12 อาชีพ Music Producer เรียนทำเพลง

12 อาชีพทำเงิน ที่คุณทำได้เมื่อเรียน Music Producer

Share via:

Krissaka Tankritwong

หลายๆคนอาจสงสัยว่า เราจะเสียเวลานับร้อยชั่วโมงในการเรียนทำเพลงแบบจริงจังเพื่อให้ได้สกิลระดับสูงแบบหลักสูตร The Real Producer ของเราเพื่ออะไร? ถ้ายกเว้นเรื่องของความรักความชอบดนตรีล้วนๆแล้ว ที่จริงดนตรีก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆนั่นแหละครับ ที่มีความลึกซึ้งและใช้เวลาเรียนรู้กันยาวนานกว่าจะมีฝีมือชำนาญจนประกอบอาชีพได้

ถ้าเรียนแบบเบสิคแค่ไม่กี่ชั่วโมงจบแค่พอทำได้ คุณก็จะได้แค่พอทำได้เป็นงานอดิเรก แต่คงไม่สามารถทำดนตรีที่ซับซ้อนเป็นมืออาชีพได้ แต่ถ้าเรียนถึงขั้นลึกจนประกอบอาชีพได้ นี่คือผลพลอยได้ที่คุณจะได้จากการแตกฉานในดนตรี หรือการเรียน Music Producer แบบขั้นลึก

นั่นคือการที่คุณสามารถมีช่องทางประกอบอาชีพ หรือหารายได้ได้จาก 12 อาชีพต่อไปนี้

(ทุกอาชีพที่กล่าวไปล้วนมีเนื้อหาอยู่ในหลักสูตร The Real Producer ตามที่กำกับไว้)

1. Producer ให้ศิลปิน

แตกต่างกับการเป็นศิลปิน คือคุณอาจไม่ถนัดการอยู่บนเวที หรือการเป็น frontman ที่ต้องมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คน คุณอาจไม่จำเป็นต้องเสียงดี รูปร่างหน้าตาดี คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีความมั่นใจ แต่คุณสามารถมีอาชีพทำเพลงที่หาเงินจากดนตรีได้ ด้วยการรับ produce หรือทำเพลงให้กับศิลปิน ซึ่งแน่นอนว่า ศิลปินที่จะมาใช้บริการกับคุณย่อมต้องเชื่อใจคุณที่จะให้ทำดนตรีหรือแต่งเพลงที่มีคุณภาพออกมาหรือเป็นแนวที่เค้าต้องการได้ ยิ่งถ้าไปเจอศิลปินที่มีความรู้มากกว่าคุณ คุณคงไม่อยากโดนมองว่ารู้ดนตรีแค่งูๆปลาๆแล้วทำให้ลดความน่าเชื่อถือต่อลูกค้าลงใช่ไหมล่ะครับ ฉะนั้นสำคัญมากที่คุณควรจะแตกฉานในดนตรีในทุกกระบวนการก่อนจะมารับทำเพลงเป็นโปรดิวเซอร์ให้ศิลปินครับ ยิ่งในปัจจุบันนี้แล้ว คนนิยมทำเพลงของตัวเองเป็นศิลปินอิสระลง youtube กันมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถ้าคุณเก่งพอจะมีงานเข้ามาเรื่อยๆแน่นอนครับ

(วิชาตั้งแต่ VCA101-VCA403 จำนวน 13 วิชา ตั้งแต่ LV.1-4 ทั้งหมดคือสิ่งที่จำเป็นต่อการทำอาชีพนี้)

2. Film Score Composer / นักทำดนตรีประกอบภาพยนตร์

อีกหนึ่งสายอาชีพที่คนส่วนมากไม่ค่อยรู้ คือการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ หรือสายดนตรีบรรเลงประกอบสื่อต่างๆ อาทิ โฆษณา , หนังสั้น , Animation , คลิป , video presentation แบบที่ไม่มีเนื้อร้อง (หรือศัพท์เฉพาะในวงการสื่อจะนิยมเรียกกันว่า สกอร์) ถ้าคุณเรียนจนแตกฉาน จนสามารถทำดนตรีแบบ Orchestra ได้ และค่อนข้างทำดนตรีได้ทุกแนว นี่จะเป็นการเปิดประตูอีกบานสู่รายรับจากงานในตลาดการผลิตสื่อที่มีอยู่มากมาย ลองคิดดูว่านี่คือยุคของการเติบโตของจำนวนสื่อวิดิโอที่ถูกผลิตขึ้นมาอย่างมาก เนื่องจากการบูมของ youtube และสื่อรายย่อยต่างๆที่นอกเหนือจากทีวีกระแสหลัก เรียกได้ว่าถ้ารับงานด้านนี้ได้ ยังไงก็มีงานแน่ๆ

(ตรงกับวิชา VCA502)

3. Game Music Composer / นักทำดนตรีประกอบเกม

อีกหนึ่ง Composer สายเฉพาะ บางคนอาจคิดว่ามันเหมือนกับสาย Film Score แต่ที่จริงแล้วค่อนข้างต่างกันอยู่ มันจะมี Norm หรือ Traditional อะไรบางอย่างที่เป็นบริบทเฉพาะของดนตรีประกอบเกมอยู่ โดยจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเป็นเกมเมอร์ด้วยแล้ว พอมาทำดนตรีประกอบเกมเลยจะเข้าใจมันมากกว่าคนที่ไม่ได้เล่นเกม เวลาทำงานออกมาลูกค้ามักจะพอใจและผ่านง่ายมากๆ นั่นเท่ากับว่า นอกจากมันต้องแตกฉานและมีความรู้ความเข้าใจในดนตรีหลายประเภทแล้ว ยังต้องเข้าใจบริบทเฉพาะของการทำดนตรีประกอบเกมอีก เช่นว่า เค้านิยมใช้ Sound แบบไหน สำเนียงแบบไหนกัน อะไรคือซาวด์ chiptune , 8bit และควรต้องทำดนตรีได้ทุกแนว เพราะถึงเวลาจริงๆจะต้องทำดนตรีหลากหลายแนวมากๆ เพื่อตอบโจทย์กับเกมนั้นๆที่เราทำอยู่ จริงๆแล้วจึงเป็นอาชีพที่ไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ก็ขอบอกว่า คุ้มค่า เพราะอุตสาหกรรมด้านเกมของไทยกำลังอยู่ในขั้นเติบโต มีจำนวนงานที่เยอะมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เป็นอีกตลาดที่น่าสนใจครับ

(ตรงกับวิชา VCA503)

4. Commercial Music Composer / นักทำเพลงเพื่อการพาณิชย์

หรือเรียกอีกอย่างง่ายๆว่า นักทำเพลงโฆษณาน่ะแหละครับ ซึ่งลูกค้าหลักของอาชีพนี้คือเหล่าคนอาชีพอื่นนี่แหละ คนค้าขาย เจ้าของแบรนด์ เจ้าของกิจการ นักการตลาด ฝ่ายจัดซื้อทั้งหลาย ที่ต้องการดนตรีหรือเพลงไปใช้ในกิจการของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพลงโฆษณา เพลงองค์กรที่ใช้ภายใน เพลงประจำแบรนด์ เพลงประจำร้านค้า ฯลฯ อาชีพนี้ก็ควรทำดนตรีได้ทุกแนว เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะได้รับโจทย์แบบไหน แนวอะไร ตามที่ลูกค้าได้ตั้งจุดประสงค์ทางการตลาดของเค้าไว้ และการแตกฉานในดนตรีก็จะช่วยให้งานง่ายขึ้นในการเนรมิตเสียงที่ลูกค้าต้องการได้ดั่งใจ อาชีพนี้เป็นอีกอาชีพที่เรียกว่าไม่มีวันตาย และมีงานอยู่เรื่อยๆ แต่อาจจะเหมาะกับคนที่มีหัวทาง Creativity หรือการตลาดซักหน่อย และต้องมี service mind พอสมควรครับ

(ตรงกับวิชา VCA501)

5. Song Writer / นักแต่งเพลง

Song Writer หรือนักแต่งเพลง อันนี้ค่อนข้างเป็นอาชีพ Common เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว จริงอยู่ว่าคุณไม่ต้องมีความรู้ทางดนตรีระดับลึกก็สามารถเป็น Song Writer ได้ ถ้ามีลีลาภาษาที่ดี แต่การแตกฉานดนตรีจะช่วยทำให้สำเนียงเพลงของคุณมีลูกเล่นที่เหนือชั้นกว่าเพลงโดยทั่วไปในตลาด และอาจทำให้คุณค้นพบลายมือที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ง่ายกว่า และข้อจำกัดในการแต่งเพลงของคุณก็มีน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เรียนมาหรือบางทีก็ทำไม่ได้ทุกแนว ก็อาจทำให้รับงานได้จำกัดดว่า ลูกค้าที่มาซื้อเพลงอาจเป็นค่ายใหญ่หรือศิลปิน ซึ่งก็เป็นอีกตลาดที่มีมาเรื่อยๆ หนำซ้ำถ้าเป็นค่ายใหญ่ที่มีระบบการจัดเก็บรายได้มีประสิทธิภาพก็สามารถทำให้เกิดรายได้แบบ Passive Income ในทุกๆเดือน ถ้าเพลงที่คุณแต่งนั้นโด่งดังมียอดวิวหลายล้านอีกด้วย

(ตรงกับวิชา VCA101-103 ในขั้นต้น และ 301,401 ในขั้นสูง)

6. Music Arranger / นักเรียบเรียงดนตรี

ในกรณีที่คุณอาจจะไม่ถนัดการเขียนเนื้อเพลง คุณอาจรับทำแค่ดนตรีหรือทำบีทให้กับลูกค้าที่มาจ้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวศิลปินเองหรือค่ายเพลงต่างๆ ทำเฉพาะในส่วนตัวที่ตัวเองถนัด แล้วอาจจะโยนบางส่วนให้คนแต่งเนื้อเพลงแต่งเนื้อ หรือให้ Sound Engineer ดูแลเรื่อง Mix,Master ต่อก็สามารถทำได้ คุณจะได้ประหยัดเวลาของตัวเอง และโฟกัสในส่วนดนตรีที่คุณถนัดกว่าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการจะทำอาชีพนี้ได้ก็ไม่ง่าย เพราะต้องอาศัยความเข้าใจในดนตรีที่ค่อนข้างลึกซึ้งแตกฉาน และเข้าใจในความสัมพันธ์ของแต่ละเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ยิ่งไปกว่านั้นก็ควรทำดนตรีได้ทุกแนวเช่นกัน จะทำให้คุณรับงานได้กว้างกว่าและอยู่รอดได้ง่ายกว่าในการแข่งขันที่เข้มข้น

(ตรงกับวิชา VCA201,202,204,301,302,303,401,402 แปดวิชา)

7. Sound Designer / นักออกแบบเสียง

อีกอาชีพที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักและไม่รู้ว่ามันมีอยู่ คือนักออกแบบเสียง ซึ่งจะแตกแขนงได้ออกไปย่อยๆหลายสายอีก แต่สายที่มีอาชีพชัดเจนคือในกลุ่มของ Sound Designer for Film คือนักออกแบบเสียงในภาพยนตร์นั่นเอง นอกจากในภาพยนตร์หรือสื่อเคลื่อนไหวต่างๆจะต้องการดนตรีประกอบแล้ว ยังต้องการ Sound ประกอบอื่นๆ อาทิ เสียงระเบิด เสียงไกปืน เสียงบรรยากาศต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่มีความละเอียดในการคราฟท์งานไม่ต่างจากดนตรี โชคดีของคนที่ทำดนตรีเป็น มักจะมีความเข้าใจในเรื่องของเสียงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงสามารถประยุกต์ความรู้ตรงนี้มาใช้ออกแบบเสียงเพื่องานภาพได้ด้วย การทำสิ่งนี้ได้จะช่วยทำให้คุณรับงานได้กว้างขึ้น และหางานได้ง่ายขึ้นกว่าการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์เพียงอย่างเดียว เพราะบางทีการเป็น ONE STOP SERVICE ก็ทำให้ลูกค้าสะดวก อยากจ้างคนๆเดียวให้จบๆเรื่อง มากกว่าจะจ้างแยก

(ตรงกับวิชา VCA403,504)

8. Stock Music/Sound Composer

อาชีพสำหรับ Composer สายขยัน ถ้าคุณมีเวลาคุณสามารถนั่งทำคลังดนตรี Library ของคุณเองแล้วอัพโหลดตามเว็บ Stock ต่างๆ เพื่อให้คนที่ต้องการใช้ซาวด์หรือดนตรีเหล่านี้ซื้อไปใช้กับสื่อของตัวเอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะถ้าเกิดติดตลาดก็ทำให้คุณมีรายได้แบบ Passive Income ไปตลอดชีวิต ซึ่งคุณอาจต้องทำ Stock Music หรือ Stock Sound ให้ได้จำนวนซักหน่อยเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า หรือคุณอาจทำการ Research มาแล้วว่าเสียงหรือดนตรีแบบไหนที่คนต้องการและมียอดโหลดบ่อย โดยการทำอาชีพนี้ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือเสียงประกอบ ก็ควรจะมีความเข้าใจในดนตรีที่แตกฉานทำได้ทุกแนว เพราะทำให้สร้างงานที่หลากหลายแนวตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการได้มากกว่าการทำซ้ำๆอยู่ไม่กี่ไอเดีย

(ตรงกับวิชา VCA101-403 ทั้ง 4 lv. และ 504)

9. NFT Music Artist / ศิลปิน NFT

หนทางทำเงินใหม่ล่าสุดในสายดนตรี คือการเป็นศิลปินผลิตงานดนตรีขายใน NFT หรือ Non-Fungible Token (คิดว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินกันบ้าง ใครไม่เคยได้ยินรบกวนหาเรื่องนี้ศึกษาต่อเอาเองนะครับ) ควบคู่กับกระแส Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิตัล วงการการซื้อขายศิลปะ NFT ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และมีศิลปินหลายคนที่สามารถขายงาน NFT Music แล้วสร้างเงินได้ 6-7 หลักได้จริงแม้ไม่ได้เป็นศิลปินดังมาก่อนเลย โดยใครอยากจริงจังสายนี้ก็ควรทำดนตรีที่มีความเป็น Art มากกว่าสาย Pop จะตรงกับบริบทของ platform และผู้ซื้อมากกว่า ที่เป็นการสะสมศิลปะ ฉะนั้นการทำดนตรีที่เป็น Art และมีความลึกซึ้งย่อมต้องการสกิลทางดนตรีที่ลึกกว่างานเพลงฟังปกติโดยทั่วไป

(ตรงกับวิชา VCA101-403 และ 504)

10. Sound Engineer / วิศวะกรเสียง

อาชีพชื่อดังฮอตฮิตอีกอาชีพ ที่คนนอกวงการเข้าใจผิดกันเยอะว่ามันทำหน้าที่อื่นตั้งแต่ 1-7 ที่กล่าวมา แท้จริงแล้ว Sound Engineer ทำหน้าที่ในกระบวนการ Post Production ของดนตรี นั่นคือการ Edit , Record , Mix , Master ซึ่งเป็นศาสตร์อีกแขนงที่ค่อนข้างยากและต้องใช้การฝึกประสาทหูที่ดีมากๆ โดยถ้าเราเป็นคนทำเพลงอยู่แล้ว สามารถผันตัวต่อยอดมาเป็น Sound Engineer โดยเฉพาะได้ ถ้าเรารู้สึกว่าถนัดในสายนี้ เราสามารถรับงานต่อจาก Producer , Arranger , Song Writer มาทำให้จบกระบวนการได้ ถ้าคุณรักและถนัดในเรื่องของศาสตร์ของคุณภาพเสียง หรือบางคนอาจจะรับเฉพาะที่ตัวเองถนัดจริงๆ เช่นการ Edit , การ Mix หรือการ Master เป็นเฉพาะเรื่องเลยก็ทำได้

(ตรงกับวิชา VCA204 และ 403)

11. Music Entrepreneur / เจ้าของกิจการเกี่ยวกับดนตรี

บางคนวนเวียนอยู่ในการทำอาชีพดนตรีมาสักระยะแล้วอาจต่อยอดไปเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับดนตรี อาทิเช่น เปิดห้องอัด , เปิดร้านซ่อมเครื่องดนตรี , เปิดค่ายเพลง เป็นต้น อย่างการเปิดห้องอัด (Music Recording Room , Music Studio) ของตัวเอง เพื่อให้บริการบันทึกเสียง บางคนเป็น Producer,Sound Engineer อยู่แล้ว มีฐานลูกค้าจึงมาเปิดเพื่อสามารถลดรายจ่ายการใช้ห้องอัดลง และรับลูกค้าทำให้เกิดรายได้มากขึ้นและคุ้มค่าในระยะยาว หรือบางคนก็เปิดห้องอัดเพื่อไว้ทำงานเพลงส่วนตัวเลย ความรู้ในการเรียน Music Producer ก็สามารถประยุกต์นำมาใช้ในกิจการได้หลายอย่างทั้งเรื่องดนตรีและเรื่องเสียงครับ

หรือยกตัวอย่าง การเปิดค่ายเพลง (Music Label)

การทำค่ายเพลงขึ้นมาสักค่ายไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จริงนอกจากเรื่องดนตรีแล้วยังต้องอาศัยความรู้หรือองค์ประกอบอีกหลายส่วน อาทิ การบริหารการจัดการ การตลาดต่างๆ แต่ผมคิดว่าคนรักดนตรีอย่างคุณคงไม่อยากโดยมองว่าเป็นเจ้าของค่ายที่ไม่รู้เรื่องดนตรีใช่ไหมล่ะ ค่ายเพลงที่สร้างโดยคนดนตรีกับค่ายเพลงที่สร้างโดยนักธุรกิจนั้นแตกต่างกันแน่นอน ถ้าคุณอยากสร้างค่ายเพลงในฝันของคุณและของคนฟังที่รักในเสียงดนตรี ผมคิดว่าควรอย่างยิ่งที่เจ้าของค่ายควรมีความเข้าใจในดนตรีแบบลึกซึ้งแตกฉาน และควรทำอาชีพดนตรีหรือเคยเป็นโปรดิวเซอร์มาก่อน อันนี้เป็นมุมมองส่วนตัวของผมนะครับ ใครจะไม่เห็นด้วยก็ได้ ถ้ามองการทำค่ายเพลงเป็นธุรกิจ แต่ผมมองว่าสำหรับคนรักดนตรีที่อ่านบทความนี้มาถึงจุดนี้น่าจะเป็นคนที่มองว่าการทำค่ายเพลงเป็นทั้งความรักความฝันและธุรกิจอยู่ในสิ่งเดียวกันมากกว่า ซึ่งผมคิดว่ากิจการอื่นๆ ไม่ว่ากิจการไหนก็ตามที่เกี่ยวกับดนตรี อาทิ Music Streaming , Start up ต่างๆ การที่เจ้าของมีจุดเริ่มต้นเป็นคนดนตรีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะมีความรักและเข้าใจในดนตรี เข้าใจคนดนตรีด้วยกัน และเข้าใจผู้บริโภคมากกว่าคนที่ไม่ใช่คนดนตรี

(ตรงกับวิชาทั้งหมด ตั้งแต่ LV.1-5)

12. Artist / ศิลปิน

อาชีพสุดท้าย ถ้าคุณเป็นศิลปินทำเพลงให้ตัวเอง การเรียนรู้ศาสตร์ของดนตรีให้ลึกที่สุด จะทำให้คุณแตกฉานและสร้างงานที่มีเอกลักษณ์ได้มากกว่า ถ้าเพลงที่คุณบรรจงสร้างออกมาได้รับความนิยมเพราะไปตรงจริตกับกลุ่มคนฟังส่วนใหญ่ในตลาด ทำให้คุณมีชื่อเสียงโด่งดังก็จะมีช่องทางหาเงินต่างๆตามมาเองโดยไม่ต้องพึ่งอาชีพทั้ง 11 ที่ผมได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ อันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีด้วย คงเป็นชีวิตที่ลงตัวและมีความสุขมากๆ

แต่…

ถ้าแนวเพลงที่คุณทำมันไม่ใช่แนวที่คนส่วนใหญ่สนใจให้ความนิยมล่ะ? ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติมากๆ ไม่ใช่ทุกศิลปินที่จะดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวดนตรีที่ไม่ได้ popular คุณต้องทำใจว่าโอกาสทางรายได้ของดนตรีแต่ละแนวมันมีไม่เท่ากัน

ที่ผมเอาอาชีพนี้ไว้ท้ายสุดเพราะผมไม่อยากให้มองคำว่าศิลปินเป็นอาชีพเสมอไปครับ

แต่คุณสามารถเป็นศิลปินได้แม้ว่าคุณจะมีฐานคนฟังน้อยหรือรายได้จากการเป็นศิลปินไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ อยากให้คุณรู้ไว้ว่ามันไม่มีการวัดคุณค่าด้วยตัวเลขใดจะมาวัดคุณค่างานศิลปะที่คุณทำได้ครับ ถ้าคุณบรรจงสร้างสิ่งที่คุณรักที่จะทำมันออกมาแม้ว่ามันจะไม่ทำเงิน แต่มันอาจจะมีคุณค่าทางใจกับใครสักคนหรือไม่ก็กับตัวคุณเอง คุณสามารถหาเงินได้จากอาชีพทั้ง 11 ที่ผมได้ว่าไปก่อนหน้านี้ โดยที่คุณยังสามารถสร้างสรรค์งานในรูปของคุณที่คุณรักได้โดยไม่จำเป็นต้องฝืนใจทำสิ่งที่ไม่ชอบ และตราบใดที่คุณยังสร้างงานศิลปะ คนอย่างคุณก็ยังคงเรียกว่า ศิลปิน ครับ

สรุป

นี่คือเหตุผลข้อสุดท้ายที่ศิลปินอย่างคุณควรเรียน Music Producer จนแตกฉานครับ เพราะมันสามารถทำให้คุณนำความสามารถที่คุณมีสร้างอาชีพที่ทำให้อยู่รอดได้ในโลกที่ไม่ง่ายและบ่อยครั้งก็ฉาบฉวยใบนี้

คุณสามารถสร้างชีวิตที่มีสองวงจรคือ
1. ทำเพื่ออยู่รอด และ 2. ทำเพื่อจิตวิญญาณได้ VERY CAT SOUND ขอเอาใจช่วยนะครับ

และถ้าคุณสนใจจริงจังกับความรู้ขั้นลึก ที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเป็นโปรดิวเซอร์ที่ผมกล่าวไปนี้และพร้อมที่จะทุ่มเทให้มัน

ผมขอแนะนำคอร์ส The Real Producer จาก VERY CAT ACADEMY

ที่จะพาคุณไต่ตั้งแต่ 0-100 หนทางสู่โปรดิวเซอร์

– รวมเวลาเรียนทั้งหลักสูตรกว่า 600 ชม.

ใช้เวลาเรียน 1.5-2 ปี

– ราคาค่าเรียนเป็นไปตามค่าเรียนดนตรีเฉลี่ยโดยปกติ (เฉลี่ย ชม.ละ 500 บาท)

– สามารถติดต่อจองคิวปรึกษาก่อนเรียนได้ฟรี ว่าเหมาะกับตัวเองชัวร์หรือไม่ เรียนไม่เรียนไม่ว่ากัน เข้าใจว่ามันหนักอยู่ ต้องคิดดีๆ

– ผมยินดีให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการทำเพลงครับ สอบถามแอดมินในไลน์แอดเพื่อรับโปรโมชั่นพิเศษได้และ demo ทดลองเรียนได้ก่อน ฟรี


VERY CAT SOUND

Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

อ่านบทความเก่าๆได้ในเว็บ

verycatsound.com/music-production

ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound

ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.