ทำไมจึงไม่ควรแต่งทำนองกับคำร้องไปพร้อมกันทั้งเพลง

Share via:

Krissaka Tankritwong

ตลอดระยะเวลาที่ผมทำงานกว่าสิบปี และมีมือใหม่ส่งเพลงมาให้ฟังอยู่เรื่อยๆ ผมพบจุดเริ่มของเพลงเหล่านั้น ที่มาจากคนที่เริ่มแต่งเพลงใหม่ๆ จะมีปัญหาที่เป็นเหมือนๆกัน
อาทิเช่น เล่าเรื่องไม่สัมฤทธิ์ผล คำวกๆวนๆ เนื้อเรื่องวนอยู่ในอ่าง และคำมักไม่น่าสนใจ จนเพลงมันดู “จม” คือไม่มีจุดโดดเด่น ฟังจบแล้วจำอะไรไม่ได้เลย เรียกได้ว่า ถ้าเอาไปเปิดอยู่ใน youtube
มันคงจะจมหายไปเลย เพราะไม่มีจุดโดดเด่นเพียงพอที่จะจับความสนใจคนฟังได้ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันทาง Content ที่เชี่ยวกราก ที่พร้อมใจกันทำตัวโดดเด่นเพื่อมาแย่งความสนใจจากคนดูคนฟังอย่างหนาแน่นเต็ม social media ปัจจุบันนี้มันมีเพลงมากมายเกินไปจนเพลงที่คำเรียบๆ ซ้ำๆ ไม่โดดเด่น จะยากมากที่จะเป็นที่สนใจจนมีคนกดฟัง

ทำไมเพลงถึงไม่โดดเด่น

หลักๆ แล้วปัญหาที่ทำให้เพลงมันไม่โดดเด่น ไม่สะดุดตาสะดุดหู หลักๆเป็นเพราะมันไม่ได้ถูกคิดเนื้อร้องมาอย่างดี และปัญหาที่กล่าวไปมักมาจากสาเหตุที่ว่า มือใหม่ที่แต่งเพลงส่วนมากแล้วมักจะ “แต่งทำนองกับคำร้องไปพร้อมกัน” ทั้งเพลง

ปัญหาของการแต่งทำนองและคำร้องไปพร้อมกัน

สมองคนเรานั้นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลจำกัด การที่เราใช้สมองคิดทำนองเพลง ก็เหมือนกับเราเปิดโปรแกรมคิดคำนวนทำนองเพลงโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งพอเราต้องเปิดถึงสองโปรแกรมพร้อมๆกัน ทั้งคิดทำนองเพลงไปด้วย คิดเนื้อร้องไปด้วย หนำซ้ำมือยังเล่นดนตรี ตีคอร์ดกีตาร์ หรือเปียโนไปด้วยอีก ทำให้หน่วยประมวลผลของสมองเราทำงานแบบแย่งทรัพยากรกัน ทำให้ประสิทธิภาพของแต่ละอย่างไม่ดีเท่าที่ควร เพลงที่คุณจะได้คือมักจะเป็นการเปิดโหมด auto pilot ของแต่ละส่วนผสมกัน เป็นโหมดแบบพอทำงานได้ด้วยความเคยชิน แต่ไม่สามารถคิดหรือสังเคราะห์สิ่งใหม่ๆที่มีรายละเอียดแตกต่างออกไป ที่ต้องใช้การประมวลผลมากขึ้นได้

เมื่อแต่ละโปรแกรมในสมองเราเปิดโหมด auto pilot พร้อมๆกัน เท่ากับว่า ทำนองที่ด้นออกมา ณ เวลานั้น มันก็คือทำนองที่เคยได้ยินคุ้นๆมาก่อนในคลังสมอง นำมาผสมปนเป จับต้นชนปลายมันออกมา ลงตัวบ้าง ไม่ลงตัวบ้าง ซ้ำซากบ้าง มือที่ตีคอร์ดอยู่ก็อาศัยความคุ้นชินจากทางคอร์ดของเราที่ฝึกมาหรือเล่นบ่อยๆ สำเนียงก็เลยออกมาเดิมๆ และสุดท้ายคือ เนื้อร้อง ที่สมองพยายามจับเอาคำที่อยู่กระจัดกระจายมั่วๆ จับลงมาประกอบให้เข้ากับเมโลดี้ ให้ฟังดูลื่นหูให้ได้ แต่ในทางความหมายคือไม่ได้ลงตัวขนาดนั้น ได้แค่พอฟังออกมาดูดีพอโอเค

การทำงานด้วยวิธีแบบนี้จึงนำมาสู่ผลลัพธ์ของเพลงที่ไม่โดดเด่น พอฟังได้เพลินๆ ไม่แย่ แต่ไม่โดดเด่นสักอย่าง ไม่ค่อยสัมฤทธิ์ผลทางการสื่อสาร นั่นแปลว่า มันยากที่จะกลายเป็นเพลงที่เป็นที่สนใจ จนดังหรือฮิตได้ในยุคปัจจุบัน เพราะเพลงก็คือ Content อย่างหนึ่งในยุคนี้ ที่ถ้าอยากทำให้ pop ให้มียอดวิวเยอะ ย่อมขาดความน่าสนใจไปไม่ได้
และนี่คือที่มาของหัวข้อบทความนี้ว่า ทำไมจึงไม่ควรแต่งทั้งทำนองและคำร้องไปพร้อมกัน

ก้าวถัดมาของการแต่งเพลง คือทำทีละส่วน

ถ้าคุณเจอปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น ให้ลองทำด้วยวิธีใหม่ๆดู นั่นคือการลองทำทีละส่วน เช่นลองโฟกัสกับการแต่งทำนองหรือคอร์ดอย่างเดียว หรือเนื้อเพลงเพียงอย่างเดียว แล้วค่อยนำมาประะกอบกัน จะลองทำส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน แล้วอีกส่วนตามมา หรือลองสลับกันก็ได้ รับรองว่าผลลัพธ์ที่ได้จะต่างออกไปแน่นอน เพราะจะมีรายละเอียดของสิ่งนั้นๆมากกว่าเดิม

งานที่ดีมักเกิดจากการผสมผสานหลายวิธีการ

ถ้าเราใช้แต่ feel อย่างเดียวในการแต่งเพลง และทำเพลงด้วยวิธีการด้นล้วนๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดโหมด auto pilot กับหลายๆโปรแกรมพร้อมกัน) สิ่งที่จะได้คือเพลงที่ สื่อสารไม่ได้ และมีความกลางจนเกินไป จนไม่โดดเด่น งานที่ดีจะขาดการวิเคราะห์ วางแผนและบรรจงสร้างไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน การด้นตาม feeling เพื่อไปบังเอิญเจออะไรที่คาดไม่ถึงและน่าสนใจก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง (แนะนำว่าอย่าเปิดหลายโปรแกรมเกินไป โฟกัสแค่ 1 หรือ 2 พอ) ฉะนั้นที่จริงแล้ว งานที่ดีมักเกิดการจากการผสมผสานวิธีหลายวิธีเข้าด้วยกัน จนบางทีก็ตอบยากว่าใช้วิธีอะไรชัดๆ หากแต่เป็นการสลับ เพื่อต่อเติมตัวเพลงให้สมบูรณ์ขึ้นทีละนิด ด้วยทั้งจากการวิเคราะห์ วางแผน สังเคราะห์ และการด้นสด ผสมผสานกันไป บางจุดก็ทำทีละส่วน หรือบางจุดมันก็อาจมาพร้อมกันเลยก็ได้ แต่สำคัญคือ การได้ source มาแล้ว ขอให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์ต่อว่า สิ่งนั้นเวิร์คหรือยัง หรือต้องมาปรับแก้ไขอะไรอีก นั่นคือกระบวนการที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่งานที่ “สุก” แล้วจริงๆ จากงานที่ดิบ ในการพัฒนาเป็นเพลง pop ที่ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน

สำคัญคือขาดความ Creative ไปไม่ได้

การแต่งเนื้อเพลงในยุคสมัยที่เพลงเยอะไปหมด เต็ม youtube แบบตอนนี้ สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องใส่ลงไปในคำหรือเนื้อเรื่อง ซึ่งหลายๆคนที่แต่งเนื้อเพลงได้ดี มักมีสิ่งนี้เป็นพรสวรรค์ในการใช้คำ หรือการเล่าเรื่อง แต่สำหรับคนที่ไม่ถนัดก็อย่างเพิ่งเสียใจไป เพราะสิ่งนี้ฝึกกันได้ หากใครอยากเรียนรู้เรื่องการแต่งเนื้อเพลงแบบสร้างสรรค์ หรืออยากพัฒนาการแต่งเพลง สนใจเจอกันในคลาส The Real Producer ของเราได้ครับ มีวิชาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงคือ VCA103 Creative Lyric การคิดเนื้อเพลงอย่างสร้างสรรค์ สนใจติดต่อ admin ได้ครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์

https://verycatsound.com/academy/level1/vca103-creative-lyric/


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

  • เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
  • เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.