองและด้วยการเรียนคอร์สต่างๆนอกมหาวิทยาลัยไม่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของผมได้ มันไม่สามารถทำให้ผมทำเพลงให้ได้อย่างมาตรฐานที่ผมคิดไว้ได้ ผมจึงตัดสินใจซ้อมเปียโนอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อจะไปสอบเข้าคณะดนตรี เพื่อเรียนอีก สี่ปี ทั้งๆที่ตอนนั้นเรียนปริญญาตรีสาขาอื่นจบมาแล้วใบหนึ่ง สิ่งที่ผมได้รับจากการไปเรียนมีมากมายมหาศาลมาก มันต่อยอดจากสิ่งที่เราสนใจและมี sense ทางดนตรีของตัวเองอยู่แล้ว ให้เปิดประตูไปสู่ความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด ผมได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มากมาย ค่อยๆลองผิดลองถูกทำเพลงไปเรื่อยๆ ตอนนั้นผมก็ยังแต่งเพลงไว้เยอะและเป็นเพลงที่เปี่ยมด้วยอารมณ์อีกเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นวัยที่อินกับดนตรีมากๆ ทั้งก่อนและหลังได้เรียน พอผมเรียนจบแล้วอายุมากขึ้น จบมาทำงานเป็นโปรดิวเซอร์อยู่เบื้องหลัง ชีวิตได้ผ่านอะไรมากมาย ผมทำเพลงแบบที่ตัวเองต้องการได้แล้ว และได้ทำอะไรหลายๆอย่างที่เป็นความฝันไปแล้ว ผมรู้สึกว่าอินกับดนตรีน้อยลง และมีมุมมองหลายๆอย่างที่เปลี่ยนไป...

สอนทำเพลง Ear Training

Ear Training คืออะไร? ฝึกยังไง?

อะไรคือ Ear Training? Ear Training คือวิชาการฝึกประสาทการฟัง จะมีความสำคัญมากสำหรับนักดนตรี นักแต่งเพลง นักทำดนตรี โปรดิวเซอร์ทั้งหลาย วิชา Ear Training มักถูกบรรจุอยู่ในการเรียนการสอนดนตรีแบบ Academic หรือในมหาวิทยาลัยคณะดนตรี แต่ที่จริงก็สามารถหาเรียนจากสถาบันนอกมหาวิทยาลัยบางสถาบันที่เปิดสอนได้ด้วย การฝึก Ear Training นั้น จะแยกย่อยออกเป็นสองแบบ สองระบบ นั่นคือ Move Do กับ Fix Do (ผมไม่ขอลงลึกรายละเอียดในบทความนี้นะครับ จะยาวเกินไป อยากรู้ ลองศึกษาเพิ่มเติม หรือไม่ก็กดติดตามไว้ จะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในภายภาคหน้านะครับ) แต่แบบที่ฝึกไม่ยากเกินไปนัก และได้ประโยชน์เต็มที่กับการทำเพลง ผมขอแนะนำระบบ Move Do...

เรียนทำเพลง ตารางคอร์ด

แจกตารางคอร์ด Basic Triad บนเปียโน และคีย์บอร์ด

วันนี้พวกเราอยากแจกคอร์ด Basic Triad Chord บนเปียโนและคีย์บอร์ด ให้สำหรับผู้เริ่มต้นหรือนักเรียนที่ยังจำคอร์ดไม่ได้ หรือจำได้ไม่คล่อง ก็โหลดมาแปะเก็บไว้ดูได้เลย มีคอร์ดทั้งหมด 4 ชนิด Major , Minor, Diminished, และ Augmented หรือถ้าใครอยากรู้สูตรวิธีสร้างคอร์ดเบื้องต้น ก็สามารถอ่านบทความสูตรสร้างคอร์ดเบื้องต้นได้ที่ตรงนี้เลย จะช่วยให้ลดการท่องจำคอร์ดทั้งหมดลงไปได้อย่างมาก และหาสมาชิกของคอร์ดได้เอง https://verycatsound.com/blog-create-basic-chords/ 1. Major Chord ประกอบด้วยสมาชิกสามตัวคือ 1 – 3 – 5 เช่น ถ้าคอร์ด C ก็ต้องเริ่มสมาชิกตัวแรกคือตัว C ตัวที่ 3 คือ E...

