PRODUCER Q&A

ระวังกิจการเจ๊ง เมื่อใช้เพลงจาก AI

เจ้าของกิจการร้านหลายคน ที่อาจจะรู้เรื่องความสำคัญของการเปิดเพลงให้ถูก Mood & Tone ของแบรนด์ตัวเองแล้ว แต่อาจจะประหยัดงบโดยการใช้ AI ในการ Generate เพลงแบบฟรีๆหรือราคาถูกมากๆ ขึ้นมาใช้ ที่จริงมีเรื่องที่ต้องระวังอย่างมากอยู่สองเรื่อง เพราะมันอาจเป็นภัยร้ายที่เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว และส่งผลเสียต่อกิจการอย่างมาก ข้อแรกคือ ลิขสิทธิ์การนำไปใช้ของชิ้นงาน หลายๆคนคิดไปเองว่า AI ไม่มีลิขสิทธิ์ ซึ่งมันไม่เสมอไป AI นั้นมีหลายเจ้า และแต่ละเจ้ามีเงื่อนไขในการใช้งานไม่เหมือนกัน ควรอ่านทำความเข้าใจให้ดีก่อนนำไปใช้ว่า ลักษณะการนำไปใช้นั้นขัดต่อระเบียบการของเจ้านั้นๆหรือไม่ โดยมากแต่ละเจ้าอาจแบ่งเป็น tier ไว้ อาทิเช่น ถ้าใช้ในการพาณิชย์ ต้องจ่ายอีกราคาหนึ่งซึ่งแพงกว่า (ซึ่งแน่นอนว่า การเปิดเพลงในร้านคือการใช้เพื่อการพาณิชย์) ในปัจจุบัน AI ยังเป็นเรื่องใหม่ และยังไม่ได้มีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน จึงสามารถมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ได้ทุกเมื่อ เมื่อใช้...

สอนแต่งเพลง เจ้าของกิจการควรรู้ ทำไมการทำแบรนด์จึงควรใส่ใจเรื่อง เสียงดนตรี

เจ้าของกิจการควรรู้ ทำไมการทำแบรนด์จึงควรใส่ใจเรื่อง เสียงดนตรี

ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ ควรดูคลิปนี้เป็นอย่างยิ่ง วันนี้อาจจะมาแปลกสักเล็กน้อยนะครับ เพราะปกติเราจะพูดถึงดนตรีในแง่มุมของคนสร้าง แต่วันนี้อยากแชร์ความรู้นี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือเจ้าของแบรนด์บ้าง หลายๆคนที่ทำธุรกิจนั้น อาจจะอยู่ใน stage ที่แตกต่างกัน บางคนเพิ่งเริ่ม เป็นแบรนด์เล็กๆ บางคนทำมานานแล้ว แบรนด์ใหญ่โต ปกติแล้วเวลาสร้างแบรนด์ ผู้ประกอบการหลายๆคนน่าจะพอมีความรู้อยู่แล้วว่า การสร้างแบรนด์ที่ดีเป็นยังไง ผมจะขอพูดโดยที่ละเรื่องพวกนี้ไว้เลยนะครับ แน่นอนว่าภาพลักษณ์เป็นเรื่องสำคัญมาก และแบรนด์คือประสบการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับ และรู้สึก ใช่ไหมครับ ฉะนั้น Element ต่างๆ ที่แบรนด์สื่อสารออกมาจึงสำคัญทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ด้านภาพ Visual โลโก้ สี การตกแต่งหน้าร้าน เพจ เวบไซต์ สื่อต่างๆ ทุกอย่างต้องดูเนี้ยบดูดี ดูตอบโจทย์ สื่อสาร เข้าตีม สร้างการจดจำ...

สอนทำเพลง ดนตรี Pop

ดนตรี Pop แท้จริงแล้วไม่ใช่แนวดนตรี เพราะอะไร?

ดนตรี Pop มาจากชื่อเต็มๆว่า Popular Music หรือดนตรีที่เป็นที่นิยม โดยปกติแล้ว ความเข้าใจของคนเราจะรู้สึกว่า Pop คือดนตรีแนวหนึ่ง ในหลายๆแนว ที่แยกออกมาจาก Rock , Hiphop , R&B เป็นต้น แต่ถ้าคุณติดตามวงการดนตรีมาอย่างยาวนานพอ คุณจะพบว่า ตัวเพลง Pop ที่ว่ามา มันมีการเปลี่ยนลักษณะไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คำว่าเพลง Pop นั้น ไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป ยกตัวอย่างง่ายๆ ในประเทศไทย ยุคนี้ (ปี 2023) ที่ยังอยู่ในผลพวงของความบูมของดนตรี Hiphop , Rap ในช่วง 5...

ทำไมเพลงสากลของแต่ละชาติจึงมีสำเนียงแตกต่างกัน?

คุณเคยไหมครับ ชอบฟังเพลงต่างประเทศ ทั้งๆ อาจจะมีคนพูดว่า ทำไมชอบ? ฟังออกด้วยเหรอ? แต่คุณก็รู้สึกว่าสำเนียงดนตรีมันถูกจริต และไม่ได้ใส่ใจกับภาษาแล้วคุณเคยลอง blind test ไหมว่า ถ้าเปิดเพลงมา อาจเป็นแค่ intro ของเพลง หรืออาจเป็นเพลงบรรเลง โดยไม่มีเนื้อร้องขึ้นเลย คุณสามารถแยกแยะออกได้ว่า อันไหนเพลงต่างประเทศ ประเทศไหน และอันไหนเพลงไทย? ถ้าเคย แสดงว่าคุณสัมผัสได้ว่า สำเนียงของดนตรีแต่ละชาตินั้นมีอยู่จริง แล้วเคยสงสัยไหมครับว่า สำเนียงพวกนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไง? ในเมื่อมันใช้โน้ตดนตรีสากลแบบเดียวกัน?ทำไมเราฟังเพลงในรูปแบบดนตรีสากล ของแต่ละชาติ มันถึงมีสำเนียงที่แตกต่างกัน? ต้องบอกก่อนนะครับว่า บทความนี้ไม่เกี่ยวกับดนตรีที่เป็นประเภณีดั้งเดิมของแต่ละชาติด้วย อาทิ ดนตรีไทย ดนตรีญี่ปุ่นโบราณ ฯลฯ แต่เรากำลังพูดถึง ดนตรีสมัยใหม่ ที่ใช้ตัวโน้ตหรือทฤษฎีดนตรีสากลในการสร้างมันขึ้นมาเหมือนๆกัน แต่ทำไมมันเกิดเอกลักษณ์หรือสำเนียงที่ฟังแล้วรู้ได้ว่า เป็นดนตรีของชนชาติไหน...

เรียนทำเพลง สูตร 80 20

สูตร 80:20 สูตรที่เกาหลีใช้ทำเพลงฮิต

ผมเพิ่งได้มีโอกาสไปสัมนา workshop กับโปรดิวเซอร์เกาหลี มาเมื่อสัปดาห์ก่อน และได้รับความรู้ใหม่ๆมากมาย และแม้บางเรื่องที่รู้อยู่แล้วแต่การได้รับรู้ว่า โปรดิวเซอร์ K-pop ระดับโลกก็ใช้เซตความรู้นี้เช่นกัน ก็ทำให้ยิ่งแน่ใจมากขึ้นว่า ความรู้เหล่านั้นมาถูกทางแน่นอนแล้ว วันนี้เลยอยากจะมาแชร์บางเรื่องที่น่าสนใจให้ฟังกัน อะไรคือ 80:20 ? หลายๆคนคงเคยได้ยินหลักการสูตร 80:20 กันมาบ้าง โดยส่วนใหญ่แล้วอาจจะรู้จักครั้งแรกจากด้านการตลาดหรือธุรกิจ เนื้อความของหลักการนี้คือว่า ลูกค้า 20% จะนำมาซึ่งรายได้ 80% เสมอ และในทางกลับกัน ลูกค้าอีก 80% จะนำรายได้มาแค่ 20% ใจความหลักๆของหลักการนี้มันบอกเราว่า มีแค่ 20% เท่านั้นของอะไรก็ตาม ที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ 80% แต่ทีนี้ตัวเลขสัดส่วนนี้จะพอดีกับอะไรอีกหลายๆอย่างในโลกนี้ โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องการขาย โดยโปรดิวเซอร์ K-pop...

เล่นดนตรีไม่เก่ง แต่ทำเพลงเก่งได้ ถ้า “เข้าใจ” ดนตรี

หลายๆคนอาจเคยได้ยินว่า ไม่ต้องเล่นดนตรีเป็น หรือไม่ต้องเล่นเก่งก็ได้ ก็สามารถทำเพลงออกมาได้ใช่ครับ ไม่ผิดแต่อย่างใด มันสามารถทำได้จริงๆ แต่ถ้าถามว่า มันจะทำได้ดีเท่าคนที่เล่นเก่งเป็นหรือเล่นเก่งมั้ย ก็คงไม่ทำได้กับทำเก่ง มันก็ต่างกันอยู่มากครับ แต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทุกกรณี มีโปรดิวเซอร์อีกมากมายที่เล่นดนตรีไม่เป็น หรือเล่นไม่เก่ง เล่นได้ไม่กี่เครื่อง แต่ก็สามารถทำเพลงที่ดีออกมาได้จริงๆ มันเกิดขึ้นได้เพราะพวกเขาเหล่านั้น ทดแทนการที่เล่นดนตรีไม่เก่ง หรือไม่เป็น ได้ด้วยความ “เข้าใจ” ในดนตรี คือต่อให้เล่นไม่ได้ แต่สามารถฟังหรือมองนักดนตรีเล่น แล้วเข้าใจได้ว่า เค้าเล่นอะไรบ้าง โน้ตอะไร คอร์ดอะไร ท่าแบบไหน แล้วสามารถใส่โน้ตเลียนแบบสิ่งนั้นในโปรแกรมได้ แม้จะเล่นจริงไม่ได้ หรือเล่นได้ช้าก็ตาม ความเข้าใจจะทำให้สามารถสร้างงานที่ดีได้เช่นกัน ด้วยวิธีที่แตกต่างจากนักดนตรีเล่นสด ปกติความเข้าใจในดนตรี นั้นเกิดขึ้นได้จากสองวิธีใหญ่ๆ นั่นคือ 1. ประสบการณ์ความใกล้ชิดกับดนตรี หรือพูดง่ายๆ ก็คือการเล่นดนตรีจนเก่งนั่นเอง...

แก่น

แก่นแท้ของการทำเพลง คืออะไร

สิ่งที่ผมเจอบ่อยมากกับคนที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการทำเพลง คือในยุคนี้ที่อะไรๆมันรวดเร็วไปหมด คนส่วนใหญ่ที่เพิ่งเริ่มทำเพลง เข้าใจความหมายของการทำเพลง หรือแก่นแท้ ของมันผิด ถ้าถามผมว่า ที่จริงแล้วการทำเพลง หรือทำดนตรี คืออะไร คำตอบมันก็คงเรียบง่ายว่า มันก็คือการเอาเสียงมาเรียงกันอย่างมีศิลปะ เพื่อให้เกิดความงาม หรือความไพเราะ ฟังดูไม่ยาก แต่ภายใต้คำว่า “เอาเสียงมาเรียงกัน” นั้น มีศาสตร์ของมันที่มีความลึกค่อนข้างมากอยู่ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าดนตรี ศาสตร์ของดนตรีนั้น ลึกและต้องใช้เวลาเรียนค่อนข้างมาก กว่าจะสำเร็จวิชา และมันไม่มีทางลัดแต่ในขณะที่โลกทุกวันนี้หมุนเร็วขึ้นๆ จนสิ่งต่างๆฉาบฉวยไปหมด หลายคนเลยอาจคิดว่า น่าจะมีวิธีสำหรับทำดนตรีโดยเป็นทางลัด และใช้เวลาไม่มากได้ เหมือนอย่างที่มีโปรแกรมอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมไปถึง AI ถ้าถามว่ามันมีไหม? มันก็มีแหละครับ แต่ทางลัดก็คือทางที่ทำให้คุณได้ผลลัพธ์ซึ่งเป็นตัวเพลงออกมาโดยไว แต่ไม่เกี่ยวกับว่ามันเป็นผลงานที่ดีหรือไม่ และก็ไม่เกี่ยวกับว่าคุณเข้าใจสิ่งที่คุณทำรึเปล่า หรือคุณได้ทำมันเองรึเปล่า เพราะแม้จะมีเครื่องมือต่างๆพวกนี้มากมาย แต่โปรดิวเซอร์หลายๆคนที่ผมรู้จัก ล้วนแล้วแต่ปฎิเสธการใช้เครื่องมือพวกนี้ทั้งสิ้น...

เรียนทำเพลง วิวัฒนาการความยาว

วิวัฒนาการความยาวของเพลง แต่ละยุคใช้เวลาฟังนานเท่าไหร่บ้าง?

ในช่วงสมัยนี้เริ่มมีหลายๆศิลปินมาทำเพลงสั้นๆมากขึ้น บางเพลงก็ใช้เวลาฟังเพียงแค่ 50 วินาที และน้อยกว่านั้นก็มี ซึ่งตัวผมเองก็มานั่งคิดในใจว่า “ในแต่ละยุคที่ผ่านมา เพลงของเรามีวิวัฒนาการในเรื่องความยาวของเพลงยังไงบ้าง?” วันนี้ผมก็เลยรวมรวบข้อมูลมาสรุปให้สั้นๆว่าในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่ช่วงเรอเนซองส์ ที่เป็นยุคแรกๆของดนตรี มาจนปัจจุบันว่ามีความยาวกันเท่าไหร่บ้าง ดนตรียุคแรก (ยุคกลางและยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา): เพลงในยุคกลางและเรอเนซองส์มักจะค่อนข้างสั้น โดยทั่วไปจะมีความยาวเพียง 1 – 3 นาที เพลงเหล่านี้มักแต่งขึ้นเพื่อบรรยากาศทางศาสนาหรือในราชสำนัก และมักบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีง่ายๆ ยุคคลาสสิค (ค.ศ. 1750–1820) ต่อมาในช่วงสมัยที่ดนตรีคลาสสิคกำลังรุ่งเรื่อง การเรียบเรียงจะมีความยาวมากขึ้น โดยเฉพาะซิมโฟนีและโอเปร่า แต่บางผลงานอาจมีความยาวต่างกันมาก ผลงานเพลงคลาสสิกบางชิ้นค่อนข้างสั้นไม่กี่นาที ในขณะที่บางชิ้นอาจยาวหลายนาทีพอสมควร ไปจนถึงหลายชั่วโมง ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1901) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากผ่านยุคคลาสสิคมาแล้ว กลับมามีระยะเวลาเพียงแค่...

สอนแต่งเพลง DAWs เสียงแตกต่างกัน

DAWs แต่ละตัวนั้น เสียงแตกต่างกันจริงไหม?

