ยุคนี้ เป็นยุคที่คนมาทำเพลงด้วยตัวเองกันเยอะมากกว่าก่อนยุค 2000 ด้วยเพราะเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ทำให้การทำเพลงง่ายขึ้นและใช้งบประมาณน้อยลงกว่าสมัยที่ยังไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทำเป็นสิบเท่า ประกอบกับการเติบโตของ internet และ social media ต่างๆ อาทิ youtube ทำให้การทำเพลงเป็นเรื่องแพร่หลายกว่าเมื่อก่อน และมือใหม่หรือใครก็สามารถเริ่มทำเพลงได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งค่ายใหญ่หรือห้องอัดราคาแพงแบบเมื่อก่อน เราจึงจะเห็นศิลปินหน้าใหม่ เพลงใหม่ๆผุดขึ้นมากมาย และแน่นอนโปรดิวเซอร์หน้าใหม่ด้วยเช่นกัน
ในอดีตการจะเป็นโปรดิวเซอร์ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านประสบการณ์ทางดนตรีมาอย่างโชกโชน จนสามารถมารับหน้าที่ผลิตดนตรีให้กับศิลปินได้ แต่ในปัจจุบันอย่างที่บอกไปว่า ทุกๆอย่างนั้นง่ายลงมาเยอะ ทำให้มีโปรดิวเซอร์หน้าใหม่ๆ ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะแบบโปรดิวเซอร์รุ่นเก๋า ที่สามารถทำเพลงด้วยตัวเองจบในคอมพิวเตอร์ตัวเดียวแล้วสร้างเพลงออกมาได้เช่นกัน ทั้งนี้ในโพสต์นี้ทางผมจะไม่ขอตัดสินว่า แบบไหนคือโปรดิวเซอร์หรือแบบไหนไม่ใช่กันแน่ ทางผมขอเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ ในฐานะที่ทำงานมาในช่วงสิบปีที่เปลี่ยนผ่านจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่
แต่ที่ปฎิเสธไม่ได้แน่นอนเลยคือ โปรดิวเซอร์ที่เก่ง ย่อมต้องมีทั้งความรู้ ฝีมือ และประสบการณ์ที่มากพอที่จะทำสิ่งยากๆได้ อาทิ เพลงทุกแนว ทุกรูปแบบ ทุกระดับความยาก ไม่ใช่เฉพาะเพลง pop rock ทั่วไป อาทิ Jazz , Classic , Film Score ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าโปรดิวเซอร์ที่มีความรู้น้อย แล้วมาทำเลย เพราะขอบเขตของสิ่งที่ทำได้จะแคบกว่า จำกัดกว่า และนำไปถึงความสามารถในการรับงานที่อาจจะแคบ เช่นทำได้เฉพาะ edm ,pop หรือ hiphop ง่ายๆ (เพราะความรู้ทางดนตรีที่้จำกัด จึงทำได้แค่เอา loop มาวางต่อกัน ไม่ใช่การสร้างใหม่ขึ้นมา) โดยการมีข้อจำกัดเยอะว่าทำแบบนั้นไม่ได้ แบบนี้ไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้อย่างมั่นคงในระยะยาว ฉะนั้นถ้าเป็นโปรดิวเซอร์รุ่นใหม่ มันก็มีเรื่องที่ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อพิสูจน์กันในระยะยาว
ดั้งเดิมนิยามของโปรดิวเซอร์ ที่จริงตรงตัวของมันคือ แปลว่า ผุ้ควบคุมการผลิต ซึ่งในที่นี้เราพูดกันถึงวงการเพลงหรือดนตรี โปรดิวเซอร์จึงเป็นบุคคลที่รับหน้าที่ผลิต และควบคุมการผลิตเพลงให้ออกมาสำเร็จ เรียกง่ายๆว่า ถ้าคุณอยากมีเพลง หรืออยากเป็นศิลปิน แต่คุณทำอะไรไม่เป็นเลย คุณสามารถกำเงินเดินเข้าไปหาโปรดิวเซอร์ให้เค้าทำให้ได้เลย จนจบกระบวนการ
คำว่าควบคุมดูแลการผลิต มันแปลว่า ทำยังไงก็ได้ให้งานมันออกมาได้และดี ตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ นั่นแปลว่า จะทำเองหรือไม่ต้องทำเองก็ได้ ขอให้ทำการควบคุมมันได้ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะ ก่อนจะควบคุมการผลิตได้นั้น นั่นแปลว่า ต้องทำเป็น หรือเคยทำมาก่อนแล้ว ถึงเป็นคนควบคุมได้
หน้าที่นี้ควรมีประสบการณ์ทำดนตรีเป็นทุกกระบวนการมาก่อนแล้ว ถึงจะเป็นได้ อย่างการแต่งเพลง Song Writing , การประพันธ์ Composing , การทำดนตรี Arranging จนไปถึงการ Mix,Mastering แบบ Sound Engineer เพราะต้องเป็นคนที่มองออกว่า งานแบบนี้มีวิธีทำยังไง ใช้อะไรบ้าง กระบวนการเป็นยังไง ถึงทำให้ออกมาได้แบบนี้ ตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ หรือตามที่ศิลปินเป็น
แต่อย่างที่บอกไป เมื่อนิยามมันแตกต่างไปจากเดิม เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะบางทีปัจจุบันเราจะพบว่า ผู้ที่เรียกตัวเองว่าโปรดิวเซอร์บางคนไม่ได้ทำได้ทุกกระบวนการ หรือทำบางกระบวนการให้ลูกค้า อย่างเช่นการ Mix , Master ก็เรียกว่าโปรดิวเซอร์ แท้จริงแล้วแบบไหนใช่หรือไม่ใช่กันแน่ล่ะ?
ทีนี้ตอนนี้ ณ ปี 2023 นิยามที่หลากหลายเหล่านั้น มันมีนิยามแบบไหนบ้าง เราจะมาเจาะกันในวันนี้ครับ
คือโปรดิวเซอร์ที่ทำหน้าที่อย่างน้อยหนึ่งอย่างในกระบวนการ และเป็นคนชี้ผิดชี้ถูก กำกับการผลิตให้กับทีมงานส่วนที่เหลือ เรียกว่าเหมือนเป็นหัวหน้างานที่ควบคุม Direction ว่าผ่านไม่ผ่านน่ะแหละ ซึ่งแบ่งออกเป็นอีกห้าแบบ คือ
โปรดิวเซอร์ที่รับโจทย์งานมาจากค่ายหรือศิลปินหรือลูกค้า แล้วทำหน้าที่หลักในการ แต่งเพลง เนื้อร้องทำนอง เป็นหลัก แล้วในส่วนอื่นๆ อย่างการเรียบเรียงดนตรี หรือ Mix,Master มีการส่งต่อให้ทีมที่เป็น Music Arranger หรือ จ้าง Sound Engineer ทำหน้าที่ต่อ โดยตัวเองเป็นคนตรวจงาน
การทำงานของโปรดิวเซอร์ลักษณะนี้ อาจพบเห็นได้จาก นักแต่งเพลงที่ผันตัวเองมาเป็นโปรดิวเซอร์ หรือพวกโปรดิวเซอร์สายเพลงโฆษณา ที่รับโปรเจคมาจากลูกค้า เป็นต้น
โปรดิวเซอร์ลักษณะนี้ คือเน้นทำดนตรีให้กับเพลงที่ศิลปินแต่งมา หรือมีนักแต่งเพลงทำมาอยู่แล้ว โดยเมื่อออกแบบดนตรี ทำให้เสร็จแล้ว อาจจะมีทีม Sound Engineer ทำการ Mix,Master ให้อีกที โดยโปรดิวเซอร์ประเภทนี้จะเกิดจาก คนที่เป็น Arranger มานานระดับหนึ่งจึงผันตัวมารับโปรดิวซ์
โปรดิวเซอร์ที่ทำหน้าที่ อัด และ Mix , Master ให้กับเพลงที่ศิลปินแต่งและเรียบเรียงมาแล้ว ให้จบกระบวนการ ส่วนใหญ่จะช่วยทำให้กับศิลปินที่ทำเพลงเองเป็น ทั้งแต่งและเรียบเรียง หรือบางทีก็เป็นวงดนตรี จะว่าไปโปรดิวเซอร์แบบนี้ก็ไม่ต่างกับการเป็น Sound Engineer ให้ศิลปินนั้นๆ ถ้าจะเรียกให้ถูกคือ น่าจะเรียกว่า Sound Engineer มากกว่าจะเรียกว่าเป็นโปรดิวเซอร์ครับ แต่ในบางทีอาจมีบางอย่างที่มาช่วยตัวศิลปินตัดสินใจ Direction อะไรบางอย่าง เลยอาจจะเรียกว่าโปรดิวเซอร์ไปด้วยเช่นกันครับ เส้นแบ่งมันเบาบางเหลือเกิน จนผมขอไม่ตัดสินละกัน
โปรดิวเซอร์แนวนี้คือ พวกดนตรีประกอบต่างๆ ที่ไม่มีเนื้อร้อง โดยจะเป็นการทำทั้งทำนองหลักและดนตรีในขั้นตอนด้วยตัวคนเดียวเลย ไม่แยกกระบวนการแบบเพลงร้อง และอาจจะมีทีมหรือส่งให้ Sound Engineer ทำเรื่อง Mix , Master ให้ต่อ โดยลักษณะโปรดิวเซอร์แบบนี้ มักเกิดขึ้นกับพวกงานที่เป็นดนตรีบรรเลง อาทิ สายดนตรีประกอบภาพยนตร์ ดนตรีประกอบเกม เป็นต้น
โปรดิวเซอร์แบบครบเครื่องที่ค่อนข้างทำได้หลายอย่าง หรือครบเครื่องในตัวเอง คือสามารถทำได้มากกว่าหนึ่งกระบวนการ อาจจะ 2 หรือทั้ง 3 กระบวนการ คือ Song Writing , Arragning , Mix & Mastering จบงานด้วยตัวคนเดียวโดยไม่ต้องพึ่ง Sound Engineer เลย โดยรวมถึงสายดนตรีบรรเลง ที่ทำการ Compose ด้วยตัวเองด้วย โปรดิวเซอร์สายนี้เป็นได้ทั้งสายงานทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเพลงศิลปิน เพลงโฆษณา หรือ ดนตรีประกอบ
ในความเป็นจริง โดยมากแล้ว โปรดิวเซอร์หน้าใหม่หลายๆคนก็มักจะเริ่มจากการเป็น All Rounder / One Man มันคือจุดเริ่มต้นของอาชีพโปรดิวเซอร์ที่โปรดิวเซอร์หลายๆคนเคยผ่านมากันก่อน คือ ในระยะแรกๆของการทำงาน คุณอาจจะยังเริ่มต้นด้วยการรับโปรเจคเล็กๆ ที่ไม่ได้มีงบเยอะ ทำให้คุณต้องทำทุกกระบวนการด้วยตัวคนเดียวให้ได้ เป็นการเซฟงบประมาณและได้ค่าจ้างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การทำงานในยุคปัจจุบันที่สะดวกขึ้น และงบประมาณที่ไม่ได้มากสำหรับงานโปรเจคเล็กๆ มันจะเป็นสถานการณ์บังคับไปเองให้ต้องทำเป็นทั้งสามกระบวนการ จบงานให้ได้ด้วยตัวเอง
เมื่อคุณทำงานไปพักใหญ่ๆ จนเริ่มเติบโตในสายอาชีพ งานเริ่มมากขึ้น โปรเจคเริ่มใหญ่ขึ้น ค่าจ้างมากขึ้น คุณจะเริ่มไม่มีเวลาไปทำทุกกระบวนการเองแล้ว ทุกๆคนมักจะเข้าสู่จุดที่ต้องมีทีม หรือมีการจ้างคนที่ถนัดสายเฉพาะทางมาร่วมในงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็วของการทำงาน และคุณภาพของงานที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ตัวคุณเองก็จะมีความชัดเจนมากขึ้นด้วยว่า คุณชอบหรือไม่ชอบทำหน้าที่ไหนกันแน่ คุณถนัดในส่วนไหนมากกว่า คุณลงลึกกับสายไหนมากกว่ากัน ระหว่าง Song Writing , Arranging , Sound Engineer และเมื่อทุกคนทำเฉพาะงานที่ตัวเองถนัด ทำได้ดี และแฮปปี้ที่จะทำ ถึงจะเข้าสู่การเป็นโปรดิวเซอร์เฉพาะสายได้แก่ ข้อ 1.1-1.4 ที่กล่าวไป
แต่ในบางกรณี โปรดิวเซอร์บางคนก็ยังเลือกที่จะทำหลายๆกระบวนการ หรือทุกกระบวนการด้วยตัวเองคนเดียวอยู่ ก็เป็นกรณีที่พบเห็นได้ทั่วไปครับ แล้วแต่ทางเลือก และความชอบ ความถนัดของแต่ละคนเลย
มักเกิดกับโปรดิวเซอร์ที่ผ่านงานทุกแบบจนโชกโชนแล้ว คือเคยเป็นประเภทที่ 1 มานาน เติบโตในสายงานมาพักใหญ่ จนไม่ค่อยมีเวลาลงไปทำเองแล้ว เพราะดูแลโปรเจคลูกค้าอยู่เยอะ จนมีทีมงานจัดการ หน้าที่ของโปรดิวเซอร์แบบนี้จึงเป็นการควบคุมการผลิตอย่างเดียวจริงๆ คือ เป็นคนที่รับโจทย์จากลูกค้ามา รับเงินมาบริหารว่าจะให้ใครทำส่วนไหนตำแหน่งไหน เป็นคนเลือกทีมงานด้วยตัวเองให้เหมาะกับชิ้นงานนั้นๆ แล้วบรีฟงานให้ทีมส่วนต่างๆ อาทิ Song Writer , Arranger , Sound Engineer , นักร้อง นักดนตรี ว่าต้องการแบบไหน เป็นคนตัดสินใจว่างานแบบไหนผ่านหรือไม่ผ่าน ก่อนที่จะนำเสนอลูกค้าให้ผ่านอีกที
อย่างที่บอกไปว่า ถ้าไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์มานานจนมองงานออกทุกรูปแบบว่า แบบไหนต้องทำยังไง ผลิตยังไงถึงจะได้แบบนั้น ถึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ยังไม่ควรทำหน้าที่โปรดิวเซอร์แบบนี้ครับ
ในบางครั้งบางที่ก็อาจเรียกตำแหน่งนี้ว่า Executive Producer ซึ่งไม่เสมอไป เพราะแต่ละที่มีชื่อเรียกตำแหน่งและรายละเอียดงานไม่เหมือนกัน บางครั้งตำแหน่ง Executive Producer อาจเป็นแค่คนอนุมัติงานชิ้นนั้นๆ ให้ Producer คอยควบคุมการผลิตอีกทีก็เป็นได้ครับ
โปรดิวเซอร์ลักษณะสุดท้าย ที่จริงแล้วคือศิลปินนั่นแหละครับ คือเป็นเจ้าของชิ้นงานนั้นๆโดยตรง เป็นศิลปินที่ทำงานเพลง งานดนตรีของตัวเอง เพียงแต่ทำงานในลักษณะ Producer เฉยๆ อาทิเช่น แต่งเพลง เรียบเรียงเพลงเอง ทำเองหมดทุกกระบวนการ หรือในหลายๆกระบวนการ แต่อาจจะไม่ได้ร้องเอง คือมีการใช้นักร้องเป็นคนอื่นอีกที หรืออาจจะเป็นลักษณะเพลงบรรเลง เช่นนี้เป็นต้น
โปรดิวเซอร์ประเภทนี้ ถ้าเป็นลักษณะเพลงร้อง มักจะเป็นคนที่เป็นศิลปินเจ้าของผลงาน แต่ไม่ได้ร้องเอง อาทิอย่าง อัลบั้มส่วนตัวของพี่บอยด์ โกสิยพงษ์ เป็นต้น หรือพบเห็นได้บ่อยๆในแนวดนตรีที่เน้นบรรเลงมากกว่าร้อง อาทิพวก Electronic , EDM เรามักเรียกศิลปินพวกนี้ว่า Producer Artist เช่นกัน
ที่จริงแล้ว Producer Artist ก็ไม่จำเป็นว่าต้องทำเองทุกกระบวนการเช่นกัน อาจเป็นแค่บางส่วน เช่น บางคนทำเฉพาะ Song Writing , Compose , Arranger ไม่ได้ทำ Mix & Mastering ก็ยังถือเป็น Producer Artist เช่นกัน เพราะตัวเค้าคือเจ้าของงาน
ในทางกลับกัน ถ้างานที่เป็นคนทำเฉพาะส่วนเทคนิค Sound Engineer อย่าง Mix , Mastering แต่ไม่ได้ทำส่วนอื่น มักไม่ถือเป็น Artist หรือ Producer แต่จะอยู่ในส่วนของ Sound Engineering ที่มาช่วยจบกระบวนการให้เฉยๆมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะ ส่วนของการจัดการเรื่องเสียง ไม่ใช่ส่วนที่เป็น Design หรือ คอร์หลักของชิ้นงานจนจะถือเป็นเจ้าของงานได้ ส่วนของคน Song Writer , Composer , Arranger ที่เป็นการ Design ดนตรีโดยตรงจะมีภาษีดีกว่า โดยอย่างถ้าเรามองในกฎหมายลิขสิทธิ์ ก็มีลิขสิทธ์ของทั้ง เนื้อร้อง ทำนอง ดนตรี แต่ไม่มีลิขสิทธิ์ของการทำ Sound Engineer นั่นเองครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนนะครับ ให้เข้าใจเคลียร์ขึ้นว่า Music Producer คืออะไรกันแน่
ถ้าคุณอยากเป็นโปรดิวเซอร์ที่แท้จริง รู้ลึกในสิ่งที่ทำจนแตกฉาน เพิ่มพูนสกิลจนเหนือกว่าระดับทั่วๆไป หากคุณพร้อมจะจริงจังเพื่อมัน หลักสูตร The Real Producer ถูกออกแบบมาเพื่อคุณครับ ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร เรียนอะไรมา มาเริ่มต้น Compose Your Dream ไปด้วยกันกับ Community ของเราได้ สนใจติดต่อแอดมินที่ line @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างสุดนี้ได้เลยครับ
————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
.
ถ้าคุณรู้ตัวแล้วว่าดนตรีไม่มีทางลัด ถ้าคุณอยากเข้าใจ และเชี่ยวชาญ
ถ้ามีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน ผมไม่อยากให้คุณหลงทาง
มาคุยปรึกษากันได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy