สอนทำเพลง จินตนาการ vs ความรู้

“จินตนาการ vs ความรู้ อะไรคือสิ่งสำคัญในการทำเพลง”

Share via:

Krissaka Tankritwong

เคยได้ยินประโยคที่ไอสไตน์พูดใช่ไหมครับว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผิดครับ ในหลายๆเรื่อง แต่ในเรื่องของการทำเพลงล่ะสิ่งไหนกันแน่ที่สำคัญ

แน่นอนว่า จินตนาการสำคัญ เพราะถ้าไม่มีจินตนาการ คงไม่เกิดเพลงใหม่ๆขึ้นมาในโลก มันทำให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ เมโลดี้ใหม่ๆ รสชาติใหม่ๆทางดนตรีที่แปลกแตกต่างออกไป

ถ้าอย่างนั้นมีจินตนาการอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วรึเปล่า? แล้วความรู้ล่ะ? จำเป็นต้องมีมั้ย?

หลายๆคนเป็นโรคกลัวการศึกษา “ทฤษฎีดนตรี” ด้วยหลายเหตุผล บางคนก็รู้สึกว่ามันยาก ซับซ้อน และไม่จำเป็น บางคนก็บอกว่าถ้ารู้จะทำให้เสียฟีลดนตรี หรือจินตนตาการไป

ผมอยากบอกเอาไว้ก่อน ในฐานะคนที่มีประสบการณ์ด้านนี้ คือเห็นมาแล้วทั้งคนทำเพลงที่ทั้งรู้และไม่รู้ทฤษฎีดนตรี ว่ามันไม่จริงครับ

ไม่รู้ทฤษฎีไม่ได้แปลว่าไม่มีกรอบ

ผมอยากให้ผู้อ่านลองคิดตามนะครับ

ตอนที่เราเล่นดนตรี เอาง่ายๆว่าคือตีคอร์ดกีตาร์ร้องเพลง แม้เราจะบอกว่าไม่เคยเรียนทฤษฎีดนตรีอะไรเลย และไม่อยากรู้ด้วย เพราะไม่อยากติดกรอบ

แต่สิ่งที่เราเล่นก็คือ คอร์ด มันเกิดจากโน้ต 3 ตัวประสานกัน ซึ่งเป็นโน้ตที่เค้าคิดมาให้แล้วว่ามันเข้ากัน

เมโลดี้ที่เราร้อง ก็อยู่ในสเกลเดียวกับคอร์ด ซึ่งเค้าก็คิดมาให้เราแล้วอีกน่ะแหละ ว่ามันเป็นสิ่งที่เข้ากันได้ง่าย

ทั้งหมดนี้ อยู่บน major scale ซึ่งเราเล่นวนอยู่ในสูตรคอร์ด 6-7 คอร์ด ที่เป็นสูตรในการสร้างเพลงเบสิคๆ อย่างง่ายๆ

เราอาจแต่งเพลงโดยด้นๆ เมโลดี้ออกมา ด้นคอร์ดออกมา โดยที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ใช้แต่ความรู้สึกว่ามันเพราะ ลงตัว มันเข้ากัน แล้วบอกว่าใช้จินตนาการทำแบบไม่มีกรอบ

ซึ่งที่จริงแล้ว การที่รู้สึกว่ามันเพราะ มันลงตัว ก็เพราะว่าใช้ประสบการณ์การฟังที่เราคุ้นชิน บอกว่ามันเพราะ

และไอ้ประสบการณ์ตัวนี้แหละที่คือกรอบอีกที ซึ่งถ้าเป็นคนปกติที่ไม่ใช่นักฟังเพลงสายลึก ที่ชอบดนตรีลึกๆ ยากๆ แปลกๆ เป็นประจำ

แต่ถ้าคุณเป็นคนปกติที่ฟังแต่เพลง pop ซะส่วนใหญ่ มันเป็นไปได้มากๆว่า กรอบที่เกิดขึ้นคือ สำเนียงเพลง pop แบบง่ายๆ ที่อยู่บน “สูตรสำเร็จ” ที่ว่าไปในย่อหน้าบนครับ

ซึ่งถ้าเทียบกับความเป็นไปได้ทั้งหมดของสำเนียงดนตรี การใช้คอร์ด รูปแบบตัวโน้ต ท่าทั้งหมด ในจักรวาลดนตรีอันกว้างใหญ่ กรอบเล็กๆนี้คือประมาณ 1% เท่านั้นเองครับ

และมันก็ไม่แปลกที่นักฟังเพลงหลายๆคน จะบ่นอยู่บ่อยๆว่า ไม่ชอบฟังเพลงไทย เพราะสำเนียงเดิมๆ ซ้ำซาก จำเจ

แต่ผมก็เคยเห็นคนที่ ทำเพลงโดยที่ไม่รู้อะไรเลย แต่ก็หลุดกรอบได้จริง ก็มีอยู่เหมือนกัน เพียงแต่เค้าเป็นคนที่ฟังเพลงไม่ค่อยปกติเท่าไร กรอบความคุ้นเคยทางดนตรีของเค้าจึงกว้างกว่า

