หลายๆคนอาจจะมี sense ในการแต่งเพลง ใส่ melody กับ chord และใส่เนื้อเพลงได้แล้ว แล้วตัวเองชอบแล้ว แต่มาติดปัญหาใหญ่ก้อนต่อไป นั่นคือ แล้วจะทำดนตรียังไง? เพราะที่ทำเป็นตอนนี้อาจจะแค่ ร้องเป็นทำนองออกมา แล้วอัดไว้เปล่าๆ ไม่มีดนตรี หรือบางคนอาจจะเล่นแค่กีตาร์ตีคอร์ด เปียโนตีคอร์ดง่ายๆ ประกอบกับตัวเพลงมา โดยยังไม่ใช่ดนตรีแบบ full band เต็มวง หรือไม่มี Beat (ตามสมัยนิยมที่คนสมัยนี้ชอบเรียกการทำดนตรีว่าบีท นั่นแหละครับ)
การเรียนทำดนตรี หรือการเรียบเรียงดนตรี เป็นสิ่งที่หาเรียนค่อนข้างยาก แล้วต่อให้มีสอน ก็มักจะเป็นการสอนเฉพาะขั้น Basic พื้นฐาน โดยไม่ไปลึกกว่านั้น เพราะมันเป็นศาสตร์ที่ลึกมาก และจะเรียนกันให้แตกฉานก็คือเรียนในมหาวิทยาลัย 4-5 ปี ซึ่งมันเลยย่อยเอามาสอนในเวลาสั้นๆให้ผู้ที่สนใจทั่วไปได้ยาก และมันมีความยากอยู่หลายระดับมากๆ สำหรับใครที่อยากจะลองผิดลองถูก ทดลองทำเอง เรามีแนะแนวการคิดทำดนตรี หรือ Music Arranging หรือการทำ Beat เบื้องต้น จากเพลงที่เราแต่งมาให้ในนี้กันครับ
เราสามารถด้นเพลงออกมาเองได้ หรือคิดแนว คิดสไตล์ไว้ก่อนคร่าวๆ หรือถ้าเรายังมือใหม่ การใช้ Reference จากเพลงที่เคยมีมาก่อนก็ไม่ใช่เรื่องผิด เช่น เราอาจจะคิดไว้ในหัวคร่าวๆว่า อยากให้ดนตรีออกมามีบรรยากาศคล้ายๆกับเพลงไหน ของศิลปินอะไร เอาเพลงๆนั้นเป็นต้นแบบว่า ทางคอร์ดมันประมาณไหน ใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้าง ความเร็วประมาณไหน ลักษณะการเล่นโน้ต และลักษณะซาวด์เป็นแบบไหน เมื่อเราเลือกได้แล้วจะทำให้เรามีไกด์ไลน์ในการทำงาน และมองเห็นภาพรวมของเพลงตั้งแต่ตอนยังไม่ได้ทำ และมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น ไม่หลงทางครับ
ตอนแต่งเราอาจจะไม่ได้คิดมาอย่างดีว่าควรมีความเร็ว หรือ BPM (Beat Per Minute) เท่าไร ทีนี้ต้องลองค่อยๆเล่นมันอีกทีดูฟีลลิ่งว่า ความเร็วเท่าไรกันแน่ที่เหมาะสมกับเพลงแบบเป๊ะๆ ซึ่งพอทำดนตรีจบเพลงแล้ว เราอาจจะเปลี่ยนใจทีหลังก็เป็นไปได้ครับ แต่อย่างน้อยควรกำหนดไว้ก่อน และอีกเรื่องที่สำคัญคือ คีย์ของเพลง โดยมากแล้วจะปรับให้เหมาะสมกับเสียงร้องของนักร้อง ว่าร้องคีย์ไหนสะดวกที่สุด และเพลงออกมาฟังดูดีที่สุด ถ้าทำได้ก็ควรทำก่อนจะเรียบเรียงดนตรีจะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องมาแก้ทีหลัง
เริ่มอัดไกด์ลงไป ด้วยการร้อง + เล่นคอร์ดประกอบ จะเล่นด้วยกีตาร์หรือเปียโนคีย์บอร์ดก็ได้ครับ พยายามร้องและเล่นให้ดี ให้สื่อสารอารมณ์ที่ต้องการออกมาได้ อาจจะไม่ต้องเนี้ยบที่สุด เพราะยังไงเราก็ไม่ได้ใช้ไลน์นั้นๆจริงอยู่ดี เป็นแค่ไกด์ แต่การสื่อสารอารมณ์ออกมาได้ จะเป็น Guideline สำหรับการทำงานตอนเรียบเรียงดนตรีได้ดีครับ เช่นว่า ตรงไหนหนัก ตรงไหนเบา ตรงไหนเร่งเร้า ตรงไหนเล่นเยอะ เล่นน้อย พวกนี้จะช่วยทำให้ตอนเราทำดนตรีเห็นภาพท่อนนั้นๆได้ง่ายขึ้น แล้วอย่าลืมอัดให้ค่อนข้างตรงเมโทรนอมด้วยนะครับ แต่ถ้าไม่ตรงไปหน่อย ก็สามารถ Edit เอาให้ตรงได้ครับ
ตอนเราแต่งเพลงมา อาจจะไม่ได้วางแผนว่าจะมีซ้ำท่อนไหนบ้าง ท่อนไหนมาก่อนหลัง หรือมีท่อนอย่างอื่นที่เป็นดนตรีเพิ่มตรงไหนมั้ย อาทิ Intro, Outro, Riff, Solo อยากให้กำหนดวางท่อนพวกนี้ไว้เลยครับ อาจจะคร่าวๆก็ได้ ถ้ามีเปลี่ยนแปลงค่อยเพิ่มลดทีหลัง มันจะทำให้เราจินตนาการดนตรีภาพรวมออกได้ง่ายขึ้นว่า ควรจะใส่ดนตรีตรงไหนยังไงบ้าง และมันอาจทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่า ที่จริงแล้ว เพลงมันครบ มันอิ่มหรือยัง ควรจะมีท่อนอะไรที่ต้องแต่งเพิ่มอีกมั้ย โดยการวางท่อนนี้ เราอาจจะกำหนดคอร์ดว่างๆ ไม่มีเมโลดี้ เล่นเป็นไกด์ไปก่อนก็ได้ครับ ถ้าไม่ชอบค่อยมาเปลี่ยนทีหลัง
พอได้ท่อนครบหมดแล้ว เราจะมาเริ่มทำดนตรีกันจริงๆละ โดยอย่างแรกสุด เราจะปิดไลน์คอร์ดที่เราเล่นไกด์ไปให้หมดเลยครับ แล้วเริ่มค่อยๆ บรรจงสร้างไลน์เครื่องคอร์ดที่เราจะใช้จริงๆก่อน เช่น เราอาจจะออกแบบวิธีตีคอร์ดของเพลงนี้ขึ้นมา ให้มันฟังดูเข้ากันกับเมโลดี้พอดี หรือช่วงไหนอาจจะเล่นเป็น Apeggio ช่วงไหนเล่นเป็น Block Chord แล้วแต่การออกแบบของเรา แล้วเราจะมีเครื่องคอร์ดกี่ชิ้น แต่ละชิ้นจะเล่นอะไรบ้าง ลีลาต่างกันยังไงบ้าง มีการสลับหน้าที่สลับลีลามั้ย และจะมีการเปลี่ยนคอร์ด หรือ Re-Arranging เพื่อสร้างลูกเล่น สำเนียงที่แตกต่างและมีสีสัน unique ขึ้นมั้ย นอกจากแค่คอร์ดบนสเกลปกติที่เราใช้ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราต้องตัดสินใจ ต้องออกแบบ ดีไซน์มัน
เมื่อเราได้เครื่องคอร์ดคร่าวๆ ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์ หรือเปียโน คีย์บอร์ด ต่อจากนั้นเราจะมาทำกระดูกสันหลังของเพลงให้แข็งแรงกัน นั่นคือ เบส กับ กลอง (ในกรณีที่เป็นวงที่เรากำหนดแล้วว่ามีสองเครื่องนี้นะครับ) โดยเมื่อเรามีคอร์ดแล้ว เบส กับ กลอง ก็ไม่น่ายาก คิดมันออกมาโดยให้เกิดความกลมกลืนกับคอร์ดที่เล่น จนมันกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Groove หรือเป็น Rhythm Section ที่มีความ unique เฉพาะตัวน่าสนใจ และเข้ากับเพลงๆนั้น ในบางกรณี บางคนอาจจะคิดเบสกับกลองก่อนเครื่องคอร์ดก็ได้ อันนี้แล้วแต่ความถนัดครับ
เครื่องดนตรีอื่นๆ หรือ ไลน์ solo ไลน์ประดับ จะใส่ทีหลังจากได้ตัว Rhythm Section ที่แข็งแรงแล้ว และเรายังรู้สึกว่าเพลงมันยังโล่งไป น่าจะใส่รายละเอียดได้มากขึ้นอีก เราก็จะค่อยๆงอกไลน์พวกนี้ขึ้นมา โดยจากการใช้จินตนาการส่วนหนึ่ง ความรู้ส่วนหนึ่ง ว่า ต้องใส่แบบไหนถึงจะเข้ากันได้ โดยถ้าคุณยังไม่มีความรู้ด้านนี้ก็อาจจะเน้นใช้หูไปก่อน คือใช้ความรู้สึกฟังว่า ใส่แล้วฟังดูเข้าท่ามั้ย หรือไม่เข้ากัน รายละเอียดยิบย่อยต่างๆ อาทิ Chorus, Counter Melody พวกนี้ยิ่งใส่ได้อย่างซับซ้อนลงตัว ก็จะยิ่งทำให้เพลงดูหรูขึ้นเรื่อยๆ ไพเราะขึ้นเรื่อยๆ จากตอนแรกที่เป็นแค่ตีคอร์ดซิมเปิ้ลๆธรรมดา
เมื่อเราใส่องค์ประกอบอะไรลงไปมากขึ้น เราจะพบว่า บางองค์ประกอบมันอาจจะตีกัน หรือไม่เข้ากัน ให้ฟังและพิจารณาดีๆ อาจจะต้องกลับไปแก้องค์ประกอบเดิมบางอย่าง เป็นเรื่องปกติครับ หรือบางทีคิดไลน์ใหม่ที่ชอบมาได้ แต่มันดันไปขัดกับ กีตาร์ กลอง เบส อะไรสักอย่างที่เราทำไปแล้ว ก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาว่า จะยอมแก้อันใหม่หรืออันเก่า ต่อจากนั้นก็ ฟังตรวจ แก้ นึกอะไรออกได้ก็เพิ่ม ฟังตรวจแก้ ฟังตรวจแก้ วนไปแบบนั้น จนกระทั่งคิดว่ามันสมบูรณ์แล้ว ไม่มีอะไรจะต้องเพิ่มหรือแก้แล้ว เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเรียบเรียงดนตรีครับ เตรียมส่งเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป นั่นคือ Record, Edit, Mix, Master
มันตอบยากมากครับ เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวกับ taste หรือรสนิยมส่วนตัวด้วย ถ้าคุณคุ้นเคยกับเพลงญี่ปุ่น จะพบว่า มีการใส่รายละเอียดยิบๆ มากกว่าพวกเพลงสากล ไลน์เยอะกว่า แล้วเบสจะนิยมเล่นตัวโน้ตที่เคลื่อนไหวมากกว่า ซึ่งจะแบบไหนมันก็ไม่ผิด อยู่ที่ตัวคุณตัดสินว่ามันลงตัวแล้วหรือยัง ไม่มากไม่น้อยไป สำหรับคุณแล้วหรือยัง
เป็นปกติครับ บางคนเค้านึกได้เพราะอาจจะคุ้นเคยกับการเล่นดนตรีวงมานานหลายปี เลยเกิด sense ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ที่จริงการเรียนเป็นวิธีตรงที่สุดครับ
หลักๆคือเรียนเรื่อง Harmony, Music Theory, Music Composing, Music Arranging พวกนี้ครับ (ตรงกับวิชา VCA201, 202 : Music Designer , VCA301, 302, 401 : Harmony ในหลักสูตร The Real Producer ที่ทาง VERY CAT ACADEMY เปิดสอน) บอกก่อนว่ามันมีหลายระดับมากๆ เรียนกันได้เป็นปีๆ หลายปี กว่าจะ master ยิ่งเรียนไปเยอะไปลึก เราก็จะยิ่งทำเพลงได้เหนือชั้นขึ้น ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ และทำเพลงที่แต่งยากๆ คิดยากๆ ทำยากๆ หวือหวามากขึ้นได้เรื่อยๆ โดยจะยิ่งสามารถประยุกต์เอาความรู้ของดนตรีทุกแนวเข้ามาใช้ในดนตรีที่ตัวเองทำได้แบบอิสระ อาทิเช่น Classic, Jazz พวกนี้สำคัญมากเพราะเป็นรากฐานที่ให้กำเนิดดนตรีทุกแนวครับ
อีกอย่างที่อยากให้ระวังคือ เรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกับการเรียนการใช้โปรแกรม หรือการ Mix,Master โปรดระวังเวลาหาเรียน ให้เข้าใจเนื้อหาซะก่อนว่า คุณกำลังต้องการอะไร ใช่สิ่งนี้หรือไม่ ระวังสับสนกับคำว่า ทำเพลง ซึ่งอาจสื่อสารกันผิดว่าไม่ใช่เรื่องเรียบเรียง Music Arranging แต่เป็นเรื่อง Mix,Master โดยการเรียบเรียงเป็นขั้นตอนที่ต้องมาก่อนการ Mix ถ้าคุณเรียนผิดขั้นตอน ยังไม่ถึงเวลาของคุณที่จะมามิกซ์ คุณอาจเรียนแล้วไม่ได้อะไรเลย
ถ้าคุณอ่านแล้วไม่เข้าใจศัพท์เฉพาะหลายๆอย่าง แต่อยากเข้าใจ หรือติดปัญหาคิดไลน์ดนตรีไม่ออก หรืออยากเรียนการทำดนตรี การ Arranging แต่ละเครื่องดนตรีอย่างลึกซึ้ง อยากทำได้ทุกแนวโดยไม่มีข้อจำกัด แนะนำหลักสูตร The Real Producer ของทาง VERY CAT ACADEMY มีสอนทุกเรื่องทุกอย่างที่กล่าวไปในบทความนี้ สนใจติดต่อแอดมินใน @verycatacademy หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ link ด้านล่างโพสต์นี้นะครับ
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound