งานทำเพลง

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง งานทำเพลงเขาหากันยังไง

Share via:

Krissaka Tankritwong

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง งานทำเพลงเขาหากันยังไง

ซีรีส์อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง ได้เดินทางมาถึง EP.5 แล้ว โดย EP.5 นี้จะเป็นตอนสุดท้ายที่จะพาคนที่สนใจอาชีพทำเพลงไปสำรวจอีกเรื่องราวที่ควรรู้ไว้ด้วยนั่นคือ งานทำเพลง หางานกันอย่างไร ? ซึ่งมีความสำคัญต่อทำคนที่เลือกอาชีพทำเพลงแน่นอน บทความนี้ จึงอยากนำเสนอแนะการหางานในอาชีพทำเพลง รวมถึงอยากชวนทุกคนมาวิเคราะห์และเลือกเส้นทางการเดินในอาชีพนี้ได้เหมาะสมกับตัวเอง 

โดยทั่วไปแล้ว จะมีการหางานหลัก ๆ อยู่สองแบบด้วยกันคือ การสมัครงาน ทำงานเป็นพนักงานบริษัท และการเป็นฟรีแลนซ์ที่อาจจะพัฒนาต่อยอดทำเป็นบริษัทได้ แต่สำหรับอาชีพทำเพลง การเลือกสมัครงานเป็นพนักงานในบริษัทนั้นมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากในวงการเพลงประเทศไทยยังไม่ใหญ่ขนาดนั้น ทำให้ไม่ได้มีตำแหน่งรองรับทั้งการจบใหม่ด้านดนตรีมาโดยตรง รวมถึงคนที่มีความสามารถด้วย ซึ่งนาน ๆ ทีถึงจะมีประกาศรับสักตำแหน่ง และเมื่อประกาศแล้วก็จะได้คนอย่างรวดเร็ว หรือบางครั้งยังไม่ทันจะประกาศออกไปก็ได้คนใหม่จากคอนเนคชั่นไปก่อนแล้วด้วยซ้ำ ฉะนั้นถ้าใครเลือกทางนี้ เราอาจจะต้องพยายามเกาะติดกับวงการเพลงให้ได้ เช่น อาจจะฝึกงานในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อหาคอนเนคชั่น เวลามีตำแหน่งว่างแล้ว โอกาสที่เราจะเข้าถึงตำแหน่งนั้นจะมีมากขึ้น 

ด้วยโอกาสที่น้อยทำให้ในวงการดนตรีต้องการคนที่มีคุณภาพอยู่เสมอ โอกาสก็มักจะตกอยู่กับคนที่มีทักษะทางด้านดนตรีก่อน ซึ่งอาชีพดนตรีเป็นหนึ่งในอาชีพที่ไม่สามารถปิดช่องว่างของความรู้จากการเรียนระดับผิวเผิน หรือการฝึกงาน ฉะนั้นใครที่ไม่ได้เรียนจบทางด้านดนตรีมาโดยตรงก็จะมีโอกาสน้อยลงไปอีก แต่ก็ยังมีโอกาสถ้าเราสามารถปิดจุดอ่อนดังกล่าวได้ ซึ่งจะได้จากการเรียนรู้อย่างจริงจัง สละเวลาบางช่วงของชีวิตไป เพื่อให้มีทักษะทำเพลงได้ไม่ต่างกับคนที่เรียนจบมาโดยตรง เพราะในวงการไม่ได้สนว่าจะจบอะไรมา แต่สนว่ามีทักษะในการทำเพลงได้มีคุณภาพแค่ไหน

อีกทางหนึ่งคือการเลือกทำฟรีแลนซ์ ซึ่งมีกว่า 80% ของคนทำเพลงในประเทศที่ทำอาชีพนี้ในลักษณะฟรีแลนซ์ ครอบคลุมทั้งคนที่อยู่ระดับเริ่มต้นหรือเป็นเบอร์ต้น ๆ ของวงการแล้ว ซึ่งวิธีการหางานก็เริ่มต้นจากสิ่งเดียวกันคือ การทำการตลาด เช่น ทำเพจโปรโมตตัวเอง ทำโฆษณา รวมถึงอื่น ๆ อีกสารพัดวิธี เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน ซึ่งบางคนอาจจะมีคอนเนคชั่นเป็นแบ็คอัพเสริม ทำให้มีงานจากลูกค้าประจำอยู่เรื่อย ๆ แต่อยากให้เข้าใจว่าไม่มีสิ่งไหนอยู่ค้ำฟ้าได้ตลอด ฉะนั้น หากใครคิดจะเดินทางฟรีแลนซ์จริง ๆ เราต้องดิ้นรนในการหางานด้วยตัวเองให้ได้ จึงจะสามารถเรียกว่าอยู่รอดได้จริง ๆ

โอกาสของฟรีแลนซ์จะมากแค่ไหนก็จะขึ้นอยู่กับว่าเราทำเพลงได้หลากหลายแค่ไหน รวมถึงเรามี Branding ชัดเจนจนคนรู้จัก ตามที่เราบอกกันไปในตอนก่อน ๆ โดยจะขออธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ส่วนใหญ่แล้วงานเพลงสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. เพลงฟังทั่วไป เช่น เพลงป๊อป ร็อค ฮิปฮอป ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากคนที่คิดเริ่มต้นอยากเป็นศิลปิน โดยจะจ้างให้ทำเพลงเพื่อเป็นผลงานโปรโมตของเขา หรือบางครั้งก็จะมีค่ายเพลงติดต่อมาเพื่อให้ช่วยทำเพลงสำหรับศิลปินในค่าย
  2. เพลง Commercial แบ่งย่อยได้อีกหลากหลาย เช่น เพลงโฆษณา ซึ่งอาจจะมาได้จากทั้งเจ้าของร้านต่าง ๆ ติดต่อให้ทำเพลงโฆษณาสินค้า หรือหากเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้น ก็จะมีฝ่ายมาร์เก็ตติ้งติดต่อเข้ามา หรือ เพลงประกอบภาพยนตร์ ที่มีตั้งแต่ระดับนักศึกษาที่จ้างให้ทำเพลงประกอบผลงานธิสิส ไปจนถึงภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ซึ่งก็อาจจะมาจากการทำ Branding หรือคอนเนคชั่น หรือเพลงเกม ที่ส่วนใหญ่ในวงการเกมก็จะใช้เจ้าเดิม ๆ ในการทำเพลงด้วย

จะเห็นว่าโอกาสในอาชีพทำเพลงจริง ๆ จะมาจากงานเพลง Commercial มากกว่า ฉะนั้นเราจึงต้องทำเพลงให้ได้หลากหลายแนวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งทำได้เท่าไหร่ก็จะสามารถเป็นฟรีแลนซ์ที่มีงานเข้ามาเรื่อย ๆ ได้ ซึ่งถ้าใครยังจับต้นชนปลายไม่ถูกในการเริ่มอาชีพทำเพลง ให้ลองดู 5 สเต็ปนี้เป็นไกด์ไลน์เบื้องต้น โดยทั้ง 5 ข้อมีดังนี้

  1. เรียนรู้ให้เข้าใจ
    ไม่ว่าจะยังทำเพลงไม่เป็นหรือทำเพลงได้แล้วนิดหน่อยก็ตาม แนะนำให้โฟกัสที่การเรียนรู้ก่อน เพื่อให้เข้าใจถึงการทำเพลงในหลากหลายแนว
  2. ฝึกฝนจนชำนาญ
    โดยสามารถฝึกควบคู่ไปกับการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะการทำเพลงให้สามารถทำได้จริง
  3. แจ้งเกิดให้ได้
    เมื่อเรียนและฝึกฝนจนชำนาญแล้ว เราต้องพยายามสร้างผลงานให้ได้โดยเร็ว ไม่ว่าจะได้รับงานจากลูกค้า ฝึกงาน หรือแม้แต่สร้าง Branding ของตัวเอง เพื่อให้คนอื่น ๆ เห็นผลงาน 
  4. อยู่รอดให้ได้
    เมื่อทำเพลงเป็นอาชีพได้ระดับหนึ่งแล้ว ต้องเริ่มคำนวณว่าด้วยความสามารถของเราในตอนนี้จะสามารถรับงานได้มากสุดกี่งานต่อเดือน และมีรายได้เพียงพอแบบที่คาดหวังไว้ไหม ซึ่งถ้าใครทำเพลงได้หลากหลายแนวหน่อย ก็จะมีโอกาสที่ทำงานและสร้างรายได้จากหลากหลายแนว
  5. ร่ำรวย
    เมื่อเราพออยู่รอดแล้ว ให้หันมาโฟกัสที่การสร้าง Branding ควบคู่ไปด้วย สร้างจุดเด่นให้กับตัวเอง เพื่อสุดท้ายแล้วเวลาลูกค้านึกถึงแนวเพลงที่ตรงกับ Branding ของเรา เขาจะได้นึกถึงเราเป็นคนแรก งานที่เข้ามาก็จะมีระดับใหญ่ขึ้น รวมถึงทำให้เราได้ทำงานเพลงในแนวที่ชอบด้วย

ทั้งนี้ทุกคนไม่จำเป็นต้องเดินเส้นทางเรียง 5 สเต็ปนี้เสมอไป เพราะแต่ละคนมีต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน บางคนอาจใช้เวลาในบางคนตอนที่สั้นกว่า หรืออาจจะข้ามบางขั้นตอนไปได้เลย แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คนที่จะทำอาชีพทำเพลงจะต้องผ่าน 5 สเต็ปนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะท้ายที่สุดคือเราต้องการทำเพลงเป็นอาชีพเพื่ออยู่รอดให้ได้ บางคนอาจจะต้องทำอาชีพอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ยังสามารถอยู่รอดและทำเพลงซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบได้

นี่คือเรื่องราวของซีรีส์ อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง ที่หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์สูงสุด โดยขอทิ้งท้ายไว้ว่า ไม่แปลกที่ทุกคนอยากมุ่งไปสู่อุดมคติหรือสิ่งที่เราชื่นชอบอย่างเดียว แต่เราต้องมองถึงความเป็นจริงด้วยว่าการจะไปถึงตรงนั้น เราอาจจะต้องฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่ชอบไปด้วย เพื่อที่สุดท้ายเราจะไปถึงอุดมคติที่หวังไว้ได้ ถ้าใครที่มีความฝันในอาชีพทำเพลง สามารถตามหาฝันของคุณได้ในหลักสูตร The Real Producer


The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง

นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer

เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล

สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.