แล้วที่บอกไม่รู้ดนตรี คือเค้าไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ไม่รู้กระทั่งวิธีเล่นกีตาร์ เค้าเลยเล่นด้นมั่วออกมาแบบไม่ติดกรอบได้มากกว่า งานเลยดูน่าสนใจและไม่ติดกรอบของจริง

แต่แน่นอนว่าเค้าเป็นคนมีพรสวรรค์ที่หาได้ยากด้วย ที่สามารถทำชิ้นงานที่น่าสนใจออกมาได้ โดยที่ใช้สัญชาติญาณล้วนๆของจริง ยากที่จะเลียนแบบ

และผมก็เคยเห็นคนที่รู้ทฤษฎีดนตรีไปถึงขั้นสุดแล้ว พอไปถึงสุดทางมันจะเกิดการแตกฉาน หรือที่เรียกว่า ไร้กระบวนท่า ขยายกรอบออกไปกว้างจน = ไม่มีกรอบ

และสร้างงานที่ลึกล้ำ เหนือชั้น ได้อย่างแท้จริง เช่นกัน เพียงแต่เป็นคนละวิธีกับคนที่แล้ว แต่โชคดีที่ มันไม่ใช่พรสวรรค์ และมันสามารถฝึกฝนและเรียนรู้กันได้

ที่จริงแล้ว แค่เรารู้ว่าโน้ตตัวไหนคือโน้ตอะไร แล้วเราเล่นคอร์ดออกมา แล้วรู้ว่า ต้องกดตัวไหนบ้างถึงเป็นคอร์ดนี้ เท่ากับเรารู้ทฤษฎีดนตรี แล้วครับ แต่รู้แบบน้อยมากๆ

ซึ่งสิ่งที่ผมจะบอกก็คือ “การรู้น้อยทำให้ติดกรอบ” มากกว่าการไม่รู้โดยสิ้นเชิงซะอีก

รู้มากก็ไม่ได้แปลว่าทำเพลงได้ดี

เดี๋ยวจะหาว่าผมอวยแต่ฝั่งความรู้เพียงอย่างเดียว มีหลายคนอีกเช่นกันที่มีความรู้มาก แต่ไม่สามารถประยุกต์ความรู้นั้นเอามาทำเพลงได้อย่างไพเราะ

ที่จริงสิ่งที่เรียนรู้ มันคือศาสตร์ทางด้านดนตรี แต่การที่จะทำให้มันกลายเป็นศิลป์ มันเป็นหน้าที่ของผู้เรียนที่จะนำไปใช้ประกอบกันเป็นผลงานที่สวยงามและลงตัวเอง

ในทางศิลปะจะมีการศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะงาม โดยมีเรื่องเกี่ยวกับ สัดส่วนทองคำ หรือ Golden Ratio เข้ามาเกี่ยวข้อง

กล่าวโดยสรุปคือ การที่สิ่งใดจะงดงามได้นั้น ต้องเกิดการจัดวางที่มีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่วางโดยมั่วๆ ไม่มากไปหรือน้อยไป สัดส่วนทุกอย่างต้องพอดีในแบบที่มันควรจะเป็น

สิ่งที่ผมเคยเจอบ่อยๆก็คือ หลายๆคนที่เรียนรู้ทฤษฎีดนตรี แล้วคันไม้คันมือ ใช้ทุกสิ่งที่เรียนมาอัดแน่นอยู่ในเพลง โดยที่เกิดอาการล้น หรือมากเกินไป ไม่เกิดความลงตัว

ตรงกันข้าม เพลงที่ง่ายๆ ไม่ได้ใช้อะไรซับซ้อนมาก กลับงดงามมากกว่า ก็เป็นเรื่องที่เห็นได้มากมาย

หรือบางคนที่เรียนไปจนจบทฤษฎีดนตรีทั้งหมดแล้ว แต่ก็ยังพบว่าตัวเองไม่รู้ว่าจะเริ่มแต่งเพลงยังไง ผมก็พบเห็นมาปรึกษาอยู่บ่อยๆ

เพราะการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรี แต่ไม่ได้นำไปใช้ทดลองทำเพลงของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เกิดชั่วโมงบินของการลองผิดลองถูก

และไม่ได้ขัดเกลาสมองอีกด้าน ใช้แต่สมองฝั่งซ้ายซึ่งเป็นด้านเหตุผลเพียงอย่างเดียว ความงามมักเกิดจากความคิดที่ไม่มีเหตุผลอยู่บ่อยครั้ง

สรุป

จะเห็นได้ว่า “ความรู้อย่างเดียวก็ไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่ต้องมีจินตนาการควบคู่ด้วย” ถ้าคุณอยากจะขยายกรอบ

The Real Producer

ถ้าคุณเคยแต่งเพลงแล้ว แต่รู้สึกว่าติดกรอบ เพราะความรู้ที่มียังไม่มากพอ เราช่วยคุณได้ หลักสูตร The Real Producer “0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์” ความรู้แบบ premium

ที่จะทำให้คุณกลายเป็นโปรดิวเซอร์ที่เก่งกาจ ติดต่อที่แอดมินได้

—————————————————

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.