สอนแต่งเพลง ร้องเพลงผิดคีย์

ร้องเพลงผิดคีย์ แต่ไม่รู้ตัว ปัญหาระดับชาติ

มีคนมากมายที่มีปัญหาร้องเพลงผิดคีย์โดยที่ตัวเขาไม่รู้ตัวเอง และบางครั้งก็ฝืนร้องไปทั้งๆอย่างงั้น จนมันทำให้เกิดปัญหาทำให้เพลงเพี้ยน ไม่เพราะ และทำให้สื่อสารกับคนในวงไม่รู้เรื่อง หรือจริงๆแล้วอาจจะแค่ร้องผิดโน้ต แต่แยกแยะความแตกต่างไม่ได้ว่าโน้ตคืออะไร คีย์คืออะไร ก็สามารถอ่านบทความเรื่องคีย์คืออะไรในนี้ได้เลยครับ https://verycatsound.com/blog-key สาเหตุแรกหลักๆเลย ที่หลายๆคนร้องเพื้อน เกิดจากการที่ หู นั้นไม่ดีหรือไม่ได้ Ear training มาก่อน คือไม่สามารถแยกออกได้ระหว่างโน้ตที่ถูกหรือโน้ตที่ผิด สาเหตุที่สองคือไม่เข้าใจเรื่องทฤษฏีดนตรี หรือไม่มีความเข้าใจในเรื่องโน้ต กับ คีย์ แต่จริงๆแล้วถ้าหากคุณหูไม่ดีเลย ต่อให้จะรู้เรื่องทฤษฏีดนตรีแล้ว แต่ถ้าแยกแยะไม่ได้ระหว่างอันไหนเพื้อน อันไหนดี ไม่ได้ก็ต้องมีการฝึก Ear training ที่หนักและยาวนานกันเลยเพื่อที่จะให้แยกแยะออกให้ได้ หรือถ้าทำไม่ได้ เส้นทางดนตรีอาจไม่เหมาะกับคุณเลย เพราะจะทำให้สื่อสารกันยาก และจะทำให้ไม่เข้าใจในเรื่องของเสียงเลย เพราะหู ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆที่ควรเตรียมพร้อมมันก่อนจะเข้าสู่วงการดนตรี ถ้าอยากแก้ ก็สามารถที่จะไปเรียนคอร์สสอนร้องเพลงได้ หรือฝึก...

เรียนทำเพลง Moog คืออะไร

Moog คืออะไร? Synthesizer ตัวนี้ทำไมต้องมี?

หลายๆคนที่อยู่ในแวดวงสังคมคนเล่นเสียง Synthesizer หรือ Synth (ซินธ์)ก็ต้องมียี่ห้อที่ชอบเป็นของตัวเอง อย่างเช่น Korg, Roland, และอื่นๆ แต่ Moog นั้นคือ “บิดาแห่ง Synthesizer” หลังจากการปรากฏตัวของ Minimoog ทำให้กระแสดนตรีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ด้วยลูกเล่นที่เหนือชั้น ทลายข้อจำกัดในการทำเพลงและเปิดประตูสู่ซาวด์ใหม่ ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้โลกของดนตรีเราเปลี่ยนไปตลอดกาล มีหลายๆเพลงฮิตมากมาย นับไม่ถ้วนเลยที่ใช้ Synthesizer ของ Moog มาใช้สร้างสรรค์บทเพลงของพวกเขามาโดยตลอด จนเป็นตำนานกัน! Moog จึงเป็นที่นับถืออย่างมากของคนตะวันตก ตั้งแต่ปี 1965 จนถึงปัจจุบัน Moog ก็ยังเป็นตำนานที่ใครๆต่างเคารพ และพูดถึงทุกวันนี้ Moog ตัวนี้มีที่มายังไง ประวัติมันเป็นยังไง...

สอนทำเพลง ก่อนว่าจ้าง

ควรรู้อะไรบ้างก่อนจ้างทำเพลง?

มีหลายคนที่ติดต่อเข้ามาใช้บริการของพวกเรา แต่ก็เจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าจะจ้างยังไง สื่อสารกันไม่เข้าใจ ไม่รู้จะพูดยังไงให้ได้เพลงที่ต้องการ วันนี้ผมเลยรวบรวมปัญหาต่างๆมาแชร์ให้ฟัง เผื่อว่าคนที่คิดจะจ้างทำเพลง 1. ชัดเจนก่อนจ้างงาน หลายๆครั้งที่คนมาติดต่อจ้างงาน มักจะสื่อสารไม่รู้เรื่องว่าสิ่งที่จะให้ทำมันคืออะไรในขั้นตอนการทำเพลง หลายๆคนไม่รู้ว่ามันมีการแยกขั้นตอนกัน ทั้งแต่งเนื้อ แต่งทำนอง มิกซ์ ทำดนตรี แต่หลายๆคนมักเอามาเหมารวมกันโดยที่ไม่รู้ว่าความแตกต่างมันแตกต่างกันยังไงและบางคนก็มีการใช้ภาษาในการสื่อสารไม่เหมือนกัน บางคนมีเนื้อร้องมาให้ แต่อยากได้ทำนอง ทั้งๆที่ทำนองนั้นมากับเนื้อร้องแล้ว แต่ที่เขาต้องการคือการเรียบเรียงดนตรี หลายๆคนไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาอยากจ้างคืออะไร และคนทำเพลงแบบพวกเราก็ไม่รู้ว่าจะทำเพลงยังไงให้ ฉะนั้นอธิบายออกมาเลยครับว่าอยากได้แบบไหน เพราะผู้ว่าจ้างแบบพวกเราจะพยายามแปลความให้ได้อยู่แล้วว่าอยากได้แบบไหน เนื้อร้อง ทำนอง อยากให้อัดเสียงไหม หรืออัดมาแล้วเปิดให้ฟังได้ไหม เพลงกี่นาที ชัดเจนออกมาก่อนเลยจึงสำคัญมากสำหรับการจ้างงาน 2. ให้เคารพกติกาของกันและกัน คนรับจ้างหลายๆคนก็อาจจะมีกฏกติกาไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะให้มัดจำก่อนเริ่มงานจึงเป็นเรื่องที่ดีถ้าเราเคารพกติกาที่เขาวางไว้ก่อน ไม่ใช่จ้างให้ทำเพลงแล้วค่อยเก็บเงินย้อนหลัง หากผู้รับจ้างเขาชัดเจนไว้แล้วว่าต้องมัดจำก่อน หรือถ้าผู้ว่าจ้างมีกฏกติกาของตัวเอง มีเหตุผลที่ต้องคุย เราก็สามารถคุยตกลงกันได้ว่าต้องการแบบไหน แต่สุดท้ายการรับงานควรจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองยอมรับกันได้แล้ว...

เรียนทำเพลง 4 เทคนิค melody

4 เทคนิค วิธีเขียน Melody ให้ฟังดูดี

วันนี้ผมเพิ่งได้รับการติดต่อมาจากผู้เรียนคนหนึ่ง หลังจากที่ผมดูในโปรไฟล์และพบว่าเขาได้เคยเรียนดนตรีมาแบบ Academic และทำให้มีพื้นฐานทางดนตรีที่ดีอยู่แล้ว ผมจึงไม่แน่ใจว่าหลักสูตรของทางเราจะให้ประโยชน์เขาได้หรือไม่ แต่ปรากฏว่า เขาบอกว่า เขาเข้าใจเรื่อง harmony , chord , scale ต่างๆอยู่แล้วแต่เขาดัน “แต่งเพลงไม่เป็น” มันเลยเป็นอีกเรื่องที่ผมเพิ่งรู้ คือมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่อาจจะเข้าใจดนตรี เพราะเรียนทฤษฎีดนตรีตามหลักสูตรดนตรีปกติมา แต่ไม่สามารถนำทฤษฎีพวกนั้นมาเชื่อมโยงและประยุกต์ทำเป็นเพลงของตัวเองได้ นับเป็นปัญหาใหญ่เลยทีเดียว ฉะนั้นถ้าคุณเป็นอีกคนที่เจอปัญหานั้น วันนี้ผมจึงอยากมาแชร์วิธีการเขียนทำนองเพลงเมโลดี้ เพื่อทำให้การแต่งเพลงของคุณง่ายขึ้น และฟังดูดีนะครับ 1. ยึด Tonic เป็นที่มั่น ถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ในการแต่งเพลง ขอให้เริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด คือการตั้งมั่นที่ Tonic หรือโน้ตตัวแรกเริ่มของสเกล อาทิ ถ้าแต่งเพลงในสเกล C Major ก็ตั้งที่โน้ต C ก่อน...

