ก๊อปเพลง หรือ แรงบันดาลใจ? เทียบกันจะๆ เพลงไทยเหมือนสากล เพลงไหนบ้าง?

Share via:

Assawin Kijpanich

           การ ก๊อปเพลง นั้นที่จริงแล้วมีมาทุกยุคทุกสมัย  และมีการฟ้องร้องอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทาง

ปัญญานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อลายเส้นการแต่งที่เป็นที่จดจำ ถูกนำไปดัดแปลง ทำใหม่และเผยแพร่โดยเจตนา

นับเป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ไม่อาจจะรับได้ ในฐานะศิลปินด้วยกัน…

 

            ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีเป็นทลายส้นกั้นโลกของการฟังเพลง จึงมีข้อมูลการเข้าถึงเพลงมากขึ้น จึงมีกระแสมา

ให้เห็นบ่อย เกี่ยวกับกรณีการลอกเพลงอย่างไม่ขาดสาย บางเพลงพอได้ฟังแล้ว  โอ้โห…แทบจะรู้สึกว่าคล้ายมาก หรือ

บางเพลงแทบจะแปลต้นฉบับกันมาเลยทีเดียว

      ……ในบทความนี้ จะขอหยิบคู่มวยที่เป็นประเด็นทั้งหลายแหล่ แชร์ความจริงกันให้กระจ่างว่า

           สำหรับผม ไม่ขอตัดสินละกันว่า อันนี้เรียก ก๊อปเพลง หรือไม่ แต่ขอบอกว่าอะไรที่มันเหมือน หรือไม่เหมือนบ้างดีกว่า ลองฟังแล้วใช้วิจารณญาณตัดสินกันเอาเอง

 

Case Study วาระแห่งชาติ…

 

เพลง PHOTOGRAPH vs AMAZING 

 

 

ระดับความเสี่ยง : 8.5 / 10

 

         ประเดิมที่เพลงดังระดับโลกเป็นตัวอย่างศิลปินที่ไม่มีใครไม่รู้จักอย่าง Ed Sheeran

บางคนนั้น อาจจะฟังออกยากนิดนึงว่ามันเหมือนตรงไหน  เพราะดนตรี และTempo เพลงนั้นมีความแตกต่างกัน

แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือสำหรับสองเพลงนี้  ” เมโลดี้หลัก ตรงท่อนฮุค” ของเพลง กระบวนท่านี้เรียกว่า

Note for note copying” เป็นกรณีที่เกิดขึ้นเยอะที่สุด

 

       ซึ่งการนำเมโลดี้หลัก ของเพลง มาใช้ต่อยอดกับอีกเพลงหนึ่ง ถือเป็นความผิดที่ร้ายแรงมาก

เพราะ เมโลดี้  คือหัวใจสำคัญที่สุด ที่ทำให้คนจดจำบทเพลงเพลงนึงเลยก็ว่าได้ 

 

มาดูตัวอย่างเพลงไทยกันบ้าง….

เพลง สิ่งรอบข้าง  vs  WHAT YOU KNOW 

 

ระดับความเสี่ยง : 9 / 10

 

           วงดังที่ขึ้นชื่อเรื่องการแสดงสด และ เน้นการเอนเตอร์เทนผู้ฟัง อย่างมหาหิงค์ก็มีประเด็นใหญ่อยู่ไม่แพ้กัน

ด้วยตัวเพลงที่มีความคล้ายคลึงกันหลายท่อน นับตั้งแต่ Verse ไปจนถึง Chorus  ถึงจะมีบางส่วนที่  แตกต่าง ออกไปบ้าง

แต่ก็ยังไม่พ้นกรณีที่โดนลิขสิทธ์อยู่พอสมควร  ซึ่งผู้รู้หลายฝ่าย ต่างเห็นชอบกันในทางเดียวกันว่าเป็นการ เข้าข่ายการ ก็อปเพลง

ในภายหลัง ทางสังกัดของวงมหาหิงค์ ก็ได้ออกมาขอโทษ และพร้อมแสดงความรับผิดชอบจาก ผลงานดังกล่าว

 

เพลง สืบพันธุ์ vs NUMB

 

 

ระดับความเสี่ยง : 8.5 / 10

 

          เป็นศิลปินร็อคชาย คอนเสปเข้มและมาดเข้ม ยืมแบบกันมาก สองเพลงนี้นอกจะเป็นร็อคเหมือนกัน

แล้ว แถมยังมีโน้ต motif(accent ของโน้ต) ที่เหมือนกันในท่อนฮุค (ตรงคำว่า “สืบพันธุ์ กับ So numb” ) ซึ่งเป็นเมโลดี้หลักของเพลง

 

เพลง ไม่ต้องฝืน vs WISH YOU WERE HERE

 

 

ระดับความเสี่ยง : 9.5 / 10

 

          มาที่ศิลปินสาวกันบ้าง ด้วยความคลั่งในเพลงร็อคอีกวง ราวกับถอดแบบกันมา(อีกแล้ว)

แม้ว่าเมโลดี้จะมีการดัดแปลงมาบ้างแล้ว แต่โครงสร้างโดยรวมนั้นก็ยังมีความคล้ายคลึงอยู่มาก กระบวนท่านี้

เรียกว่า “การถอด Backing Track”  วิธีก็คือ นำเพลง ต้นฉบับมา ถอดเมโลดี้ออกแล้วนำมาแต่งใหม่

ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมมากเหมาะสำหรับนักแต่งเพลงมือใหม่ ที่กำลังหัดแต่งเพลง

 

         โดยปกติแล้ว การที่ท่อนเพลงมีความยาวเท่ากัน คอร์ดเหมือนกัน คีย์เพลงเหมือนกัน  ย่อมเป็นเรื่องที่

อนุโลมให้ได้ แต่ถ้าหากเพลงนั้นเมโลดี้ดัน มีกลื่นอายของเพลงเดิมติดมาด้วย  ก็จะยิ่งทำให้ตกเป็นที่สงสัยได้ไม่น้อย

เลยทีเดียว

 

เพลง ใจเย็นเย็น vs SHAPE OF YOU 

 

 

ระดับความเสี่ยง : 4 / 10

 

           ตอนที่เพลงออกมาใหม่ๆ ก็มีคนทักมาว่า เหมือนกับเพลงศิลปินฝรั่งผิวขาวชื่อดังอย่างEd Sheeran

พอได้ลองฟังแล้ว มีความเหมือนอยู่จริง  น่าจะเป็นช่วงเปิดหัวเพลง จนถึง Verse มีการยืนพื้นGroove ตัวเดียวกัน แต่พอ

มาเจาะกันที่โครงสร้างแล้ว โน้ตมี Motif ที่คล้ายกันก็จริง แต่ไม่จัดว่าเหมือน   ต่อมาในท่อนอื่นๆพบว่าส่วนของ

ทำนอง และ เรียบเรียง นั้น มีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

 

           เพลงนี้ส่วนตัวผมเชื่อว่า ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นการตลาด ใช้ข้อสังเกตดังกล่าวให้ผู้ฟังเกิดตั้งข้อสงสัย

จะเรียกได้ว่า  “จงใจให้รู้สึกว่า ก๊อปเพลง”  ซึ่งถ้าจะเอาผิดตามกฎหมาย ก็ถือว่าไม่มีความผิดแต่อย่างใด เพราะมันไม่ได้เหมือนขนาดจะเอาผิดได้

 

เพลง วันนี้เธอจะบอกรักใครอีก (WHO ELSE)  vs GIRLS 

 

 

ระดับความเสี่ยง : 2.5 / 10

 

            เชื่อว่าวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก The Toys เนื่องจากกระแสของเพลงนี้  ที่มีการพาดพิงว่ามีการขโมยสไตล์เพลงของ

วง The 1975 ด้วยซาวด์และสไตล์การดีดกีตาร์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งยอมรับว่ามีความคล้ายอยู่ ในทางกลับกัน

