สอนทำเพลง ทำไมการเรียนดนตรีถึงมีราคาแพง

ทำไมการเรียนดนตรีถึงมีราคาแพง

Share via:

Krissaka Tankritwong

ใครเคยหาข้อมูลการเรียนดนตรี ไม่ว่าจะในระดับทั่วไป ไปจนถึงระดับสูง คงจะพอรู้ราคาดีอยู่แล้ว และในความรู้สึกของใครหลายๆคน อาจจะรู้สึกว่ามันแพง ไม่แปลกครับ ผมเองก็เคยรู้สึกเช่นนั้นครับ แต่จากที่ได้คลุกคลีกับมันเป็นเวลาเกิน 20 ปี ผมถึงได้เข้าใจว่า ที่จริงแล้วมันไม่ได้แพง มันแค่ “เยอะ”

ของทุกอย่างในโลกนี้มีทุกราคาอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการอะไร อาหารมื้อละ 50 บาทก็มี อาหารมื้อละ 5000 ก็มี แล้วทั้งหมดนี้ก็มีกลุ่มเป้าหมายคนซื้อของตัวเอง ที่จริงการที่บอกว่าดนตรีแพงกว่าวิชาอื่นๆ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าเทียบกับการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ ในปัจจุบันก็มีราคาสากลของมันอยู่ มันก็ตกอยู่ที่ ชม. ละ 2-500 เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ระดับเบสิคก็ถูกหน่อย ระดับสูงขึ้นก็แพงขึ้น หรือถ้าผู้สอนเป็นผู้มีคุณวุฒิหรือชื่อเสียงมาก มันจะพุ่งไปถึง ชม. ละ 1-2000 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก (อย่าลืมคูณ x3 x4 x5 ไป ถ้ากรณีเป็นต่างประเทศ ไม่ใช่ในไทย)

แต่สิ่งที่คนไม่ตระหนักถึงกับการเรียนดนตรี คือ ไม่คิดว่า เนื้อหามันจะ “เยอะ” , “ลึก” และต้องเรียนและฝึกฝนกัน “นาน” ขนาดนี้มากกว่า คนส่วนใหญ่หยั่งระดับความลึกของมันไม่ถึง เพราะมองเห็นเพียงแค่เปลือกนอกว่าแค่เล่นดนตรี ดูเป็นงานอดิเรก ดูเป็นเรื่องผ่อนคลาย ไม่เห็นจะรู้สึกว่าต้องแพง แต่เค้าไม่ได้มองถึงว่ามันเป็นศาสตร์ที่สืบทอดและพัฒนาต่อๆ กันมาหลายร้อยปี ตั้งแต่ยุคคลาสสิค ย้อนไปจนตั้งแต่ก่อนยุคกลาง เค้าเรียนกันจริงจังมาช้านานแล้ว และเรียนกันได้ถึงระดับปริญญาเอก และที่จริงแล้วมันก็เป็นวิชาสำหรับผู้ที่ค่อนข้างมีฐานะมาตั้งนานมากแล้ว บอกกันตรงๆว่า ถ้าฐานะไม่อำนวย หรือยังต้องกังวลเรื่องปากท้องอยู่มาก ไม่ควรมาเรียนอยู่แล้ว เพราะจะดูเป็นเรื่องสิ้นเปลือง ไม่จำเป็น และไม่สามารถคาดหวังผลลัพธ์ทางตัวเงินตอบแทนได้เท่าวิชาชีพอื่นๆ และกว่าจะเก่งจนสร้างรายได้ได้ ก็ต้องเรียนอีกนานมาก เยอะมาก ซึ่งเหมือนกับวิชาอื่นๆที่พ่อแม่ชอบส่งลูกเรียน อาทิ บัลเล่ต์ วาดรูป หรือศิลปะแขนงอื่นๆ

ปัญหาอีกอย่างที่เกิดขึ้นในการเรียนดนตรีของบ้านเราคือ ผู้เรียนไม่มีผู้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้จึงทำให้หลงทางเสียเวลาไปได้ง่ายๆ ทำให้ผู้เรียนไม่รู้ว่าเส้นทางนี้มันลึกแค่ไหน มีเรื่องให้เรียนรู้เยอะแค่ไหน ส่วนคนที่เรียนไปถึงจุดนึงแล้วถึงจะมาค้นพบและเข้าใจเองว่า มันเยอะจริงๆ และดนตรีเป็นศาสตร์ที่ยากเสมอ มันจึงค่อนข้างสำคัญที่ต้องมีผู้แนะแนวที่ดี ที่ให้คำปรึกษา ก่อนจะเริ่มตัดสินใจเรียนอะไร ขอพักเรื่องนี้ไว้ก่อน ในตอนท้ายบทความเราจะมาพูดกันต่อในเรื่องนี้นะครับ

ค่าเรียนดนตรีโดยเฉลี่ย

ถ้าคำนวนเฉพาะชั่วโมงเรียน กับค่าเรียน คร่าวๆ ยังไม่รวมอย่างอื่นนะครับ
ถ้าอยากเรียนเป็นแค่ งานอดิเรก คุณอาจเรียนประมาณ 10-50 ชม. รวมๆเฉลี่ยๆแล้วก็อาจจะตกที่ 4000 – 20000 บาท
ถ้าอยากเก่ง อาจจะตกที่ 100-250 ชม. หรือ 40000 – 100000 บาท
ถ้าอยากเป็นระดับมืออาชีพ อาจจะตกที่ 500-1000 ชม. หรือ 200000 – 400000 บาท

ทั้งหมดนี้คำนวนจากค่าเรียนโดยปกติพื้นฐาน ในระดับกลางๆ (ผมเฉลี่ยที่ ชม. ละ 400 นะครับ)
ซึ่งราคาก็อาจยืดหยุ่นได้อีก โดยเฉพาะในระดับเริ่มต้น อาจจะถูกลงเป็น ชม. ละ 2-300 ไม่แปลก
ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่าง อาทิคุณวุฒิผู้สอน เป็นต้น

ซึ่งมันก็เท่าๆกับเรียนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ดนตรี และคุณคงเห็นเองแล้วว่า ที่จริงแล้วมันไม่ได้แพง มันแค่เยอะ
หลายๆคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเรียนเยอะขนาดนั้น เพราะคุณยังไม่เคยรู้ว่ามันมีอะไรบ้างครับเลยไม่รู้ว่าเนื้อหามันเยอะจริงๆ

อยากรู้อะไรแพงหรือถูก ที่แท้จริง ให้เทียบเป็น ชม. เรียน

ทีนี้ถ้าคุณจะเทียบกันจริงๆ ว่าอะไรถูก และคุ้มค่า หรืออะไรแพงจริงๆ ไม่ยากครับ

ตัวอย่าง อาทิเช่น

คอร์สบางอย่าง พาดหัวว่า เป็นระดับมืออาชีพ ขาย 1500 บาท เรียน 1.5 ชม. ( ตก ชม. ละ 1000 บาท )
คอร์สบางอย่าง พาดหัวว่า เป็นระดับมืออาชีพเหมือนกัน ขาย 200000 บาท เรียน 600 ชม. ( ตก ชม. ละ 300 บาท )

เห็นความแตกต่างไหมครับ ไม่ว่าใครก็คงคิดออกใช่ไหมครับว่า อันไหนแพง อันไหนถูกกว่ากันแน่ และอันไหนดูจะเป็นระดับมืออาชีพจริงกว่า คิดว่าผู้อ่านคงมีวิจารณญาณพอ
แน่นอนว่าการสอนระดับมืออาชีพ ต้องใช้เวลาเรียนนาน การเรียน 1.5 ชม. มันย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว อยากให้ชั่งน้ำหนักให้ดี ว่าคำว่าระดับมืออาชีพของบางคอร์สเป็นแค่คำโฆษณาทางการตลาดหรือไม่

