Sound Designer อีกอาชีพที่เกี่ยวกับเสียง ที่มีชื่อเท่ห์ๆ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ โดยมากอาชีพนี้มักจะเป็นคนที่เรียนด้านดนตรี หรือไม่ก็ Sound Engineer มาก่อน แล้วผันตัวเองมาทำด้านนี้ โดยเป็นอาชีพที่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคที่ค่อนข้างมาก บวกกับต้องเป็นนักทดลอง ในการผสมเสียงหลากหลายรูปแบบ และตัวงานเองก็มีความยากและค่อนข้างท้าทาย
นักออกแบบเสียง หรือ Sound Designer ที่จริงแล้วเป็นคำกลางๆ ที่เอาไว้เรียกบุคลากรที่ทำหน้าที่สร้างหรือออกแบบเสียง ที่ใช้ในสื่อต่างๆ ซึ่งที่จริงแล้วรูปแบบงานมีหลากหลายมากๆ แต่จะขอแบ่งเป็นประเภทหลักๆ 3 ประเภทดังนี้ครับ
หลักๆของการออกแบบเสียงสำหรับดนตรี มันคือการสร้างสรรค์เสียงรูปแบบใหม่ๆ ด้วยเครื่องมือต่างๆ อาทิ การเล่นตัวอย่าง
เสียง (Sampling) โดยผ่านการ Edit หรือใส่ Effect แบบต่างๆ หรือแม้แต่การสร้างมันใหม่ขึ้นมา หรือการสังเคราะห์เสียง หรือที่เรียกว่า Sound Synthesis โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า Synthesizer หรือเครื่องสังเคราะห์เสียง ในการสร้างหรือออกแบบเสียงใหม่ๆที่มีความซับซ้อนและแปลกใหม่ไปกว่าเสียงเครื่องดนตรีปกติ ซึ่งนิยมมากในดนตรีสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะ Electronic Music โดยที่จริง Sound Designer ประเภทนี้แทบไม่มีคนทำอาชีพนี้โดยตรง การเรียนสิ่งนี้จะช่วยทำให้คุณสามารถสร้างเสียงรูปแบบใหม่ๆได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อประโยชน์ต่อการทำเพลงของคุณ และมักเป็นวิชาเรียนวิชาหนึ่งที่รวมอยู่ในหลักสูตรของการเป็น Producer อยู่แล้ว
นี่เป็นสายที่มีอาชีพทำกันอยู่จริงในประเทศไทย ซึ่งเป็นการออกแบบ และสร้าง เสียงประกอบต่างๆ ที่อยุ่ในภาพยนตร์หรือสื่อภาพเคลื่อนไหวอื่นๆ อาทิ ภาพยนตร์ , เกม โดยอาศัยความรู้ที่คาบเกี่ยวกับการทำดนตรี หรือบางส่วนที่เหมือนกับ Sound Designer แบบแรก แต่จะมีศาสตร์เฉพาะบางอย่างในวงการภาพยนตร์ หรือ เกม เข้ามามีส่วนร่วมด้วย อาทิเช่น Foley (การใช้อุปกรณ์สร้างเสียงประกอบภาพยนตร์) , Sound Effect รวมไปถึงการทำกระบวนการทาง Technique อื่นๆ ในการดัดแปลงหรือ Edit ไฟล์คลื่นเสียง ให้มีความปรับเปลี่ยนไปจากเดิม และในการทำงานจริง บ่อยครั้งบุคลากรในส่วนนี้ ยังรวมไปถึงการ Final Mix เสียงในภาพยนตร์ หรือสื่อภาพเคลื่อนไหว ที่ต้องมีการจัดการให้เสียงมีความ balance กลมกลืน เรียบร้อย ทั้งในส่วนของ เสียงคนพูด หรือ Dialogue , เสียง Foley , Sound Effect และดนตรีประกอบ หรือ Music Score ที่ทาง Film Composer ส่งมารวมด้วย การทำ Sound Design นั้นเป็นคนละส่วนกับการทำดนตรีประกอบ หรือ Music Score ซึ่งอยากให้คุณแยกให้ออก ดนตรีก็ส่วนดนตรี ส่วนเสียงประกอบอื่นๆก็ส่วนเสียงประกอบ และคนทำเป็นคนละคนกัน (แต่คุณอาจจะเก่งจนทำได้ทั้งสองอย่างก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ) โดยส่วนที่ Sound Designer ต้องไปยุ่ง มันคือเสียงทั้งหมดที่นอกเหนือจากดนตรีประกอบกับเสียงคนพูด (Dialogue) ที่ส่งมาจาก Music Composer และฝ่ายพากย์เสียงเรียบร้อยแล้ว เสียงที่ต้องมายุ่งกับมันคือบรรดาเสียงประกอบทั้งหลายทั้งที่มีอยู่จริงในโลกนี้ และไม่มี อาทิ ฝนตก ฟ้าร้อง ม้าวิ่ง คนเดิน ฟ้าผ่า สัตว์ประหลาดคำราม หุ่นยนต์ขยับ เอเลี่ยนพูด ฯลฯ เป็นต้น เนื่องจากต้องทำงานที่มีความละเอียดเรื่องเสียง ทำให้การจะทำอาชีพนี้ได้นั้น ควรมีความรู้เรื่อง Sound Engineer ขั้นพื้นฐานแน่นอยู่พอสมควร เพราะมันเป็นการพลิกแพลงความรู้เหล่านี้เข้ากับการทำงานเสียงประกอบสื่อ ซึ่งต้องอาศัยทั้งความพิถีพิถัน บวกกับความเข้าใจและความชำนาญในเรื่องคุณภาพเสียงอยุ่มาก
