December 28, 2022

เรียนทำเพลง แนะนำขั้นสูง

แนะแนวทางการเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง ขั้นสูง

ต่อเนื่องจากโพสต์ก่อน “แนะแนวทางการเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง ขั้นต้น”https://verycatsound.com/blog-self-practice-beginner/ สำหรับใครที่มีความรู้พื้นฐานครบหมดแล้ว สามารถพอทำเพลงจบเพลงได้ ทั้งสามกระบวนการ ได้แก่ “แต่งเพลง (Song Writing) – เรียบเรียงดนตรี (Arranging) – มิกซ์เสียง (Sound Engineer)”แต่คุณยังรู้สึกว่าเพลงที่คุณทำมันยังไม่ดีพอ เพราะทำได้แค่ระดับ Basic ทางคอร์ดทางเมโลดี้วนๆ หรือคุณทำได้ไม่กี่แนว ไม่สามารถทำทุกแนวได้ นั่นคือถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเรียนในระดับที่สูงขึ้น เราอยากมาแบ่งปัน แนะแนวทางการเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า ถ้าคุณอยากเก่งขึ้นให้ได้ จะมีลำดับการเรียนรู้ยังไงบ้าง ถึงจะไปสู่จุดสุดยอดของ Producer ได้ โดยในที่นี้จะเน้นการเรียนทำดนตรีในขั้นสูงเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่ต้องค่อนข้างใช้เวลาเรียนรู้มากที่สุด ขั้นตอนการเรียนรู้เรียงตามลำดับ 1. เมื่อทำเพลงพอเป็นแล้ว อยากเก่งขึ้น คุณต้องเรียนรู้เรื่อง Harmony Harmony คือการเรียนรู้เรื่องเสียงประสาน...

อยากทำเพลงเก่งใช้เวลากี่ปี เรียนทำเพลง

อยากทำเพลงเก่ง เป็น Producer มืออาชีพ ต้องใช้เวลากี่ปี?

เป็นคำถามที่ตอบยากมากๆครับ เพราะพื้นฐานของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สังเกตว่าผมจะไม่ใช้คำว่าพรสวรรค์ แต่ผมขอใช้คำว่า เป็นพื้นฐานที่ “ไม่รู้ตัว” บางคนมีความคุ้นเคยกับดนตรีมาโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว ได้พัฒนา sense และ สกิลการฟังมา อาจจะจากการคลุกคลีกับดนตรีจากการเล่นดนตรีมาเอง หรือชอบร้องเพลง ชอบฟังบ่อยๆ แล้วบังเอิญเป็นคนช่างสังเกต ฝึกจับทางตัวโน้ต และเลียนแบบได้เหมือน เป็นนิสัย เลยได้สกิลบางอย่างติดตัวมา ในขณะที่บางคน อาจจะเล่นดนตรีมานานแล้วก็จริง แต่เป็นแค่การเล่นตามตัวโน้ต แบบไม่ได้จิตจดจ่ออยู่ที่มัน ซึ่งก็อาจส่งผลให้ไม่ได้ก่อให้เกิด sense ทางดนตรีที่มากเท่าคนแบบแรกก็ได้ คุณจะเรียกความแตกต่างนี้ว่า พรสวรรค์ ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะมีสิ่งนี้มามากน้อยยังไง มันเป็นแค่ชนวนจุดเริ่มต้นของเส้นทางดนตรีอีกยาวไกลเท่านั้นเอง เพราะการจะไปต่อจริงจังในสายดนตรี สิ่งที่คุณต้องพึ่ง มันคือพรแสวง ที่เกิดจากวินัยของตัวคุณเองซะ 80% ศาสตร์ด้านดนตรีนั้น มีเรื่องให้เรียนรู้อีกเยอะมากๆ กว่าคุณจะรู้ทุกอย่าง...

