ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง

Share via:

Krissaka Tankritwong

ปี 2001 – 2004 : ยุคอวสาน Shibuya-kei

เวลาแห่งการหนีความจำเจ

    ปี 2001 อัลบั้ม “Point” ของ Cornelius ออก เหมือนเป็นการเริ่มต้นของยุคใหม่ การเริ่มต้นเข้มข้นกับแนวทางใหม่ที่ออกไปทางดนตรีทดลองที่มีความ minimal มากขึ้นของ Keigo Oyamada ได้สร้างมาตรฐานใหม่ และเป็นผู้นำ trend ให้กับศิลปินในวงการอีกครั้ง การปฎิวัติซาวด์ของตัวเขาเอง ทำให้ยุคนี้เข้าสู่ยุคที่ซาวด์โดยรวมของเหล่าศิลปิน Shibuya-kei มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จากที่เคยมุ้งมิ้งน่ารัก ตอนนี้ทุกวงต่างพยายามแสวงหาซาวด์ใหม่ โดยนำซาวด์แบบชิบุย่าไปรวมกับส่วนผสมแบบอื่นๆ

    มีอีกหลายอัลบั้มที่เปลี่ยนทิศทางมาทางนี้ อาทิ Kahimi Karie อัลบัม Trapeziste และ Montage ก็มีทิศทางไปในทาง experimental music เช่นเดียวกัน ในช่วงนี้ มีงานที่มีซาวด์แบบดนตรีทดลอง มีอีกประเภทที่คล้ายกัน ชื่อแนว “Nakame-kei” (ย่านในญี่ปุ่นอีกย่าน ชื่อ Nakameguro) โดยงานที่เป็นที่จดจำ และส่งอิทธิพลต่อวงการมากที่สุดคือ Landscape of Smaller’s Music ของ Tomoki Kanda

    ความเคลื่อนไหวของศิลปินอื่นๆ ในช่วงนี้

  • Escalator Records ก็ได้เริ่มต้นทดลองซาวด์ใหม่ๆเช่นกัน โดยได้เปิดประตูทางดนตรี ไปหลอมรวมกับซาวด์แบบ Electropunk จาก New York และ Berlin ( ตัวอย่างเพลงในค่าย Yukari Rotten – Break ด้านล่าง )
  • Fantastic Plastic Machine (FPM) หลังจากที่เคยมุ่งสไตล์ lounge music ตอนนี้กลายมาเป็น DJ ที่มุ่งเน้นดนตรี house เต็มตัว ( ตัวอย่างเพลง City Light ด้านล่าง )
  • 

Kenji Ozawa หายตัวไปอยู่ที่ไหนสักแห่งใน New York…
  • Konishi Yasuharu (Pizzicato Five) และค่ายของตัวเอง Readymade ยังคงทำดนตรีในแนวทางเดิมๆ เหมือนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่มีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ( ตัวอย่างเพลง Girl Friend http://youtu.be/E7n4mthP5cc )
  • Pizzicato Five ประกาศแยกวงในปี 2001 ( ตัวอย่างเพลง Magic Carpet Ride ในคอนเสิร์ตสุดท้าย T-T เศร้า http://youtu.be/vc4jaIh9GtE ) หลังจากสร้างผลงานในวงการมาอย่างยาวนาน การแยกวงของ P5 นั้นเปรียบเสมือนลางร้ายอะไรบางอย่าง หลังจากนั้น…

ในช่วงเวลาต่อจากนี้ วงทั้งหลายเหล่านี้เริ่มหยุดจำกัดความตัวเองว่าเป็น Shibuya-kei…


Yukari Rotten – Break (จากค่าย Escalator ที่เปลี่ยนแนวทางมาทาง Electropunk)


FPM – City Light (เปลี่ยนตัวเองมาเข้มข้นกับความเป็น House Music)

Cornelius กับความ minimal ขึ้นในอัลบั้ม point

Cornelius กับความ minimal ขึ้นในอัลบั้ม point

 

คอนเสิร์ตสุดท้ายของ Pizzicato Five น้ำตาจิไหล T-T

คอนเสิร์ตสุดท้ายของ Pizzicato Five น้ำตาจิไหล T-T

 


ทำไมศิลปินเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงคำว่า Shibuya-Kei?

