เรียนทำเพลง เนื้อร้อง ทำนอง ดนตรี สามสิ่งที่คุณอาจสับสน

เนื้อร้อง-ทำนอง-ดนตรี สามสิ่งที่คุณอาจสับสน

Share via:

Krissaka Tankritwong

ใน VERY CAT SOUND เราได้รับ inbox คนที่ติดต่อเข้ามามากมาย ทั้งจ้างทำเพลง และอยากเรียนทำเพลง ซึ่งบทสนทนาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆเป็นดังนี้
“อยากทำเพลงค่ะ มีเนื้อแล้ว พี่ทำทำนองให้หน่อย ขอราคาหน่อยค่ะ”
“ตอนนี้มีทำนองแล้วครับ แต่ขาดเนื้อ คิดเท่าไรครับ”
“ทำบีทให้หน่อยครับ คิดยังไง”
“อยากเรียนทำเมโลดี้เพลงค่ะ”

จากบทสนทนาพวกนี้ ที่จริงแล้วก็ปกติใช่ไหมล่ะครับ แต่รู้ไหมว่า ที่จริงแล้วเราไม่สามารถตีราคาได้เลย เพราะเราไม่รู้ได้เลยว่า ลูกค้ามีอะไรมาแล้วบ้าง แล้วเราต้องทำอะไรบ้าง สโคปการทำงานอยู่ตรงไหน เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะคนเราใช้คำศัพท์พวกนี้ไม่เหมือนกันครับ

จากตัวอย่าง 1
“อยากทำเพลงค่ะ มีเนื้อแล้ว พี่ทำทำนองให้หน่อย ขอราคาหน่อยค่ะ”

อยากทำเพลงค่ะ — > แปลว่าอะไรเอ่ย? ให้ทำอะไรบ้าง?
มีเนื้อแล้ว –> อันนี้พอเข้าใจครับ แต่ไม่แน่ใจว่า melody หลักมีหรือยัง? หรือเป็นเนื้อเปล่าๆ
พี่ทำทำนองให้หน่อย –> คือทำนอง refer ถึงอะไรครับ? melody ที่อยู่กับเนื้อร้อง หรือหมายถึงตัวดนตรีทั้งหมด?

จากตัวอย่าง 2
“ตอนนี้มีทำนองแล้วครับ แต่ขาดเนื้อ คิดเท่าไรครับ”

ตอนนี้มีทำนองแล้วครับ –> แปลว่าอะไรบ้างครับ ทำนองที่ว่า หมายถึงมีดนตรีแล้วใช่ไหม แต่มีตัวเมโลดี้หลักรึยัง?
ขาดเนื้อ –> เข้าใจได้ แต่ถามคำถามเดิม ขาดแต่เนื้อใช่ไหม? แต่มีเมโลดี้หลักแล้ว? แต่ไม่ได้ใส่เนื้อ?

จากตัวอย่าง 3
“ทำบีทให้หน่อยครับ คิดยังไง”

ทำบีท –> บีทหมายถึงอะไรบ้างครับ? กลองอย่างเดียวใช่ไหม หรือมีเครื่องดนตรีอย่างอื่นด้วย

จากตัวอย่าง 4
“อยากเรียนทำเมโลดี้เพลงค่ะ”

ทำเมโลดี้ –> อันนี้หมายถึง ทำทำนองหลักของเพลงอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับดนตรี หรืออยากเรียนเรียบเรียงดนตรีเหรอครับ?

สรุปคือ มันไม่มีสโคปอะไรชัดเจนที่จะทำให้คิดราคาได้เลยครับ

ไม่รู้คือไม่ผิดแต่เรามาสื่อสารให้ตรงกันดีกว่า

ผมไม่เคยคิดว่าการไม่รู้คือผิดนะครับ มันเป็นปกติที่คนที่ไม่เชี่ยวชาญจะไม่รู้ แต่ทีนี้การเข้าใจไม่ตรงกันมันทำให้เกิดปัญหาการสื่อสารอยู่บ่อยๆ
วันนี้เลยอยากมาแบ่งปันเรื่องของการแยกแยะส่วนประกอบของการทำเพลงให้เข้าใจตรงกันนะครับ

เนื้อร้อง-ทำนอง-ดนตรี คนชอบสับ สนสามอย่างนี้

อย่างแรกเลย ให้คุณแยกสามสิ่งนี้ออกจากกันให้ชัดเจนก่อน

1. เนื้อร้อง – เนื้อร้อง หรือ Lyric แปลว่า ส่วนของคำร้อง หรือภาษา เท่านั้นเลยครับ ไม่มีระดับเสียงสูงต่ำของตัวโน้ตมาเกี่ยวทั้งนั้น โดยปกติ เนื้อร้อง Refer แบบนี้ ซึ่งการมีเนื้อร้องอย่างเดียวจะยังไม่ใช่เพลง เป็นเหมือนแค่บทความร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง แบบนี้มากกว่า
2. ทำนอง – เรียกอีกอย่างว่า Melody หรือตัวโน้ตระดับเสียงสูงต่ำ ซึ่งในที่นี้เรามัก Refer ถึง ทำนองหลัก หรือ Melody หลัก โดยถ้าเป็นเพลงร้อง ไอ้ตัว Melody หลักนี้เองแหละครับที่เป็นสิ่งที่เนื้อร้องนี้เกาะอยู่ อย่างเช่น ร้องทำนองเป็น “โด-เร-มี” ตามระดับเสียงนี้ แต่ใส่เนื้อร้องว่า “อยาก-จะ-รู้” โดย ร้องคำว่า อยาก เป็นโน้ต โด , ร้องคำว่า จะ เป็นโน้ต เร , และร้องคำว่า รู้ เป็นโน้ต มี
3. ดนตรี – คือเสียงเครื่องดนตรีทั้งหมดที่อยู่ในเพลง โดยไม่รวมกับทำนองเสียงร้อง มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Music Arranging หรือการเรียบเรียงเครื่องดนตรี หรือการเรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งบ่อยครั้ง คนยุคนี้นิยมเรียกทั้ง Music Arranging นี้ว่า “บีท” (ซึ่งถ้าศัพท์ตรงตัวของมันจะแปลว่า จังหวะ เฉยๆ)

สิ่งที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ

– ผู้พูด พูดว่า “เนื้อร้อง” แต่ refer ถึง “เนื้อร้อง+ทำนอง”
– ผู้พูด ใช้คำว่า “ทำนอง” แต่ refer ถึง “ดนตรี”
– ผู้พูด ไม่รู้ถึงการมีอยู่ของคำว่า “ทำนองหลัก หรือเมโลดี้บนเนื้อร้อง” (ไม่ได้สังเกตว่ามีส่วนนี้อยู่ด้วย) เข้าใจไปว่า เนื้อร้องคือรวมส่วนนี้ด้วย
– ผู้พูด ใช้คำว่า “บีท” แต่ refer ถึง “ดนตรี” ซึ่งถ้าคนที่เป็นสายดนตรีแบบจริงจังจะไม่เข้าใจ และนึกว่าให้ทำแต่เสียงกลองไปให้
– ผู้พูด ใช้คำว่า “Melody” แต่ที่จริง refer ถึง “ดนตรี”

ตัวอย่างที่เจอบ่อยๆก็ประมาณนี้ครับ ที่จริงมีตัวอย่างอื่นอีก ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับศัพท์คำอื่นๆ อาทิเช่น

– ผู้พูด ใช้คำว่า “ทำเพลง” ซึ่งไม่รู้ว่าแปลว่าให้ทำอะไรบ้าง แต่งเนื้อ,แต่งทำนอง,ทำดนตรี,Mix Master หรือทั้งหมดทั้งกระบวนการ? (คำว่า “ทำเพลง” เป็นคำที่ไม่ชัดเจน และคลุมเคลือมาก เพราะที่จริงแล้วในกระบวนการทำเพลงมันมีหลายขั้นหลายอย่างอยู่ในนั้น และเนื้อหาแต่ละขั้นมันมีมากมายมหาศาลจนไม่สามารถนำมาเรียนปนกันในคอร์สสั้นๆคอร์สเดียวกันได้)

ทำไมควรเข้าใจศัพท์และแยกแยะ?

ถ้าเราเข้าใจองค์ประกอบของมันชัดเจน จะได้สื่อสารถูกต้องว่าต้องการอะไร ว่าจะทั้งการจ้างบุคลากรทางดนตรี หรือการเรียนการทำเพลง อีกทั้งเรายังสามารถโฟกัสถูกจุด ว่าเราทำอะไรอยู่ในขั้นตอนการทำเพลงต่างๆ แล้วสิ่งที่ควรต้องคิดต้องแก้ไขต้องพัฒนาต้องใส่ใจคือส่วนไหนกันแน่ เช่น ถ้าตอนนี้เรียนเขียนเนื้อเพลงอยู่ ก็เอาเฉพาะเนื้อเพลงให้ดีครับ อย่าเพิ่งไปใส่ใจเรื่องไลน์เบส ไลน์กลอง หรือถ้าตอนนี้ โฟกัสทำ Music Arranging อยู่ ก็คิดแต่เรื่องว่า เปียโนจะเล่นคอร์ดไหน โน้ตไหน ถึงจะออกมาลงตัว อย่าเพิ่งไปใส่ใจเรื่อง sound เรื่อง mix , eq , compress อะไรพวกนี้ครับ มันยังไม่ถึงเวลาของมัน เช่นนี้เป็นต้น
.
.

The Real Producer

ใครที่สนใจเรื่องเรียนทำเพลงแบบแยกแยะแต่ละเรื่องแบบชัดเจน เพื่อการเรียนที่เป็นระบบ และเจาะลึก ในแต่ละเรื่อง ไม่เอามาปนกัน ในหลักสูตร The Real Producer จากทาง VERY CAT ACADEMY มีคอร์สเรียนมากมายหลายวิชาที่ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกขั้นตอน ของการเป็น Producer มืออาชีพ ตั้งแต่ 0-100 ติดต่อสอบถามได้ครับ

สามารถดูบทความเวอร์ชั่นเว็บ บทความเก่าๆได้ที่ลิ้งค์ใต้คอมเม้นท์


VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.