Color ในทางดนตรี คืออะไร ?
สงสัยไหม ทำไมบางเพลงฟังแล้วสดใส ในขณะที่อีกเพลงฟังแล้วกลับหม่อนหมองกว่า และอีกหลาย ๆ เพลงที่ก็มีโทนและอารมณ์แตกต่างกันไป ที่เป็นแบบนี้ได้เพราะ Color หรือสีสันของ harmony ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการทำเพลง วันนี้ Verycat จะมาไขความลับกันว่า Color คืออะไรกันครับ
หลายคนได้ยินคำว่า Color บ่อย ๆ ที่เขาชอบพูดกัน ถ้าในการวาดรูปมันก็คือสีแต่ละสีที่ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน สีแดงก็ความรู้สึกหนึ่ง สีเหลืองก็อีกความรู้สึก ซึ่งในทางดนตรีก็มี Color เหมือนกัน แต่ไม่ใช่เรื่อง Timbre นะครับ Timbre จะหมายถึงลักษณะหรือคุณภาพเสียง เช่น เสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชนิด กีตาร์ ไวโอลิน ก็มี Timbre ไม่เหมือนกัน แต่ Color จะเห็นลักษณะเสียงเดียวกันก็ได้ แต่สิ่งที่ส่งผลกับ Color โดยตรงจะมี 3 อย่างนี้ครับ
โน้ตที่เราเอามาจัดเรียงกันจากแต่ละสเกล ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เราสามารถสร้างเมโลดี้จาก major scale ได้ แต่ต้องไม่ใช่การเปลี่ยนคีย์เฉย ๆ เช่น จาก C major scale เป็น E major scale แบบนี้ก็ไม่รู้สึกแตกต่างจากเดิม แต่ต้องเป็นการเปลี่ยนสเกลไปเลย เช่น จาก major เป็น minor , harmonic minor , หรือสเกลอื่น ๆ ไปเลย เช่น in scale หรือสเกลญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละสเกลก็มีโน้ตแตกต่างกันไป พอเอามาจัดเรียงก็จะให้ความรู้สึกคนละแบบ เช่น major scale อาจให้ความรู้สึกสดใส สว่าง เปิดเผย แต่ harmonic minor จะมีความลึกลับกว่า ฟังแล้วดูเป็นเพลงแขก เป็นต้น
เรื่องนี้หลายคนน่าจะนึกออก คอร์ดเมเจอร์ก็จะให้ความรู้สึกสดใส แต่ถ้าเปลี่ยนแค่โน้ตตัวเดียว ทำเป็น b3 ก็จะกลายเป็นคอร์ดไมเนอร์ที่ให้ความรู้สึกหม่นหมอง หรือถ้าติด b5 อีกให้เป็นคอร์ด dim หรือทำป็น 1 3 #5 ก็เป็นคอร์ด aug ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างกันหมดทั้ง ๆ ที่เปลี่ยนแค่โน้ตเดียว
หรือแม้แต่การเติมโน้ต tension เช่น ตัว 7 9 ก็ทำให้ Color เปลี่ยนไปได้เหมือนกัน
การเลือกคอร์ดต่าง ๆ ให้ดูว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดคุณภาพไหน ให้ Color อย่างไร และสอดคล้องกับเพลงที่เราต้องการให้เป็นได้ไหม
ขั้นคู่เรียกว่าเป็นหน่วยย่อย หน่วยเล็กที่สุดที่ทำให้เกิด Color แต่ละคู่ก็ให้ Color ที่แตกต่างกัน เช่น คู่ 8 กับคู่ 5 ที่เสียงจะให้ความรู้สึกว่ากลมกลืน ไปในทางเดียวกัน แต่คู่อื่น ๆ เช่น คู่ #4 คู่ 2 ก็จะให้ความรู้สึกที่กัด ไม่เข้ากัน ซึ่งก็มีหลายระดับไปอีกว่าอันไหนกัดมากกัดน้อย
ถ้าสังเกตดี ๆ คอร์ดก็คือการผสมกันของขั้นคู่หลายตัว และเวลาคิดเมโลดี้ ในจังหวะต่าง ๆ ที่เมโลดี้กำลังเล่น เช่น จังหวะตก มันยังทำหน้าที่เป็นขั้นคู่กับโน้ตในคอร์ดนั้น ๆ ได้อีก เพื่อสร้างโทน หรือ Color นั้น ๆ ได้
ถ้าใครอยากเข้าใจและเชี่ยวชาญ Color ต้องพยายามศึกษาเรื่องขั้นคู่ให้แม่นครับ ขั้นคู่ไหนให้อารมณ์แบบใด ก็เหมือนกับแต่ละสีในทางการวาดรูปที่ให้ความรู้สึกต่างกัน รวมไปถึงการผสมสีหรือผสมขั้นคู่เข้าด้วยกัน เพื่อออกมาเป็น Color ที่เราต้องการครับ
สำหรับใครที่สนใจในการเรียนทำเพลงแบบรู้ลึก เอาไปใชทำเพลงเป็นอาชำสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหลักสูตร The Real Producer ได้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ครับ
The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425