วิเคราะห์เพลง APT – ROSÉ & Bruno Mars
วิเคราะห์เพลงในครั้งนี้ ขอพาทุกคนมาเปิดหูกับเพลงที่เชื่อว่าใครหลายคนตั้งตารอคอยคือ APT – ROSÉ & Bruno Mars จริง ๆ แล้ว APT นี้ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก แต่เราสามารถวิเคราะห์และจุดประกายจากความเรียบง่ายนี้ได้ เพื่อให้เห็นว่าทำไมเพลงนี้ถึงติดหูจนดังไปทั่วโลก และเราสามารถเอาคอร์ดเดียวกันของเพลง APT นี้ ไปประยุกต์ใช้เป็นแบบใดได้บ้าง
ภาพรวมเพลง APT – ROSÉ & Bruno Mars อยู่ใน Key : Eb และมีชุดคอร์ดที่เรียบง่าย โดยสามารถแบ่งออกเป็นท่อนได้ประมาณ 4 ท่อน โดยจะขอ Transpose เป็น Key : C เพื่อความเข้าใจง่าย
ท่อน Verse (นาทีที่ 0.06) :
Vi
Am
ท่อน Hook (นาทีที่ 0.32) :
IV – V – vi – I 2 รอบ
F – G – Am – C 2 รอบ
ท่อน Break (นาทีที่ 0.58) :
III
E(7)
ท่อน Bridge (นาทีที่ 1.43) :
vi – V – I – vi 3 รอบ และ vi – V – II
Am – G – C – Am 3 รอบ และ Am – G – D
จะเห็นว่าคอร์แทบทุกตัวไมได้มีอะไรที่แปลกหรือซับซ้อน จะมีแค่ในท่อน Break ที่ใช้คอร์ด E ซึ่งปกติแล้วใน Key : C(ที่ Transpose มา) จะมีคอร์ด Em แต่คาดว่าคอร์ด E มาจาก Secondary Dominant หรือเป็นคอร์ด E7 ที่จะส่งเข้าคอร์ด Am ในท่อนถัดไป ( E7 เป็นคอร์ด 5 ที่ส่งไปยังคอร์ด 1 ของตัวมันเอง คือ Am) แต่ด้วยเพลง APT จะเล่นในฟีลลิ่งที่มีกลิ่นอายความเป็นป๊อบพังก์หน่อย ๆ ทำให้อาจจะตัดทอนตัว 7 ออกไปจนเหลือเป็นคอร์ด E
และมีอีกจุดในคอร์ดสุดท้ายของท่อน Bridge คือคอร์ด D ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันคือใน Key : C จะมีคอร์ด Dm ส่วนคอร์ด D น่าจะมาจากเรื่อง Secondary Dominant ที่เป็น D7 และตัดทอนออกเหลือแค่ D เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ แทนที่จะเป็นคอร์ด D ที่ส่งไปยังคอร์ด G แต่กลับกันเป็นการเล่นคอร์ด G และส่งไปยังคอร์ด D แทน (G เป็นคอร์ด 1 ที่ส่งไปยังคอร์ด 5 ของตัวมันเอง คือ D7)
แต่ที่น่าสนใจของเพลงนี้ที่อยากจะเล่าในบทความนี้ ไมได้อยู่ที่การหยิบยืมคอร์ดต่าง ๆ จาก Secondary Dominant มา แต่อยู่ที่แพทเทิร์นในท่อน Hook หรือ F – G – Am – C (IV – V – vi – I) ซึ่งเป็นคอร์ดที่มีความต่อเนื่องจากการไล่ระดับ และมีความอุ่นนิดหน่อย ซึ่งเป็นแพทเทิร์นคอร์ดที่ติดหูได้ง่าย
แต่ถ้าเราลองสังเกตจะเห็นว่า จาก F – G – Am – C จะมีความห่างแต่ละ step เท่ากัน แต่จาก Am – C จะมีความห่างแบบก้าวกระโดด หรือ leap แพทเทิร์นคอร์ดในลักษณะนี้จะเรียกว่า Hopscotch Schema ซึ่งเราสามารถ Variation หรือเปลี่ยนคอร์ดในแพทเทิร์นโดยที่ยังให้ความรู้สึกเดิมอยู่ได้
จากรูปแบบที่ 2 เราสามารถเปลี่ยน Em ให้เป็น E7 ได้ ด้วยการใช้หลัก Harmonic Minor และยังทำแบบในเพลง APT คือตัดตัว 7 ออกให้เป็น E เพื่อให้ได้ความเป็นป๊อบพังก์ด้วย
หรือเราสามารถเปลี่ยนเบสให้เป็นตัว B หรือโน๊ตตัวที่5 ของคอร์ด E และเอาไปผสมกับสองคอร์ดท้ายของรูปแบบ Original ได้
ถ้าใครได้ลองปรับและเล่นตามนี้จะรู้สึกว่าแพทเทิร์นต่าง ๆ ยังให้ความรู้สึกแบบเดียวกับในเพลง APT แต่ก็มีลูกเล่นบางอย่างที่ทำให้รู้สึกน่าสนใจและแตกต่างออกไปด้วย นี่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ Hopscotch Schema ที่สามารถปรับเปลี่ยน Variation ต่าง ๆ ซึ่งนี่เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างเท่านั้น ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมสามารถติดตามข้อมูลเชิงลึกได้ในหลักสูตร The Real Producer หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกคนครับ
The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425