คุณเคยเจอมั้ย เล่นดนตรี ร้องเพลง หรือทำเพลง แล้วมีคนบอกว่า “มันผิดคีย์”
หรืออีกกรณีนึง มีคนมาบอกคุณว่า เพลงคีย์นี้รู้สึกหม่นไปหน่อย ลองเปลี่ยนเป็นอีกคีย์ดูมั้ย ให้อารมณ์มันเปลี่ยน
ตกลง “คีย์” แปลว่าอะไรกันแน่?
(คำเตือน* บทความนี้มีศัพท์เฉพาะทางดนตรีอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งจากเนื้อหานี้ เป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ศัพท์เทคนิคพวกนี้ ถ้าใครที่อ่านไม่เข้าใจ แนะนำให้ศึกษาทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติม เพราะถ้าให้อธิบายทั้งหมดในบทความนี้ มันจะยาวเกินไป)
แน่นอนครับ จะมีคนสองประเภท คือคนที่รู้ กับคนที่ไม่รู้
คนที่รู้คือคนที่ร่ำเรียนดนตรีมาถึงจุดนึง มีความเข้าใจในทฤษฎีดนตรี อาจจะพื้นฐานไปจนถึงขั้นแตกฉาน แต่เข้าใจแน่ๆว่า คีย์ แปลว่าอะไร
ส่วนคนที่ไม่รู้ จะมีความเข้าใจที่น้อยกว่านั้น แต่บางทีเข้าใจผิดไปเอง อาจจะเคยได้ยินหรือจำต่อๆกันมาแบบผิดๆ
ทีนี้บางทีความไม่รู้ก็มักจะทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารตามมาอยู่บ่อยๆ #คนไม่รู้มักจะไม่รู้ตัวเองว่าไม่รู้
โดยความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ จากประสบการณ์ของผม จะมีอยู่สองข้อ
มันผิดถูกครึ่งนึง ผิดครึ่งนึงครับ คีย์คือระดับความสูงต่ำของเสียง นั่นถูก แต่มันไม่เท่ากับ โน้ตตัวใดตัวหนึ่ง ที่ถูกต้องคือ มันเท่ากับ เซตของโน้ต 7 โน้ต ในสเกลนั้นทั้งหมดต่างหาก
ตัวอย่าง
นาย ก. กำลังร้องเพลงที่ตัวเองแต่ง เพื่อบันทึกเสียงในห้องอัด โดยที่ นาย ข. รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้ นาย ก. จำโน้ต จำเมโลดี้ได้ไม่ค่อยแม่น เลยร้องผิดๆถูกๆ ซึ่งเดิมที เพลงเป็นเพลงคีย์ C โน้ตที่นาย ก. ร้องผิด จากเดิมต้องเป็นโน้ต E แต่นาย ก. ร้องโน้ต D
นาย ข. จึงบอกว่า “ท่อนนี้ร้องผิดคีย์นะครับ” (นาย ข. เข้าใจคำว่าคีย์ผิด แต่ refer ถึงการผิดโน้ต หรือผิด Pitch)
นาย ก. กำลัง งง ว่ามันผิดคีย์เหรอ นาย ก. จึงถามกลับไปว่า นี่เพลงคีย์ C ใช่ไหมสรุป
นาย ข. ตอบว่า “ใช่”
นาย ก. ก็ยัง งงๆ ต่อ เพราะที่นาย ก. เข้าใจเรื่องคีย์ มันคืออีกอย่าง
สรุปสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ กว่าจะรู้เรื่อง เสียเวลาในห้องอัดเปล่าๆไปหลายสิบนาที
ผมไม่รู้จะบรรยายยังไง เอาเป็นว่าดูในตัวอย่างเอาเลย
ตัวอย่าง
คุณกำลังร้องเพลงกับเพื่อนในโบสถ์ แล้วคุณแน่ใจว่า คุณร้องโน้ตถูกต้องแล้ว แต่เพื่อนข้างๆคุณ กลับบอกว่า “คีย์ต้องสูงขึ้นอีก มันต่ำเกินไป”
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณร้อง โน้ต C แต่เพื่อนคุณร้องโน้ต C เหมือนกัน แต่เป็น Octave บน หรือโน้ตที่อยู่สูงขึ้นไปเป็นขั้นคู่ 8 ซึ่งที่จริงเป็นโน้ตเดียวกัน คีย์เดียวกัน ซึ่งแน่นอน ถ้าคุณไม่มีความเข้าใจดนตรีดีพอ แล้วคุณเชื่อเพื่อนคุณ คุณอาจจะพยายามดันเสียงขึ้นไปอีก จนกลายเป็นโน้ต D หรือ Eb ทำให้กลายเป็นผิดโน้ต ทำให้เกิดคู่เสียงแบบ Dissonance ที่ไม่เข้ากัน และเสียงประสานพัง
ปัญหาที่นักดนตรีหลายคนคงเคยเจอ เวลาที่เพื่อนในวงบอกว่า “เพลงนี้ ขึ้นต้นคอร์ด C เป็นเพลงคีย์ C” ซึ่งในความเป็นจริงนั้นมันไม่ใช่ทุกเพลงที่เป็นแบบนั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเมเจอร์สเกลก่อนว่า ใน 1 คีย์ จะมีคอร์ดที่ใช้ได้ทั้งหมด 7 คอร์ด ( อาทิ คีย์ C มีคอร์ดในคีย์ที่ใช้ได้คือ C Dm Em F G7 Am Bdim ) แต่ว่าแต่ละคอร์ดมันสามารถเรียงลำดับยังไงก็ได้ในเพลง แล้วแต่การออกแบบของผู้แต่ง,ผู้เรียบเรียงเพลง ฉะนั้นไม่จำเป็นว่าขึ้นต้นเพลงมา ต้องเป็นคอร์ดแรกของคีย์
ขอยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่พบเจอกันได้บ่อย อย่างเช่น เพลงดังอย่าง “หยุด – Groove Riders” ที่ขึ้นต้นเพลงเป็นคอร์ด C แต่ที่จริงแล้ว เพลงทั้งเพลงคือคีย์ G
คีย์ G มีคอร์ดที่ใช้ได้ในคีย์นั้นอยู่ 7 คอร์ด ได้แก่ G Am Bm C D7 Em F#dim นั่นเท่ากับว่า ในเพลงนี้เค้าออกแบบโดยขึ้นต้นเพลงด้วยคอร์ดลำดับที่ 4 นั่นคือ C ซึ่งถ้าเราสังเกตจากคอร์ดที่ใช้ทั้งเพลง ก็จะรู้ได้เองว่า เพลงนี้เป็นเพลงคีย์ G ไม่ใช่คีย์ C เพราะมีคอร์ดที่อยู่ในคีย์ G เป็นตัวบ่งบอก
ถ้าถามว่า แต่ละคีย์ส่งผลต่ออารมณ์ของเพลงมั้ย (ในบริบทนี้จะหมายถึง คีย์ชนิดเดียวกัน เช่น Major Scale อย่างเดียว) ผมขอตอบว่า ส่งผลบ้าง แต่น้อยมากครับ สิ่งที่ส่งผลต่อารมณ์เพลงส่วนใหญ่ ไม่ได้มาจากการเลือกคีย์ แต่มาจาก การเลือกใช้เสียงประสานต่างๆ ทางเดินคอร์ดที่แตกต่างกัน รวมไปถึงคู่เสียง และความสัมพันธ์ระหว่างเมโลดี้กับคอร์ด มากกว่า ซึ่งนั่นแปลว่า จะเปลี่ยนเป็นคีย์ไหนก็ตาม หากยังใช้ท่าเดิม ทางเดินคอร์ดเซตเดิม เสียงประสานแบบเดิม ยังไงอารมณ์ก็คงเดิม 95%
ตัวอย่าง
นาย ก. เป็นโปรดิวเซอร์มือใหม่ ที่รับงานจากลูกค้าเจ้าหนึ่งมา เมื่อทำงานส่งไปให้ลูกค้า มีคอมเม้นท์กลับมาว่า “ตอนนี้นักร้อง ลองร้องดูแล้วโอเคกับเพลงแล้ว แต่ทางเราอยากให้ปรับตัวเพลงให้สดใสขึ้นหน่อยค่ะ มันฟังดูหม่นไป”
นาย ก. จึงแก้ปัญหาด้วยการ ปรับเพลงจากคีย์ C ให้เสียงสูงขึ้น กลายเป็น คีย์ E และทำ Backing Track ใหม่ เตรียมไว้บันทึกเสียง
เมื่อถึงวันบันทึกเสียง ปรากฏว่า นักร้องร้องไม่ได้หลายท่อน เสียงไม่ถึง เพราะระดับเสียงทั้งหมดถูกปรับ จากคีย์ C เป็นคีย์ E ซึ่งสูงขึ้นถึง 4 semi-tones และตัวเพลงก็ยังคงมีปัญหา ลูกค้าบอกว่า ก็ยังฟังดูหม่นอยู่ดี กว่าจะแก้ไข กว่าจะจบงานได้ เสียเวลา เสียเงินค่าห้องอัด เพิ่มไปโดยใช่เหตุ
ขอยกตัวอย่างเคสที่ผมเคยเจออีกหนึ่งเคส
ผมเคยทำงานกับนักร้องอาชีพท่านหนึ่ง ตอนส่งเพลงไปให้ทดลองคีย์ สามคีย์ เค้าบอกว่าได้หมด เอาคีย์ไหนก็ได้ ผมเลยบอกว่า งั้นขอเลือกคีย์ C นี่นะครับ
เมื่อวันนัดบันทึกเสียงมาถึง ปรากฏเค้าร้องอีกคีย์นึงทั้งๆที่ Backing Track เป็นอีกคีย์นึง ผมเลยบอกว่า ร้องผิดคีย์นะครับ ที่เลือกกันมันเป็นคีย์ C นะครับ ต้องปรับนิด ให้คีย์สูงขึ้นครับ เค้าบอกโอเค ไม่มีปัญหา
พอร้องมาอีกรอบ ปรากฏเค้าร้องคีย์เดิม แต่บีบเสียงให้เล็กลง…
หัวจะปวด….
ไม่ขอลงลึกเรื่องนี้มากเกินไปนะครับ อย่างที่บอกจะยาวเกินไป แต่เอาเป็นว่า คีย์ C กับ คีย์ D ต่างกันแค่ว่า มันเป็นระดับเสียงที่สูง หรือต่ำกว่ากัน “ทั้งเซต” นั่นเอง แต่จะเป็นคีย์ไหนก็ให้สำเนียงแบบเดียวกัน ถ้าเป็น Scale ชนิดเดียวกัน อาทิ Major Scale เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่นว่า
Scale C Major มีโน้ต 7 ตัว คือ C , D , E , F , G , A , B
ถ้ายกคีย์ขึ้น 1 เสียงเต็ม กลายเป็น
Scale D Major ก็จะมีโน้ต 7 ตัวที่สูงขึ้นไป 1 เสียงเต็ม ทุกตัวเท่าๆกัน กลายเป็น D , E , F#, G , A , B , C#
(ผมเชื่อว่า คนที่ยัง งง เพราะไม่เข้าใจเรื่อง # หรือความห่างของเสียง กรุณาศึกษาเพิ่มเติมเรื่องทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นนะครับ ทางเราก็มีสอน)
คนเราแต่ละคน มี range หรือระดับเสียงที่ไม่เท่ากัน บางคนร้องได้แต่ช่วงเสียงต่ำ บางคนเสียงกว้างหน่อย ร้องขึ้นสูงได้เยอะก็ดีไป แต่ไม่ใช่ทุกคน ซึ่งข้อจำกัดนี้ ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนคีย์ของดนตรีทั้งหมด ตามนักร้อง ให้นักร้องสามารถแสดงศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่ ร้องได้ดีใน range ของตัวเอง ส่งผลทำให้เพลงออกมาไพเราะที่สุด
ในทาง Music Composition หรือการประพันธ์เพลง ถ้าเราแต่งเพลงในคีย์เดียวกันตลอดทั้งเพลง ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาใกล้เคียงแบบเดิมๆ Composer บางคนที่เริ่มเบื่อกับความจำเจแบบเดิมๆ จึงเริ่มแสวงหาวิธีเรียบเรียงเสียงประสานแบบใหม่ๆที่ให้สำเนียงที่ต่างออกไป จึงเริ่มทำการเปลี่ยนคีย์ในเพลง ทำให้เพลงนั้นๆ มีช่วงที่เป็นคีย์อื่นนอกจากคีย์หลักของเพลง
แต่ถ้าเป็นเพลงคีย์เดียว ที่ไม่ได้มีลูกเล่นการเปลี่ยนคีย์ข้างในเพลง “แท้จริงแล้ว การเลือกคีย์แทบไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญเท่าไรต่อการ Compose เพลงเลย”
คุณสามารถแต่งเพลงด้วยคีย์ที่ง่ายที่สุดอย่างคีย์ C ได้ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว แล้วค่อยนำไปปรับเปลี่ยนคีย์อีกทีเพื่อให้เข้ากับนักร้อง นั่นคือเรื่องของกระบวนการ Music Production
มีเกล็ดความรู้เกี่ยวกับคีย์อีกนิดหน่อยคือ อาจารย์ของผม (อาจารย์สำเภา ไตรอุดม คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร) เคยบอกว่า ในมุมของนักดนตรี คีย์มีผลบางอย่างต่อจิตวิทยาการเล่นดนตรี
กล่าวคือ บางคีย์ที่เล่นยาก ตอนท่ีนักดนตรีเล่นจะโฟกัสมากกว่า เกร็งกว่า ทำให้อารมณ์เพลงออกมาค่อนข้างซีเรียส
แต่บางเพลงที่เป็นเพลงที่คีย์เล่นง่าย นักดนตรีจะรู้สึกสบายเวลาเล่น เล่นคล่องกว่า และทำให้อารมณ์เพลงออกมาฟังดูสบายๆเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่ที่กล่าวมาก็คือมีผลน้อยมาก เทียบไม่ได้กับผลที่เกิดจากท่วงท่าในการ Composition ของบทเพลงอยู่ดี และก็ไม่ใช่ผลในทางที่สัมพันธ์กับระดับเสียงสูงต่ำแต่อย่างใด
ผมขอออกตัวก่อนว่า ความรู้ที่ผมแชร์นี้ เป็นความรู้ที่ร่ำเรียนและสืบทอดกันมาจากระบบ Academic หรือในรูปแบบมหาวิทยาลัย ถ้าใบปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 ทางด้านดนตรีนั่นไม่ได้หลอกผม มันก็น่าจะถูกต้อง 100%
อันที่จริง การไม่รู้ ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ทุกคนมีสิ่งที่ไม่รู้กันทั้งนั้น เพียงแต่ถ้ารู้ว่าที่ถูกคืออะไรแล้ว ก็อยากให้ใช้ให้ถูกนับแต่นั้น จะได้ไม่เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดนะครับ
อยากฝากให้แชร์สิ่งนี้ไปให้เพื่อนนักร้องนักดนตรีที่ยังเข้าใจเรื่องคีย์ผิดกันอยู่ให้มากที่สุด บางทีเจอบ่อยๆก็ปวดหัวนะครับ เวลาทำงานดนตรีแล้วสื่อสารกันยาก ขี้เกียจหัวจะปวดอีกต่อไป ขอบคุณครับ #คีย์แปลว่าอะไร มาช่วยกัน #แชร์ให้คนไม่รู้ รู้ซะที
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound