หลายๆคนอาจจะเริ่มทำเพลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว หรือเพิ่งเริ่ม แต่กำลังหาไมโครโฟนสำหรับการทำเพลงอยู่ แต่ยังงงสับสนว่าควรเลือกแบบไหน เพราะมีเยอะแยะไปหมด วันนี้เราเลยมาแนะนำวิธีเลือกซื้อให้ได้เข้าใจกันว่า ควรเลือกแบบไหนนะครับ
Microphone แบ่งหลักๆออกเป็นสองประเภทได้แก่
มันคือไมโครโฟนปกติที่เราพบเห็นได้บ่อย เช่น ไมค์ที่นักร้องไว้ร้องเพลง ไมค์คาราโอเกะ ต่างๆ นี่แหละครับ หน้าตามันส่วนมากแล้วจะเหมือนๆกัน ค่อนข้างเป็นมาตรฐาน คือหัวกลม แต่บางทีเราจะเจอบางรุ่นที่เป็นหัวแบน หรือหัวเหลี่ยม ที่จริงคือคุณสมบัติคล้ายกันหมดครับ ไมค์ประเภทนี้เสียบแล้วจะใช้ได้เลย เหมาะกับการอัดเสียงเครื่องร้องหรือเสียงเครื่องดนตรีทั่วไป และรองรับเสียงที่ค่อนข้างดังได้ดี เหมาะกับเครื่องดนตรีที่เสียงดังมากๆ เช่นพวก ทรัมเป็ต เครื่องเป่า หรือ ไว้จ่อตู้แอมป์ จึงเหมาะใช้บนเวทีสำหรับการแสดงสดด้วยนอกเหนือจากการอัดเสียงอย่างเดียว ทั้งนี้แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มีหลากหลายราคา โดยจะแตกต่างกันที่การรับเสียงในแต่ละย่านที่ทำได้ไม่เท่ากัน รุ่นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่จำพวก Shure SM57 , SM58 เรียกว่าเป็นไมค์สารพัดประโยชน์ที่ใช้อัดได้ทั้งเสียงร้องและเครื่องดนตรีได้สารพัดแบบครับ ราคาก็ไม่ได้แพงนัก อยู่หลักพันกลางๆ ก็ได้คุณภาพที่ดีแล้ว แต่ก็มีราคาสูงกว่านี้ไปเรื่อยๆยันหลักหมื่นเช่นกัน
คือไมโครโฟนอีกประเภทหนึ่งที่มีความไวในการรับเสียงได้ละเอียดกว่าแบบ Dynamic รูปร่างก็มักจะต่างกัน จะดูโปรกว่า และราคาก็มักจะแพงกว่า ไมค์ประเภทนี้ไม่ใช่เสียบแล้วใช้ได้เลย มันจำเป็นจะต้องมีไฟเลี้ยง 48v หรือที่เรียกว่า phantom ซึ่งมักจะมีฟังชั่นนี้ให้ใน audio interface หรือ mixer ต่างๆที่ทำมารองรับ ความพิเศษของไมค์ประเภทนี้อย่างที่บอกคือ การจับเสียงที่ละเอียดมากเป็นพิเศษ จึงเหมาะไว้ใช้อัดเสียงที่ต้องการความละเอียดชัดเจนสูง อาทิ เสียงร้อง หรือเสียงกีตาร์โปร่ง เรียกได้ว่า ถ้าใครที่ทำเพลงร้อง ควรจะมีไมค์คอนเดนเซอร์ดีๆซักตัว เอาไว้ใช้คู่กาย เพื่ออัดร้องครับ แต่จะไม่มีเหมาะใช้กับเครื่องดนตรีที่เสียงดัง เพราะจะจับเสียงได้ดีเกินไป ได้ยิน noise อะไรต่อมิอะไรชัดเจนไปหมด นั่นเท่ากับว่า การจะใช้ไมค์ประเภทนี้ได้ คุณต้องมีห้องหรือสถานที่ทำงานที่ค่อนข้างเงียบด้วย โดยไมค์ประเภทนี้มักมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าแบบแรกพอสมควร คือสตาร์ทที่เวิร์คๆก็หลักประมาณหมื่นแล้ว และมีแพงกว่านั้นไปเรื่อยๆยันหลักแสน ยิ่งแพง ตัวไมค์ก็มักจะยิ่งมีคาแรกเตอร์ที่มากขึ้น หรือรับเสียงบางย่านได้ดีขึ้น หรือมีฟังชั่นการปรับพื้นที่การรับเสียงได้หลากหลาย หรือฟังชั่นตัด noise , low cut ต่างๆ มาให้ด้วย โดยบางตัวอาจมีแถมไปถึง software plugin ที่ช่วยในการจำลองคาแรกเตอร์ไมค์ระดับตำนานบางรุ่นมาให้ด้วยซ้ำ
ยังมีไมค์อีกหลายแบบ ที่ที่จริงแล้วมันเป็น Dynamic กับ Condenser อย่างใดอย่างหนึ่งนี่แหละครับ แต่อาจจะมีไว้ใช้งานเฉพาะอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
จะเป็นเซตไมค์ Dynamic หลายๆตัว ที่เอาไว้จับตามตำแหน่งต่างๆของกลอง ที่คิดมาเป็นเซตที่เหมาะสมแล้ว สำหรับผู้ที่ทำห้องอัดที่มีกลองชุด ถ้าเรายังเป็นมือใหม่ อย่าเพิ่งไปสนใจมันก็ได้ครับ เพราะเราคงใช้กลองแบบเขียน midi เอา หรือถ้าจะอัดจริงๆก็คงต้องใช้บริการห้องอัด
เป็นประเภทไมค์ที่นิยมใช้ในโปรดักชั่นการถ่ายทำภาพยนตร์ซะเป็นส่วนใหญ่ คือจะมีการรับเสียงเป็นช่วงระยะที่แคบ เพื่อเก็บเสียงเฉพาะจุดที่ยิงไป ทำให้ไม่ได้ยิน noise มากนัก เหมาะใช้กับการอัดเสียงพูดของตัวละคร หรือ dialogue โดยเฉพาะ
เป็นไมค์ยอดนิยมในการทำโปรดักชั่นขนาดเล็ก อย่างพวก YouTube ต่างๆ มักจะมาเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก พกพาง่าย สะดวก ซ่อนง่าย ถือง่าย สามารถเอาไว้ในกระเป๋า หรือซ่อนในเสื้อได้ และทำให้ทำการถ่ายทำแบบที่ต้องการความคล่องตัวได้สะดวก แต่แน่นอนว่า มันจะติด noise มาระดับนึง ต้องให้ sound engineer หรือคนจัดการเสียงมา clean ออกตอนที่จะใช้งานอีกที แต่ยังไงก็จะมีคุณภาพดีกว่าการใช้ไมค์ที่ติดมากับตัวกล้องเลย
– เครื่องบันทึกเสียงเคลื่อนที่ + ไมค์
จะมีเครื่องบันทึกเสียงเสียงอีกแบบ ที่มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก สามารถนำออกไปบันทึกเสียง หรืออัดเสียงนอกสถานที่ได้หลากหลายแล้วแต่ความต้องการ และส่วนมากยังสามารถต่อไมค์เพิ่ม channel ในการอัดพร้อมๆกันได้หลายไมค์ เป็นที่นิยมมากในทั้งโปรดักชั่นขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และรวมไปถึง Music Production ด้วยเช่นกัน ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมอาทิเช่น Zoom มีราคากลางๆ ไม่ถูกไม่แพงมาก แต่คุณภาพถือว่าค่อนข้างดีมาก เทียบเคียงการใช้ Audio Interface ต่อไมค์
ที่จริงมันก็คือ ไมค์แบบ Condenser นี่แหละครับ หรือบางทีก็เป็น Dynamic ก็มี แล้วแต่เจ้าไหน รุ่นไหนจะใช้แบบไหน แต่มักจะทำไว้ให้สะดวกกับเหล่า สตรีมเมอร์ เกมเมอร์ ต่างๆ ที่มักเอาไว้ทำ live , podcast , stream โดยมักเสียบใช้ง่าย plug and play คืออาจจะเป็น usb มาให้เลยจบๆ ทำให้ไม่ต้องมาต่อ audio interface อีกที แต่คุณภาพเสียงจะสู้ไมค์แบบ Music Production ที่เน้นใช้งานระดับโปรคงไม่ได้
Port หรือรูเสียบ กับสาย สำหรับไมค์ มันมีหลายอย่าง ทั้ง USB , mini phone 3.5 mm , Jack Phone ปกติ และ รูแบบ XLR
โดยถ้าเป็นไมค์ที่เหมาะสมกับการทำงานในระดับโปร แบบ Music Production เราควรเลือกไมค์ที่เป็น รูแบบ XLR จะมาตรฐานดีที่สุดครับ โดยในการใช้งานต้องเสียบผ่านรูนี้ที่ Audio Interface เอา
สายแบบอื่น หรือรูแบบอื่น ที่จริงถามว่าใช้ได้มั้ย ก็ใช้ได้ เพียงแต่ว่า ส่วนใหญ่แล้วไมค์ที่เป็นรู port แบบอื่นๆ จะไม่ใช่ไมค์ระดับโปร และจะมีคุณภาพเสียงที่ดีไม่เท่าแบบ XLR มาตรฐานครับ
– คุณควรมี Condenser สักตัว ที่ราคาเริ่มต้นสัก 5000-10000 ขึ้นไป สำหรับการอัดเสียงร้อง และเสียงเครื่องดนตรีที่มีความละเอียดสูง เช่นกีตาร์โปร่ง
– คุณควรมี Dynamic อีกสักตัว ราคาราวๆ 4000-6000 ก็โอเค สำหรับไว้อัดเสียงเครื่องดนตรีอื่นๆโดยทั่วไป หรือบางทีก็ใช้สำหรับพลิกแพลงอัดพร้อมกันสองไมค์ พร้อมกับตัว Condenser
หากคุณมีไมค์พร้อม, หูฟังพร้อม, และอุปกรณ์อื่นๆที่เตรียมมาพร้อมแล้ว สิ่งที่ต้องพร้อมขั้นต่อไปคือความรู้ที่จะใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าคุณอยากเรียนรู้การทำเพลงขั้นลึก ทุกกระบวนการ ลองดูหลักสูตร The Real Producer ของเราได้ครับ เราสอนทุกอย่างที่จำเป็นกับการเป็นอาชีพโปรดิวเซอร์ ตั้งแต่ 0 – 100 สู่มืออาชีพ สนใจติดต่อแอดมินใน line @verycatacademy หรือที่ link รายละเอียดข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติมด้านล่าง post ได้เลยครับ
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy