ตัวเลข

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง ตัวเลขคือสิ่งที่ทำให้อยู่รอดได้จริง

Share via:

Krissaka Tankritwong

อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.3 ตัวเลขคือสื่งที่ทำให้อยู่รอดได้จริง

มาถึงแล้วกับ EP.3 ของซีรีส์ “อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง” ใน EP ก่อนหน้า ได้พูดถึงการทำเพลงทุกแนวหรือแนวเดียว ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัวเพราะขึ้นอยู่กับต้นทุนชีวิตของแต่ละคน แต่ก็มีสูตรบางอย่างคือ เน้นการทำเพลงกว้างให้ได้เป็นรักฐานและเน้นทำเพลงให้ลึกเฉพาะแนวที่ตัวเองตั้งเป้าไว้ รวมไปถึงการสร้าง Branding ด้วย ใน EP นี้ จะมาบอกถึงเรื่อง “ตัวเลข” ซึ่งใครจะเลือกทำเพลงกว้างมากน้อยแค่ไหน หรือมุ่งไปที่การทำลึกเฉพาะแนวอย่างเดียว ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลข ที่จะบอกว่าในทางที่เลือกเราสามารถอยู่รอดได้จริงไหม และตัวเลขที่ว่าคือตัวเลขอะไรบ้าง 

ครั้งก่อนที่มีการอธิบายเรื่องการทำเพลงหลากหลายแนวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เหตุผลหลักมาจากตัวเลข อย่างปริมาณงานที่เข้ามาและจำนวนเงินทีได้ ซึ่งสมมุติว่า หากเราตั้งเป้าว่าอยากได้เงินหนึ่งแสนบาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการทำเพลงให้ได้หลากหลายก่อน เช่น หนึ่งงานอาจจะได้ห้าพันบาท เราก็ต้องรับให้ได้ถึง 20 งานต่อเดือนถึงจะครบหนึ่งแสนบาท ซึ่งใน 20 งานนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีแค่งานแนวเดียวเข้ามา 

และในระหว่างที่รับงาน 20 งานต่อเดือนอยู่ เราก็ค่อย ๆ เริ่มสร้าง Branding ที่เป็นเฉพาะแนวของตัวเอง เพื่อหวังให้สามารถรับแนวเพลงนี้ในงานระดับที่ใหญ่ขึ้น สมมุติว่าเรากำลังสร้าง Branding ให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นนักทำเพลงเรกเก้ ยิ่งเรามี Branding ที่ชัดเจนมากเท่าไหร่ โอกาสที่งานเรกเก้ใหญ่ ๆ จะเข้ามาก็มีมากขึ้น ซึ่งก็จะเข้ามาพร้อมกับจำนวนเงินที่มากขึ้นด้วย ทำให้เราสามารถเลือกรับงานแนวอื่น ๆ ได้น้อยลง จนกระทั่งเมื่อเรามีชื่อเสียง เป็นเบอร์หนึ่งในด้านเรกเก้ เราอาจสามารถรับงานใหญ่งานเดียว ที่มีมูลค่าเงินเทียบเท่ากับเพลงแนวอื่น ๆ 20 งานได้

แต่มีอีกตัวเลขหนึ่งที่อยากให้คำนึงไว้ด้วยคือ งานใหญ่มักจะมาไม่บ่อย ถึงเราจะมีชื่อเสียงแล้ว แต่ในความเป็นจริง งานใหญ่ ๆ ไม่ได้เข้ามาบ่อยขนาดนั้น สมมุติงานใหญ่งานเดียวที่มีมูลค่าหนึ่งแสนบาท อาจจะมาแค่ 2 – 3 ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นเราอาจจะรอและเลือกทำแต่งานใหญ่ไม่ได้ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เอารายได้จากงานมาบวกลบกับ Fix Cost ที่มี ว่าต้องรับงานปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ ซึ่งหลาย ๆ ศิลปินดังที่เราเห็นว่าเขาเป็นเซียนในแนวเพลงเฉพาะตัว เขาก็ยังมีรับงานในแนวอื่น ๆ ด้วย เพียงแต่เวลาที่งานเข้ามาหาเขา จะเข้ามาจาก Branding ที่สร้างไว้สำหรับแนวเพลงเฉพาะตัว

เรื่องตัวเลขยังมีผลกับแนวเพลงต่าง ๆ ด้วย โอกาสในแต่ละแนวเพลงนั้นมีไม่เท่ากัน เช่น สมมุติว่าเราอาจเป็นเบอร์หนึ่งในเรกเก้ แต่เมื่อเทียบกับแนวฮิปฮอปแล้ว ฮิปฮอป อาจมีกระแสความนิยมมากกว่า ทำให้มีงานใหญ่เข้ามามากกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ดนตรีก็เปรียบเสมือนกับแฟชั่น แนวเพลงที่เห็นว่าฮิตติดกระแสอยู่ในปัจจุบัน ก็ไม่ได้ฮิตอยู่ค้ำฟ้าตลอดไป เราก็ต้องหันกลับมารับเพลงในแนวอื่น ๆ บ้างผสมกันไปอยู่ดี ฉะนั้นแล้ว ถ้าสุดท้ายเราต้องกลับมาทำเพลงในแนวอื่น ๆ ด้วย เราอาจจะต้องเปลี่ยน Mindset จากเดิมที่ฝืนใจทำเพลงแนวอื่น ๆ เพราะไม่ใช่แนวของตัวเอง เป็นการทำเพลงแนวอื่น ๆ ก็สามารถสร้างประโยชน์ สร้างความสุขให้คนอื่น ๆ รวมถึงสร้างรายได้ให้เราด้วย

เหมือนกับการเล่นเกม Final Fantasy ที่ถ้าเราเปรียบชีวิตในบั้นปลายเหมือนกับการจบเกมให้ได้ หากเราเล่นแค่อาชีพเดียวก็จะยากต่อการจบเกม แต่ถ้าเราสลับไปเก็บ Skill Job ระดับต้นของอาชีพอื่น ๆ และเอามาเสริมให้อาชีพหลัก แบบนี้จะทำให้เราจบเกมง่ายขึ้น ซึ่งการอัพสกิลระดับต้นของหลาย ๆ อาชีพ ยังใช้ Exp ในการฝึกน้อยกว่าการพุ่งเป้าไปที่อาชีพเดียวด้วย  ในทางดนตรีก็เช่นเดียวกัน การเรียนให้ทำเพลงได้หลากหลายแนว จะใช้เวลาประมาณ 100 ชั่วโมง ซึ่งประโยชน์ที่ได้คุ้มค่ากว่าการมุ่งไปเฉพาะแนว

นอกจากนี้ คำแนะนำต่าง ๆ แนะนำตามบริบทหรือสถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเท่านั้น ซึ่งยังมีข้อสังเกตอีก 3 ข้อ ให้เอาไปวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วย

  1. คนที่มีต้นทุนชีวิตดี : คนที่มีต้นทุนชีวิตดีโดยเฉพาะเรื่องเงิน อาจไม่จำเป็นต้องคิดถึงคำแนะนำตรงนี้ สามารถพุ่งเป้าและสร้าง Branding ไปแนวเพลงเฉพาะที่เราต้องการได้เลย เพราะมีรายได้ซัพพอร์ตการใช้ชีวิตในด้านอื่น ๆ อยู่แล้ว
  2. แต่ละแนวมีโอกาสไม่เท่ากัน : คนที่เป็นเบอร์หนึ่งของแต่ละแนวเพลง อาจจะมีโอกาสในการทำเพลงไม่เท่ากัน ต่อให้เรามีฝีมือมากจนใครก็รู้ว่าเราเป็นเบอร์หนึ่งในด้านนี้ แต่ในตลาดก็มีความต้องการแต่ละแนวเพลงไม่เท่ากัน บางแนวมีงานใหญ่เข้ามาเป็น 10-20 งานต่อปี ก็ทำให้เราไม่จำเป็นต้องรับงานเล็ก ๆ แต่บางแนวก็มีงานใหญ่เข้ามาแค่ 1-2 งานต่อปี ก็ยังต้องเลือกรับงานเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอ
  3. วิเคราะห์ให้ดีกับคำพูดที่ว่าให้เลือกทำสักอย่างหนึ่งก็พอ : บางคนอาจจะเคยได้ยินว่า ให้ทำอะไรสักอย่างก็พอ อย่าจับปลาสองมือ หากใครได้ยินคำนี้ให้ลองวิเคราะห์ให้ดีก่อนว่าเขากำลังพูดถึงอะไร เช่น ถ้าให้เลือกทำหนึ่งอย่างระหว่าง ทำเพลง เรียนภาษา เขียนโปรแกรม แล้วเลือกทำเพลงเพียงอย่างเดียว หรือให้เลือกทำเพลงแนวใดแนวหนึ่งก็พอ ย้ำอีกทีว่าในทางดนตรีการที่จะทำแนวเดียวจนสำเร็จในอาชีพได้เลยเป็นเรื่องยากกว่าการทำเพลงได้หลาย ๆ แนวแน่นอน

สุดท้ายแล้ว ไม่มีเส้นทางที่ถูกหรือผิด สิ่งสำคัญคือการวิเคราะห์ตัวเอง เลือกทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเอง และอย่าลืมว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับต้นทุนชีวิตของแต่ละคน บางคนมีความพร้อมมากกว่า ก็อาจจะไม่ต้องทำแนวอื่นเลย แต่สำหรับคนที่ต้องดิ้นรน การเปิดกว้างและยืดหยุ่นจะช่วยให้เราอยู่รอดได้
ถ้าใครสนใจเรียนดนตรีทุกแนวให้เป็นเรื่องเป็นราวจนสามารถเอาไปใช้จริงได้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในคอร์ส VCA403 Music Genre Study และ VCA404 Electronic Music Study ซึ่งอยู่ในหลักสูตร The Real Producer


The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง

นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer

เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล

สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.