Math Rock ดนตรีที่โคตรมันส์แต่ผมโยกหัวตามไม่เคยถูก : Music Explore

Math Rock ดนตรีที่โคตรมันส์แต่ผมโยกหัวตามไม่เคยถูก : Music Explore

Share via:

Krissaka Tankritwong

Math Rock ดนตรีที่โคตรมันส์แต่ผมโยกหัวตามไม่เคยถูก : Music Explore

วันนี้ Verycat ขอเริ่มต้น content ซีรีส์ใหม่นั่นคือ Music Explore รายการที่จะพาทุกคนมาเปิดโลกดนตรีให้กว้างกันยิ่งขึ้นกันเข้าไปอีก และวันนี้จะพูดถึงดนตรีที่เชื่อว่าหลายคนฟังแล้วนับจังหวะไม่ถูกกันแน่ ๆ แต่ถ้าบอกว่าเป็นเพลงในฉากหนังสายลับ หนังโจรกรรม เช่น  mission impossible จะนึกออกทันทีใช่ไหมครับ แนวที่ว่านั้นคือ Math Rock ดนตรีที่โคตรมันส์แต่โยกหัวตามไม่เคยถูก 

  Math Rock คือแนวเพลงที่เริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ช่วงปลายยุค 1980 – 1990 เพื่อฉีกแนวดนตรีร็อคเดิมที่ฟังและคาดเดาได้ง่าย หลายศิลปินก็เริ่มหยิบองค์ประกอบเทคนิคดนตรีต่าง ๆ มาใช้ผสมผสานกัน เพิ่มความซับซ้อนให้ดนตรีร็อค โดยหยิบความดิบดุดันและการหักมุมไปมาของ punk และ post hardcore หยิบเอกลักษณ์แปลก ๆ จาก progressive rock หยิบความอิสระจาก jazz มา

ขอหยิบยกศิลปินที่โดดเด่นแนว Math Rock และยังคงพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ มาให้ไปตามฟังดูกันสักเล็กน้อย นั่นคือ Slint ที่ภายหลังได้รับขนานนามว่าเป็นวงดนตรี Math Rock วงแรกของโลกเลย อีกสงที่น่าสนใจก็คือ Don Caballero ก็ทำเพลงโดยใช้จังหวะ Math Rock เป็นหลัก หรืออีกวงอย่าง Ruins วง Math Rock จากญี่ปุ่น 

สามวงที่หยิบยกมาถือว่าเป็น Math Rock ที่ใครฟังอาจจะปวดหัวได้เลย ถ้าไม่ชอบเสียงแตกมาก ๆ เพราะนิยมเสียงแตกในเพลงกันเป็นเรื่องปกติ ผสมกับโน้ตกัด ๆ ที่ใส่เข้าไปหนักหน่วงอีก 

แต่ถ้าพูดถึงศิลปิน Math Rock ในช่วงหลัง ๆ อย่าง Covet หรือ Toe ที่แม้จังหวะจะยังนับกันยากอยู่ แต่ดนตรีกลับทำออกมาให้ฟังง่ายสบายกว่าแต่ก่อนเยอะมาก ๆ แตกต่างจาก Math Rock ยุคแรกไปเลย

เรื่องจังหวะที่นับไม่ถูกกันไม่ว่าจะ Math Rock ยุคไหนก็ตาม เป็นเพราะอะไร เพราะองค์ประกอบทางดนตรีหลาย ๆ อย่าง 

ทั้งการใช้ Angular Melodies คือทำนองที่มีความห่าง ใส่โน้ตขั้นคู่ที่ห่างกันมาก ๆ ถ้าใครใช้ DAWs อยู่แล้ว ถ้าลองใส่โน้ตตามเพลง Math Rock จะเห็นได้ชัดเลยว่ามันห่างกันมาก ๆ 

ใช้เทคนิค syncopation ที่เปลี่ยนการเน้นจังหวะ 1 และ 3 ในเพลงปกติ ให้เป็นไม่เน้นตรงนั้น ไปเน้นจังหวะอื่นซะอย่างนั้น

ที่สำคัญเลยคือ การใช้ Odd time signatures ถ้าย้อนไปฟังเพลงประภาพยนต์แนวโจรกรรมหรือสายลับ จะเห็นได้ชัดเลยว่าจังหวะแปลกจนเรานับไม่ถูก เพลงปกติมักจะมี time signature 4/4 แต่เพลงใน Math Rock มี 7/4 นี่มีให้เป็นกันเป็นปกติเลย

อีกส่วนหนึ่งคือ Polyrhythms คือแต่ละไลน์ดันเล่นโน้ตไม่เท่ากันอีก บางไลน์มีโน้ตสามตัว บางไลน์มีโน้ตสี่ตัว อีกไลน์มีโน้ตห้าตัว ซึ่งทุกไลน์เล่นพร้อมกัน จนเกิดเป็นกรูฟที่ซับซ้อนมากขึ้น

และจะซับซ้อนขึ้นไปได้อีก ถ้าทุกเทคนิคทั้งหมดที่ว่ามานี้ ถูกใช้ทำเพลงและเปลี่ยนในทุก ๆ ห้องเพลง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Math Rock จะไม่มีการแบ่งท่อน verse chorus แบบเพลงทั่วไปเพราะดนตรีและจังหวะจะถูกเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ หรือใช้เทคนิค free from ของ jazz นั่นเองครับ

และนี่คือสาเหตุที่ว่าทำไม Math Rock จึงเป็นดนตรีที่โคตรมันส์แต่โยกหัวตามไม่เคยถูก ฟังเพลงนี้เหมือนจะโยกตามได้นิด ๆ ไปอีกเพลงจังหวะก็ไม่เหมือนกันซะแล้ว โยกไม่ถูกกันเลยทีเดียวครับ 

แต่ Math Rock ที่พูดอยู่นี้ก็ยังเป็นแค่ผิวเผินให้พอเข้าใจกันอย่างเร็ว ๆ ถ้าอยากเรียนรู้และลงลึกกันเข้าไปอีก สามารถติดต่อกันเข้ามาได้ เรามีหลักสูตร The Real Producer ที่จะสอนให้ทุกคนทำเพลงและเอาไปประยุกต์ทำได้ทุกแนว ต่อยอดเป็น Producer มืออาขีพได้เลย หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ


หลักสูตร The Real Producer โดย VERY CAT SOUND
“ลึกและตรงประเด็นกับการทำเพลงที่สุด”
.
► ปรึกษา / ขอ Demo เรียนฟรี (แนะนำ):
คลิกทำแบบสอบถามเพื่อนัดเวลา
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
.
► คุยกับแอดมิน / ดูรายละเอียดคอร์สทาง LINE:
คลิกแอดเลย: [ https://line.me/ti/p/@verycatacademy ]
(หรือแอด ID: @verycatacademy)
.
จ้างทำเพลง LINE: @verycatsound
โทร: 085-666-2425

#VeryCatSound #TheRealProducer #สอนทำเพลง #เรียนทำเพลง #โปรดิวเซอร์ #mathrock #musicgenre #musichistory

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.