วิเคราะห์สกอร์เพลง monster hunter wilds : Proof of a Hero

วิเคราะห์สกอร์เพลง monster hunter wilds

Share via:

Krissaka Tankritwong

วิเคราะห์สกอร์เพลง monster hunter wilds : Proof of a Hero

วิเคราะห์เพลงในครั้งนี้เรียกว่าขอหยิบยกสกอร์มาเอาใจนักล่าโดยเฉพาะ ตอบรับกระแส Monster Hunter Wilds ไปกับสกอร์เพลง Proof of a Hero ที่ไม่เพียงแต่ให้อารมณ์ความยิ่งใหญ่ทรงพลังเท่านั้น แต่ในทางดนตรียังมีจุดที่น่าสนใจมาก ๆ จนเป็นหนึ่งในเพลงธีมที่ต้องเอามาวิเคราะห์ให้ทุกคนได้ฟังกันครับ

Proof of a Hero เป็นสกอร์เพลงที่รู้จักกันดีในซีรีส์ Monster Hunter ซึ่งเป็นสกอร์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมาก ๆ ซึ่งการวิเคราะห์ในครั้งนี้จะขอเอาสกอร์เพลงที่มีคนทำไว้อยู่แล้วมาแกะวิเคราะห์ โดยสกอร์ดั้งเดิมเรียกว่าแทบจะเอาเครื่องออร์เคสตร้า ทั้ง string brass woodwind percussion และอยู่ในคีย์ Eb time signature 6/8 ซึ่งเพื่อให้ง่ายจะขอเปลี่ยนเป็นคีย์ C (ปรับลง 6 semitone) และจะขอวิเคราะห์แค่ท่อนธีมหลักรวมถึงโฟกัสที่คอร์และเมโลดี้ แต่ก็เป็นหัวใจของเพลงนี้ที่ฟังแล้วรู้สึกถึงภาพรวมบรรยากาศทั้งหมดได้แน่นอน

ท่อน A :
Am – Am – Am/G – Am – E7#11/A – Am – E9sus4/A – Ebmaj7/A – Am – Bb/D – C – Dm

ท่อนแรกเริ่มด้วยคอร์ด 6 ของคีย์ C คือ Am แต่ใน Motif ตัวสุดท้ายจะมาค้างนานที่ตัว B พอรวมกับคอร์ด Am ที่เล่นไปพร้อม ๆ กัน มันเลยทำหน้าที่เหมือนเป็นตัว 2 หรือ 9 ของคอร์ด และให้ความรู้สึกแจ๊สเบา ๆ เรียกว่าเป็น approach แบบแจ๊สรูปแบบหนึ่ง และคอร์ดเล่น Am ซ้ำ ๆ แต่จะมีเล่นเบสเป็น G ด้วย

แต่ที่น่าสนใจมาก ๆ ในท่อนแรกคือคอร์ด E7#11/A ซึ่งตัว #11 ที่เล่นมันจะฟังดูกันนิด ๆ กับตัว B ในคอร์ด เลยทำให้มีความรู้สึกตึงเครียด มีความอันตรายเข้ามาด้วย ไม่ใช่แค่ความยิ่งใหญ่หรือโลกกว้างอย่างเดียว ซึ่งคอร์ด E7#11/A นั้นทำหน้าที่เป็น Lydian Dominant เพื่อส่งเข้าคอร์ด Am ต่อไป

ต่อมาคอร์ดที่น่าสนใจจะอยู่ที่ E9sus4 ที่เล่น sus4 เพราะต้องการโน้ต A เพื่อไหลเชื่อมกับ Bbmaj7/A ได้ดีขึ้น ต่อมาเป็นคอร์ด Bb/D ที่เราอาจจะมองได้หยิบยืมมาจากคีย์ F และเปลี่ยนเข้าคีย์ F ไปเลย เพราะโน้ตส่วนใหญ่ในคีย์ F ก็มีความคล้าย ๆ กับ คีย์ C ซึ่งผสมผสานไปกับ Motif ที่เล่นวนซ้ำ ๆ ให้นึกถึงได้ด้วย อันนี้คือวิเคราะห์ในเชิงคอร์ดและเมโลดี้ (แนะนำให้ฟังเพลงไปด้วย) 

ก่อนจะเข้าท่อนต่อไป อยากจะบอกถึงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ในสกอร์นี้ ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่าเต็มไปด้วยเครื่องออร์เคสตร้าทั้งสิ้น 

Woodwind Instrument : Piccolo, Flute, Oboe, Bassoon, Clarinet 

Brass Instrument : Trumpet , Trombone , Tuba

String Section : Violin , Viola , Cello , Contrabass

Percussion : Timpani , Cymbals

ซึ่งถ้าเราเอาทั้งหมดนี้ไปเปิดดูด้วยไฟล์ MIDI ใน Logic และกดเปิดพร้อมกันทั้งหมด เราจะเห็นภาพรวมของโน๊ตแต่ละเครื่องพร้อม ๆ กัน และถ้าแบ่งเป็นสีชัดเจน จะเห็นชัดขึ้นว่าแต่ละเครื่องดนตรีอยู่ตรงไหนและทำหน้าที่อะไรในเพลงนี้

โดยส่วนที่เล่นเป็นเมโลดี้หลักจะเล่นด้วยเครื่อง Brass และมีเครื่อง String ทำหน้าที่เป็น เราจะเห็นว่าส่วนที่เล่นเป็นเมโลดี้หลัก จะถูกเล่นด้วย brass ซึ่งหลายเครื่องจะเล่นโน้ตเดียวกันเลย หรือ Dub เพื่อให้เสียงมีความเน้นขึ้น ส่วน accompaniment จะเล่นด้วยเครื่องสายโดยคอร์ด Am ที่เล่น จะไม่เล่นตัว 3 แต่เล่นแค่ตัวที่ 1 และ 5 ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนเล่นคู่ 5 หรือพาวเวอร์คอร์ด ที่สร้างอารมณ์หนักแน่นให้เพลง

แต่ Brass จะไม่ได้เล่นแค่เมโลดี้ แต่สักพักหนึ่งจะเล่นพาร์ทคอร์ดผสมเข้าไปด้วย คือก็ยังเล่นเมโลดี้หลักอยู่ แค่มีการทำไลน์ประสานหรือ harmony เพื่อช่วยให้ส่วนคอร์ดของเพลงแน่นขึ้นไปอีก ซึ่งระหว่างนี้ก็จะมีเครื่อง woodwind อย่างฟลุตมาเล่นเป็น ornament และมีพิกโกโร่ที่เด่นในย่านเสียงสูงมาเล่น overdub ด้วย

ท่อน B :
Gm – Bbm – Dbm – Amaj7/Eb – Em/Abmaj(poly chord)

ท่อนนี้จะเริ่มผ่อนอารมณ์จากท่อนที่แล้ว และเปลี่ยนคีย์จาก F เป็น Bb(Gm) และเล่นคอร์ดคอร์ด 6 ยาว ๆ แต่พอเปลี่ยนคอร์ดเป็น Bbm ก็คือจะเปลี่ยนคีย์ รวมถึงคอร์ด Dbm ก็เปลี่ยนคีย์ และ Amaj7/Eb ก็ยังเปลี่ยนคีย์อีก ซึ่งจริง ๆ รูปแบบคอร์ดและเมโลดี้หลัก แทบจะเล่นเหมือนเดิม แต่เพื่อสร้างความแตกต่างแต่ยังคงลื่นไหลของเพลงอยู่ จึงใช้การเปลี่ยนคีย์ ซึ่งคีย์สุดท้ายคือคีย์ Eb ที่เมื่อเล่นกับคอร์ดและเมโลดี้ทั้งหมดจะมีความ dissonant สูง ทำให้จากอารมณ์ที่มีความลื่นไหล 

เครื่อง Brass จะมีบทบาทน้อย เสียงเริ่มบางลง แต่จะมีเครื่องสายมาทำหน้าที่เป็นเมโลดี้หลักแทน รวมถึงมีเครื่อง Woodwind ที่มาเล่น Ornament เป็นระยะ ๆ สร้างความตื่นเต้น ซึ่งจะเล่น dub กันเพื่อเพิ่มบรรยากาศเข้าไป

ในตอนท้ายที่เล่นคอร์ด Abmaj7/Eb ยังให้ความลื่นไหลอยู่ แต่เมื่อมาถึงคอร์ด Em/Abmaj7 รูปแบบนี้เรียกว่า poly chord เป็นการขยับนิ้วจากเดิมแค่นิดเดียว แต่เหมือนเป็นการเล่นคอร์ดบนคอร์ดอีกทีหนึ่ง ซึ่งให้ความรู้สึกตึงเครียดต่างจากช่วงแรก ๆ เพื่อพร้อมระเบิดและคลี่คลายส่งเข้าสู่ท่อนถัดไปที่เป็นคอร์ด Am หรือคีย์ C ซึ่งในช่วงนี้ก็ยังคงใส่เมโลดี้ที่เป็นธีมเข้าไปด้วย รวมถึงยังมีไลน์เครื่อง Brass ที่บางเครื่องเล่น Ab แต่บางเครื่องเล่นเป็น Em ด้วย

ในท่อนหลังที่กลับมาคีย์ C จะไม่ได้เล่นซับซ้อนมากแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการเล่น dub กัน เพื่อให้เสียงมีความชัดเจน และลดบทบาทของ woodwind ที่เล่นเป็น ornament ในท่อนก่อนหน้า ให้เหลือเป็นการเล่น dub เบา ๆ แทน และให้เครื่อง Brass กลับมามีบทบาทมากขึ้น แต่ไม่ใส่ tension และยังคงเล่นบนคีย์ C ไม่เปลี่ยนคีย์แล้ว

การวิเคราะห์ในครั้งนี้อาจจะเข้าใจยากนิดหนึ่ง เนื่องจากมีศัพท์ทางดนตรี และมีความซับซ้อน แนะนำว่าให้ฟังสกอร์เพลงไปด้วย แต่แค่ในสามท่อนนี้ที่ได้วิเคราะห์ ก็สร้างอารมณ์เพลงให้รู้สึกถึงภาพรวมของเกมได้เลยทันทีว่าเป็นโลกที่กว้างใหญ่ แต่ก็เต็มไปด้วยอันตรายเต็มหนทางเหมือนกัน เรียกว่าเป็นการเล่าเรื่องได้สมเหตุสมผล และเข้าใจถึงอารมณ์เกมได้เลยในเวลาอันสั้นด้วย

สำหรับใครที่สนใจในการทำเพลงลึก ๆ และอยากเรียนทำเพลงจนสามารถทำเพลงเป็นอาชีพได้ สามารถดูข้อมูลได้ในหลักสูตร The Real Producer มีคอร์สเรียนที่รวบรวมเนื้อหาที่จำเป็นไว้หมดแล้ว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกคนครับ

The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง

นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer

เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล

สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.