สอนแต่งเพลง Creative Lyrics

เปิดมุมมองการแต่งเนื้อเพลงให้ไม่จำเจ แนะนำวิชา Creative Lyrics

วิชา Creative Lyric (รหัสวิชา VCA103) เป็นวิชาการแต่งเพลงที่ไม่เหมือนใคร ออกแบบเป็นพิเศษมาเพื่อคนที่อยากเขียนเนื้อเพลงในแบบที่ไม่มีใครเหมือน เกิดจากการกลั่นกรองของผู้สอนที่ทำงานในวงการดนตรีเบื้องหลังมากว่าสิบปี จากการได้คลุกคลีอยู่ในวงการและการเรียนรู้ศาสตร์ในการแต่งเพลงแบบต่างๆมากว่ายี่สิบปีทำให้ได้ข้อสรุปบางอย่างว่า ที่จริงแล้วการแต่งเพลงมัน “ไม่มีสูตรตายตัว” ซึ่งผมกล้าพูดได้เลยว่า ไม่ว่าจะไปถามมืออาชีพกี่คนก็จะตอบแบบนี้เช่นกัน และเนื้อหาที่สอนก็มักจะคล้ายกัน ไม่ว่าจะเรื่องโครงสร้างเพลง การเล่าเรื่องต่างๆ ตัวผมเองที่เรียนมาเยอะหลายสำนักกล้าพูดได้ เพราะเรียนมาเยอะจริงๆ แต่ในความไม่ตายตัว มันก็พอจะจับรูปแบบบางอย่างได้อยู่ จากการวิเคราะห์วิชาการเขียนเนื้อเพลงต่างๆจากหลากหลายแหล่ง ผมมีความเห็นว่าสิ่งที่มักจะทำให้คนเขียนเนื้อเพลงได้ดีมันไม่ใช่แค่เนื้อวิชาพวกนี้อย่างเดียว แต่มันมักจะเกิดจาก “กึ๋น ,มุมมอง และประสบการณ์ชีวิตของผู้แต่ง” ซึ่งมาจาก “การตกผลึกทางความคิด” โดยเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสอนกันได้ในเวลาอันสั้น ผมจึงคิดว่าการสอนคนให้เขียนเพลงได้ดีแค่นั้น มันยังไม่เพียงพอต่อการจะสร้างสรรค์เพลงที่ดี ที่ไม่มีใครเหมือน แต่มันต้องเข้าใจถึง “สภาพแวดล้อม” รอบๆของสิ่งที่เราศึกษาด้วย อาทิเช่น วิชา ความคิดสร้างสรรค์ Creative ,...

เรียนทำเพลง ฟังแล้วขนลุก!

ฟังแล้วขนลุก! สัญญาณที่บ่งบอกว่าเพลงนี้อาจจะดัง!

เคยเป็นกันไหมครับ เวลาฟังเพลงอะไรแล้วรู้สึกขนลุก เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์นี้ ผมไม่ขอพูดในเชิงวิทยาศาสตร์นะครับ เนื่องจากตัวผมเองเป็นโปรดิวเซอร์ ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่จะมายืนยันอะไรได้ แต่เกี่ยวกับกรณีนี้ มีอาจารย์ท่านผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ในวงการยาวนานหลายสิบปีเคยพูดไว้ ท่านบอกว่า เมื่อไรที่เราฟังเพลงอะไรแล้วรู้สึกขนลุก (ถ้ามันไม่เกี่ยวกับแอร์หนาวไป หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายตอนนั้น เช่นปวดท้องอุจจาระ) มันมักจะเข้าข่ายสองข้อต่อไปนี้ 1. มันดีมาก มันโดนใจคน 2. มันเสี่ยวมาก ครับ… ต่อจากนั้นนักเรียนทั้งห้องก็ฮากัน แต่ทำเป็นเล่นไป มันคือเรื่องจริงนะครับ และท่านยังบอกอีกว่า และเพลงไหนที่เราขนลุก ต่อให้จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ให้ตั้งข้อสังเกตไว้เลยว่า เพลงๆนั้นแนวโน้ม “มีโอกาสที่จะดัง” จากนั้น ผมลองมาตั้งข้อสังเกตเพลงที่ฟังแล้วขนลุกหลายๆเพลงก็รู้สึกว่าจริงครับ ในนั้นมันจะมีทั้งเพลงที่ชอบและไม่ชอบ (ปกตินะครับ คนเรามีรสนิยมหลากหลาย ชอบอะไรไม่เหมือนกัน) แต่เพลงที่ฟังแล้วขนลุกแทบเกือบทั้งหมดเป็นเพลงดัง ผมจึงคิดว่าทฤษฎีนี้ค่อนข้างเชื่อถือได้อยู่ ทีนี้มันสำคัญยังไง ให้เราลองมาย้อนกลับมาดู demo...

เรียนทฤษฎีดนตรี จำเป็นกับการทำเพลง

ทฤษฎีดนตรี จำเป็นกับการทำเพลงมั้ย

“ไม่จำเป็นครับ แต่ควรเรียนถ้าอยากเก่ง” หลายคนที่เริ่มต้นมาทำเพลงโดยมีเป้าหมายแตกต่างกันไป ถ้าเป้าหมายของคุณคืองานอดิเรก คุณแค่มีความสุขที่ได้ทำ คุณชอบที่จะคลำผิดๆถูกๆเอง และเมื่อผลงานออกมา คุณพอใจกับผลงานชิ้นนั้นอยู่แล้ว นั่นเท่ากับว่า มันไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยครับ คุณกำลังสร้างงานศิลปะแบบนึง ซึ่งมันตอบสนองตัวคุณเองได้แล้ว กรณีนี้คือตอบได้ว่าไม่จำเป็นครับ หรือถ้าคุณมีพรสวรรค์ หยิบจับอะไรก็มีเซ้นส์ดี ทำอะไรก็ออกมาดี มีคนชอบงานคุณเต็มไปหมด งานคุณขายได้ มีทั้งรายได้และชื่อเสียง แล้วคุณก็พอใจกับจุดนั้นแล้ว ผมก็ขอตอบว่าไม่จำเป็นครับ แต่ถ้าใครที่กำลังติดปัญหาอะไรบางอย่าง อาทิเช่น – มีเสียงในหัวแบบนึง แต่ไม่รู้ว่ามันเรียกว่ามันคืออะไร เรียกว่าอะไร แล้วมันทำยังไง– คุณฟังคอร์ดหรือเมโลดี้บางอย่าง แล้วคุณไม่สามารถแกะหรือวิเคราะห์ได้ว่ามันคือคอร์ดอะไร โน้ตอะไร– มีเพลงบางแบบที่คุณอยากทำได้มากๆ แต่คุณไม่สามารถหาวิธีทำมันได้ซักที แล้วคุณก็ไม่รู้ว่าทำไม ก็ยังคลำมันต่อไป– คุณอยากทำอะไรบางอย่างกับเพลง แต่คุณสื่อสารให้คนอื่นที่ทำงานด้วยกันหรือเพื่อนร่วมวงฟังไม่ได้ว่ามันคืออะไร– คุณทำเพลงมาถึงจุดนึงแล้วรู้สึกว่า มันตันอยู่คอร์ดเดิมๆ เมโลดี้เดิมๆ...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.