เรียนทำเพลง แนะนำขั้นต้น

แนะแนวทางเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง ระดับขั้นต้น

อยากเป็น Producer มืออาชีพ ต้องเรียนอะไร หลายๆคนที่มีความฝันอยากเป็น Producer และจริงจังกับมันจนอยากทำเป็นอาชีพ แต่อาจจะไม่รู้มาก่อนว่า ต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะไปถึงจุดนั้นได้ แน่นอนว่า ทางตรงที่สุดก็คือการไปเรียนอย่างจริงจัง ถูกต้องตามหลักการ ซึ่งก็มีสอนกันถึงระดับมหาวิทยาลัย คณะดนตรี เลือกสายที่ตรงกับความสนใจ ก็จะมีเซตของความรู้ที่ทางหลักสูตรของสถาบันนั้นๆจัดมาให้แล้ว คัดกรองและคิดมาให้แล้วว่า วิชาใดบ้างที่จำเป็นกับการเรียนรู้เพื่อไปสู่อาชีพนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีโอกาสได้เรียนดนตรีในรูปแบบ Academic แบบในมหาวิทยาลัย จึงมีหลายคนที่พยายามหาทางเลือกสำหรับการเรียนรู้เอง หรือเรียนรู้จากคอร์สหรือสถาบันนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งโดยมากแล้วมักจะเจอปัญหาที่เหมือนๆกันคือ ปัญหาของการเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง – ไม่สามารถเรียงลำดับความรู้ได้ว่า อะไรต้องเรียนก่อนหลัง จับต้นชนปลายความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายไม่ถูก– ความรู้ส่วนใหญ่ที่อยู่ใน internet ทั้งที่เป็นของฟรี และที่ราคาไม่แพง ล้วนเป็นความรู้พื้นฐานที่หาไม่ยาก มากกว่าจะเป็นระดับลึก ทำให้คุณไม่สามารถพ้นจากระดับ Basic ไปสู่ขั้น Advance หรือ...

สอนแต่งเพลง James Horner

James Horner Film-Composer ผู้สร้างชีวิตให้กับ Avatar

ใครที่เคยดูหนังของ James Cameron มาก่อน จะรู้จักหนังเรื่อง Titanic, Alien และ Avatar ซึ่งหนังทั้งสามก็มีอิทธิผลอย่างมากให้กับวงการภาพยนต์ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายๆคนจำกันได้ นั่นคือเพลงประกอบที่ยอดเยี่ยม ซึ่งคนที่แต่งเพลงประกอบให้กับหนังทั้งสาม และทำให้ James Cameron ประทับใจในการประพันธุ์เพลงของเขามาตลอด นั่นคือ James Horner Film-Composer ผู้มากความสามารถ และเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นสูงในการทำเพลงวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเขาคร่าวๆกันครับ ประวัติ James Horner James Roy Horner เกิดในปีค.ศ 1953 ที่เมือง ลอสแอนเจลิส ประเทศอเมริกาเขามีพี่น้องอีก 2 คน และเป็นพี่ชายคนโตสุดของบ้าน พ่อของเขามีชื่อว่าชื่อ Harry Horner...

เรียนแต่งเพลง มืออาชีพ

7 สิ่งที่แตกต่าง ระหว่าง Producer มือสมัครเล่น กับมืออาชีพ

นักทำเพลงหลายๆคนพยายามอยากจะทำดนตรีได้อย่างมืออาชีพ แต่ก็ยังไม่สามารถก้าวข้าวกำแพงความต่างระหว่างมืออาชีพกับมือสมัครเล่นไปได้ หรือบางทีอาจได้รับงาน ได้เงินจากการทำดนตรีแล้วก็จริง แต่ก็ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ยังติดอยู่ ที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเองยังไม่ใช่มืออาชีพ ทีนี้อะไรมันคือความต่างล่ะ? เป็นสิ่งที่คุณควรรู้ เพื่อที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นนักทำเพลงมืออาชีพได้ 7 สิ่งที่แตกต่างระหว่าง มือสมัครเล่นกับมืออาชีพ 1. มืออาชีพทำได้ทุกแนว ทุกระดับความยาก ถ้าคุณเล่นดนตรีแค่เป็นงานอดิเรก และเริ่มลองมาทำเพลงหารายได้เสริม อาจพบว่าตัวเองทำได้แค่แนวที่ตัวเองถนัด และมีข้อจำกัดเยอะมาก ยิ่งพวกแนวดนตรีที่ต้องการความรู้ทางดนตรีที่ค่อนข้างมากและยาก อย่าง Jazz หรือ Classic ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไม่เพียงแค่นั้น ดนตรีในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งการผสมผสานแล้ว จะมีส่วนผสมของดนตรีหลายๆแนวอยู่ในนั้น การที่คุณไม่แตกฉานในดนตรีจนทำได้ทุกแนว มันทำให้คุณรับงานได้น้อยและแคบมากๆ ซึ่งในความเป็นจริงของการทำเป็นอาชีพคุณจะไม่สามารถเลือกแนวที่ลูกค้าต้องการได้ แต่ในขณะที่มืออาชีพจะมีข้อจำกัดน้อยกว่ามาก หรือแทบไม่มีเลย เพราะได้ร่ำเรียนมาอย่างถูกต้องตามระบบ ทำให้ทำดนตรีได้ทุกแนว และทุกระดับความยาก ทำให้สามารถทำดนตรีตอบโจทย์ได้ในทุกๆสถานการณ์ และยังมีวัตถุดิบมากมายจากดนตรีทุกแนว สามารถหยิบเอามาพลิกแพลง เป็นส่วนประกอบในชิ้นงานแต่ละชิ้นตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ได้...

สอนทำเพลง แนะนำ harmony

แนะนำวิชา Harmony วิชาที่จะทำให้เพลงของคุณไม่เหมือนอีกต่อไป

harmony คือวิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเสียงประสาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างเมโลดี้กับคอร์ด ในสเกลต่างๆ ว่ามันเชื่อมกันอย่างไรอย่างลึกซึ้ง เพื่อเชื่อมโยงหาวิธีพลิกแพลง นำมันมาใช้สร้างดนตรีที่มีสีสันหรือสำเนียงที่แตกต่างออกไป และสามารถทำให้เกิดซาวด์ที่มีความเป็นไปได้ใหม่ได้แบบแทบจะไร้ขีดจำกัด ยิ่งคุณเข้าใจมันทะลุปรุโปร่งเท่าไรคุณจะยิ่งมีทางเลือกของคอร์ดกับเมโลดี้มากขึ้นเรื่อยๆในการทำเพลง ใครที่ควรเรียนวิชา Harmony? – คนที่อยากหลุดพ้นจากระดับ Basic ของการแต่งเพลง ทำเพลง– คนที่อยากเป็นนักทำเพลงที่เก่งกาจ เกินระดับทั่วไป– คนที่อยากแสวงหาสำเนียงใหม่ๆให้กับทางดนตรีของตัวเอง– คนที่ไม่ได้คิดจะแค่เล่นดนตรีเล่นๆเป็นงานอดิเรก แต่มี passion จริงจังอยากจะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ– คนที่อยากประกอบอาชีพทางดนตรี และต้องการความรู้ที่มากกว่าคนทั่วไป– คนที่ตันกับการแต่งเพลงแบบเดิมๆ ทางคอร์ดเดิมๆ ที่จำเจ– คนที่อยากเข้าใจในศาสตร์ของดนตรีอย่างลึกซึ้งมากขึ้น– คนที่อยากเสริมความรู้แบบ Academic ที่ตัวเองขาด ซึ่งถ้าใครสนใจอยากเรียนวิชานี้เพื่อพัฒนาการทำเพลง แต่งเพลงของตัวเอง ทางเราก็มีสอน มันจะตรงกับรหัสวิชา VCA301 : Basic...

สอนแต่งเพลง Chord แปลกๆ

อยากเรียนรู้การใช้ CHORD แปลกๆ ต้องเรียนอะไร?

บางครั้งคุณคงเคยเห็นการใช้ Chord ที่แปลกออกไปจากสิ่งที่คุณเรียนรู้มา แล้วมีข้อสงสัยว่ามันมาได้ไง?คุณอาจเคยเรียนทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นมาแล้ว มันก็ไม่เห็นจะมีคอร์ดที่ว่านี้อยู่เลยตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆเลยนะครับ อาทิ เช่น ตัวอย่างที่1 I – IV – bVII – I7 – iv หรือถ้าเทียบในสเกล C คือ C – F – Bb – C13 – Fm ทีนี้ถ้าคุณมีความรู้ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว จะพบว่า มีคอร์ดแปลกปลอมที่ไม่รู้มาได้ไงอยู่สองคอร์ด นั่นคือ bVII กับ iv ( หรือ Bb กับ...

เรียนทำเพลง John Williams

John Williams Film Composer ระดับตำนานของโลก

จอห์น วิลเลี่ยมส์ (John Williams) ชื่อนี้บางคนอาจจะยังไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าชายคนนี้คือผู้แต่งเพลงให้กับหนังดังหลายๆเรื่องอย่าง Star Wars, Superman, Harry Potter, Jurassic Park, Jaws, และ E.T. เพื่อนรัก ทุกคนต้องร้อง “อ๋อ” แน่นอน เพราะชายผู้นี้คือตำนานนักแต่งเพลงประกอบภาพยนต์อีกหนึ่งคนที่ถ่ายทอดอารมย์ของหนังผ่านเสียงดนตรีได้สุดยอดมาก หนังทุกเรื่องที่พวกเราได้ดูนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเพลงของเขาล้วนน่าจนจำ ติดหู และมีเอกลักษณ์มากๆ จนเรียกได้เต็มปากเลยว่าชายคนนี้แหละคือ “หนึ่งใน Composer ที่ดีที่สุดตลอดกาล” และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ จอห์น วิลเลี่ยมส์ กันแบบคร่าวๆครับ ประวัติ John Williams จอห์น วิลเลี่ยมส์ เกิดในปีค.ศ 1932...

เรียนแต่งเพลง ร้องเก่ง

ร้องเพลงเก่ง จะเรียนทำเพลงได้มั้ย

เรียนได้ครับ ดีด้วย หลายคนอาจไม่รู้ว่า การร้องเพลงเก่งมันมีผลดีที่ซ่อนอยู่ แม้คุณจะเล่นดนตรีไม่เป็นสักเครื่องเลย แต่ร้องเพลงเก่งมาก่อน มันจะกลายเป็นตัวส่งเสริมให้คุณทำเรียนทำเพลงแล้วไปได้ดีขึ้น ทำไมน่ะเหรอครับ ผมขอแบ่งเป็นสาเหตุดังนี้ 1. หูคุณดี โดยที่คุณไม่รู้ตัว การจะทำเพลงได้ดี คุณสมบัติที่ควรมีอย่างแรกๆเลย คือ Ear Training หรือหูต้องดี ฟังโน้ตแล้วสามารถจับ pitch ของโน้ตนั้นได้ แล้วร้องตามได้ หรือเลือกกดโน้ตที่ pitch หรือระดับเสียงตรงกัน เป็นโน้ตเดียวกันได้ แค่นี้ก็ผ่านแล้วครับ นั่นแปลว่า ถ้าคุณร้องเพลงเก่งมาก่อน แล้วคุณร้องไม่ผิดโน้ตจริงๆ เป็นคนร้องเพลงไม่เพี้ยน (ขอให้ไม่โกหกตัวเองนะครับ) หูคุณจะดีโดยปริยาย ทำให้มีแนวโน้มสูงว่าคุณจะพัฒนาตัวเองในสายนี้ได้อย่างดี 2. มี Sense ของ Melody ที่ดี...

เรียนทำเพลง ทำไม Producer ต้องเป็นทุกแนว

ทำไม Producer ต้องทำดนตรีเป็นทุกแนว?

ถ้าเป็นศิลปิน ผมคิดว่าไม่ต้องทำเป็นทุกแนวก็ได้ แต่ทำแนวที่เป็นตัวเองแล้วดีที่สุดนั่นก็พอ ซึ่งแปลว่า การเป็นศิลปินอาจจะไม่ต้องเรียนรู้ดนตรีทุกแนวก็ได้แต่ถ้าเป็นโปรดิวเซอร์ ผมว่ามันคนละเรื่องกันเลย ควรอย่างมากที่จะต้องทำดนตรีให้เป็นทุกแนว นั่นคือคุณควรต้องเรียนให้แตกฉานนะ ทำไมต้องทำดนตรีเป็นทุกแนว เหตุผลคืออย่างแรกเลย คุณเลือกงานไม่ได้เสมอไป ถ้าก้าวเข้ามาเป็นอาชีพโปรดิวเซอร์ คุณอาจจะมีแนวที่ตัวเองชอบหรือถนัด แต่บ่อยครั้งที่การเป็นอาชีพคือการทำงานนั้นๆเพื่อรับใช้สังคม รับใช้ลูกค้า แล้วได้เงินตอบแทน บางทีก็ต้องทำตามโจทย์ที่ลูกค้าให้มา อาทิ เพลงโฆษณาบ้าง เพลงศิลปินบ้าง และเพลงที่คุณต้องทำ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามันเป็นเพลงของคุณเอง ที่จริงแล้วมันคือการทำงานตามสั่งให้ลูกค้าเค้าพอใจแค่นั้น ซึ่งมันจะต่างจากงานศิลปะที่คุณตั้งใจหล่อหลอม นี่มันคือการทำงานตามโจทย์ มีความเป็น Commercial ทีนี้งานประเภทนี้ คุณจะไม่ใช่คนกำหนดโจทย์หรือแนวดนตรี ลูกค้าต่างหากเป็นฝ่ายกำหนด ฉะนั้นคิดง่ายๆ ถ้าคุณทำเพลงเป็นไม่กี่แนว คุณก็อาจจะเสียโอกาสตรงนี้ไป เกิดมีงานประเภทที่คุณทำไม่เป็นจะมาจ้าง แล้วคุณรับงานนั้นไม่ได้ คุณก็จะเสียลูกค้าเจ้านั้นไปเลย แทนที่จะได้ทำกัน keep connection ไว้...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.