EQ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการทำเพลง?

Share via:

Krissaka Tankritwong

บางคนอาจจะยังสงสัย ยังไม่รู้ว่า EQ มีไว้ทำอะไร แค่ทำให้เพลงเสียงดีขึ้นเฉยๆรึเปล่า? มีวิธีการใช้งานแบบไหน มีประโยชน์ยังไง บทความนี้เราจะมาอธิบายเพื่อให้ท่าน ได้รู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น…

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรืออีกคำนึงก็คือ EQ
มีหน้าที่ในการควบคุมและชดเชยย่านความถี่ของเสียง (frequency) ให้อยู่ในระดับสัญญาณที่เหมาะสม เพื่อให้ตรงตามความเหมาะสมในการใช้งานในด้านดนตรีต่างๆ ทั้งการผลิตเพลง ไปจนถึงการแสดงสด

Equalizer ต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องย่านความถี่ของเสียง และประสบการณ์ เนื่องจากในแต่ละเพลงจะมีการใช้เสียงที่ให้ความถี่แตกต่างกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของอีควอไลเซอร์จะเป็นยังไง มาอ่านกันต่อได้เลยครับ

องค์ประกอบที่สำคัญ

Frequencies (ความถี่)

เสียงทุกเสียงที่เราได้ยินรอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นเสียงรถ เสียงนกร้อง เสียงฝนตก หรือเสียงใดๆก็ตามนั้น ล้วนเกิดมาจากการสั่นสะเทือนทั้งสิ้น ยิ่งสั่นสะเทือนเร็วมากเท่าไหร่ เสียงก็จะแหลมและสูงมากขึ้น ยกตัวอย่างได้ง่ายๆ เช่น เวลาที่เราร้องเพลง ให้ลองใช้มือแตะที่คอของเรา แล้วลองทำเสียงสูงสลับกับเสียงต่ำ จะเห็นได้ว่าเวลาที่เราร้องเสียงสูงๆ คอของเราจะสั่นรัวกว่าเวลาที่เราร้องเสียงต่ำๆนั่นเอง ทีนี้ หน่วยที่เราใช้ในการวัดความถี่ของการสั่นสะเทือนที่เป็นมาตรฐานสากลนั้นคือหน่วย เฮิร์ตซ์ (hertz ย่อสั้นๆว่า Hz) โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง 1 ครั้งต่อวินาทีนั่นเอง

Gain

ค่าในการปรับระดับความดัง-เบาของเสียง ผ่านการทำ Boost (เพิ่ม) และ Cut (ลด) ปริมาณเสียงในย่านความถี่ที่ต้องการ

Q

ค่าที่ใช้สำหรับกำหนดความกว้างและความแคบของช่วงความถี่เสียง เป็นการปรับเพื่อสร้างสมดุลของความถี่เสียง เช่น กำหนดค่า Q ให้แคบเพื่อตัดเสียงในย่านเสียงที่ไม่ต้องการออก เป็นต้น

ประเภทของ Equalizer

Parametric Equalizer

เป็น EQ แบบที่ละเอียดที่สุด และค่อนข้างซับซ้อนต่อการใช้งาน เราสามารถเลือกย่านความถี่ได้แบบอิสระ โดย EQ ประเภทนี้ถือเป็นประเภทหลักที่ใช้สำหรับการมิกซ์เพลงเนื่องจากความละเอียดในการปรับของมัน พบได้ในโปรแกรมทำเพลงต่างๆ ผู้ใช้งานสามารถปรับย่านความถี่เสียงได้อย่างอิสระในแต่ละ channel โดย Parametric Equalizer มีทั้งรูปแบบอนาล็อกและซอฟต์แวร์ ซึ่ง EQ ประเภทนี้เหมาะกับงานเสียงที่ต้องการความละเอียดอ่อน ทั้งในการแต่งเสียงร้อง ปรับเสียงดนตรี เป็นต้น

Graphic Equalizer

โดยปกติแล้ว EQ ชนิดนี้มักจะเชื่อมต่อเข้ากับ Mixer Output เพื่อปรับซาวด์โดยรวม จะแตกต่างจาก Parametric Equalizer ตรงที่ไม่สามารถปรับความถี่เสียงได้อิสระ ปรับได้เพียงค่า Gain และ Q ตามย่านความถี่เสียงที่กำหนดเท่านั้น

EQ จำเป็นกับการทำเพลงไหม?

แน่นอนว่าจำเป็นครับ เพราะมันคือตัวช่วยให้เพลงของเราดีขึ้น และสามารถควบคุมไม่ทำให้เกิดอาการหอน (Feedback) ของลำโพง หรือเสียงที่เวลาเราเปิดไมค์แล้วจะมีเสียงสะท้อนแสบหูกลับมานั่นแหละครับ แต่ถึงยังไง ก่อนจะใช้ EQ มาปรับเสียง เครื่องดนตรีที่เราทำนั่นต้องมีเสียงดีก่อนอยู่แล้ว การใช้ EQ จะเป็นตัวช่วยเสริมให้มันดีขึ้นหรือได้เสียงที่ต้องการ แต่การปรับ EQ มากเกินไปก็อาจทำให้เครื่องดนตรีหรือเพลงของเราพังได้ ดังนั้นควรจะสึกษาเรียนรู้เรื่องการ Mixing คล่าวๆก่อน

The Real Producer

ถ้าใครสนใจเรียนรู้ทั้งเรื่องการทำเพลงเป็นโปรดิวเซอร์แบบขั้นลึก รวมถึงเรื่อง Sound Engineer ที่ได้กล่าวไป ลองติดต่อถามแอดมินมา ในหลักสูตร The Real Producer “0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์” ได้ครับ

————————

VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
.
ถ้าคุณรู้ตัวแล้วว่าดนตรีไม่มีทางลัด ถ้าคุณอยากเข้าใจ และเชี่ยวชาญ
ถ้ามีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน ผมไม่อยากให้คุณหลงทาง
มาคุยปรึกษากันได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.