มีศัพท์ทางดนตรีในโลกนี้มากมายที่ใช้จำกัดความแนวดนตรีต่างๆ ไม่ว่า Rock , Pop , Classic , Hip-hop เป็นต้น
แต่โลกเรามันไม่ได้มีแค่แนวที่ดังๆไม่กี่แนว ที่จริงแล้วมันมี Sub Genre อีกสารพัด อย่างแค่ Rock อย่างเดียว ยังแยกเป็น Hard Rock , Soft Rock , Heavy Metal , Death Metal ต่างๆนานาได้อีก
เอาเป็นว่า ถ้าคุณคิดว่ามันไม่เกิน 100 คือคุณคิดผิด ที่จริงอาจจะมีถึงพันเลยก็ได้
และบ่อยครั้งที่ศัพท์หรือนิยามดนตรีหลายๆตัวที่คุณน่าจะเคยได้ยินบ่อยๆ แต่เกิดความสับสนแน่ๆ หนึ่งในนั้นอย่างเช่นคำว่า “Indie”
ทางเลือกใหม่ทางดนตรีที่มีอยู่ในทุกยุค
ไม่ว่าคุณจะเกิดในยุคไหน คุณจะต้องเคยได้ยินดนตรีบางแนวที่สื่อขนานนามว่าเป็น “ทางเลือกใหม่” อยู่เสมอ
ยกตัวอย่างง่ายๆ ดนตรี Indie ที่เคยบูมขึ้นในช่วงยุค 2000
แท้ที่จริงแล้ว คำจำกัดความของคำว่า Indie เต็มๆมาจาก Independent แปลตรงตัวคือ เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร ซึ่งใช้นิยามลักษณะการทำงานของดนตรีประเภทนี้ ที่มักทำกันเอง หรือเป็นค่ายเล็กๆ ที่มีอิสระในการสร้างงาน การนำเสนอผลงาน โดยไม่มีกรอบทางการตลาดแบบที่ค่ายใหญ่วางมาแล้ว เพลงที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะของความหลากหลายมากกว่า แปลกใหม่กว่า สำหรับคนที่ไม่ชอบความจำเจ หรือสำเนียงดนตรีแบบกระแสหลัก
นั่นแปลว่า ที่จริงแล้ว คำว่า Indie ไม่ได้บอกอะไรเราเกี่ยวกับลักษณะทางดนตรีเลยว่ามันมีคาแรกเตอร์แบบไหน เป็นแนวไหนกันแน่ แต่คนที่ฟังเพลงอินดี้มาจำนวนนึงจนคุ้นเคย จะเริ่มรู้สึกว่า มันมี “สำเนียง” ที่เป็นที่นิยมในหมู่แนวนี้อยู่ หรือเรียกได้ว่า ก็มีแพทเทิร์นอะไรบางอย่างที่จับต้องได้ใน Scene นี้อยู่ดี ทีนี้พอยุคต่อมา คำนี้ถูกเอาไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น จนคนไม่ได้สนใจที่มาต้นกำเนิดหรือความหมายที่แท้จริงของมันแล้ว
บางวงดนตรี ยังคงทำเพลงด้วยวิถีทางอิสระแบบเดิม ก็ยังเรียกว่า Indie
บางวงดนตรี ก็ทำเพลงแบบอินดี้ ไม่ได้นิยามตัวเองว่าเป็นแนวอินดี้ แต่นิยามตัวเองไปตาม Genre ที่ตัวเองทำไปเลย เช่น Folk , Punk แบบนี้เป็นต้น
บางวงดนตรี ทำเพลงในสำเนียงที่เป็นแพทเทิร์นส่วนใหญ่ของวงอินดี้ที่เคยดังในอดีต คนก็เลยจำกัดความว่า นี่คือเพลงแนวอินดี้
บางวงดนตรี อาจจะทำเพลงในสำเนียงอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดนตรีอินดี้เลย แต่ก็ยังเรียกตัวเองว่า อินดี้ (ในความเข้าใจของเค้า) เช่น พวกแนวอีสานอินดี้
เป็นต้น
มันไม่ใช่เฉพาะกับคำๆนี้คำเดียว ที่จริงแล้วในอดีตที่ผ่านมา เคยมีเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้ กับคำอื่นๆ ดนตรีแนวอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ในแต่ละยุคสมัย
“Avant-garde” เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงในปลายๆ ของดนตรี Classical ในช่วงราวๆ 1920 แปลว่า “ผู้ที่แผ้วถางทางมาก่อน” ซึ่งดนตรีแบบ อะวองกาด มักจะมีลักษณะหัวก้าวหน้า ล้ำไปกว่าดนตรีในช่วงนั้นๆ แต่ก็ไม่สามารถระบุลักษณะดนตรีได้แน่ชัดเช่นกัน
“Bossanova” – เป็นแนวดนตรีที่เกิดขึ้นในยุค Jazz ราวๆ 1930 ที่มีลักษณะทางดนตรีที่เฉพาะ และชัดเจน แต่ความหมายของมันที่จริงแล้วแปลว่า “คลื่นลูกใหม่”
“New Wave” – คือ Scene ของดนตรีในช่วง 1970 ใน UK ซึ่งชื่อของมันก็ตรงตัว คือ “คลื่นลูกใหม่” ที่เป็นการพัฒนาจากดนตรี UK Punk อีกที
“Alternative” – คือ Scene ของดนตรีที่บูมในช่วง 1990 แปลตรงตัวคือ “ทางเลือก” ซึ่งที่จริงไม่ได้จำกัดแนวดนตรี แต่วง Alternative ส่วนใหญ่ก็มักมีสำเนียงที่ใกล้เคียงกัน
“Underground” – หรือ “เพลงใต้ดิน” คำนี้ถุกใช้ครั้งแรกในช่วง 1960 เพื่อใช้จำกัดความดนตรีที่ไม่ใช่กระแสหลัก และค่อนข้างหาฟังได้ยากในช่วงนั้น และเนื้อหามักจะรุนแรงและไม่เป็นที่ยอมรับของคนในกระแสหลักในยุคนั้น อาทิ คำหยาบคาย ยาเสพย์ติด
จะเห็นได้ว่า ศัพท์ที่ใช้บัญญัติทางดนตรีเหล่านี้ มันกลายเป็นคำๆนึงที่คนใช้สื่อสารในสิ่งที่ต่างกัน หลายบริบท แม้ว่าดั้งเดิมตอนต้นกำเนิดมาจะมีความหมายอีกแบบก็ตาม ศัพท์ที่คนนิยมนำดนตรีไปผูกไว้ มักจะเกี่ยวข้องกับ “ความใหม่” , “ทางเลือกที่แตกต่างออกไปจากกระแสหลัก” โดยคำพวกนี้บางทีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือบ่งบอกคาแรกเตอร์ของดนตรีแนวนั้นๆเลย และในขณะเดียวกัน ดนตรีแนวนั้นๆ บางทีก็ไม่ได้มีคำนิยามที่ชัดเจน แต่บางทีก็มีคาแรกเตอร์ที่ชัดเจนอยู่เช่นกัน เอาเป็นว่าเป็นได้แทบทุกกรณี
ถ้าเรามองอย่างกว้างๆ เราจะพบว่า ที่จริงแล้วคำต่างๆที่ถูกบัญญัติมาเหล่านี้ มันก็ถูกบัญญัติด้วยคน หรือกระแสสังคมบางอย่าง ที่บริบทของบางยุคสมัย ที่เค้าบัญญัติคำๆนี้เอาไว้เพื่อสื่อสาร จำแนก กลุ่มของศิลปินหรือเพลง แบบนึง ออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร หรือการทำการตลาด เช่นว่า ถ้าคุณเป็นวัยรุ่นในยุค 70 แล้วกำลังมองหาดนตรีที่จะถูกใจอยู่ตอนนั้น ลองมองที่ชั้น NEW WAVE ใน Tower Records ดูสิ
นอกจากคำพวกนี้ มันยังมีศัพท์อีกมากมาย ที่มีความหมายหลายบริบท และกำกวม คือไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจเป็นอย่างเดียวกัน อาทิ
“EDM” – บ้างบอกว่าหมายถึง Electronic Dance Music ทั้งหมด บ้างหมายถึงกลุ่ม Scene ของศิลปินที่ทำดนตรี dance สำเนียงแบบนึงที่ใกล้ๆกัน ไม่ได้หมายถึงทั้งหมด
“Shibuya-kei” – ดนตรีแนวชิบุย่า กำเนิดในยุค 80 บูมในยุค 90 ของญี่ปุ่น ที่จริงจำกัดความถึงดนตรีแนวที่คน Fashionable คนที่ intrend หรือ hipster ญี่ปุ่นในช่วงนั้น ที่ชอบเดินย่านชิบุย่า นิยมกัน โดยที่มันไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นแนวดนตรีอะไร แต่ไปๆมาๆ คาแรกเตอร์ของมันชัด และไปในทิศทางเดียวกัน จนกลายเป็นกำหนดเอกลักษณ์ของแนวนี้
“Akiba-kei” – ดนตรีแนวอากิฮาบาระ ย่านวัฒนธรรม Otaku ของญี่ปุ่น ดนตรีส่วนมากจะเป็นพวก เพลงแนวอนิเมะ ,AKB48 สีสันสดใส J-pop คิกยุ อะไรแบบนั้น
“Krautrock” – scene ดนตรีที่กำเนิดในเยอรมัน ยุค 70 มักจะอุดมไปด้วยซาวด์ที่มีความหัวก้าวหน้า ดูเป็นดนตรีทดลอง ที่ผสมสานระหว่าง Rock กับ Electronic ซึ่งที่จริง ถ้าไม่ใช่คนที่ชอบ scene นี้และติดตามอย่างจริงจัง ก็จำแนกยากว่าต่างกับพวก Experimental Rock แบบอื่นยังไง
ยังมีศัพท์ที่เอาไว้จำกัดความดนตรีอีกมากมาย ที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยในชีวิตนี้ ซึ่งมันก็ถูกบัญญัติมาจากคนที่ฟังแนวนั้นๆ (ซึ่งเราไม่ได้ฟัง)
และในบางทีมันก็ยากจะแยกออกว่า ตกลง แบบไหนคือดนตรีแนวนั้นกันแน่ ถ้าแนวนั้นมันไม่ได้เป็นที่รู้จักมาก หรือไม่ได้มีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวจริงๆ จนเราจำได้และแยกแยะออกได้ชัดเจน
ผมเลยอยากบอกว่า สิ่งที่จะช่วยเราได้อย่างหนึ่งคือการทำความเข้าใจว่า เราควรแยกคำว่า “Genre (แนวดนตรี)” กับคำว่า “Scene (ฉาก,ความเคลื่อนไหว, กลุ่มก้อนทางดนตรี หรือในสำนวนแบบไทยๆ อาจจะเรียกว่า แวดวง)” ออกจากกัน
อย่างบางที ถ้าพูดว่า แนว Krautrock เราอาจจะนึกไม่ออกว่าจะบอกว่า ดนตรีแนวนี้คืออะไร ลักษณะยังไง เพราะมันก็ไม่ได้ตายตัวแบบนั้น
แต่ถ้าเราพูดว่า Scene ดนตรี Krautrock หรือ ในแวดวงดนตรี Krautrock เราจะรู้ได้ว่า หมายความถึงวงอะไรบ้าง อาทิ Kraftwerk , Neu! อะไรแบบนี้
ทีนี้พอเราเรียกเป็น Scene มันจะมี Scene อีกสารพัดที่เกิดขึ้น แล้วเราพอเข้าใจมันได้ ขอยกตัวอย่างเป็น scene ดนตรีในไทยนะครับเพื่อความเข้าใจง่าย เช่น
Scene ดนตรีอินดี้ไทยยุค 2000 – เราจะนึกชื่อวงออกแน่ๆ อาทิเช่น อาร์มแชร์ , หมีพูห์ , scrub
Scene ไทยอัลเตอร์ – วงพราว , Modern Dog , LOSO
Scene hiphop ไทยยุคปัจจุบัน – MILLI , YOUNG OHM , TANGBADVOICE
อะไรแบบนี้
คือไม่ใช่การแบ่งจำแนกด้วยแนวดนตรีแบบตรงๆ เพราะบางทีมันก็แยกยาก อาทิเช่น วงดนตรีบางวงที่เพิ่งเกิด อาจจะนิยามดนตรีของตัวเองว่าเป็นแนว Alternative แต่เค้าไม่ได้อยู่ Scene เดียวกับ วงพราว หรือ Modern Dog ในอดีตแน่ๆ แต่กลายเป็นอยู่ Scene Indie ในยุคปัจจุบันมากกว่า
คำว่า Scene มันเหมือนเป็นเครือข่าย , กลุ่มก้อน ของศิลปิน มากกว่าที่จะจำกัดว่ามันเป็นแนวอะไรแบบตรงๆ แน่นอนว่าเมื่ออยู่ใน Scene เดียวกัน จะมีบางอย่างที่มีสำเนียง หรือบรรยากาศคล้ายกัน มีจุดร่วมบางอย่าง อันอาจจะเกิดจากยุคสมัย สังคม การใช้ภาษา สภาพแวดล้อมต่างๆ แต่ที่จริงตัวแนวดนตรีอาจจะไม่เหมือนกันเลยก็ได้ เป็นต้น
ถ้าคุณเป็นคนที่ทำเพลง อยากเป็นศิลปิน หรือนักแต่งเพลง คุณควรเข้าใจเรื่อง scene และสามารถจำแนกได้ว่า เพลงของตัวเองอยู่ใน scene ไหน?
เพราะ scene มันกำหนดทั้ง ตัวตน แนวทาง กลุ่มเป้าหมาย เนื้อเพลง ทิศทางของเนื้อเพลง หลายสิ่งหลายอย่าง
มีศิลปินมากมายที่อยู่ไม่ถูกที่ถูกเวลา กล่าวคือ “อยู่ผิด scene” ปัญหาที่จะเกิดขึ้นที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือ
เค้าอาจอินกับดนตรีแบบนึง ทำดนตรีแบบนึงได้ดีมาก แล้วก็มีคนที่พร้อมจะชอบงานแบบนี้ พร้อมจะเป็นแฟนคลับ เพียงแต่เค้าดันไปปรากฎตัวในจุดที่มีแต่นักฟังเพลงที่ไม่ได้อินแนวดนตรีของเค้า
แทนที่จะไปได้ดี กลับกลายเป็น ไม่โดดเด่น เพราะเหมือนเอาส้มตำปูปลาร้าไปวางขายที่ Market ใน Amsterdam เลยขายไม่ดี ทั้งๆที่จริงๆแล้ว สินค้าแบบเดียวกันนี้ ไปวางขายที่ตลาดบางกะปิ อาจจะขายดีขึ้นมาเลย
ลองวิเคราะห์ตัวเองดูดีๆครับว่า เพลงที่ตัวเองทำ น่าจะอยู่ Scene ไหน อยู่ Scene เดียวกับศิลปินอะไร แล้วพยายามเข้าไปปรากฎตัวใน Scene นั้นให้ได้
เอาใจช่วยครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์
ปล. เรื่อง Scene เป็นส่วนหนึ่งของของวิชา VCA103 Creative Lyric ซึ่งสอนเรื่องการประยุกต์ทำความเข้าใจ Scene เพื่อนำมาแต่งเนื้อเพลงที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย Scene นั้นๆ หากสนใจ ติดต่อ Admin เพื่อขอรายละเอียดวิชาเรียนจากหลักสูตร The Real Producer ได้ครับ
https://verycatsound.com/academy/level1/vca103-creative-lyric/
—————————————————
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound