สอนแต่งเพลง จ้างทำเพลง สักเพลงนึงใช้เงินเท่าไหร่

จ้างทำเพลงสักเพลงนึง ใช้เงินเท่าไร?

Share via:

Krissaka Tankritwong

สำหรับมือใหม่ที่กำลังสนใจในการเป็นศิลปิน มีเพลงเป็นของตัวเอง น่าจะมีหลายคนที่อยากรู้ว่าใช้เงินประมาณเท่าไร วันนี้ผมจะมาตอบให้นะครับ
คำตอบที่ผมจะให้มันไม่ใช่เป็นคำตอบง่ายๆ ที่เป็นตัวเลขตายตัว แต่การคำนวณค่าใช้จ่ายตรงนี้มันมีรายละเอียดหลายอย่างที่ต้องพิจารณาถึงจะคิดออกมาได้ชัดเจน
ถ้าให้พูดกันจริงๆ ราคาของการทำเพลงนั้น “มีทุกราคา” ตั้งแต่ “หลักร้อยไปจนหลักล้าน” มีคนรับทุกราคา และก็มีคนจ้างทุกราคาเช่นกัน

งบประมาณแบบไหน จะได้งานระดับไหน?

ผมยกตัวอย่างคร่าวๆนะครับ
ถ้าคุณจ้างหลักร้อย คนทำอาจจะไม่ได้มีความรู้อะไรมาก เอา loop หรือ sample ฟรีๆมาแปะๆให้คุณ แล้วจบงาน

  • มันเหมาะกับงานที่คุณไม่ซีเรียสจริงๆ อาจจะแค่แปะๆในวิดิโอในการบ้านวิชาอะไรสักอย่าง ส่งคุณครู

ถ้าคุณจ้างหลักพัน คนทำอาจจะทำด้วยตัวเองจบงานด้วยตัวเองหมด แต่อาจจะไม่ได้เต็มทุกขั้นทุกกระบวนการ ตัดขั้นตอนอะไรหลายๆอย่างออกไป ลดคุณภาพลง เพื่อให้ทำในงบได้ อาจคาดหวังอะไรที่ฟังดูดีในระดับมาตรฐานไม่ได้

  • มันเหมาะกับงานที่ใช้งานจริงขึ้นมา แต่อาจจะไม่ซีเรียสมาก อย่างเช่น เพลงประกวดบนเวที หรือเป็นงานที่ไม่ยาก ไม่ได้ต้องการความเนี้ยบสูง หรือไม่ได้มีดีไซน์เฉพาะตัวอะไรมาก

ถ้าคุณจ้างหลักหมื่น แต่ละขั้นตอนมักจะเริ่มเป็นมาตรฐาน standard ขึ้นมา คนทำเริ่มต้องมีวิชาความรู้ในระดับที่สั่งงานได้หลากหลายสไตล์ ทำงานดีไซน์ที่มีความยากหรือละเอียดซับซ้อนได้ระดับหนึ่ง

  • เหมาะกับงานระดับ Commercial ขึ้นมา ที่เริ่มซีเรียสในคุณภาพงานที่ต้องการความมีมาตรฐาน อาทิเช่น งานที่ใช้ในการโฆษณาพาณิชย์ , เพลงองค์กร , เพลงเกม , เพลงประกอบสื่อ , เพลงโรงเรียน หรือแม้แต่เพลงศิลปินที่ได้มาตรฐานทั่วไป

ถ้าคุณจ้างหลักแสน ควรเป็นคนทำที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง และมีทีมเฉพาะทางที่สามารถทำงานในส่วนต่างๆได้อย่างพิถีพิถันทุกขั้นตอน สามารถทำงานดีไซน์เฉพาะตัวที่มีความยากหรือละเอียดซับซ้อนได้มาก

  • เหมาะกับงานที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะความยาวของชิ้นงาน หรือในแง่ความซีเรียสของเนื้องาน งบประมาณ เช่น เพลงโฆษณา TVC , ดนตรีประกอบภาพยนตร์ , เพลงศิลปินที่มีความ premium , เพลงประกอบสื่อ หรือ องค์กร , brand ที่มีความเป็น enterprise เป็นหน้าตาสำคัญของบริษัท

ถ้าคุณจ้างหลักล้าน นอกจากแต่ละขั้นตอนที่มากกว่า standard แล้ว มันเป็นราคาของค่า “ชื่อเสียง” และค่า “เวลา” ของบุคคลเหล่านั้นด้วย

  • เหมาะกับงานที่คุณต้องการชื่อเสียงของศิลปินหรือบุคคลเหล่านั้นมาช่วยในการโปรโมทหรือเป็นหน้าเป็นตาให้กับงานของคุณจริงๆ อาทิ โปรเจคขนาดใหญ่ต่างๆ เพลงศิลปินระดับ premium มาก , เพลง Commercial รูปแบบต่างๆ ที่ใช้ในการโฆษณา , พาณิชย์ , branding ฯลฯ

องค์ประกอบหลายๆอย่างนั้นล้วนมีผลต่อราคา

คุณจะทำวิธีไหน? ทำเองบางส่วนหรือไม่? เพลงแนวอะไร? มีรายละเอียดดนตรียังไง? ต้องการงานดีงานเนี้ยบขนาดไหน?
มีองค์ประกอบอีกมากมายที่มีผลต่อราคาของการทำเพลง หรือทำดนตรี ซึ่งก่อนอื่นเลย เราต้องทำความรู้จักก่อนว่า การทำเพลงมันมีขั้นตอนอะไรบ้าง
เพราะขึ้นชื่อว่าการทำเพลงหรือ Music Production มันอาจมีขั้นตอนอยู่หลายขั้นมากกว่าที่คุณเคยคิด

ราคาของการทำเพลงทั้ง 7 ขั้นตอน
*ปล. ราคาที่เขียนต่อไปนี้เป็นเพียงราคาประเมินในตลาดเพลงไทย ยุคปี 2023 ซึ่งตัวราคาอาจถูกหรือแพงกว่านี้ ยืดหยุ่นตามปัจจัยหลายๆอย่าง อาทิ การต่อรอง ชื่อเสียงและ portfolio ของผู้สร้างงาน เงื่อนไขพิเศษอื่นๆ อาทิ ขายขาดหรือไม่ขายขาด ลิขสิทธิ์เป็นของใคร ฯลฯ รวมไปถึงความพอใจของทั้งตัวผู้ตั้งราคาและผู้ซื้อ มันไม่ใช่ราคาตายตัวอยู่แล้วเพราะเป็นงานศิลปะ อยากให้ผู้อ่านทำความเข้าใจด้วยครับ อีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าคนที่คุณจ้างเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียง ราคามันอาจคูณเข้าไปอีกได้ถึงสิบเท่า ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะการจ้างบุคคลมีชื่อเสียง มันจะเป็นเรื่องของความพอใจล้วนๆ อ้างอิงราคาตลาดไม่ได้ และมันเท่ากับคุณจ่ายเงินซื้อ “ชื่อเสียง” และ “เวลา” ของเค้าด้วย จากราคา 5000-20000 มันอาจจะกลายเป็น 200000 ก็ไม่แปลกครับ

เช่น บางทีแล้ว ถ้าไปเจอเพลงที่มีคนแต่งไว้แล้วชอบมากๆ อยากได้เพลงนี้มาก แต่ผู้ขาย ขายที่ 50000 บาท หรืออยากจ้างคนๆนี้แต่งแต่เค้าคิดราคาเท่านี้ มันก็ไม่แปลกครับ แสดงว่าเค้าให้คุณค่าไว้เท่านั้น เพราะเค้าอาจจะหวงเพลงนั้นมาก หรือหวงฝีมือเค้าเช่นกัน ถ้าอยากได้มันจริงๆก็ต้องจ่ายตามนั้น หรือไม่ก็ลองคุยต่อรองกันดูครับ เช่น อาจจะลดได้ถ้าคุณไม่ได้ซื้อขาด

1. Music Compose – ขั้นตอนของการเริ่มต้นประพันธ์ตัวโครงสร้างเพลงขึ้นมา อาจมีราคาตั้งแต่หลัก 2000 – 20000 ไม่ตายตัว แต่ราคากลางๆในตลาดอาจจะอยุ่ที่ประมาณ 5000 บาท

2. Lyric Compose – ส่วนนี้คือการแต่งเนื้อร้อง มีราคาอยู่ที่ 2000-20000 เช่นกัน ราคากลางอยุ่ช่วง 5000 บาท

*บ่อยครั้งที่ การทำงานสองขั้นตอนนี้จะรวมเป็นขั้นเดียวกันไปเลย การแต่งทั้งทำนองหลักและเนื้อร้องรวมกัน จะเรียกว่า Song Writing ซึ่งราคาจะอยู่ช่วง 4000 – 30000 บาท

3. Music Arranging – การเรียบเรียงเสียงประสาน ทำดนตรี ทำบีท เป็นงานดีไซน์ที่มีราคาไม่ตายตัวเช่นกัน อาจอยู่ที่ 2000 – 30000 บาท ราคากลางๆ อาจอยู่ช่วง 5000-10000 บาท ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาก อาทิ จำนวนชิ้นเครื่องดนตรี แนวดนตรี ความยากง่าย ชื่อเสียงและฝีมือของ Arranger เป็นต้น ส่วนนี้ราคามีผลค่อนข้างมาก เพราะดนตรีที่ละเอียดละไม ยาก หรือซับซ้อน คนทำใช้ความรู้ความสามารถเยอะ และดนตรีที่ราคาถูกกว่า แน่นอนว่าฝีมือก็ค่อนข้างตามราคาซะเป็นส่วนใหญ่

4. Recording – ขั้นตอนของการบันทึกเสียง ผมต้องบอกว่า ขั้นตอนนี้นี่แหละครับที่มีความ swing ของราคาสูงที่สุด เพราะมันเป็นได้ตั้งแต่ราวๆ 5000 บาท (ไม่อัดเสียงเครื่องดนตรีจริงเลยสักชิ้น แต่อัดเสียงนักร้องจริงเท่านั้น) ไปจนถึงหลักแสน (บันทึกเสียงจริงเป็นสิบเครื่อง โดยเสียค่าห้องอัด + ค่าตัวนักดนตรี รวมกัน) ซึ่งเราอาจจะเสียเพิ่มไปคร่าวๆ 5000 บาท ต่อ 1 เครื่อง แปลว่า ถ้าคุณทำเพลงที่มีเครื่องดนตรีจริงที่ต้องอัดสดถึง 20 ชิ้น เท่ากับว่างบส่วนนี้จะทะลุ 100000 บาทครับ ทั้งนี้ราคาก็แปรผันได้ตามค่าจ้าง Sound Engineer , ค่าห้องอัด , คุณภาพห้องอัด , ค่าตัวนักดนตรีที่มีระดับแตกต่างของฝีมืออีก

5. Editing – การปรับแต่งเสียง จะมีสองกรณี ในกรณีแรกถ้าคุณไม่ได้อัดเสียงเครื่องดนตรีจริงเลย การ Edit จะหนักไปทาง Edit MIDI ให้เสียงสมจริง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ราว 3000-10000 บาท ราคากลางๆ ราวๆ 5000 บาท แต่ถ้าในอีกกรณีที่อัดเครื่องจริง ก็ต้องมีการปรับแต่งเสียงที่อัดมาอยุ่ดี ตีไปพอๆกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ราคาจะแปรผันขึ้นกับจำนวนงานหรือจำนวน Track ยิ่งถ้ามี ไลน์เยอะ แทรคเยอะ sound engineer จะมีจำนวนงานมาก ใช้เวลามากขึ้น มีค่าตัวมากขึ้นไปตาม

6. Mixing – การมิกซ์ผสมเสียง หรือ Mix Down ส่วนนี้คือการรวมเสียงทั้งหมดที่เป็นวัตถุดิบที่ทำมาเรียบร้อยแล้ว เอามารวมเข้าด้วยกันให้เกิดความกลมกลืนไพเราะ โดย Sound Engineer ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เรียกว่า Mixing Engineer มีราคาอยู่ที่ 2000-20000 บาท ราคาแปรผันตาม จำนวน Track , ค่าของ Sound Engineer แต่ละคนที่มีฝีมือไม่เท่ากัน และคุณภาพของห้อง Studio ที่ใช้ โดยมีราคากลางตีไปราวๆ 5000 บาท

7. Mastering – กระบวนการขั้นสุดท้าย การมาสเตอร์เสียง ตรวจทาน ปรับแก้ และปรับแต่งความดังให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง โดยมากจะทำโดย Sound Engineer อีกคนหนึ่ง ที่เป็น Mastering Engineer โดยเฉพาะ กระบวนการนี้มีราคายืดหยุ่นตั้งแตี่ 2000-20000 และราคากลางที่ 5000 โดยเช่นเดียวกับขั้นตอนที่แล้ว คือราคามีการแปรผันตามสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกัน

8. Music Producer – สุดท้ายไม่ใช่ขั้นตอน แต่อาจมีราคาในส่วนสุดท้าย คือบริการ ซึ่งเป็นค่าตัวของ Music Producer ที่ดูแลการผลิตทั้งหมดนี้ให้ ซึ่งอาจมีราคาอยู่ที่ 5000 – 20000 บาท ซึ่งไม่แน่นอนว่า อาจคิดหรือไม่คิด เพราะที่จริงรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆแล้วก็เป็นได้

ทีนี้ผมลองตีให้แบบราคามาตรฐานขั้นต่ำ คือ ทุกอย่าง 5000 บาท รวมกันแล้วก็ประมาณ 40000 บาทครับ นี่คือราคาระดับมาตรฐานที่ควรจะเป็น

แต่ในความเป็นจริงอย่างที่ผมบอก ในตลาดมีคนทำทุกราคา 20000 ก็มี 10000 ก็มี 5000 ก็มี ถามว่าเค้าทำได้ยังไง?
มันทำได้ครับ แต่แน่นอนว่า มันผ่านทุกกระบวนการทั้งหมดนี้โดยละเอียดไม่ได้แน่นอน การที่ทำงานในราคาต่ำกว่านี้ได้ แปลว่า มันทำการตัดขั้นตอนบางอย่างออกไป อาทิ คนทำ Music Arranging ทำรวมหมดทั้ง Arranging ,Record , Edit, Mixing , Mastering เลย หรือตัดการอัดเครื่องดนตรีจริงออกไปหมดเลย แบบนี้เป็นต้น
แน่นอนว่า ราคาที่ถุกลงก็ย่อมตามมาด้วยความละเอียดพิถิพิถันในงานที่น้อยลง ซึ่งอาจเหมาะกับงานบางแบบ กับงบประมาณที่ตั้งไว้ ซึ่งคุณภาพงานที่ลดลงที่เกิดขึ้นตามราคา ผู้จ้างก็ควรยอมรับได้ และได้พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับลักษณะงานที่จะใช้

มันฟังดูเหมือนแพง แต่ถ้าคิดดีๆมันไม่ได้แพงขนาดนั้น

ดนตรีเป็นงานศิลปะรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นงาน craft ความสวยงามของมันที่เกิดขึ้น มันมาจากความตรากตรำในการฝึกฝน และใช้เวลาในการคิดบรรจงสร้างมันขึ้นมา คิดง่ายๆว่า นักแต่งเพลงบางคนตั้งใจทำงานชิ้นนั้นๆ หมดเวลาเค้าไปสามวัน ประมาณ 24-25 ชั่วโมง (คิดจากเวลาทำงานวันละ 8 ชม.) การที่เค้าคิดค่าแต่งเพลงนั้น 5000 บาท มันไม่ได้แพงเลย เพราะมันเท่ากับ ชั่วโมงละ 200 บาทเองครับ ซึ่งมันเท่าๆกับ ค่าตัวคนทำงานสายอื่นที่มีเงินเดือนเฉลี่ย สามหมื่นบาท (ลองคิดหารคำนวนดูนะครับ 8ชม. x 20วัน) บางทีแล้วเค้าไปสอนดนตรีได้ชั่วโมงละ 500-1000 ยังได้เงินมากกว่าเลย แล้วอันนี้ไม่นับช่วงแก้งานอีก ซึ่งอาจกินเวลามาเพิ่มแบบคาดคะเนยากอีก

สรุป

ผมได้บอกราคาแบบมาตรฐานไปแล้ว และคิดว่าน่าจะทำให้หลายๆคนพอคิดคำนวนได้ แต่อย่างที่บอกว่าราคาต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐานไม่ใช่ว่าจะไม่มี เพียงแต่คุณภาพมันก็จะลดลงตาม
อย่างไรก็ตามดนตรีเป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินพอสมควร หากคุณสนใจบริการรับทำเพลง ติดต่อทางฝ่าย Music Production ของทาง VERYCATSOUND ได้ ยินดีให้คำปรึกษาครับ ที่……

อีกทางเลือกคือการเรียน

ในกรณีที่ถ้าคุณสนใจมันมากกว่านั้น เช่นว่า อยากทำมันด้วยตัวเอง เพราะจ้างแล้วไม่ถูกใจ หรือคิดว่าจะต้องทำมันเยอะจนทำเองดีกว่าจ้าง มันก็มีทางเลือกอื่นอีก นั่นก็คือการเรียนจนทำได้เอง ไม่ว่าจะทำเองบางส่วน หรือทำเองหมดทั้งกระบวนการก็ตาม
การเรียนเป็นอีกทางเลือกที่คุณจะต้องลงแรงในการศึกษา และค่าใช้จ่ายจะตกไปที่ค่าเรียน กับค่าอุปกรณ์ต่างๆแทน ซึ่งมันก็เช่นเดียวกับการจ้าง คือถ้าต้องการคุณภาพระดับสูง ทำเพลงแบบยากๆ ละเอียดซับซ้อนได้ ชั่วโมงเรียนก็ยาวนาน และค่าเรียนก็ไปถึงหลักแสนแทน
แต่หากคุณอยากจะทำเองเพียงแค่ขั้นตอนต้นๆ คือ แต่งเพลง เนื้อร้อง ทำนองหลัก ก็อาจจะกินเวลาน้อยกว่านั้น กับค่าเรียนไม่มาก แล้วใช้วิธีจ้างคนทำดนตรี กับ sound engineer มาทำในส่วนอื่นๆให้จบ แบบนี้ก็ได้เช่นกันครับ คุณสามารถออกแบบกระบวนการทำเพลงที่เหมาะกับเฉพาะตัวคุณได้ หากสนใจสามารถสอบถามหลักสูตร The Real Producer ของเราได้ ที่ …..

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ครับ

———————

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.