หยุดเสียเวลากับการตามหาทางลัด

….เพราะมันไม่เคยนำไปสู่ความเก่งแบบมืออาชีพ
ดนตรีไม่มีทางลัดครับ ยิ่งคุณพยายามตามหาทางลัดมากเท่าไร คุณจะยิ่งเสียทั้งเวลาและเงินมากขึ้นไปเรื่อยๆ
คุณอาจจะได้ยินสิ่งนี้เป็นครั้งที่ร้อยแล้วในบทความผม แต่ผมแน่ใจที่จะพูดมันอีกไม่ว่ากี่ครั้งก็ตาม เพราะมันเป็นสิ่งที่ผมพิสูจน์กับตัวเองแล้ว

ผมอยากเล่าบางอย่างให้ฟังก่อน สมัยก่อนที่ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางดนตรี ผมเป็นแค่เด็กหลังห้องคนนึงที่บ้าดนตรีมากๆ แต่ที่บ้านไม่ได้ส่งเรียนดนตรีตั้งแต่เด็กๆ ครั้งหนึ่งผมเห็นเพื่อนในห้อง เล่นเปียโนโมสาร์ทในห้องดนตรีของโรงเรียน แล้วรู้สึกทึ่งมากๆ ผมหลงใหลความไพเราะและซับซ้อนของมัน แต่ก็ได้แต่มองตาปริบๆด้วยความอิจฉา
เนื่องด้วยที่บ้านไม่ได้มีนโยบายส่งลูกเรียนดนตรี หรือเรียนอะไรสารพัด ตอนเด็ก และไม่เคยชินกับค่าใช้จ่ายตรงนี้ และมันทำให้ผมคิดไปเองว่าที่บ้านไม่น่าจะส่งไหว เพราะเปียโนตัวนึงก็หลักแสน แถมค่าเรียนสมัยนั้นก็ ชั่วโมงละ 500-1000 แล้วการจะเก่งได้แบบนั้นต้องเรียนกันมายาวนานเป็นร้อยชั่วโมง ผมคิดว่ายังไงก็คงเป็นไปไม่ได้แน่ๆ

แต่ด้วยความที่ยังไม่หยุดฝัน ผมเลยหาทางอื่นที่จะไปสู่การเป็น Composer ได้ เลยลองเล่นเครื่องดนตรีอย่างอื่นที่ดูจะไม่แพงเท่า ก็ลองไปเรื่อย กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ด ทฤษฎีดนตรีบ้าง Computer Music บ้าง ไปจนถึงเล่นดีเจก็มี ทั้งฝึกเองประกอบกับเรียนคอร์สที่ไม่ได้แพงนัก ผมเรียนแทบแทบทุกคอร์สที่หาได้ ที่มีให้เรียน ณ เวลานั้น (ช่วงยุค 90-2000 ต้นๆ) จนมาถึงจุดนึงผมได้ค้นพบความจริงบางอย่าง

สิ่งที่ผมค้นพบคือ

* การเรียนดนตรีโดยทั่วไป ที่ไม่ใช่ระดับมหาวิทยาลัย หาได้ยากและน้อยมากๆที่จะสอนทะลุเกินระดับ Basic
* ดนตรีแบบยากๆที่คนบ้าดนตรีชอบฟัง มันทะลุระดับ Basic ไปเยอะ
* การเรียนเก็บเล็กเก็บน้อย แต่ไม่พ้นระดับ Basic คือการเสียเวลามากกว่า เพราะวนไปวนมาแต่กับเรื่องเดิมๆ แต่ไปไม่ถึงฝันซะที
* สุดท้ายดนตรีก็คือดนตรี ไม่ใช่การใช้โปรแกรม หรืออุปกรณ์ใดๆ ของจริงคือการเรียนลงลึกระดับตัวโน้ต เข้าใจ Mechanic และความสัมพันธ์ของตัวโน้ต ถึงทำดนตรีได้ทุกแนว ไม่ว่ายากหรือง่าย และมันไม่พ้นต้องกลับมาเริ่มที่การฝึกเปียโน
* เท่ากับว่ามันไม่มีทางลัด ต้องเริ่มนับตั้งแต่ 1 ใหม่ ด้วยการฝึก Scale , Chord

นั่นแหละครับ หลังจากพยายามหาทางลัดมาเป็นเวลานาน สุดท้ายคือผมก็เลิกมันทุกอย่าง ผมคุยกับที่บ้านและโชคดีที่เค้าเข้าใจ ผมเรียนจบปริญญาสาขาอื่นมาแล้ว แต่ต้องมานั่งซ้อมเปียโนอย่างจริงจัง 1 ปี เพื่อไปเข้าสอบเรียนในวิทยาลัยดนตรีชื่อดังแห่งหนึ่ง จนจบเกียรตินิยมมาทำงานเป็น Producer อยู่สิบปี มาจนบัดนี้ คือกว่าจะหยุดวงจรการเสียเวลาตามหาทางลัดได้ กลายเป็นเดินอ้อมไปเป็นเวลา 8 ปีได้ กว่าจะมากลับเข้าเส้นทางตรง อีก 5 ปี ทั้งๆที่รู้ตัวตั้งแต่เด็กอยู่แล้วว่าอยากเป็น Composer แต่ดันขาดคนแนะแนวที่ดี

ที่ผมตัดสินใจไปเรียนในมหาวิทยาลัย คณะดนตรี เพราะผมคิดมาดีแล้วว่า ราคาที่จ่ายไปมันคุ้มค่า ค่าเทอมที่จ่ายไป กับค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมกันแล้วร่วม 1000000 บาท แต่ชั่วโมงเรียนรู้ที่ผมได้มันทะลุเกินคุ้มไปมากๆ และช่วงเวลา 5 ปี นั้น ที่ได้ใช้เวลาคลุกคลีกับดนตรีอย่างเข้มข้น มันทำให้เกิดความเก่ง ความชำนาญ จนทำเป็นอาชีพได้อย่างที่ฝัน มันไม่มีทางลัดจริงๆ ทุกอย่างที่ได้มามันเกิดมาจาก ชั่วโมงบิน ล้วนๆ

ทั้งนี้ผมไม่ได้บอกว่าคอร์สเล็กๆ หรือคอร์สที่สอนลัดๆ คร่าวๆ ใช้เวลาน้อย ต่างๆไม่ดี แต่มันไม่ได้เหมาะกับทุกคน มันเหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเลยจริงๆ อยากเริ่มให้ได้ไวๆ จากนั้นค่อยไปต่อระดับกลางถึงสูง แบบนี้โอเคครับ กับอีกแบบคือคนที่อยากลองเรียนดู หรืออยากแค่พอทำเป็นเล่นๆ เป็นงานอดิเรกเฉยๆ แต่ถ้าใครที่แน่ใจแล้วว่าจะเอาดีทางนี้ ทำไปจนเก่งเท่ามืออาชีพให้ได้ มันไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ครับ

ต้องมี ROADMAP ก่อนการเรียนรู้

แต่ผมก็เข้าใจว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้เรียนดนตรีในวิทยาลัยดนตรี หรือมีเงิน support มากพอ บางทีแล้วก็ต้องพยายามหาทางไปถึงฝันการเป็น Composer , Producer ด้วยตัวเอง ตามแต่กำลังที่มี ผมมีบางสิ่งอยากมาแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคน มันคือ Roadmap เพื่อไปสู่เส้นทางนักทำเพลง ซึ่งเป็นการแนะแนวที่ถูกต้อง ที่เมื่อก่อนผมไม่เคยได้รับ จนทำให้เสียเวลาไปมาก เป็นสิ่งที่คนที่สนใจเส้นทางสายนี้ทุกคนควรรู้สิ่งนี้ก่อนจะเริ่มเรียนทำเพลงใดๆ ผมตั้งใจมอบให้กับคุณครับ

