คิดว่าหลายๆคนน่าจะเจอปัญหานี้เหมือนกัน คือ เริ่มทำเพลงแล้ว เริ่มทำดนตรี เรียบเรียงเพลง แล้วคิดท่อน solo ไม่ออก ว่าควรจะเป็นยังไง วันนี้เราเลยจัดให้ตามคำขอที่มีคนถามเข้ามานะครับ จากคุณ @surayutketdon ที่ถามเข้ามาทาง Youtube Channel ว่า “รบกวนพี่ช่วยแนะนำเทคนิคการคิดท่อนโซโล่สักวิดิโอได้มั้ยครับ #มือใหม่หัดเขียนเพลงครับ” ขอบคุณมากๆ สำหรับ Comment ที่ถามเข้ามานะครับ เป็นประโยชน์มากๆ เพราะทำให้ผมคิดออกว่าจะทำ Content อะไรที่คนอยากรู้ต่อดี และคิดว่าเป็นประโยชน์กับใครหลายๆคนด้วย
ผมจะขอย่อยออกเป็นสองตอนนะครับ ตอนแรกในครั้งนี้คือเรื่อง ท่อน Solo คืออะไร มีที่มาจากไหน?
และในครั้งหน้าจะเป็นตอน 2 เรื่อง 5 เทคนิคการคิดท่อน Solo ในเพลง นะครับ
ก่อนที่คุณจะคิดได้ว่า solo มันทำยังไง ก่อนอื่น ควรมาทำความเข้าใจท่อน Solo กันก่อน ว่ามันคืออะไร? และมีที่มายังไง?
ที่จริงแล้วมันมีที่มาครั้งแรกจากแนวดนตรี Jazz ตั้งแต่ยุค Swing Jazz ราวๆ 1930
ปกติแล้วเพลงจะแบ่งเป็นท่อนหลักที่มีเนื้อร้อง อาทิเช่น ท่อน verse , pre-chorus , hook แบบนี้ใช่ไหมครับ แต่ในสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้คำพวกนี้ จะเรียกเป็นท่อน A , B , C แบบนี้แทน ซึ่งจะมีการเรียกชื่อท่อนมาประกอบกันเป็นรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น AABA , ABAC , ABCA แบบนี้เป็นต้น เรียกว่า เล่นครบสี่ท่อนที่ว่า ก็คือจบเพลง
แต่พอเพลงเล่นครบจบรอบ มันรู้สึกห้วนไปหน่อย เค้าเลยเพิ่มความยาวเพลงขึ้นมา ทีนี้การเพิ่มความยาวขึ้นมามันไม่ได้เพิ่มเปล่าๆ แต่มีลูกเล่นที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในดนตรี นั่นคือการ “Solo” หรือ “Improvisation” หรือก็คือการโชว์ลีลา “ด้นสด” ของแต่ละเครื่องดนตรีนั่นเอง
เนื่องจากว่า ดนตรี Jazz เป็นดนตรีที่ให้ความสำคัญกับความสามารถเฉพาะตัวของนักดนตรีแต่ละคน จึงมีการคิดท่อนนี้ขึ้นมาในการแสดง เพื่อให้นักดนตรีแต่ละคนสามารถแสดงออกถึงทักษะ ลีลา คาแรกเตอร์ อัตลักษณ์ ของตัวเอง ได้อย่างอิสระเสรี ฉะนั้นท่อน Solo นี้จึงเปรียบเสมือนการละเลงสีไปบนผ้าขาว ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ หรือฝีมือ ของนักดนตรี สิ่งนี้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในยุค Jazz นี่เอง ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่นักดนตรีจะทำหน้าที่เล่นตามโน้ตเพลงที่นักประพันธ์หรือ Composer ได้แต่งไว้แล้วเท่านั้น ท่อน Solo จึงเป็นเหมือนการ “ปลดปล่อยศักยภาพที่แท้จริง” ทางตัวโน้ต ของนักดนตรีคนนั้นๆ เรียกง่ายๆว่า มันคือท่อนที่เน้นการ “โชว์ลีลา” หรือ “ปล่อยของ” นั่นเอง และเนื่องด้วยการเล่นแต่ละรอบจะไม่เหมือนกันสักรอบ เพราะมันคือการด้นสด ไม่ใช่การประพันธ์แล้วเล่นเหมือนเดิม ทำให้การบรรเลงแต่ละครั้งมีเสน่ห์ที่แตกต่างกันทุกครั้ง และทำให้เหล่านักฟังที่เป็นแฟนเพลงเกิดความกระหายที่จะไปดูการแสดงสดของนักดนตรีอยู่เสมอ
มากล่าวถึงลักษณะของท่อนนี้กันต่อ ท่อน Solo หรือ Improvise นั้น จะเล่นหลังจากเล่นทั้งเพลง จบ 1 รอบ จากนั้นจะเข้าสู่ช่วง Improvise อย่างที่กล่าวไป จะเล่นด้วยคอร์ดชุดเดิม แต่จะเว้นที่ว่างของเมโลดี้หลักไว้ กล่าวคือ นักร้องนำจะไม่ร้อง ละไม่มีเครื่องใดเล่นเมโลดี้หลักเลย แต่จะเปลี่ยนเป็นการ Solo หรือการแสดงลีลาเดี่ยวๆ สดๆ ของนักดนตรีนั่นเอง โดยมักจะเป็นการโชว์ลีลาแบบเรียงคน โดยเพื่อความเข้าใจง่าย เซตคอร์ดของท่อน solo จะใช้เซตเดียวกับเพลงหลักทั้งหมด นั่นเท่ากับว่าทั้งวงยกเว้นเครื่องเมโลดี้หลัก จะเล่นโครงเพลงเดิม ด้วยเซตคอร์ดเดิม อีก 1 รอบ เพื่อเป็นดนตรีสนับสนุนให้เครื่องดนตรีบางชิ้น solo
การ solo นั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะ solo กี่รอบ เช่นว่า สมมุติตัวเพลงมี 32 ห้อง จะโซโล่รอบเดียว ก็คืออีก 32 ห้อง ก็ได้ หรือจะเล่นเป็นสองรอบสามรอบ เป็น 64 , 96 ห้อง แบบนี้ก็ได้ และก็ไม่ได้มีกฎตายตัวอีกเช่นกันว่า ต้อง solo กี่เครื่อง เครื่องหนึ่งยาวเท่าไร เช่น รอบแรกอาจจะ guitar solo , รอบสองอาจจะ piano หรือภายในรอบแรกอาจจะแบ่งกัน เป็น ครึ่งแรก saxophone ครึ่งหลัง trumpet แบบนี้ก็ได้
และเมื่อจบการ solo เมื่อแสดงลีลากันจนหนำใจแล้ว ถึงจะเล่นเมโลดี้หลักของเพลง ปิดท้ายอีกรอบ ถึงจะถือว่าจบการแสดง 1 เพลงจริงๆ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในดนตรี Jazz และปฏิบัติต่อกันมาเป็นธรรมเนียมจนถึงปัจจุบัน
จะสังเกตว่า แม้จะเรียกว่าท่อน solo แต่ก็ไม่ใช่การเล่นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวโดดๆ เพราะที่จริงแล้วก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆเล่นประกอบ (ในที่นี้จะเรียกว่า Accompany คือพวกที่เล่นเป็นคอร์ดคอยสนับสนุนต่างๆ) เพียงแต่เครื่อง Solo จะเป็นเครื่องที่โดดเด่นในท่อนนั้นๆ
หลังจากผ่านยุค Jazz มา ดนตรีแนวอื่นๆนั้นได้รับมรดกมาจากดนตรี Jazz มาอีกที จึงมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง นั่นคือ
สำหรับนิยามและที่มาของ ท่อน Solo ขอพักจบไว้แค่นี้ก่อนสำหรับครั้งนี้ ไม่งั้นมันจะยาวเกินไป
ครั้งหน้าเราจะมาต่อกันเรื่องของ เทคนิคการคิดท่อน Solo นะครับ ใครไม่อยากพลาดกดติดตามทางเพจ , youtube หรือช่องทางต่างๆ ไว้ได้เลยครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์
ปล. ขออภัยที่อาจจะเข้าเรื่องที่ถามช้าไปสักหน่อย ต้องติดตามถึง 2 ตอน แต่จุดยืนของเราคือ การสอนให้รู้ลึกรู้จริง ถึงจะเป็น The Real Producer หรือโปรดิวเซอร์ที่แท้จริงครับ
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :