Line Chorus คืออะไร คิดยังไง

Share via:

Krissaka Tankritwong

Chorus ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงชื่อท่อน Chorus หรือที่นิยมเรียกกันว่าท่อน Hook
แต่เป็นไลน์ดนตรีชิ้นหนึ่งในกระบวนการเรียบเรียงดนตรี และเป็นสิ่งที่หลายๆคนอาจจะมองข้าม นั่นคือไลน์ Chorus หรือไลน์เสียงร้องประสาน ที่ร้องคู่กับเสียงนักร้องหลัก โดยที่หลายคนอาจจะไม่ทันได้สังเกตว่ามันมีอยู่ในเพลงแทบทุกเพลง แต่มันซ่อนอยู่แบบไม่โดดเด่น แต่ทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้เสียงนักร้องหลักเด่นขึ้น ไพเราะขึ้น มันเป็นเหมือนการทำ high light ให้กับท่อนที่เราอยากให้เด่นสะดุดตามากขึ้นนั่นเอง

แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การทำไลน์คอรัสนั้น ต้องออกแบบยังไงกันแน่ ศาสตร์ของมันถ้าจะให้ศึกษาขั้นลึกกันจริงๆ ก็คือการเรียนรู้เรื่อง harmony ต่างๆ และเรื่อง การเขียน ไลน์ประสานสี่แนว หรือ 4 four part writing (อยู่ในวิชา VCA202) รวมไปถึง เรื่อง counterpoint (อยู่ในบทเรียนวิชา VCA302) ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะยาวมาก ถ้าจะมาพูดถึงกันในที่นี้

อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาแนะนำสูตรการคิด ไลน์คอรัสแบบง่ายๆ ให้ลองทำตามกันนะครับ

1.เลือกเฉพาะบางคำ หรือบางประโยค ที่ต้องการเน้น

อย่างบอกว่า มันเป็นเหมือนการนำปากกามาขีดทำ high light ให้กับไลน์ร้อง ซึ่งการทำ high light ปกติแล้ว เราจะไม่ได้ขีดกันทั้งหมดทุกคำ ทุกประโยค ทุกท่อนใช่ไหมครับ แต่จะเลือกส่วนที่สำคัญๆ หรือใจความสำคัญ ที่เราต้องการจะเน้นให้เห็นง่ายๆ อ่านง่ายๆ ฉะนั้นเราจะต้องทำการตัดสินใจ “เลือก” เอาเฉพาะคำหรือเมโลดี้ที่เราต้องการเน้นครับ อาทิเช่น สมมุติ ประโยคเพลงบอกว่า “ไม่มีเบอร์หนึ่งถึงสองคน” เราอาจจะทำคอรัสแค่คำว่า “สองคน” แค่นี้ก็ได้ครับ ขั้นนี้มันไม่มีผิดมีถูก มันแล้วแต่เราเป็นคนออกแบบครับว่าอยากจะ high light ตรงไหนบ้าง

2.ใส่ไลน์ร้องคำๆเดียวกัน ตรงจุดที่เลือก แต่เปลี่ยนโน้ต กับลักษณะการร้อง

ให้ทำการร้องอีกไลน์หนึ่งใส่เข้าไป โดยร้องคำๆเดิม คำที่เราเลือกจะ high light มัน แต่เป็นโน้ตคนละตัวกับไลน์แรก โดยไลน์เมโลดี้ปกติ มันคือไลน์หลักที่เราอยากจะให้ได้ยินชัด จับเมโลดี้ได้ง่าย แต่สำหรับไลน์คอรัสนี้ เรามักจะต้องการเพียงให้มันพอได้ยิน ไม่ต้องชัด คือให้มันรู้สึก “ซ่อน” อยู่

3.ใช้โทนเสียงร้องที่มีลักษณะเบาบางกว่า

ทำได้หลายวิธี โดยอาจจะร้อง Octave ที่สูงกว่า ไลน์หลัก 1 Octave ก็ได้ แล้วใช้โทนเสียงที่เน้นเสียงลม ที่เป็นโทนบางๆ มากกว่าจะเป็นเสียงเต็ม

4.เลือกโน้ตที่เป็นคู่ประสาน (แนะนำคู่ 3)

ถ้าเราต้องการให้ไลน์คอรัสทำหน้าที่ประสานได้อย่างสวยงาม ไลน์ที่เราร้องนี้จะไม่ได้เลือกโน้ตเดียวกับไลน์หลัก แต่จะเลือกโน้ตที่ประสานกับไลน์หลักได้อย่างลงตัว ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไปว่า ถ้าจะเอาแบบลึกละเอียด จะมีรายละเอียดและหลากหลายท่ามาก ฉะนั้นถ้าเอาแบบนำไปใช้งานได้ง่ายๆ เป็นสูตรเลย คือเราจะประสานเป็น “คู่ 3”

สำหรับใครที่ยังไม่ได้มีความรู้เรื่องขั้นคู่เสียงมาก จะอธิบายง่ายๆกว่า เสียงที่ห่างออกไปจากเสียงตั้งต้นเป็นระยะกี่ขั้น คู่สามก็แปลว่า สามขั้น โดยจะนับตัวมันเองเป็นคู่ 1 ด้วย

ขอยกตัวอย่างดังนี้นะครับ

จากประโยคนี้
ไม่ มี เบอร์ หนึ่ง ถึง สอง คน

มีโน้ตตามนี้ (ในสเกล C major)
ฟา-มี-โด-ซอล-โด-เร-โด
หรือ
F-E-C-G-C-D-C

เราจะ high light คำว่า “สองคน” ซึ่งก็คือโน้ตสองตัวสุดท้าย D-C

คู่ 1 ของ D คือ D
คู่ 2 ของ D คือ E
คู่ 3 ของ D คือ F

คู่ 1 ของ C คือ C
คู่ 2 ของ C คือ D
คู่ 3 ของ C คือ E

ฉะนั้น โน้ตของไลน์คอรัสที่จะร้องว่า “สองคน” เราจะร้องเป็นโน้ต F-E
โดยโน้ตคอรัสนี้เราจะนิยมเล่นสูงกว่าโน้ตหลัก นั่นก็คือ F-E ที่อยู่ด้านบนของโน้ตหลัก
และในหลายๆครั้งอาจจะเป็น Octave ที่สูงกว่า อีก 1 Octave ด้วยครับ
สังเกตง่ายๆ บางเพลงคนร้องหลักเป็นผู้ชาย แต่ร้องคอรัสเป็นผู้หญิง ซึ่งออกเตฟสูงกว่าคนร้องหลักอยู่แล้ว แต่ออกมาลงตัวพอดี

แบบนี้ครับ

นี่คือสูตรง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้เลย คือเราจะประสานเป็นคู่ 3 นะครับ เป็นสูตรที่ใช้ได้ดีเสมอ เอาไว้ทำจนคล่องแล้วอยากรู้สเตปที่ลึกขึ้นจริงๆ ค่อยศึกษาจริงจังเพิ่มในคอร์สก็ได้ครับ

ข้อควรระวัง!

สิ่งที่มือใหม่มักจะพลาดกันบ่อยๆคือการนับขั้นคู่ผิด จนใช้โน้ตผิดครับ การนับขั้นคู่แบบที่ว่ามา ควรจะมีพื้่นฐานความเข้าใจเรื่องสเกล กับ ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นพอสมควร เพราะคู่ 3 มันมีทั้งแบบ 3 Major กับ 3 minor มันทำให้เราต้องรู้ว่า คู่ 3 ตัวไหนกันแน่ที่ถูกต้อง เช่นถ้าเราเล่นใน C Major Scale เราจะนับขั้นคู่ตาม Diatonic หรือตามลำดับโน้ตในสเกลอยู่แล้ว แต่บางคนที่เข้าใจเรื่องนี้ผิด แล้วอาจจะใช้พวกเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วระบุมันไปว่าเป็น คู่ 3 เฉยๆ โดยที่เครื่องมือเหล่านั้นอาจจะไม่ได้คำนวนมาให้ว่ามันอยู่ในสเกลไหน ทำให้เกิดความสับสนระหว่าง 3 Major กับ 3 minor ซึ่งมีความห่างเสียงไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่าง

C – E เป็นคู่ 3 Major แต่ C – Eb เป็นคู่ 3 minor
แต่
D – F เป็นคู่ 3 minor แต่ D – F# เป็นคู่ 3 Major

แต่ขั้นคู่สามที่เราจะใช้ คือคู่สามใน Diatonic หรืออยู่ในคีย์ที่เรากำหนด

เช่น ถ้า Key C มันจะไม่มีโน้ต Eb หรือ F# อยู่แล้ว ฉะนั้น จะเลือกโน้ตตัว E กับ F ครับ

ฉะนั้น ข้อแนะนำคือ ควรจะมีความรู้ทางทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นด้วยครับ ก่อนนำสูตรไปใช้

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ครับ

The Real Producer

หากคุณสนใจเรื่องนี้ลึกขึ้น หรือถ้ายังอ่านบทความนี้ไม่เข้าใจ เพราะขาดพื้นฐานความรู้ทางดนตรี แต่อยากปิดจุดอ่อนอันนั้น ทั้งหมดที่ว่าไปเรามีสอนอยู่ในวิชา VCA201, VCA202 Music Designer สอนการเรียบเรียงดนตรีพื้นฐานของทุกเครื่อง หรือแม้แต่ใครสนใจเรียนลึกทางด้านการทำเพลงอื่นๆ หลักสูตร The Real Producer มีสอนทุกอย่างที่กล่าวมา ในแบบ Real , Exclusive , Deep ในจักรวาลของการทำเพลง ทุกสิ่งที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ สนใจหลักสูตรติดต่อแอดมินใน Line @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างสุดของบทความได้เลยครับ

——————————

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.