คอร์ด Augmented

คอร์ด Augmented ใช้ตอนไหน?

Share via:

Krissaka Tankritwong

คอร์ด Augmented ใช้ตอนไหน?

โดยปกติแล้วคอร์ดจะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ คอร์ด Major, คอร์ด Minor, คอร์ด Dim และคอร์ด Aug ซึ่ง 2 อันแรกคนที่เล่นดนตรีทั่ว ๆ ไปคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คอร์ด Dim ก็อาจจะมีให้เห็นกันอยู่บ้างจากคอร์ด 7 ในสเกลเมเจอร์ แต่สำหรับคอร์ด Aug นี้แทบไม่จะไม่เห็นในเพลงทั่วไปเลย

ก่อนอื่นคอร์ด Aug ย่อมาจาก Augmented ที่แปลได้ว่า ขยาย เพิ่มพูน หรือความหมายในเชิงเดียวกัน ซึ่งในโครงสร้างคอร์ด Aug นั่นก็คือการนำคอร์ด Major ที่มีโครงสร้าง 1 3 5 มาติด #5 เช่น จากคอร์ด C ที่มีโน้ต C E G หากทำเป็นคอร์ด Aug ก็จะได้ C E G# ซึ่งเราจะไม่พบเจอคอร์ด Aug ในสเกลทั่วไป แต่จะเริ่มเจอในสเกลระดับสูง ๆ เช่น Harmonic minor ที่โน๊ตบางตัวจะถูกติด # เพิ่มเข้ามา ทำให้บางคอร์ดจึงกลายเป็น Aug ไปด้วย นอกจากนี้ ในด้านเสียงเมื่อฟังเทียบกับคอร์ด Major , Minor ทั่วไป ที่เรามักจะชินหูกันอยู่แล้ว เสียงของคอร์ด Aug กลับให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้าง แอบหลอน ๆ ไปอีกแบบ ทำให้ยากต่อการใช้ จึงไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อย

แต่จริง ๆ แล้ว หากเราเข้าใจโครงสร้างของคอร์ด Aug และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถทำให้เพลงมีลูกเล่น ไพเราะน่าฟังไปอีกแบบ ซึ่งเทคนิคอย่างหนึ่งที่สามารถเอามาใช้กับคอร์ด Aug ได้ดีเลย คือ Passing Chord ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมเริ่มต้นคอร์ด C และต่อด้วย Am เราสามารถแทรกคอร์ด Caug เป็นตัวเชื่อมได้ เพราะ Caug มีโน้ต G# ซึ่งเชื่อมระหว่างโน้ต G ของคอร์ด C และโน้ต A ของคอร์ด Am ทำให้ดนตรีมีลูกเล่นจากการเคลื่อนไหวของโน๊ตได้ หรืออีกตัวอย่าง เช่น Dm / Dbaug / F/C ตัวคอร์ด Dbaug ก็จะมีโน้ต Db ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมระหว่างโน้ต D ของคอร์ด Dm และโน้ต C ของคอร์ด F/C ซึ่งตรงนี้ก็ทำหน้าเป็น Passing Chord เช่นเดียวกัน

นี่ก็เป็นเพียงเทคนิคสั้น ๆ ในการนำคอร์ด Aug มาใช้ผ่านเทคนิค Passing Chord ซึ่งก็สามารถเอาไปใช้ได้กับเพลง Pop ทั่วไปด้วย แต่ถ้าใครสนใจเทคนิคการใช้ Aug ในแบบอื่น ๆ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในคอร์ส VCA301 Basic Harmony ซึ่งจะอยู่หลักสูตร The Real Producer

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.