ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด

Share via:

Krissaka Tankritwong

วงการดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น ก่อนกำเนิด Shibuya-Kei

ช่วงเวลา : ’60-’80

    Shibuya-kei คือแนวดนตรีของคนญี่ปุ่นที่ได้รับพื้นฐานวัฒนธรรมทางดนตรีมาจากตะวันตก โดยหากจะนับการรับวัฒนธรรมดนตรี Rock จากชาวตะวันตกเข้ามาเป็นครั้งแรกของคนญี่ปุ่นนั้น เกิดขึ้นในช่วงยุค ’60 หลังจากคอนเสิร์ตของ The Beatles ที่ Budokan ได้จุดกระแสการนิยมดนตรี pop rock ฝั่งตะวันตกขึ้นในหมู่วัยรุ่นเด็กแนวญี่ปุ่นยุคนั้น และวัยรุ่นวัยโจ๋ก็เริ่มตั้งวงเล่นดนตรี cover ตามแบบต่างชาติ
    
    ช่วงต่อมาในยุค ’70 จากกระแสที่ก่อตัวนั้นก็กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น จนเริ่มเกิดวงดนตรีที่ทำเพลงของตัวเองขึ้นมา ซึ่งศิลปินแรกๆที่โดดเด่นและเป็นเสมือนเทพเจ้าของดนตรีใต้ดินอินดี้ในยุคนั้นคือ “Hosono Haruomi” แห่งวง “Yellow Magic Orchestra (YMO)” วงดนตรีอิเลคโทรนิคที่เป็นผู้บุกเบิกหลายสิ่งหลายอย่างในญี่ปุ่น จนบางคนขนานนามว่าเป็น Kraftwerk แห่งญี่ปุ่น สมาชิกในวงคนอื่นๆก็เป็นบุคคลที่สำคัญในวงการเช่นกัน อาทิเช่น Ryuichi Sakamoto ( composer ชื่อดัง เจ้าของเพลง ost. Merry Christmas Mr. Lawrence )

    เข้าสู่ยุค ’80 วงการเพลงใต้ดินญี่ปุ่นเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนที่ชัดเจนมากขึ้น โดยศูนย์รวมของวงการอินดี้ในยุคนั้นคือ night club ชื่อ London Night Party โดยเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าศิลปินที่สำคัญในวงการหลายคนที่จะดังเปรี้ยงปร้างในยุคต่อมา อาทิเช่น โปรดิวเซอร์ Fujiwara Hiroshi, Pizzicato Five, Salon Music เรียกได้ว่าวัยรุ่นเด็กแนวญี่ปุ่นในยุคนั้น ไม่มีใครไม่รู้จักที่นี่

ลุง Hosono Haruomi ผู้นี้นี่เอง Godfather แห่งวงการอินดี้ญี่ปุ่น

ลุง Hosono Haruomi ผู้นี้นี่เอง Godfather แห่งวงการอินดี้ญี่ปุ่น

 

YMO ในปัจจุบัน จากซ้าย

YMO ในปัจจุบัน จากซ้ายไปขวา Ryuichi Sakamoto , Yukihiro Takahashi และ Hosono Haruomi

    และแล้ว ก็มีศิลปินต้นแบบ ศิลปินแรกที่มีกลิ่นความเป็น Shibuya-Kei ได้ถือกำเนิดขึ้นมา (จะเรียกว่าเป็น Proto-Shibuya-Kei  ก็ได้) นั่นคือวง “Salon Music” ได้เปิดตัวซิงเกิล “”Hunting on Paris” ในปี 1982 กับค่ายเพลงของอังกฤษ โดยวงนี้ถือเป็นวงแรกของญี่ปุ่นที่มีสไตล์ที่ถูกเรียกในตอนนั้นว่า “Oshare” (อ่านว่า โอ-ชา-เระ แปลว่า fashionable เรียกเป็นศัพท์สมัยนี้ก็ประมาณว่า เท่ห์ๆเก๋ๆแนวๆ น่ะแหละ) และมีกลิ่นของดนตรี electro pop ที่ออกไปทาง new wave ที่อิง reference ทางฝั่ง UK มากกว่า USA ซึ่งแต่แล้ว พวกเขากลับไม่ประสบความสำเร็จในวงกว้างมากนัก แต่ถือว่าเป็นที่รู้จักในแวดวงนักฟังเพลงอินดี้ในช่วงนั้น

    สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ จะสังเกตได้ว่า แม้ซาวด์ดนตรีจะยังไม่มุ้งมิ้งเป็น Shibuya-kei มากนัก แต่วงนี้มีรูปลักษณ์ของวงที่เป็นต้นแบบ ตามแบบฉบับของ Shibuya-kei เป๊ะ คือ ประกอบด้วย ชาย 1 (คนทำดนตรี) หญิง 1 (นักร้องสาวสวย)

    อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา เมื่อ Salon Music ได้ก้าวขึ้นมาเป็น producer พวกเขาได้ค้นพบวงดนตรีของคนหนุ่ม ห้าชิ้น ที่ทำดนตรีแนว neo-acoustic ได้อย่างน่าสนใจ นั่นคือ Lollipop Sonic จะสังเกตได้ถึง “แวว” ของซาวด์ ที่มีความเป็นชิบุย่าเคย์เข้ามาแล้ว ตั้งแต่สมัยนั้น

    Yoshida Zin แห่ง Salon Music นั้น ได้ช่วยวงนี้ให้ได้อัดแผ่นทำอัลบั้มสำเร็จ โดยมีข้อเสนอว่าต้องเปลี่ยนชื่อวง ซึ่งนั่นก็คือที่มาของ วงดนตรีต้นกำเนิดแนว Shibuya-Kei ในตำนานอย่าง “Flipper’s Guitar” (หนึ่งในสมาชิกคือ Keigo Oyamada หรือ Cornelius โปรดิวเซอร์อัจฉริยะที่ทำเพลงให้กับ Salyu x Salyu) นั่นเอง

Salon Music วงดนตรี ก่อนกำเนิด Shibuya-kei

Salon Music วงดนตรี ก่อนกำเนิด Shibuya-kei ชาย 1 หญิง 1 ชัดเจนเลย..


Salon Music – Hunting on Paris

Lollipop Sonic ซึ่งก็คือ Flipper's Guitar ก่อนจะเปลี่ยนชื่อวง เก่าขาวดำเลย...

Lollipop Sonic ซึ่งก็คือ Flipper’s Guitar ก่อนจะเปลี่ยนชื่อวง โบราณมาก หาเจอกันไหมว่าคนไหนคือ Cornelius

 


Lollipop Sonic – I would want to go! (เก่าได้ใจ..)

    ติดตามเรื่องราวประวัติศาสตร์ของดนตรีอินดี้ญี่ปุ่นและ Shibuya-kei อย่างเจาะลึกได้ตอนต่อๆไปเลยครับ

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

   หรือร่วมพูดคุยกันได้ที่กลุ่ม Facebook เฉพาะสำหรับคนรักดนตรีชิบุยะ และอินดี้ญี่ปุ่น ได้ที่ FB group : “Shibuya-kei Thailand

ติดตามสารพันเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM

Comments (209)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.