    มันก็คงคล้ายกับ กระแสคำว่า “เด็กแนว” หรือ “Hipster” ในปัจจุบัน “เด็กแนวตัวจริงจะไม่เรียกตัวเองว่าเด็กแนวฉันใด ศิลปิน Shibuya-kei ก็จะไม่เรียกตัวเองว่า Shibuya-kei ฉันนั้น” เมื่อมีบางอย่างเป็นกระแส ผู้ที่แอนตี้กระแสก็จะพยายามบอกว่าตัวเองไม่ได้ตามกระแส โดยค่ายสุดฮิพอย่าง Bonjour Records ใน Daikanyama เลือก ที่จะไม่พูดคำนี้ และหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่ดูเข้าข่ายวัฒนธรรม Shibuya-kei


    ศิลปินเก่าๆ พยายามหนีจากการเป็น Shibuya-kei แต่สายไปแล้ว… เพราะซาวด์และความเป็น Shibuya-kei นั้นมาถึงจุดที่ชัดเจน และได้ถูก present ออกสื่อ จนเกิดเป็นกระแสที่พร้อมจะถูกสื่อ หรือผู้แสวงหาผลประโยชน์จากความเท่ห์ของแบรนด์นี้ไปหากินกับคนฟังกระแสหลัก เรียบร้อยโรงเรียนญี่ปุ่นแล้ว เกิดนิตยสารที่ขายวัฒนธรรมชิบุย่าฮิพๆ ร้านค้าหรือคาเฟ่มากมายที่มีสไตล์แบบ ยุโรปหรือตะวันตก  เช่น ร้านกาแฟเก๋ๆ ที่เปิดแต่เพลง bossanova , เพลงของ Jane Birkin และ Astrid Gilberto รสนิยม ชิคๆ คูลๆ หรูๆ เก๋ๆ  (ซึ่ง represent ตัวเอง ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม Shibuya-kei) แน่นอนว่าเหล่าศิลปิน Shibuya-kei นั้นมีความเป็นเด็กแนวในตัว ที่ชอบสวนกระแส ที่จะยี้คนที่มาทำตามแบบอย่างของตัวเอง

    วัฒนธรรม Shibuya-kei คือสูตรเฉพาะตัวที่ Konishi และ Oyamada และอีกหลายๆคน พยายามแสวงหาส่วนผสมของซาวด์แบบใหม่ พวกเขาทำงานอย่างหนักกว่าจะคิดมันออกมาได้และแนะนำให้โลกรู้จัก บัดนี้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่โลกให้การยอมรับ ซึ่งกลายเป็นกระแสที่ทำตามๆกันจนเสียจิตวิญญาณที่แท้จริงตอนแรกเริ่มของมันไป ไม่มีใครหาสิ่งใดๆใหม่ๆให้ตัวเองอย่างแท้จริงอีกต่อไป แค่เปิดดูจากหนังสือคู่มือที่หาซื้อได้ทั่วไปแล้วทำตาม ก็เท่ห์ ดูเป็น Shibuya-kei ได้อย่างง่ายๆแล้ว คุณค่าที่เกิดจากความ unique และความหายาก นั้นไม่มีอีกต่อไป เหมือนๆกับ sub culture ทั่วโลก ที่ผู้บริโภคแห่ทำตามๆกันเพื่อให้ตัวเองดูเท่ห์ ซึ่ง Shibuya-kei ก็ตกเป็นเหยื่อที่ไม่มีข้อยกเว้น

    ศิลปิน Shibuya-kei ดั้งเดิมบางคนกำลังพยายามทำลายกำแพงใหม่ บางคนกำลังเก็บเกี่ยวจากความสำเร็จในอดีต บางคนกำลังหาตลาดเฉพาะที่ใหม่ เพื่อปลดปล่อยผลงานตัวเอง และบ้างก็ยอมแพ้กับการทำเพลงโดยสมบูรณ์ มันทำใจยอมรับได้ง่ายกว่าสำหรับพวกเขาที่จะพูดว่า Shibuya-kei scene นั้นได้ตายไปแล้ว เพื่อปลงกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วเริ่มต้นแสวงหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อจับจองพื้นที่ที่ยังไม่มีใครตามทัน

ร้านกาแฟชิคๆเก๋ๆ เหล่านี้ในญี่ปุ่น ล้วนเป็นผลกระทบจาก Shibuya-kei ทั้งนั้น

ร้านกาแฟชิคๆเก๋ๆ เหล่านี้ในญี่ปุ่น ล้วนเป็นผลกระทบจาก Shibuya-kei ทั้งนั้น

     ติดตามเจาะลึกประวัติ Shibuya-kei ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น ย่านชิบุยะ ตอนอื่นๆได้ที่นี่ ในโพสต์ต่อไปนี้
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

   หรือร่วมพูดคุยกันได้ที่กลุ่ม Facebook เฉพาะสำหรับคนรักดนตรีชิบุยะ และอินดี้ญี่ปุ่น ได้ที่ FB group : “Shibuya-kei Thailand

ติดตามสารพันเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM

Comments (160)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.