มีนักเรียนในคลาส The Real Producer หลายคนที่แต่งเนื้อเพลงภาษาไทยแล้วติดปัญหานี้ คือรู้สึกว่าใส่ภาษาไทยแล้วมันไม่ลื่นไหลไปกับเมโลดี้ ใช่แล้วครับ ภาษาไทยนั้นที่จริงแล้วแต่งเพลงยากกว่าภาษาอื่น เพราะมันมีเรื่องของวรรณยุกต์หรือระดับเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างเยอะ หลายๆครั้งที่พอใส่คำเข้าไปใน melody แล้วจะพบว่า มันฟังออกมาแปลก แปร่ง ไม่ลื่นหู หรือบางทีจะเคยได้ยิน นักดนตรีหลายคนเรียกว่าเกิดอาการ “ข่มขืนเมโลดี้” หรือ “ข่มขืนวรรณยุกต์”
ผมเคยสอนเรื่องนี้ไว้ใน private class ให้หลายๆคนไป แต่คิดว่าน่าจะมีคนติดเรื่องนี้เยอะ เลยคิดว่านำมาแบ่งปันกันในที่นี้เลยดีกว่าครับ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เข้าใจยากจนเกินไป จนอธิบายให้จบไม่ได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่
ก่อนอื่นเลย ขออภัยไว้ก่อนสำหรับผู้ที่ไม่แม่นวรรณยุกต์ หรือยังไม่มีพื้นฐานทางดนตรีพอที่จะคิดตามเสียงที่อ้างอิงในบทความได้ อาจจะทำให้อ่านเข้าใจยากสักหน่อย แนะนำคือ ถ้าไม่เข้าใจ ควรมีคนที่แม่นวรรณยุกต์ออกเสียงให้ฟัง หรือให้ อ.อธิบายในคลาสเรียนร้องเพลง หรือมาเรียนในคลาสของ VERY CAT ACADEMY ก็ได้ครับ
อาการข่มขืนเมโลดี้ คือการพยายามจะร้องคำๆนั้นให้เป็นเมโลดี้นั้นให้ได้ แม้มันจะฟังดูขัด
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติเป็นโน้ต ตัว โด-มี
และพยายามจะใส่คำว่า รัก-เธอ เข้าไป
ผลลัพธ์คือ มันจะฟังเป็นเหมือนคำว่า “หลัก – เท้อ”
การที่มันเกิดอาการ “ข่มขืน” มันเป็นเพราะว่า
คำว่า รัก-เธอ มีลักษณะเสียงตัวโน้ตแบบ สูง ไป ต่ำ
แต่ตัวโน้ต โด-มี มีลักษณะตัวโน้ตแบบ ต่ำ ไป สูง
จะเห็นได้ว่า ลักษณะการเคลื่อนที่ของตัวโน้ตมันสวนทางกันจะๆเลย เลยชนกันจังๆเลยครับ นั่นคือสาเหตุ
ถ้าเป็นผู้ฟังยุค gen X หรือ Baby Boomer หลายๆคน จะค่อนข้างซีเรียสเลยทีเดียวว่ามันฟังดูไม่โอเค ต้องพยายามแก้ที่เมโลดี้หรือแก้คำจนกว่ามันจะออกมาฟังดูเป็นธรรมชาติ ฟังดูเป็นคำว่า รักเธอ ปกติให้ได้ แต่ในปัจจุบัน เส้นแบ่งของถูกผิดมันถูกทำลายลงไปเยอะแล้ว ผู้ฟังรุ่นใหม่ๆยอมรับในวรรณยุกต์ที่ไปกับเมโลดี้ที่ผิดเพี้ยนนี้ได้บ้าง ถ้ามันได้อารมณ์ แต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด สรุปคือมันก็อยู่ที่รสนิยมของแต่ละคนอีกทีอยู่ดี ว่าฟังออกมาแปลก หรือแปร่ง สำหรับคนๆนั้นหรือไม่ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ารู้สึกว่ามันแปร่ง มันก็มีวิธีแก้อยู่ครับ
ก่อนหน้าที่จะแก้มัน เราต้องมารู้จักกับลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยซะก่อน ที่จริงแล้วเราสามารถอธิบายได้ว่ามันไม่ลื่นเพราะอะไร ทั้งนี้มีองค์ประกอบหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับการไม่ลื่นหูอีก อาทิ คำเป็นคำตาย ในภาษาไทย แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดและมีผลมากที่สุดนั่นคือ วรรณยุกต์อย่างที่บอกไปนี่แหละครับ
สำหรับผู้ที่แม่นวรรณยุกต์ น่าจะรู้อยู่แล้วเรื่องพวกนี้ แต่เราจะมาวิเคราะห์ให้ดูกันว่า มันจะคิดเป็นทิศทางของตัวโน้ตยังไง แต่สำหรับผู้ที่ไม่แม่น ควรศึกษาเพิ่มเติม เรื่องของ อักษรต่ำ อักษรกลาง อักษรสูง ของไทย ซึ่งจะมีผลต่อเสียง ทำให้เกิดรูปและเสียงที่แตกต่างกันไปอีก ในที่นี้เราจะขอไม่พูดถึงรูปนะครับ แต่จะพูดถึงเฉพาะรูปแบบเสียง 5 แบบ ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา หรือที่เราชอบแทนด้วยพยัญชนะกอไก่ว่า “กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า” นั่นแหละครับ
เมื่ออักษรกลาง ใส่สละเข้าไป และไม่เติมวรรณยุกต์ ไม้อะไรลงไปเลย จะเป็นเสียงสามัญ
เสียงสามัญ จะเป็นเสียงนิ่งๆ กลางๆ ถ้าเป็นโน้ต ก็คือ โน้ตตัวอะไรก็ได้ ตัวนึงที่เล่นปกติ คงที่ครับ
ผมขอยกตัวอย่างห้าพยางค์ ที่เป็นเสียงสามัญทั้งหมดนะครับ เป็นคำว่า “มา-เรา-มา-บน-ทาง”
ทีนี้มาดูการเคลื่อนไหวของตัวโน้ต ถ้า ทั้งหมดเป็นโน้ตตัวเดียวกันหมด จะไม่มีปัญหาอยู่แล้ว อาทิ (ใครมีเครื่องดนตรีลองกดโน้ตเทียบเสียงตามนะครับ)
โด-โด-โด-โด-โด
ผ่าน
ทีนี้ลองขยับโน้ตขึ้นลงดู เป็น
โด-ลา-โด-เร-มี
จะพบว่า เสียงร้องจะร้องประมาณนี้ “มา-เหร่า-มา-บน-ท้าง”
ซึ่งก็ยังฟังดูโอเคอยู่
ทีนี้ถ้าแบบนี้ล่ะ
โด-ลา-โด-ลา-มี(ตัวล่าง)
จะพบว่า เสียงร้องจะร้องประมาณนี้ “มา-เหร่า-มา-บน-ถ่าง”
ที่จริงจะว่าได้มันก็ได้ แต่บางคนอาจจะติดว่า คำว่า ถ่าง มันดันมีความหมาย เลยอาจจะต้องเปลี่ยน อันนี้แล้วแต่รสนิยมและวิจารณญาณคนอย่างที่บอก
แต่ข้อสรุปเลยคือ
เมื่ออักษรกลาง ใส่สละเข้าไป และเติมไม้เอก จะเป็นเสียงเอก
เสียงเอก เฉพาะตัวของมันเอง ที่จริงแล้ว จะเป็นเสียงนิ่งๆ กลางๆ ถ้าเป็นโน้ต ก็คือ โน้ตตัวอะไรก็ได้ ตัวนึงที่เล่นปกติ คงที่ เช่นกัน
แต่ถ้าเปรียบเทียบกับเสียงสามัญ จะพบว่าเสียงมีระดับต่ำกว่า และเป็นระดับต่ำที่สุดในทุกๆเสียง
ฉะนั้นแปลว่า
เสียงโท ถ้าเปรียบเทียบกับเสียงสามัญ และเอก จะพบว่าเสียงมีระดับสูงกว่า
เอาแบบง่ายๆคือก็ว่า
เสียงตรี ถ้าเปรียบเทียบกับเสียงสามัญ เอก และโท จะพบว่าเสียงมีระดับสูงกว่า คือระดับสูงที่สุด
เอาแบบง่ายๆคือก็ว่า
ยกตัวอย่าง คำว่า “ผ่าน-ไป-ล่า-ช้า”
มันเป็นเสียง เอก-สามัญ-โท-ช้า
ถ้าเมโลดี้เราเป็น โด-เร-มี-ฟา จะฟังดูค่อนข้างลื่น เพราะทิศทางขึ้นไปด้านบน สอดคล้องกัน
แต่ถ้าเมโลดี้เราเป็น ฟา-มี-เร-โด จะฟังข่มขืนทันที เพราะจะกลายเป็น “พ่าน-ไป-ลา-ฉ่า” เพราะเมโลดี้สวนทางกับทิศทางของระดับเสียงวรรณยุกต์
แต่
กรณีเดียวกับเสียงโท คือมันมีการเอื้อน เสียงตรี เป็นเสียงที่ไม่นิ่ง เหมือนเริ่มที่เสียงสูงก่อนแล้วมีการ portamento หรือเอื้อนขึ้นในตอนท้าย (ฟังดูคล้ายจะเอื้อนขึ้นไปประมาณสองสามโน้ต)
ทีนี้ล่ะถ้าเราจะเอาให้เป๊ะฟังดูเป็นภาษาไทยที่นุ่มนวลขึ้น เราก็ทำแบบเดียวกับเสียงโท คือมีการเอื้อน แต่เป็นเอื้อนขึ้นเพิ่มอีกโน้ต
.
เมื่ออักษรกลาง ใส่สละเข้าไป และเติมไม้จัตวา จะกลายเป็นเสียงจัตวา
เสียงจัตวาจะพิเศษกว่าเสียงอื่นๆ ที่ผ่านมาทั้งหมด คือ
เนื่องจากภาษาเป็นสิ่งที่ดิ้นได้ และมีความนิยมใช้เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรม สภาพสังคม แต่ละยุคสมัย บางสิ่งที่เคยไม่เป็นที่ยอมรับในยุคหนึ่ง พอเวลาผ่านไปอาจเป็นที่ยอมรับได้ ภาษาก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีเพลงไทยจำนวนมากที่อาจไม่ได้ใช้การแต่งที่เป็นไปตามกฏเกณฑ์หรือแนวโน้มของการหลีกเลี่ยงการข่มขืนวรรณยุกต์อย่างที่ได้กล่าวไป แต่ก็ยังใช้กันแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ ฉะนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นเพียงแนวทาง หรือ Guideline ไม่ใช่กฏข้อบังคับแต่เพียงอย่างใด
ขอให้ทุกคนได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับทั้งหมดนี้เป็นเพียง Guideline
หากใครกำลังติดปัญหาการแต่งเนื้อเพลงภาษาไทยแล้วเจอปัญหาอย่างที่ว่าไป อยากเรียนรู้อย่างละเอียดขึ้น เราขอแนะนำคอร์สนี้ครับ
VCA009 : Thai Lyric Technique
ปรับแต่งเนื้อเพลงภาษาไทย ให้เมโลดี้ไม่ข่มขืนวรรณยุกต์
https://mkt.verycatsound.academy/tlt1
คอร์สสำหรับ คนที่เจอปัญหานี้ คือแต่งเพลงภาษาไทยแล้วรู้สึกว่ายาก คำไม่ลงตัวกับเมโลดี้ ออกมาฝืนๆ ไม่เพราะ หรือที่เรียกว่า “ข่มขืนเมโลดี้”
หากสนใจ คลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดด้านใน link ได้เลยครับ
—————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
https://mkt.verycatsound.academy/tlt1
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425