อาจมีการทำงานในรูปแบบอื่นๆ อาทิ ทำ Sonic Art , Installation Art , การทำเพลงบางรูปแบบ ที่ไม่ได้อิงกับตัวโน้ตดนตรี หรือการออกแบบเสียงสำหรับพื้นที่บางอย่าง ฯลฯ ผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้อาจเรียกตัวเองว่าเป็น Sound Designer ได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่า มีเพียงงานประเภทภาพยนตร์ หรือ เกม เพียงเท่านั้น ที่ดูเป็นอาชีพได้จริงของคำว่า Sound Designer
มีหลายคนทางที่จะไปสู่อาชีพนี้ ผมขอแยกเป็น 4 หนทางละกันนะครับ
1.เรียน Sound Engineer อันนี้คือทางตรงที่สุด ในสถาบันที่คุณเรียนอาจมีสายนี้ให้เลือกโดยตรง หรือถ้าไม่มี คุณอาจต้องมาหาศึกษาเรื่องภาพยนตร์หรือเกมเพิ่มเติมเอาเองหลังจากนั้น ข้อได้เปรียบจะเยอะกว่าเรียนสายอื่น เพราะคุณคลุกคลีกับเรื่องเสียงมาจนชำนาญแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ซึ่งคณะที่สอน Sound Engineer โดยตรง อาจมีทั้งคณะวิศวะกรรม ที่มีสาขานี้โดยเฉพาะ หรือคณะดนตรี ที่มีสาขาเทคโนโลยีดนตรี เป็นต้น
2. เรียนคณะดนตรี อันนี้ไม่ได้ตรงที่สุด แต่ก็พลิกแพลงมากันได้ เพราะในสายการทำดนตรี จะมีความเกี่ยวข้องการกับการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์แบบ Film Score หรือมีพวกวิชา Sound Engineer อยู่บ้างอยู่แล้ว ความรู้หลายอย่างในการทำเพลงสามารถประยุกต์เข้ากับการทำ Sound Design ประกอบหนังหรือเกมได้ และมันยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสายดนตรี ที่จะผันตัวเองมาเป็นอาชีพนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมก็ตาม บางทีแล้วการที่คุณทำได้ทั้งดนตรีประกอบ และเสียงประกอบ ไปด้วยในตัวเลย มันก็เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งที่ทำให้คนอยากจ้างคุณเช่นกัน
3. เรียนคณะเกี่ยวกับภาพยนตร์ หรือเกม หรือ digital media บางคณะที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ เกม หรือ digital media มีสอนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว หรือต่อให้ไม่มีก็มีมาเฉียดๆใกล้เคียง และถ้าคุณสามารถหาเรียนความรู้เสริมเรื่องการทำ Sound Engineer หรือ Sound Design เพิ่มเติมเอาเองได้ก็จะยิ่งดี เพราะความรู้อย่างอื่นที่คุณได้จากคณะ หรือ Connection จะมีประโยชน์ทำให้คุณสามารถหาช่องทางไปทำ และเติบโตไปในสายงานนี้ได้ง่ายขึ้น
4.เรียนคณะอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเลย
ก็ยังสามารถมาทำอาชีพได้เช่นกัน ถ้าคุณมีโอกาส มีความสนใจ และขยันที่จะหาความรู้ พัฒนาตัวเองเพียงพอ มันเป็นศาสตร์ที่มีความยากของมันระดับหนึ่ง แต่มันไม่ได้ยากโหดและใช้เวลามากเท่าดนตรีตรงๆ ซึ่งคุณหรือใครหลายๆคนที่มาจากสายอื่นก็ยังเรียนรู้ได้ โดยไม่ได้ถือว่าต้องไปเริ่มใหม่โดยใช้เวลานานเกินไป คุณอาจต้องไปเรียนเสริมเรื่อง Sound Engineer , Sound Design เหมือนอย่างข้อสาม และอาจต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์หรือเกมเอาเอง แต่เชื่อได้ว่าถ้าคุณพยายาม หนทางมันย่อมมีเสมอ
และถ้าคุณกำลังหาเรียนรู้เรื่องของ Sound Design เพราะสนใจในอาชีพนี้อยู่ ทางหลักสูตร The Real Producer ของเราก็มีเปิดสอนในวิชานี้ โดยเหมาะกับผุ้เรียนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือไม่ก็ตาม จะเรียนไว้เพื่ออยากทำอาชีพนี้เป็นหลักเลย หรือเป็นอาชีพเสริม หรืออยากเรียนไว้เพื่อสร้างเสียงที่ตัวเองต้องการ เพื่อ support ในการทำเพลง ทำดนตรีของคุณ ให้ดียิ่งขึ้นก็ได้ แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้เรียน
หลักสูตร The Real Producer ออกแบบมาเพื่อคนที่จริงจังกับอาชีพดนตรี เมื่อคุณเอาจริง เราก็พร้อมจะสอนแบบจริงจังให้คุณ ชีวิตเป็นของคุณ คุณ Compose มันเองได้ สนใจติดต่อได้ที่แอดมิน ไลน์ @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ใต้โพสต์ล่างสุดนี้ได้ครับ
—————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425
çok yararlı bir paylaşım olmuş teşekkür ederim çok işime yarıcak.