Way of Music Maker

เป็นคอร์สแนะแนว ที่จะมาเฉลยว่า

– การมาสู่เส้นทางนี้ในระดับมืออาชีพจะต้องเรียนรู้หัวข้ออะไรบ้าง เพื่อเป็นมืออาชีพ
– มี Checklist เพื่อให้คุณตามเรียน ตามฝึก ตามเก็บสกิลที่ยังขาดด้วยตัวเองได้
– คุณจะมีแผนที่ ที่ทำให้รู้ว่า จุดหมายปลายทางที่คุณอยากจะไปมันอยู่ตรงไหน และต้องไปทางไหน
– ทำให้คุณรู้ว่า ตอนนี้คุณอยู่ตรงจุดไหนกันแน่ของจักรวาลการทำเพลงอันกว้างใหญ่ และไม่ต้องเดินผิดๆถูกๆ

คอร์สนี้มูลค่า 1000 บาท แต่ผมให้คุณแบบ ฟรีๆ!
สนใจกดสมัครได้ที่ด้านล่างได้เลยครับ

FREE! WAY OF MUSIC MAKER COURSE

https://verycatsound.academy/womm

สรุป การเรียนดนตรีแพงจริงหรือไม่

ก็แพงครับ แต่ไม่ได้ถือว่าแพงกว่าศาสตร์อื่นๆ อะไรขนาดนั้น มันเพียงแค่เยอะเท่านั้นเอง เปรียบได้กับว่า ถ้าคุณอยากได้ความรู้ทางการแพทย์ เท่ากับหมอคนนึงที่จบปริญญาตามมาตรฐานมา คุณก็ต้องเรียนเท่าๆกับเค้า และก็ต้องจ่ายค่าเรียน คูณตามชั่วโมงเรียนไปเท่าๆกับเค้า ถึงจะได้มาถูกไหมครับ ดนตรีก็เช่นกัน มันก็ลึกและเยอะเหมือนที่วิชาชีพย์แพทย์เป็น ผมไม่ได้พูดเว่อร์ คุณสามารถถามคนที่เรียนดนตรีแบบเป็นเรื่องเป็นราวมาเป็นปีๆได้ครับ ทุกคนตอบแทบจะเหมือนกันหมด “ดนตรีไม่มีทางลัด”

ถ้าคุณอยากได้ระดับมืออาชีพ แต่เรียนแค่เท่าระดับมือสมัครเล่น มันก็เป็นไปไม่ได้หรอกครับ นั่นคือสัจธรรม
จะถูกจะแพง คำนวนกันที่ ชั่วโมงเรียน ที่ได้ ดูจะแฟร์มากกว่าครับ

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับหลายๆคนนะครับ

The Real Producer

ผมให้คำปรึกษา หรือแนะแนว ฟรี!

ถ้าคุณอ่านจบแล้วยังสนใจจะเรียนมันอยู่ หาข้อมูลได้จากหลักสูตร The Real Producer ของทางเราได้ครับ เป็นหลักสูตรที่กลั่นกรองจากความรู้และประสบการณ์ของตัวเองที่ผ่านมา และคิดมาอย่างดี ให้ผู้สนใจทุกคนสามารถเรียนได้ ไปถึงความฝันได้ เพื่อตอบโจทย์คนที่ต้องการเรียนแบบจริงจัง สำหรับผู้ที่มีความฝันทางด้านดนตรี อยากเป็น Producer , Composer , นักแต่งเพลง , Arranger หากสนใจ ติดต่อแอดมิน เพื่อรับคำปรึกษาได้ที่ line official หรือ Link ด้านล่างสุดของบทความได้เลยครับ

—————————

VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.