เรียนทำเพลง ปริญญาดนตรีจำเป็นกับอาชีพดนตรีหรือไม่

ปริญญาดนตรีจำเป็นกับอาชีพดนตรีหรือไม่?

Share via:

Krissaka Tankritwong

ผมมักเจอคำถามนี้อยู่บ่อยๆกับคนที่มาปรึกษา โดยเฉพาะผู้ปกครองของน้องๆที่จะมาสมัครเรียน ผมตอบให้แบบกระชับเลยนะครับ

ในที่นี้ถ้าพูดถึง “ใบ” ปริญญา นะครับ

ถ้าคิดจะเป็นอาจารย์ในมหาลัย หรือในโรงเรียน = จำเป็น
ถ้าคิดจะประกอบอาชีพดนตรีอย่างอื่น = ไม่จำเป็น
แต่ถ้าคุณอยากเป็นคนเก่งในอาชีพดนตรี แล้วคุณ support ได้ = เรียนเถอะ

ปัจจุบันการทำอาชีพดนตรี 100% ในไทย ไม่มีใครดูใบปริญญากันหรอกครับ หลักๆดูกันที่ ฝีมือ และ portfolio ว่าเคยทำอะไรมาบ้าง ผลงานเป็นยังไง เข้าตามั้ย แบบนี้มากกว่า
จะยกเว้นเพียงแค่ ถ้าอยากจะทำอาชีพครูดนตรีหรืออาจารย์ ทีนี้จะเป็นเรื่องระบบทางการที่เค้าต้องการใบรับรองละ

ฉะนั้นแล้วการเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยจะมีไปทำไมล่ะ ถ้าใบปริญญามันแทบไม่มีความหมายอะไร?

เรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยไปทำไม

คนเราเรียนก็เพื่อต้องการเก่งในเรื่องนั้นใช่ไหมล่ะครับ มันคือจุดประสงค์หลักของการเรียน ไม่ใช่ใบปริญญา จะอาชีพไหนๆก็เหมือนกันแหละครับ ทุกๆที่ต้องการคนเก่งเข้ามาทำหน้าที่ต่างๆเพื่อสังคม เพื่อพัฒนาประเทศ ถึงต่อให้ไม่ได้ดูใบปริญญาอะไร แต่คุณก็ต้องการหมอที่เก่ง วิศวะที่เก่ง นักการตลาดที่เก่ง ใช่ไหมล่ะครับ ใบปริญญาเป็นแค่หลักฐานชิ้นนึงที่รับรองว่าความสามารถของคุณผ่านเกณฑ์บางอย่าง เพียงแต่ว่าถ้าคุณมีหลักฐานอื่นที่มันเป็นที่ประจักษ์กว่านั้น เช่น ฝีมือ หรือผลงานเพลงที่ให้ดูให้ฟังได้เลย มันการันตีในตัวมันเองอยู่แล้ว มันเลยไม่จำเป็นต้องดูใบ

ส่วนเหตุผลที่คนส่วนนึงตัดสินใจไปเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยยังมีอยู่ก็เพราะ เค้าพบว่าวิชาดนตรีที่สอนนอกมหาวิทยาลัยมันไม่เพียงพอต่อสิ่งที่เค้าต้องการครับ

คนส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางดนตรีมาก่อนอาจคิดว่าดนตรีเป็นเรื่องงานอดิเรก เป็นเรื่องเล่นๆ ที่ไม่ได้ต้องการความรู้ลึกซึ้งอะไรมากถึงขนาดต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัย นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดหมดเลย
คนที่รู้จะรู้ว่า เรื่องของดนตรีนั้นเป็นศาสตร์ที่ลึกมากๆ เรียกได้ว่าเรียนกันแทบทั้งชีวิตก็ไม่สามารถ master ดนตรีได้ทุกอย่างในโลกนี้ ในกระบวนการทำดนตรีมันก็ยังแบ่งย่อยเป็นหลายสาย หลายหน้าที่อีก ไม่ว่าจะนักประพันธ์ วาทยากร นักดนตรี นักร้อง sound engineer ช่างซ่อมเครื่องดนตรี นักดนตรีบำบัด นักวิชาการทางดนตรี ครู อาจารย์สอนดนตรี ฯลฯ อันนี้แค่หน้าที่นะครับ ยังไม่ได้แบ่งแยกสายไปถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเฉพาะเครื่องดนตรีนั้นๆ เช่น เปียโน กีตาร์ ไวโอลิน เบส กลอง ทรอมโบน ทูบ้า โอโบ ฯลฯ

คือถ้าคุณอินกับเรื่องพวกนี้ รักดนตรี และอยากมีอาชีพอยู่ในวงการดนตรีแบบเต็มตัว มันไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณไม่ต้องเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัย เพราะการที่คุณจะหาสังคมดนตรีที่สนใจในดนตรีลึกๆเหมือนกันข้างนอกคือยากมากๆ และระดับของการเรียนการสอนดนตรีในกับนอกมหาวิทยาลัยนั้นก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เรียกได้ว่า นอกมหาวิทยาลัยส่วนมากแล้วจะเป็นการเรียนการสอนในระดับเล่นแค่เป็นงานอดิเรก แต่ไม่ได้สอนลึกซึ้งถึงขึ้นเป็นอาชีพ หรือสามารถเป็น Composer , Producer ที่เก่งระดับท็อปและได้รับการยอมรับได้เลย หรือถึงทำได้ก็ต้องใช้ความพยายามขวนขวายเองโดยไม่มีคนชี้แนะ ซึ่งยากกว่ามากๆ ฉะนั้นที่จริงแล้ว

การเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยจึงเป็นทางตรงที่สุดแล้วในการก้าวสู่การประกอบอาชีพดนตรี ผมไม่เห็นว่าไม่ควรเรียนตรงไหน

แต่…

ปัญหาคลาสสิคที่เจอกันแทบทุกบ้าน

ที่ผมพูดไปทั้งหมดมันเป็นอุดมคติของสังคมที่ความเป็นอยู่ไม่ขาดแคลน ในสภาพเศรษฐกิจของประเทศเรา ทุกคนก็คงรู้กันอยู่ว่าเป็นยังไง มีปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆในสังคมของเรา อาทิเช่น
ครอบครัวที่บ้านไม่สนับสนุนให้เรียนดนตรีเป็นอาชีพ เพราะรู้สึกว่าไม่มั่นคง หรือแม้แต่สภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยก็ตาม เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า วิชาดนตรีนั้น ยาก แพง และยังไม่มั่นคง ซึ่งมันก็เป็นเรื่องจริงครับ ผมขอใช้ว่าค่าเฉลี่ยมันเป็นแบบนั้นจริงนะ เราจะไม่นับคนที่อยู่ระดับ top ของสายอาชีพ คือคนพวกนั้นเป็นคนส่วนน้อยที่มีทุกอาชีพอยู่แล้ว แล้วลอยตัวอยู่แล้ว

ส่วนใหญ่แล้วในสังคมไทย จะถูกปลูกฝังให้เรียนให้สูง และเรียนวิชาชีพที่จะทำให้ตัวเองรวย โดยอาชีพอันดับต้นๆ ที่ผู้ปกครองสนับสนุนอยากให้ลูกเรียน เพื่อให้มีชีวิตที่ดี ได้แก่จำพวก แพทย์ วิศวะ บัญชี เภสัช ซึ่งแทบจะหายากมากๆที่จะมีดนตรีติดอยู่ใน list และเหล่าผู้ต้องคำสาปดนตรีทั้งหลายอย่างพวกเรา ที่ยังไงก็ตัดใจจากมันไม่ได้นี่แหละที่เดือดร้อน เพราะมีเพียงผู้โชคดีเพียงไม่กี่บ้านที่สนับสนุนและมีทุนทรัพย์มากพอที่จะให้เรามาใช้กับเรื่องดนตรี เหล่าคนรักดนตรีที่ถูกสาปส่วนมากก็ยังเป็นชนชั้นกลางลงมา ที่ครอบครัวก็ยังต้องคิดถึงหนทางดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดมาก่อนที่จะเอาชีวิตมาแขวนไว้กับเรื่องดนตรีอยู่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่การเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยเลยเป็นเพียงแค่ความฝันของใครหลายๆคน

ส่วนตัวผมเองยังถือว่าโชคดีที่ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองทัน และได้เรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างที่ฝัน เป็นโอกาสที่ไม่ใช่จะมีกันได้ทุกคน สมัยก่อนผมก็เป็นเหมือนคุณหรือคนอื่นๆที่บ้าดนตรีน่ะแหละครับ พยายามศึกษาด้วยตัวเอง ที่บ้านก็อยากให้เรียนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ดนตรีเพื่อเป็นวิชาชีพไว้ แต่พอเราขวนขวายศึกษาทุกอย่างทุกที่ที่เราหาได้นอกมหาวิทยาลัยแล้ว เรากลับพบว่า
ไม่มีที่ไหนที่ตอบโจทย์สิ่งที่เราต้องการได้เลย เพราะสิ่งที่เราอยากเป็นอยากทำได้ มันมากกว่าการแค่เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรก แต่เราอยากจะเป็น great composer ต่างหากล่ะ

ด้วยการสนับสนุนและเข้าใจจากที่บ้าน ทำให้ผมได้รับโอกาสนั้น แม้ผมจะจบปริญญามาใบนึงแล้วก็ตาม แต่ภายใต้โอกาสนั้นมันก็ต้องแลกกับอะไรหลายอย่างในชีวิต ค่าเรียนร่วมล้าน กับเวลา 4-5 ปี บวกกับชีวิตของเราในช่วงนั้นที่ต้องทุ่มเทให้ดนตรี แต่สำหรับผมเองแล้ว ถ้าคุณเป็นคนที่บ้าดนตรีพอนะ ผลลัพธ์ที่ได้รับกลับมามันก็คุ้มค่า เพราะชีวิตผมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนับแต่นั้น จากคนธรรมดาๆระดับค่าเฉลี่ย ผมกลายเป็นเด็กเกียรตินิยมอันดับ 1 เพียงเพราะความชอบ ความหลงใหลในดนตรี มันทำให้เรามีแรงในการขวนขวายมากกว่าการเรียนสิ่งที่เราไม่ได้อิน และทำให้เราเก่งกว่าระดับปกติ ผมอยากบอกได้ว่า “ความชอบคือพรสวรรค์อย่างหนึ่ง”

แต่อย่างที่บอกว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสทำแบบนี้ได้ คนเราเกิดมามีสองมือเท่ากัน แต่เงื่อนไขชีวิตของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บางทีก็เสียสละเงิน เวลา ชีวิตและความตั้งใจขนาดนั้น เพื่อดนตรี ก็อาจจะ
ทำให้บางคนอยู่รอดไม่ได้ เงื่อนไขต่างๆทำให้บางทีต้องเลือกทางอ้อมมากกว่าทางตรง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในชีวิต

หลังจากที่ผมคลุกคลีอยู่ในวงการมาอีกสิบปี และมองย้อนกลับไป นี่เป็นปัญหาที่ผมเห็นมาตลอดตั้งแต่มา 20 ปี คือมีคนจำนวนนึงที่เป็นแบบผม แบบคุณ แบบเดียวกัน คนที่โดนคำสาปดนตรี ไม่ว่ายังไงวันนึงก็ต้องมาทำดนตรี ต้องอยากรู้จนถึงที่สุดให้ได้ อยากทำให้ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีโอกาสเรียนเรื่องพวกนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องที่สอนกันในมหาวิทยาลัยคณะดนตรี ส่วนที่สอนข้างนอกนั้นส่วนใหญ่แล้วหาเรียนได้แต่ระดับเบสิค

ทางเลือกสำหรับผู้ที่ยังไม่ทิ้งความฝัน

การที่คุณมีความฝัน ผมเข้าใจนะ และผมก็เข้าใจด้วยว่าความจำเป็นในชีวิตอาจทำให้คุณไม่สามารถตัดสินใจไปเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยได้
แม้คุณจะพลาดโอกาสนั้นไป แต่ถ้าคุณยังไม่ทิ้งความฝันนั้น ผมมีทางเลือกอีกทางมาให้

มันคือเหตุผลที่ทำสร้างหลักสูตรนี้ขึ้นมาครับ “The Real Producer”

The Real Producer

นับ 0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์ เป็นหลักสูตรที่ถูกสร้างมาเพื่อคนที่อยากจริงจังกับดนตรี อยากประกอบอาชีพ Producer , Composer ทั้งหลักสูตรแบ่งเป็น 5 ระดับ 18 วิชา โดยใช้เวลาเรียนราวๆ 2 ปี แต่คุณสามารถเลือกเรียนเฉพาะตามวิชาที่ตัวเองสนใจได้ มีตั้งแต่ระดับเบสิค ยัน advance ยัน expert

เรามีสอนตั้งแต่ระดับเบสิคครับ แต่ผมเดาว่าคุณอาจจะเรียนจากท่ีอื่นมาแล้ว เพราะมีคอร์สมากมายที่สอนเบสิคให้คุณ
ฉะนั้นเรื่องที่โดดเด่นของเราคือ ที่นี่เราเน้นเรื่องที่เกินเบสิค เราจะปั้นให้คุณไปถึง advance ยัน expert แบบไม่ขายฝัน เราพูดตรงๆ กับคุณเลยว่ามันใช้เวลาเรียนเยอะแค่ไหน ต้องใช้เงินเท่าไร
เรายินดีให้คำปรึกษา ไหวไม่ไหวคุณพิจารณาเอาเอง เรียนน้อยก็ได้น้อย เรียนเยอะก็ได้เยอะ ตรงไปตรงมาแค่นั้น ดนตรีไม่มีทางลัด
มีเรื่องอะไรให้เรียนรู้บ้าง ซึ่งมันอาจจะเยอะและลึกกว่าที่คุณคิดมากๆ มันเหมาะกับคนที่มีฝันทางดนตรี คนเอาจริงที่อยากเรียนแบบลึกๆ จริงๆ เพราะอยากเก่ง อยากเป็นมืออาชีพ
ถ้าคุณเคยเรียนเบสิคจากที่อื่นมาแล้วสามารถคุยปรึกษาได้ว่า ลัดมาเรียน advance ขั้นไหนได้เลย
ติดต่อแอดมินขอกรอกแบบฟอร์มไว้ แล้วนัดหมายปรึกษาได้ฟรีครับ เพื่อให้ผมสามารถวิเคราะห์ได้ไวว่า คุณมาถึงระดับไหนแล้ว แล้วยังขาดเรื่องอะไรอยู่

เจอกันในคลาสนะครับ ถ้าคุณยังไม่ทิ้งความฝันทางดนตรีของคุณ

—————————

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

  • เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
  • เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.