ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก

Share via:

Krissaka Tankritwong

ปี 1989 – 1994 : ยุคตั้งไข่

Flipper’s Guitar สองหนุ่มผู้บุกเบิก

    จากการชักนำของ Salon Music ในที่สุดก็เกิดวงดนตรีที่มีความเป็น Shibuya-kei อย่างเต็มตัววงแรกในโลก คือ “Flipper’s Guitar”

    ในแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่มีคำว่า Shibuya-kei เข้ามาเกี่ยวข้อง วง Flipper’s Guitar แต่เดิมเป็นวงดนตรี 5 คน (ซึ่งต่อมาถูกตัดเหลือเพียง 2 คน คือ Kenji Ozawa และ Keigo Oyamada พวกเขาสองคนนี่แหละที่จะเป็นแกนกลางของวงการในเวลาต่อมา) พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในอัลบั้มที่ 2 “Camera Talk!” ด้วยการนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ที่มีความเป็น pop idols และดนตรีที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม แต่กลับมีความเป็นป๊อปที่สดใส ฟังง่าย (อันเป็นการสร้างเอกลักษณ์อย่างหนึ่งให้กับดนตรี Shibuya-kei) ถือเป็นยุคทองที่รุ่งโรจน์ที่สุดของพวกเขา ซึ่งเป็นช่วงเวลาแสนสั้นก่อนที่พวกเขาจะประกาศยุบวง เพราะปัญหาความสัมพันธ์ภายในวง หลังอัลบั้มที่ 3 ออกไม่นาน ในปี 1991

    หลังจากตำนานของ Flipper’s Guitar ได้ถึงกาลอวสาน แต่ซาวด์แบบ Shibuya-Kei นั้นถือว่าเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้น โดยช่วงนี้เองได้มีวงดนตรีหน้าใหม่ในแนวนี้ผุดขึ้นมาเพิ่มขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเจริญรอยตามแบบทางที่ FG ได้ถางไว้

สองหนุ่ม Flipper's Guitar ผู้ถูกสื่อเรียกว่าวง Shibuya-kei วงแรกของโลก

สองหนุ่ม Flipper’s Guitar ผู้ถูกสื่อเรียกว่าวง Shibuya-kei วงแรกของโลก

 


ทำไมต้องใช้คำว่า Shibuya?

    ตั้งแต่ช่วงคาบเกี่ยวก่อนการยุบวงของ FG จะพบศิลปินจำนวนหนึ่งที่ได้รับความนิยม และมียอดขายติดอันดับในร้าน HMV Shibuya โดยจะสังเกตเห็นได้ถึงจุดร่วมบางอย่างทางดนตรีในวงเหล่านี้ คือมีเทรนด์การใช้ซาวด์ดนตรีจากตะวันตกมา mix & match ผสมใช้ในหลายๆรูปแบบ ในช่วงนี้เองที่สื่อได้เริ่มใช้คำจำกัดความศิลปินเหล่านี้ว่าเป็นแนว “Shibuya-Kei” หรือดนตรีจากย่านชิบุย่า นั่นเอง

    ในความเป็นจริงแล้ว ตัวศิลปินเองไม่เคยจำกัดความตัวเองว่าเป็นอะไรหรอก แต่สื่อมาใช้เรียกเอาเอง เพื่อใช้จำกัดความดนตรีรูปแบบนี้ ที่มีซาวด์ที่มีรสนิยมมากกว่าดนตรี pop ปกติทั่วไปในตลาดตอนนั้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า คำว่า Shibuya-kei นั้น แท้จริงแล้วก็แทบไม่ได้เกี่ยวอะไรกับย่านชิบุย่าเลย… แค่ Shibuya-kei นั้นเป็นพวก วัยรุ่นเด็กแนวไฮโซค่อนข้างมีฐานะ ที่ไม่ชอบเพลง mainstream ค่ายใหญ่ แต่มีรสนิยมที่ชอบเพลงที่มีความเก๋ มีความซับซ้อนมากกว่า แล้วก็ไปหาซื้อแผ่นที่มีขายในย่านชิบุย่า แค่นั้นเอง…

    เห็นผลอื่นที่ใช้ชื่อย่านชิบุย่ามาจำกัดความแนวดนตรีนี้ นอกจากสถานที่ขายแผ่น, เหล่าคนฟัง และค่ายเพลงจะตั้งอยู่ที่นั่นแล้ว น่าจะมาจากภาพลักษณ์ความทันสมัย,ความวุ่นวายแบบเป็นระเบียบ, และความ cross culture ของย่านชิบุย่า ที่สะท้อนภาพที่ค่อนข้างตรงกับ characteristic ของดนตรีชิบุยะเคย์ได้อย่างชัดเจนนั่นเอง

ย่านชิบุยะ กับ "ความเยอะ" ที่เหมาะเจาะกับดนตรีแนวนี้พอดี

สีสัน,ผู้คนมากมายในย่านชิบุยะไม่เคยหยุดนิ่ง จุดกำเนิดของหลายๆสิ่งสุดจี๊ดบนโลกใบนี้ ดนตรี Shibuya-kei ก็เช่นกัน

 


การรวมพลังของเหล่าผู้บุกเบิก

    นอกจาก Flipper’s Guitar ซึ่งเป็น เป็นผู้นำซาวด์ UK, indie/ alternative scenes เข้ามา แล้ว อีกสองศิลปินที่สำคัญในช่วงนี้ คือ

  • Scha Dara Parr (SDP) (ถือว่าเป็นวง Rap ,Hip-Hop วงแรกๆในญี่ปุ่น)
    Scha Dara Parr วงฮิพฮอพสุดกวน

    Scha Dara Parr วงฮิพฮอพสุดกวน


    ตัวอย่างเพลง After do be noon

และ

  • Pizzicato Five ( มาทางดนตรี club, jazz, lounge และเพลง pop ที่มี reference มาจากยุค ’60 )
P5 วงดนตรีกลิ่นอาย retro '60 ชื่อดัง

P5 วงดนตรีกลิ่นอาย retro ’60 ชื่อดัง

 


 ตัวอย่างเพลง Twiggy Twiggy กับท่าเต้นที่น่าจดจำ…

    หลังจากแยกกันไปทำงานเดี่ยวของสองหนุ่ม Flipper’s Guitar แต่กลุ่ม Shibuya-kei ของพวกเขานั้นเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีการ Featuring ข้ามกันไปข้ามกันมา นัวกันไปหมด ยกตัวอย่าง เช่น  

  • Keigo Oyamada นั้นไปช่วย Produce ให้กับ Pizzicato Five ใน “Bossanova 2001” (อัลบั้มที่เหมือนเป็นการพา สไตล์ชิบุย่า ไปสู่ศตวรรษใหม่ โดยการนำไปผสมกับดนตรีเต้นรำ) ( ตัวอย่างเพลงในอัลบั้มนี้ Cleopatra 2001 : http://youtu.be/q-jN20xtv6M )

ในขณะที่

  • Kenji Ozawa ร่วมงานกับ SDP ในอัลบั้ม Mega Hit Konya ha Bugil Bakku ในปี 1994

     ติดตามเรื่องราวเจาะลึกประวัติศาสตร์ Shibuya-kei ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่นจากย่านชิบุยะ ตอนอื่นๆ ได้ที่นี่ในโพสต์ต่อไปนี้นะครับ


ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

   หรือร่วมพูดคุยกันได้ที่กลุ่ม Facebook เฉพาะสำหรับคนรักดนตรีชิบุยะ และอินดี้ญี่ปุ่น ได้ที่ FB group : “Shibuya-kei Thailand

ติดตามสารพันเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM

Comments (6)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.