ตรงส่วของเมโลดี้หลัก และ องค์ประกอบเครื่องดนตรีอื่นๆ ก็มีการออกแบบไปในแนวทาง ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

           ในภายหลัง นักวิชาการหลายท่านก็เห็นตรงกันว่า คือการ Referencing (การนำเพลงเดิมมาประยุกต์ต่อ) เนื่องจาก

สไตล์ดังกล่าวนั้นมีมานานแล้ว ยังมีอีกหลายวงที่นำมาใช้ก่อนหน้านั้น ไม่ใช่ The 1975 ที่ใช้เป็นวงแรก

             สุดท้าย ทางThe Toys ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมกับอนุญาตให้นำเพลงของตน ไปส่งให้ต้นสังกัดดำเนินคดี

เป็นการแสดงความรับผิดชอบให้สังคมได้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจทางนึง

 

เพลง วิญญาณ vs I WON’T GIVE UP 

 

 

ระดับความเสี่ยง :  6.5 / 10

 

           เป็นอีกกรณีนึงที่น่าสนใจ สำหรับนักแต่งพลงชื่อดังอย่าง แสตมป์ อภิวัชร์ ที่ออกมาชี้แจงถึงความไม่สบายใจที่มี

ต่อเพลงวิญญาณ ซึ่งมีโน้ตดันไปเหมือนท่อนนึงของเพลง I won’t give up

 

           พอได้ลองมาวิเคราหะ์กัน พบว่าตัวmotif ของโน้ตนั้น มีความคล้ายคลึงกันถึง 80เปอร์เซนต์ แต่มีเพียง

ท่อนChorusเท่านั้นที่เหมือน    ตัวผมเองเชื่อว่ากรณีนี้ เป็นเคสที่เกิดขึ้นบ่อยมาก  ในกลุ่มหนักแต่งเพลงที่ต้องทำงาน

เพลงอยู่บ่อยๆ  นั่นก็คือ การเผลอ นำเมโลดี้ คนอื่นมาใช้โดยไม่รู้ตัว

(ผู้เขียนบทความนี้ยังเชื่ออีกว่ากรณี เพลง Photograph กับ Amazing ก็เกิดจากความเผลอเช่นกัน)

   สรุป…

 

     เป็นอย่างไรกันบ้าง กับกรณีศึกษากระแสการ ก๊อปเพลง ที่หยิบยกมา ยังมีเพลงอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ถูก

นำมาให้ได้เปรียบเทียบกันให้เห็น แต่ก็เชื่อว่าพอจะเห็นภาพกันมากขึ้นเกี่ยวกับความรู้เล็กๆน้อยๆ

ในด้านทรัพย์สินทางปัญญาของเพลง

       สุดท้ายนี้ ความตั้งใจของบทความนี้ อยากให้ผู้อ่าน ได้เข้าใจถึงหลักการคร่าวๆในการพิจารณา ว่าการลอกเพลง

คืออะไร การ ก๊อปเพลง หน้าตาเป็นอย่างไร เชื่อว่ายังมีประเด็นเพลงต่างๆให้เราได้ติดตามอีกไม่หมดไม่สิ้นอย่าง

แน่นอนทุกวัน  ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ก็ยังขึ้นอยู่กับการแสดงรับผิดชอบของบุคคลนั้นด้วย ว่าบริสุทธิ์ใจที่จะ

ออกมาให้สังคมได้พิสูจน์ไหม นั่นคือเจตนารมณ์ที่สำคัญที่สุด

 

สำหรับเรื่องการ ก๊อปเพลงในรายละเอียดเชิงลึก สามารถติดตามเพิ่มเติมต่อได้ในบทความเก่าของเรา เรื่อง สิ่งที่ควรรู้ก่อนจับผิดเพลง ก๊อปไม่ก๊อปที่นี่ เลยครับ


คอร์สออนไลน์ สอนแต่งเพลง ออนไลน์ เริ่มต้นด้วยโปรแกรม DAWs กับ VERYCATSOUND

เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจ ลองเข้าอ่านรายละเอียดได้ที่ link ครับ

Comments (555)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.