มีหลายคนเข้าใจผิดๆกันเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า DAWs แต่ละอันให้คุณภาพเสียงไม่เหมือนกันบางคนก็บอกว่า Cubase อัดเสียงดีสุด, บางคนก็บอกว่า Logic Pro เสียงคุณภาพดีที่สุดแล้วแต่วันนี้ผมจะพาทุกท่านมาเคลียร์ให้ชัดเจนกันไปเลยว่า DAWs แต่ละตัวเสียงมันแตกต่างกันจริงไหม? DAWs คืออะไรกันแน่? ผมต้องพาทุกๆคนกลับมาทบทวนให้ชัดเจนก่อนว่า DAWs คืออะไร DAWs ย่อมาจาก “Digital Audio Workstations” หรือแปลเป็นไทยก็คือโปรแกรมสำหรับทำงานด้านเสียงโดยเฉพาะ ซึ่งมีหน้าที่บันทึก, แก้ไข และ การมิกซ์เสียง โดยแต่ละโปรแกรมมีความต่างกันตรงที่หน้าตา และวิธีการใช้งาน นั้นแปลว่า เสียงจะคุณภาพดีหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับตัวโปรแกรม DAWs เพราะมันมีหน้าที่เพียงแค่นำเสียงต่างๆมาจัดเรียงและแก้ไขให้เป็นเพลงเท่านั้น แต่เสียงนั้นจะคุณภาพดีหรือไม่ อยู่ที่ Plugin, Sample, Audio Interface, Hardware,...

เรียนทำเพลง ความสำคัญของการมีเข็มทิศกับแผนที่

ความสำคัญของการมีเข็มทิศกับแผนที่ ก่อนเรียนทำเพลง

ทุกอย่างในโลกนี้มักมีแพทเทิร์นการศึกษาที่คล้ายกัน คือมันแบ่งระดับออกเป็นหลายระดับ ระดับที่ยากขึ้น จำนวนชั่วโมงเรียนที่มากขึ้น ค่าเรียนที่แพงขึ้น ทุกอย่างจะชันขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณไปในระดับลึกขึ้นๆ และนั่นเป็นเรื่องปกติในทุกวงการ ทุกๆศาสตร์นั้นมีความลึกของมันหมด ดนตรีนั้นก็เช่นกัน ดนตรีไม่มีทางลัด (ประโยคที่ผมคงพูดเกินหนึ่งพันครั้งได้แล้ว) และมันก็เป็นสิ่งที่คนดนตรีก็รู้กันเป็นเรื่องสากล แน่นอนว่าดนตรีเป็นศาสตร์ที่ลึกมากอีกศาสตร์หนึ่ง ที่เค้าเรียนกันได้ถึงระดับปริญญาเอก การศึกษาเพียงเพื่อให้ทำดนตรีพอเป็น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสร้างทางลัดไว้มากมาย ให้คุณอาจจะเรียนแค่ ไม่ถึง 10 ชั่วโมงก็พอสามารถพอทำได้แบบคร่าวๆ แต่ถ้าคุณอยากเก่ง อยากเป็นมืออาชีพจริงๆ ที่ทำเพลงที่ดีที่เหนือชั้นออกมาได้ คุณอาจต้องเรียนหลายร้อยจนไปถึงพันชั่วโมง และยังไม่นับกับชั่วโมงฝึกฝนอีกหลายร้อยหลายพันชั่วโมงเช่นกัน หลายคนที่อยู่บนเส้นทางดนตรีอยู่แล้วจะรู้กันว่า การจะ Master ดนตรีได้นั้น เรียกได้ว่าต้องฝึกกันทั้งชีวิต ทั้งนี้ถ้าคุณกำลังจะปักหลักกับเส้นทางนี้ มันเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องมีแผนที่ก่อน เพื่อป้องกันการเดินทางผิดเสียเวลา ซึ่งผมกำลังจะพูดต่อไป วันแรกที่คุณสนใจการทำเพลง โดยยังไม่มีแผนที่ แน่นอนว่า คุณสามารถหาคอร์สเรียนได้เต็มไปหมด เพราะคอร์สในระดับเริ่มต้นมีสอนอยู่มากมาย...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.