Chromatic scale คืออะไร ใช้ยังไง ?
หลายคนคงเคยท่องมาตั้งแต่เด็กว่าโน๊ตดนตรีมีแค่ 7 ตัวคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ซึ่งถูกต้องถ้าเราพูดถึงนิยามตัวโน๊ตในเชิง Major scale ซึ่งถือเป็นโน้ตที่คัดมาแล้วว่าใช้ง่าย แต่จริง ๆ แล้วถ้าเรานับพวกตัวติดชาร์ปหรือแฟลตได้อีก โน้ตดนตรีทั้งหมดจะมี 12 ตัว ซึ่งการนับแบบนี้จะเรียกว่า Chromatic scale ครับ แต่ว่ามันคืออะไร ใช้ยังไง แตกต่างจาก Major scale ยังไง บทความนี้มีคำตอบครับ
Major scale มีโน้ตแค่ 7 ตัว เราเล่นไปมายังไง ถ้ามันยังเป็นโน้ต 7 ตัวที่อยู่ในคีย์นั้น ๆ เช่น สเกล C ก็จะมี C D E F G A B หรือในเปียโนก็คือโน้ตที่อยู่บนลิ่มขาวอย่างเดียว เล่นยังไงก็ฟังออกมาเป็นเพลงได้ง่ายครับ แต่ Chromatic scale ก็จะนับรวมเอาพวกลิ่มดำข้างบนอีก 5 ตัวด้วย ซึ่งประโยชน์ของ Chromatic scale หรือการรู้จักพวกโน๊ตติดชาร์ปแฟลต หรือลิ่มดำบนเปียโนมีดังนี้
กรณีแรก ถ้าเราไม่ได้ทำเพลงในสเกล C เช่น ถ้าเป็นสเกล G โน้ตทั้ง 7 ตัวก็จะเปลี่ยนเป็น G A B C D E F# G หรือถ้าเป็นสเกล E ก็จะมี E F# G# A B C# D# E ทั้งสองสเกลนี้ถือแม้จะเห็นว่ามีพวกโน๊ตติดชาร์ปเข้ามาด้วย แต่ก็ถือว่าเป็น Major scale ที่ให้สำเนียงเสียงแบบเดียวกับ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ฉะนั้นแม้จะเป็น Major scale ก็ยังมีพวกโน๊ตติดชาร์ปหรือแฟลต
กรณีที่สอง ถ้าเราทำเพลงแบบ non diatonic สมมุติว่าเรากำลังเล่นเพลงในสเกล C อยู่ แต่บางเพลงอาจมีการเปลี่ยนฟีลลิ่งของเพลงด้วยการเปลี่ยนคีย์นิดนึง ซึ่งในช่วงที่เปลี่ยนคีย์นี่แหละ จะเป็นการใช้โน๊ตตัวดำเข้ามาเกี่ยวด้วย จะทำให้อารมณ์เพลงเปลี่ยนไป
กรณีที่สาม การใช้ passing note หรือการเติมโน้ตสั้น ๆ เผื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างโน้ต บางทีถ้าเราเล่นแต่โน้ตในสเกลตรง ๆ แม้มันจะเป็นโน้ตในสเกลนั้นจริง ๆ แต่ก็อาจทำให้เพลงขาดสีสันไปบ้าง แต่ถ้าเราใช้ passing note มีการเติมโน้ตนอกสเกลในบางจังหวะ จะสร้างความรู้สึกลื่นไหลของตัวโน๊ตได้ แต่ก็มีข้อควรระวังว่าควรใช้ในจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น ถ้าใช้เป็นตัว passing สั้น ๆ จะสามารถสร้างความลื่นไหลของตัวโน๊ตได้ แต่ถ้าเราไม่ใช้แบบ passing เช่น หยุดอยู่ตรงโน้ตที่เป็น Chromatic นาน ๆ จะมีความรู้สึกว่าเสียงมันกัดกัน หรือไม่เข้ากันมากกว่าแทน
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้อง Chromatic scale เพราะเวลาเล่นสเกลอื่น การทำเพลง non diatonic หรือการใช้ passing note จะมีการใช้โน้ตติดชาร์ปแฟลตหรือลิ่มดำบนเปียโนเข้ามาด้วย การฝึกไล่สเกลแบบ Chromatic scale จะช่วยสร้างความเคยชินให้กับนิ้วของเรา เพื่อให้เราสามารถเล่นตัวโน๊ตเหล่านี้ได้เร็วขึ้น และเข้าใจได้เร็วว่าเราจะใส่โน้ต Chromatic เข้าไปยังไง โดยเฉพาะ passing note ที่ถ้าเราชำนาญจริง ๆ จะทำให้เพลงของเราดูดีมีมิติขึ้น ที่สำคัญจะให้ฟีลลิ่งความรู้สึกแจ๊สด้วย เพราะในแจ๊สก็มีการใช้โน้ต Chromatic กันเยอะเลยครับ
ถ้าใครสนใจเรื่องการทำเพลงแบบรู้ลึก รู้จริง และหวังทำเพลงเป็นอาชีพ ที่นี่มีหลักสูตรที่ช่วยสอนให้ทุกคนทำเพลงเป็นและเอาไปใช้จริงได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหลักสูตร The Real Producer ได้เลย หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ
The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound