October 19, 2022

3 ขั้นตอนในการทำเพลง ที่ควรรู้และแยกให้ออก

ในการทำเพลงหรือที่เรียกว่า Music Production นั้น ที่จริงแล้วมีขั้นตอนยิบย่อยอยู่หลายขั้นตอน แต่ในภาพรวมที่สุดเราสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ได้ 3 ขั้นตอน ที่เราควรแยกแยะมันออกมาให้ได้ในฐานะโปรดิวเซอร์หรือผู้ที่สนใจการทำเพลงทำดนตรี เพราะปัญหาที่เจอบ่อยคือเวลาสื่อสารกันแล้วไม่เข้าใจว่างานส่วนไหนอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้การทำงานนั้นสับสนและเข้าใจได้ไม่ตรงกัน จนเกิดเป็นปัญหาได้ผลงานออกมาได้ไม่ดีอย่างที่มันควรจะเป็น ไม่ว่าการทำงานกับลูกค้า กับศิลปิน นักร้อง นักดนตรี กับคนดนตรีด้วยกันหรือกับบุคคลทั่วไปก็ตาม ขั้นตอนที่ 1 Song Writing หรือเรียกง่ายๆ ว่า การแต่งเพลง นั่นเอง บุคลากรทางดนตรีที่ทำหน้าที่ในขั้นตอนแรก เรียกว่า นักแต่งเพลง (Song Writer) หน้าที่ของนักแต่งเพลง คือการประพันธ์ (Compose) หรือการแต่ง ทั้งเนื้อร้อง (Lyric) และเมโลดี้ทำนองหลักของเพลงขึ้นมา เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเพลงสำหรับนำไปเรียบเรียงเครื่องดนตรีต่อ ซึ่งสไตล์ของการทำงานของนักแต่งเพลงแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน...

เรียนทำเพลง อยากเป็น Producer ฝึกดนตรีอะไร

อยากเป็น Producer ควรฝึกเครื่องดนตรีอะไร?

จริงอยู่ว่าถึงแม้เล่นดนตรีไม่เป็นเลย แต่ก็สามารถทำเพลงได้ แต่ในปลายทางของการทำเพลงที่ได้ประสิทธิภาพและเป็นโปรดิวเซอร์ฝีมือดีนั้น ยังไงก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Skill การเล่นเครื่องดนตรีมีผลโดยตรงต่อฝีมือในการทำเพลงทำดนตรี โดยผู้ที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ดีกว่า มักจะทำเพลงได้เก่งกว่าผู้ที่มีข้อจำกัดในการเล่นเครื่องดนตรี ไม่ว่าจะในความแตกฉานของการเลือกใช้โน้ตและคอร์ด ความคล่องแคล่ว หรือความละเมียดละไมในการประดิษฐ์ตัวโน้ต หรือเมโลดี้ ซึ่งมีมากกว่า แล้วควรต้องเล่นเครื่องดนตรีอะไรเป็นบ้าง? ตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับ ยิ่งเล่นได้เยอะเท่าไรยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้น แต่แน่นอนว่าการฝึกเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็ล้วนกินเวลาทั้งนั้น ผมเลยขอแนะนำ 3 เครื่องดนตรีที่ Producer ควรฝึกฝน เพราะจะได้ประโยชน์สูงสุดในการทำเพลงทำดนตรีกับโปรแกรม ดังนี้ครับ 1. Keyboard หรือ Piano เป็นเครื่องที่สำคัญที่สุดของ Producer ควรหัดเล่นให้ได้บ้าง หรือให้เก่งเลยยิ่งดี ประโยชน์ของมันมีมากมายมหาศาลครับ หลักๆเลยนอกจากจะเพิ่มความคล่องนิ้วทำให้สามารถคีย์ตัวโน้ตได้อย่างคล่องแคล่วขึ้นแล้ว การฝึกเปียโนจะทำให้ผู้ฝึกมีความเข้าใจเรื่องโครงสร้างเพลงและตัวโน้ตได้แบบแตกฉาน สามารถเห็นภาพรวมได้ง่ายกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นมากๆ ในที่นี้เครื่องดนตรีประเภท Keyboard หมายถึงทุกเครื่องที่มีลิ่มขาว-ดำ ซึ่งเปียโนเป็นหนึ่งในเครื่องคีย์บอร์ดที่สมควรฝึกมากที่สุด...

เรียนทำเพลง Engineer x Arranger

Sound engineer ≠ Music Arranger จริงๆแล้ว ทั้ง 2 อาชีพ ทำหน้าที่อะไร แตกต่างกันยังไง

หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำเรียกบุคลากรในการทำงานดนตรีอยู่อย่างมาก เอาเท่าที่ผมเจอมาตลอดทั้งชีวิตการทำงาน เช่นว่า คนส่วนนึงมักเรียกรวมๆคนทำเสียงว่า คนทำซาวด์ หรือ Sound Engineer แล้วก็หาคนทำตำแหน่งนี้ แต่พอต้องไปทำเนื้องานจริงๆปรากฏว่าเป็นเป็นการทำเพลง การแต่งเพลง หรือประพันธ์ (Compose) หรือเรียบเรียงดนตรี (Arrange) ซึ่งไม่ใช่หน้าที่จริงๆของ Sound Engineer แต่อย่างใด Sound Engineer ทำหน้าที่อะไร? ที่จริงแล้ววิศวกรเสียง ทำหน้าที่ในกระบวนการ Post ของ Music Production คือ รับเพลงมาจากนักแต่งเพลง นักทำดนตรี ที่ทำได้แต่งเพลง ประพันธ์เพลง หรือเรียบเรียงดนตรี ออกแบบดนตรีเสร็จมาเรียบร้อยแล้วครบทุกโน้ต ทุกไลน์ ไม่ว่าจะเป็น melody , chord ,...

สอนทำเพลง ต้องเรียนอะไร

ต้องเรียนอะไรถึงจะออกแบบดนตรีได้

ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนมากที่หาเรียนทำเพลง เพราะต้องการจะเป็นคนออกแบบดนตรีของเพลงที่ตัวเองทำ เช่น เลือกโน้ต เลือกคอร์ดที่จะใช้ การสร้าง Harmony ไลน์เครื่องดนตรีสอดประสานต่างๆ รวมไปถึงการเลือกใช้เครื่องดนตรี และ ลักษณะ Sound แบบต่างๆ หลายคนเลือกเรียนแล้วตรงกับที่ตนเองสนใจ แต่ในขณะที่หลายๆคนนั้นไม่ กลับกลายเป็นเรียนไม่ตรงจุด ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ขอกล่าวรวมๆก่อนว่า ขั้นตอนในการทำเพลง กว่าจะมาเป็นเพลงๆนึงนั้น ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้น นับไปตั้งแต่ แต่งเนื้อเพลง แต่งทำนองหลักของเพลง เรียบเรียงดนตรี ไปจนถึงการบันทึกเสียง , edit , mix , master ซึ่งในแต่ละขั้นตอนล้วนจำเป็น มีความสำคัญและขาดไม่ได้ แต่ทว่า สิ่งที่คุณเลือกที่จะทำในกระบวนการทำดนตรี มันคือทั้งหมด หรือแค่บางส่วน บางคนอาจสนใจแค่การทำเนื้อร้องอย่างเดียว ก็อาจเรียนหนักไปทางแต่งเนื้อร้องทำนอง...

เรียนทำเพลง ทำไมถึงทำเพลงแบบที่ชอบไม่ได้

ทำไมถึงทำเพลงแบบที่ชอบไม่ได้ซักที?

หลายคนที่เริ่มเข้าสู่เส้นทางสาย producer เริ่มทำเพลงมาได้สักระยะแล้ว บางคนพอใจกับผลงานที่ตัวเองทำแล้ว ผมขอแสดงความยินดีด้วยครับ คุณพบความสุขได้ง่าย ๆ แต่หลาย ๆ คนที่ยังไม่พอใจ และอาจเคยเจอปัญหานึงซึ่งเป็นปัญหาที่ผมเจอคนมาปรึกษาบ่อยมากๆ นั่นคือ ทำเพลงได้ แต่ทำแบบที่ชอบ แบบที่จินตนาการไว้ไม่ได้ ซึ่งผมอ๋อเลย เพราะในอดีตผมก็เคยเป็น ผมนึกย้อนไปสมัยก่อนที่เริ่มต้นมาจริงจังกับดนตรีก็เพราะชอบดนตรีแนวนึงมากๆจนอยากทำให้ได้นี่แหละ ความอยากรู้อยากเห็นนี้ มันพาผมไปขวนขวายนับสิบปีกว่าจะทำเพลงแบบที่ชอบได้ ผมเลยขอสรุปเป็น 4 ข้อ นะครับ 1. ทักษะความรู้ และสกิลของคุณไม่พอที่จะทำเพลงแนวนั้น เรื่องของเรื่องคือ คุณดันไปอยากทำเพลงที่ต้องใช้สกิลความรู้มากเกินกว่าที่คุณทำได้ (ซึ่งเป็นปกติของคนที่บ้าดนตรีมาก ๆ ที่จะมีรสนิยมทางดนตรีที่ลึกกว่าคนทั่วไป) โลกของความรู้ทางการทำดนตรีมันกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่าที่คุณรู้ เพลงที่ฟังดูเหมือนจะไม่ยาก บางทีแล้วมีความล้ำลึกในการประพันธ์ และใช้ความรู้ทางดนตรีขั้นสูงมาก ในโดยเพลงในยุคปัจจุบัน ที่แม้แต่จะเป็นเพลง pop ก็ตาม...

สอนแต่งเพลง 5 Mindset ก่อนก้าวสู่ดนตรี

5 Mindset สิ่งที่ควรเตรียมใจก่อนก้าวสู่เส้นทางดนตรี

หลายคนที่มีความฝันอยากเป็น Producer นักแต่งเพลง หรือศิลปิน อาจคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ดนตรีเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง กันมาไม่น้อยในชีวิต แต่อีกใจหนึ่งก็ยังไม่สามารถละทิ้งความฝัน หรือสิ่งที่ตัวเองรักไปได้ จนในที่สุดถ้าวันใดที่คุณตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะเข้ามาสู่วงการนี้แน่ๆแล้ว นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ก่อน เพราะคุณจะเจอสิ่งเหล่านี้แน่ๆ โปรดจึงเตรียมใจเอาไว้ก่อน 1. ดนตรีมันแพง แพงทุกอย่างครับ ค่าอุปกรณ์รวมๆแล้วหลักเป็นหมื่นเป็นแสน ค่าเรียนดนตรีมาตรฐาน ตีไปกลางๆนะครับ ตกชั่วโมงละ 500 บาท ซึ่งต้องเรียนกันเยอะและยาวนานมาก ถ้าเอาแบบเป็นมืออาชีพเก่งกาจไปเลย ก็เป็นหลักแสน ยิ่งถ้าเรียนแบบจริงจังระดับมหาวิทยาลัยเลย รวมๆค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ก็ถึงหลักล้าน ผมพูดตรงๆเลยว่า ถ้าไม่สามารถ support ได้ หรือชีวิตไม่ได้มีทางเลือกอยู่แล้ว พิจารณาดีๆครับ คิดในแง่ดี คือมันก็ไม่ได้แพงที่สุดนะครับ มีการเรียนอย่างอื่นอีกมากที่แพงกว่าดนตรีอีกเยอะ 2. ดนตรีไม่มีทางลัด อย่างที่กล่าวไปว่า...

6 วิธี เรียนทำเพลง

6 วิธี เรียนทำเพลงอย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

หลายคนที่เคยศึกษาการทำเพลง แต่พบว่าเรียนแล้วไม่ได้ผล แก้ปัญหาทำเพลงไม่ได้ เพลงทำแล้วไม่โอเค เหมือนวนอยู่ที่เดิม พยายามหาสาเหตุว่าเพราะอะไร เกิดจากตัวผู้เรียนเอง หรือว่าเกิดจากคอร์สกันแน่? คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่เราสามารถเข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดกันแน่ ด้วยการดูจาก Check List 6 ข้อนี้เหล่านี้ 1. เรียนทีละเรื่องต่อ 1 ครั้ง ไม่ควรยัดหลายบทเรียน มากเกินไปใน 1 ครั้ง หรือหัวเรื่องไม่ควรเยอะเกินไปจนสับสนและซึมซับไม่ได้ ควรจะค่อยๆเป็นค่อยไปทีละเรื่องๆ 2. ทดลองลงมือทำ ควบคู่กันไป การได้ทดลองนำสิ่งที่เรียนไป มาทำการบ้านไปด้วย ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้สมบูรณ์กว่า อย่างน้อยได้เคยผ่านบทเรียนนี้มาสักครั้ง ได้ทดลองทำ ตัวอย่างหรือการบ้าน จะได้ผลดีกว่าการฟังบรรยายความรู้เฉยๆ 3. นำไปใช้ทำเพลงจริง นอกเหนือจากการทำการบ้านแล้ว เรายังนำไปทดลองใช้กับผลงานจริงๆของตัวเองดู จะเกิด...

เรียนทฤษฏีดนตรี Scale สำคัญอย่างไร ทำไมต้องฝึก

Scale คืออะไร? สำคัญยังไง ทำไมต้องฝึก

Scale หรือบันไดเสียง คือ กลุ่มของตัวโน้ตที่เรียงกันเป็นขั้นๆ เหมือนขั้นบันได ไม่ว่าจะจากต่ำไปสูง หรือสูงไปต่ำ มีสมาชิกตั้งแต่ 5-12 ตัวโน้ต แตกต่างกันไปตามชนิดของแต่ละสเกล สเกลแต่ละสเกลจะมีการกำหนดระยะห่างของเสียงตัวโน้ตแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน และแม้แต่ในสเกลเดียวกัน ระยะห่างของตัวโน้ตแต่ละตัวก็อาจไม่เท่ากันเช่นกัน (ใครที่ไม่เข้าใจเรื่อง Key สามารถตามอ่านได้ใน บทความเก่าเรื่องคีย์คืออะไร นะครับ) อาทิ เช่น C Major Scale มีโน้ตทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่ C-D-EvF-G-A-Bv (เครื่องหมาย – คือระยะความห่าง 1 เสียงเต็ม และเครื่องหมาย v คือระยะความห่าง ครึ่งเสียง) โดยในการฝึกดนตรี บางทีจะมีแบบฝึกให้เราเล่นสเกลพวกนี้...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.